กระแสความนิยมที่ก่อตัวขึ้นอย่างชัดเจน สำหรับ Windows Phone 8 ในบ้านเรา ทำให้ใครหลายๆคนเริ่มที่จะสนใจมองหาข้อมูลต่างๆของเจ้าสมาร์ทโฟนระบบใหม่นี้กันมากขึ้น ตอนนี้ก็มีเพื่อนๆที่ได้เครื่องระบบ WP8 มาแนะนำความสามารถโน้นนี้นั้นต่างๆ ให้เราดูกันไปเยอะแล้ว
แต่ตัวระบบพื้นฐานยังไม่ค่อยมีใครพูดถึง การอธิบายรากคำสั่งและการปรับแต่งของระบบ เป็นเรื่องที่สำหรับผมคิดว่ามีความสำคัญ เพราะมันจะทำให้เราเข้าใจการทำงาน ลักษณะการทำงาน รวมถึงเป็นการอธิบายเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เริ่มใช้งาน WP8 ได้อีกด้วย
อนาคตอีกยาวไกล ก่อนที่ผมจะเอาเครื่องหรือแอพพลิเคชั่นมาแนะนำให้รู้จัก ผมขอเริ่มจากตัวระบบก่อนนี้แหละครับ น่าจะเหมาะสมดี ^^
และสำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังหาข้อมูล ก็คิดว่าน่าจะพอมีประโยชน์ให้รับรู้ว่าอะไรเป็นอย่างไร ก่อนที่จะตัดสินใจหยิบสมาร์ทโฟน WP8 มาใช้สักเครื่องนึง
หน้าใช้งานหลัก
สำหรับ WP8 จะมีหน้าหลักในการใช้งานเบื้องต้นอยู่สามหน้าด้วยกันครับ
1.หน้าล็อกสกรีน
ในการเริ่มต้นใช้งาน WP8 แน่นอนว่าก็มีหน้าหลัก หรือหน้าโฮมเหมือนOS อื่นๆ เช่นกันครับ โดยเราจะเรียกหน้าแรกที่เราเปิดเครื่องขึ้นมาว่า หน้าล็อกสกรีน
ในหน้านี้จะประกอบด้วย
-ภาพวอลล์เปเปอร์ ซึ่งจะมาจากรูปภาพที่เราเลือก หรือ วอลเปเปอร์ที่เป็นของแอพพลิเคชั่นบางตัวที่ทำงานได้บนหน้าล็อก เช่น ของแอพ HTC ที่จะเปลี่ยนภาพไปตามสภาพอากาศ หรือของแอพ Facebook ที่จะแสดงภาพจากอัลบั้มของเราเป็นต้น
-นาฬิกา
-การแจ้งเตือน ซึ่งจะสามารถตั้งค่าได้ภายในเครื่องว่าต้องการแจ้งเตือนอะไรบ้าง ได้สูงสุด 5 อย่าง โดยการแจ้งเตือนที่สามารถเลือกนำมาใช้ได้ ต้องเป็นแอพพลิเคชั่นที่ทำมารองรับการใช้งานส่วนนี้ด้วยนะครับ
ออกจากหน้าล็อกสกรีนเข้าหน้าการใช้งานโดยการสไลด์ขึ้น
2.หน้า Live Tile
หน้านี้เป็นหน้าการใช้งานหลัก และควรเข้าใจการใช้งานอย่างละเอียดสักเล็กน้อยครับ
สำหรับผู้ใช้ระบบแอนดรอยด์มาก่อน ให้นึกถึง Widget นั้นแหละครับ แต่เป็น Widget ที่การใช้งานแน่วแน่คือเน้นไปที่การแจ้งเตือน
ส่วนใหญ่แอพพลิเคชั่นที่เราลากออกมาแสดงหน้า Live Tile จะสามารถแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากไอคอนแอพตามปกติได้นิดหน่อย เช่น แสดงรูปภาพ มีอนิเมชั่นเคลื่อนไหว มีการแจ้งเตือน สามารถย่อขยายได้
ซึ่งการย่อขยายตัว Tile นั้นก็แล้วแต่ว่าแอพนั้นๆ จะออกแบบมาให้เปลี่ยนแปลงได้กี่ขนาด (มากสุด 3 ขนาด) ในแต่ละขนาดก็จะแจ้งรายละเอียดที่แตกต่างกันไป
ก็แล้วแต่เราจะจัดวางเพื่อความสวยงามหรือประโยชน์ใช้สอยครับ เพราะหน้า Live tile นอกจากจะเป็นที่วางของ Tile จากแอพแล้ว ยังเป็นที่วางของช็อตคัทต่างๆจากการใช้งานภายในแอพพลิเคชั่น ตามแต่เราต้องการจะนำมาปักหมุด( pin) ไว้หน้า Live tile ด้วยครับ เช่น บุ๊คมาร์คของเบราว์เซอร์ , รายชื่อเพลงโปรด หรือหมายเลขติดต่อสำคัญๆ ที่เราใช้งานบ่อยๆ ป็นต้นครับ
การใช้งาน Live tile จะเลื่อนสไลด์เป็นแนวตั้ง วางลากยาวลงไปด้านล่าง สามารถเปลี่ยนสีของแผ่น Tile ได้ในการตั้งค่าตัวเครื่อง มีให้เลือกหลากหลายสีเลยครับ ^^
และจำไว้ให้ดีนะครับ สำหรับ WP8 “การแจ้งเตือนบนไอคอนแอพ จะเตือนก็ต่อเมื่อนำแอพนั้นมาวางไว้หน้า Live Tile เท่านั้น”
สลับหน้า Live tile เข้าสู่หน้ารายชื่อแอพโดยการสไลด์หน้าจอไปทางซ้าย
3.หน้ารายชื่อแอพพลิเคชั่น
ในหน้าหลักที่สามของระบบ WP8 ก็คือหน้ารายชื่อแอพครับ แอพไหนที่ลงไว้หรืออยู่ในเครื่อง ก็จะแสดงไว้ที่หน้านี้ทั้งหมด โดยเรียงตามตัวอักษรเป็นแถวยาวลงมา
และเมื่อมีรายชื่อแอพพลิเคชั่นภายในเครื่องเกินกว่า 45 แอพแล้วละก็ จะปรากฏตัวหนังสือคั่นรายชื่อขึ้นมา เพิ่อแยกรายชื่อแอพออกตามตัวอักษรนำหน้าเป็นหมวดๆ เราสามารถทัชลงไปบนตัวอักษรคั่นเพื่อเรียกหมวดตัวหนังสือทั้งหมดออกมาเพื่อเลือกเข้าไปดูรายชื่อแอพในหมวดตัวอักษรนั้นๆได้ครับ
ในหน้ารายชื่อแอพนี้ เราสามารถจะถอนการติดตั้งแอพพลิเคชั่นที่ไม่ต้องการได้ด้วย โดยการทัชค้างไปที่ไอคอนแอพนั้นๆ แล้วเลือก Uninstall หรือ เลือก Pin to Start ก็จะเป็นการนำแอพนั้นๆไปปักหมุดอยู่ที่หน้า Live tile นั้นเองครับ
สามปุ่มมาตรฐาน Windows phone8
หลังจากรู้จักหน้าการใช้งานหลักทั้งสามหน้าแล้ว ก็มารู้จักปุ่มใช้งานหลักทั้งสามปุ่มของ WP8 กันครับ
-ปุ่มย้อนกลับ เป็นการย้อนกลับการกระทำก่อนหน้าไปหนึ่งเสต็ป และเป็นปุ่มที่ใช้ปิดการทำงานของแอพพลิเคชั่นต่างๆอีกด้วยครับ เพราะเมื่อเรากดย้อนกลับจนถึงหน้าแรกของการทำงานแอพพลิเคชั่นนั้นๆ ก็จะเป็นการออกจากแอพโดยทันที และจะแสดงหน้าแอพพลิเคชั่นถัดไปที่เปิดทิ้งเอาไว้ขึ้นมา ย้อนไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงแอพสุดท้ายที่เราได้ทำการเปิดไว้ เมื่อปิดแอพไปทั้งหมดแล้ว เราถึงจะกลับออกมาหน้า Live tile ได้ครับ
ปุ่มย้อนกลับยังทำหน้าที่เป็นปุ่ม Recent App หรือปุ่มเรียกดูแอพที่เปิดใช้ไปก่อนหน้าได้ ด้วยการทัชปุ่มย้อนกลับค้างไว้ เราก็สามารถเลือกสลับเข้าสู่หน้าแอพตัวที่เราต้องการได้ทันทีครับ
-ปุ๋ม Start Windows หรือปุ่มโฮมนั้นเองครับ คิดอะไรไม่ออก ก็กดปุ่มโฮมเป็นการย้อนกลับมาที่หน้าแรกอย่างง่ายๆ แต่แอพที่ใช้งานอยู่จะไม่ปิดตัวลงไปนะครับ สามารถกลับเข้าไปทำงานใหม่ได้ด้วยการกดปุ่มย้อนกลับค้างไว้เพื่อเปิดหน้า Recent App
เมื่อเรากดปุ่ม Start Windows ค้างไว้ จะเป็นการเรียกใช้ “การสั่งงานด้วยเสียง” ขึ้นมาครับ (ไม่รองรับภาษาไทย)
-ปุ่มค้นหา เราสามารถกดเรียกการค้นหาข้อมูลผ่านทาง bing ได้ทุกที่ทุกเวลาครับ สำหรับไอคอนรูปลูกตาด้านล่างเป็นการเปิดความสามารถด้านการแสกนของ WP8 แสกนได้หมดไม่ว่าจะเป็น QR code หรือ Barcode รวมทั้งใช้แสกนตัวหนังสือเพื่อแปลภาษาจากภาพถ่ายได้ด้วยครับ
การใช้งานสามปุ่มหลักของเครื่อง WP8 ก็จะประมาณนี้ครับ ^^
การตั้งค่า
รู้จักในส่วนควบคุมของระบบ Windows Phone8 กันแล้ว ก็มารู้จักหลังบ้านของระบบเขากันหน่อยครับ ^^ ในส่วนของการตั้งค่าตัวเครื่อง
การตั้งค่าของ WP8 สามารถเข้าได้โดยไอคอนแอพที่เป็นรูปเฟือง โดยจะมีการตั้งค่าแบ่งเป็นสองหมวดใหญ่ครับ นั้นคือ System (ระบบ) และ Application (แอพพลิเคชั่น)
เรามาดูกันทีละข้อครับ ^^
การตั้งค่าหมวด System
– Ringtones+sounds / การตั้งค่าเสียงเรียกเข้า เราสามารถใช้เสียงเรียกเข้าจากไฟล์ MP3 ได้โดยการเชื่อมต่อกับ PC แล้วคัดลอกไฟล์เพลงไปไว้ในโฟลเดอร์ Ringtone ของเครื่องโทรศัพท์ รายชื่อเพลงนั้นก็จะมีขึ้นมาให้เลือกเป็นเสียงเรียกเข้าของตัวเครื่องครับ
-Theme / ปรับเปลี่ยนสีสันตามใจได้ในหน้านี้ครับ จะเอาพื้นหลังดำสนิทหรือขาวสว่างเลือกได้ที่หัวข้อ Background และสีสันของแผ่น Tile ก็เลือกได้ในหัวข้อ Accent color
-Email-Accounts / ลงทะเบียนแอคเคาท์ทางสังคมต่างๆทั้งหลายแหล่ได้ที่นี่ครับ Hotmail, Gmail, Facebook, Twitter เพื่อ Sync รายชื่อติดต่อ ตารางนัดหมาย และอีเมล
-internet sharing / แชร์สัญญาณอินเตอร์เน็ตจากเครือข่ายให้อุปกรณ์อื่น ด้วยสัญญาณ Wi-Fi
-lock screen / ตั้งค่าหน้าล็อก เลือกภาพหน้าล็อก ตั้งค่าการเตือน 5 ประเภทที่หน้าล็อก และตั้งระยะเวลาดับแสงไฟหน้าจอเพื่อล็อกเครื่อง
-WiFi / ตั้งค่าการเชื่อมต่อสัญญาณ WiFi
-Bluetooth / ตั้งค่าเชื่อมต่อสัญญาณบลูทูธ
-Tap+send / เปิดปิดการใช้งานเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย NFC
-flight mode / เปิดปิดโหมดเครื่องบิน ตัดการรับสัญญาณโทรศัพท์
-mobile network / ตั้งค่าการรับสัญญาณ เครือข่ายโทรศัพท์และสัญญาณอินเตอร์เน็ต
-location / เปิดปิดการจับตำแหน่งโทรศัพท์ ด้วย GPS
-Kid’s corner เปิดปิดโหมดใช้งานสำหรับเด็ก และป้องกันการเข้าใช้งานเครื่องด้วยรหัสผ่าน ( แนะนำการใช้งาน Kid’s corner ดู ที่นี่ ครับ)
-battery saver / ตั้งค่าการเปิดปิดโหมดประหยัดพลังงาน
-phone storge / ตรวจเช็คพื้นที่หน่วยความจำภายในตัวเครื่อง
-Back up / ตั้งค่าการแบ็คอัพรายชื่อแอพพลิเคชั่นที่เราใช้งาน แบ็คอัพ SMS และรูปภาพ
-date+time / ตั้งค่าวันเวลา และโซนเวลามาตรฐาน (ของไทยตั้งไว้ที่ GMT+7)
-brightness / ตั้งความสว่างหน้าจอ สูง กลาง ต่ำ และอัตโนมัติ
-keyboard / ตั้งค่าคีย์บอร์ด เพิ่มการใช้งานภาษาบนแป้นพิมพ์
-language+region / ตั้งค่าภูมิลำเนาในการใช้งาน เปลี่ยนภาษาเครื่อง และตั้งค่าหน่วยนับแต่ละท้องถิ่น การตั้งค่าส่วนนี้มีผลในเรื่องของรายชื่อแอพพลิเคชั่นที่จะแสดงใน Market ด้วยนะครับ
-ease of access / ตั้งค่าในส่วนแสดงผล ขนาดฟ้อน รูปแบบการแสดงในบางฟีเจอร์ และเปิดฟังชั่นขยายจอ Screen magnifier
-speech / ตั้งค่าการสั่งงานด้วยเสียง
-find my phone / ตั้งค่าระบบติดตามเครื่องหาย (ดูรายละเอียดและวิธีใช้ได้ที่นี่ )
-phone update / เช็คการอัพเดทระบบของตัวเครื่อง
การตั้งค่าหมวด apllication
-Background tasks/ การตั้งค่ากำหนดแอพพลิเคชั่นที่รันทำงานเบื้องหลัง แอพไหนเราไม่ต้องการให้แอบทำงาน สามารถเข้าไป Block ได้ในหัวข้อนี้
-games / เปิดการ Sync ข้อมูลกับ Xbox
-Internet Explorer / ตั้งค่าการทำงานของเบราว์เซอร์ IE ในตัวเครื่อง
-Maps / ดาวน์โหลดแผนที่เพื่อใช้งานแบบออฟไลน์ เช็คการอัพเดทของแผนที่
-messaging / ตั้งค่าการกำหนดของการใช้งาน SMS MMS
-music-videos / ตั้งค่าการ Sync ข้อมูลมีเดียจาก Xbox clound
-office / ระบุชื่อผู้ใช้งาน และเปิดการใช้งานลิงค์แชร์เอกสารในแอพ office
-people / เข้าหน้าการจัดการรายชื่อติดต่อ
-Phone / เข้าการจัดการ การโทร การโอนสาย ระบุหมายเลขศูนย์ Voicemail
-photo+camera / การตั้งค่าการถ่ายภาพ และเปิดปิดระบบอัพโหลดรูปภาพอัตโนมัติขึ้นแหล่งฝากไฟล์ Skydrive
-search / การตั้งค่าการค้นหาด้วย bing (จากปุ่มค้นหา) เปิดปิดการระบุสถานที่เพื่อช่วยในการค้นหา เปิดปิดการกดปุ่มค้นหาในหน้าล็อกสกรีน
-store / การใส่รหัสพินเพื่อป้องกันการซื้อแอพพลิเคชั่นโดยไม่ตั้งใจ
-wallet / เหมือน Store
ระบบ Market
สิ่งที่เราควรรู้สำหรับเครื่อง WP8 ก็จะประมาณนี้ครับ ที่เหลือก็เป็นเรื่องของการแอพพลิเคชั่นมาใช้งานกัน ^^ และสำหรับ WP8 ก็หาไม่ยากครับ Marketplace แหล่งขุมทรัพย์ขนาดใหญ่ก็พร้อมบริการอยู่ภายในตัวเครื่องแล้ว วิธีการใช้งานก็ไม่ยากเลย แบ่งหมวดหมู่ชัดเจนครับ ^^
ภายในคลังแอพขนาดใหญ่ มีมาพร้อมทั้งแอพพลิเคชั่นใช้งานและเพลงเพราะๆที่จำหน่ายกันแบบถูกต้องลิขสิทธิ์ครับ ^^
เมื่อเราเข้ามายังหน้าแรกใน Marketplace จะเห็นหัวข้อหลักๆ คือ
-แอพเฉพาะของแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่น จำพวก Exclusive app นั้นแหละครับ ประมาณว่าต้องใช้รุ่นนี้เท่านั้นถึงจะมีมาให้ใช้ ชื่อก็จะบอกเลยครับว่าเป็นแอพของใคร (ในภาพตัวอย่างเป็นของ HTC app)
-ต่อมาก็เป็นแอพพลิเคชั่นทั้งหมดของ Marketplace ครับ โดยจะแบ่งให้เป็นหมวดหมู่ชัดเจนครับ
Top Free /แอพฟรียอดนิยม
Top paid /แอพซื้อยอดนิยม
Collections / แอพเด็ดแยกไว้ให้เป็นหมวดหมู่
New + Rising /แอพใหม่มาแรง
Best-rated / ได้รับคำชม นิยมสูง
ยังมีการแยกแอพออกเป็นตามประเภทการใช้งาน และหน้า Spotright คือแอพเด่นแนะนำประจำวันครับ
ในส่วนของเพลงเองก็เช่นกันครับ
New releases / เพลงมาใหม่
Top Artists / นักร้องยอดนิยม
Top Albums / อัลบั้มยอดนิยม
และก็มีแบ่งตามแนวเพลง และ เพลงแนะนำประจำวัน
ราคาเพลงๆนึงก็ประมาณ สามสิบกว่าบาทครับ ถ้าซื้อยกอัลบั้มก็สามร้อยห้าสิบโดยประมาณ
และก็มี Podcasts หรือสถานีวิทยุออนไลน์ เราสามารถลงทะเบียนเพื่อดาวน์โหลดมาฟังได้ในแอพ Music ภายในเครื่องครับ เลือกแนวเพลงตามที่ชอบได้เลยครับ อันนี้ฟรี ^^
ส่วนการซื้อแอพก็ไม่ยากครับ กดเข้าไปยังแอพที่ต้องการ ถ้าไม่แจ้งว่า BUY คือใช้งานได้ฟรี install ลงเครื่องได้เลยครับ แต่ถ้าขึ้นว่า BUY คือต้องจ่ายตังค์ซื้อผ่านบัตรเครดิตครับ และ TRY คือการดาวน์โหลดมาทดลองเล่นได้ก่อน แต่จะใช้งานได้ไม่ครบทุกฟังชั่นหรืออาจจะใช้งานได้แบบจำกัดวันครับ
หลังจากเราได้แอพพลิเคชั่นสำหรับใช้งานตามที่ต้องการแล้ว ระบบ WP จะมีจุดเด่นอยู่อย่างนึงนั้นคือระบบ hub ที่จะรวบรวมแอพใช้งานในประเภทเดียวกัน ไปอยู่ภายใต้ hub เดียวกัน เพื่อความง่ายในการใช้งานร่วมกัน และเรียกใช้ได้สะดวกสบาย
เช่น เกมที่เรา install ไว้ภายในเครื่อง ก็จะถูกรวมกันไว้ใน hub game หรือแอพที่เกี่ยวกับการเล่นเพลงเล่นวีดีโอก็จะเอาไปไว้รวมกันครับ
ยังมี people ที่เป็นที่รวมของ Social ต่างๆ และ Office งานเอกสารก็เอามาไว้ที่นี่หมดแล้วเช่นกัน
ใน WP8 ยังคงมีเทคนิคและรายละเอียดเล็กๆ น้อยอยู่อีกมากมาย แต่เราจะมาว่ากันวันหลังครับ ^^
มีอะไรดีๆผมจะนำมาฝากถึงที่เช่นเคย สำหรับบทความแนะนำ WP8 ในเรื่องเบื้องต้นนี้ ก็ขอฝากไว้เท่านี้ก่อนนะครับ
เมื่อเราเรียนรู้การใช้งานภายใน และสามารถหาแอพพลิเคชั่นที่ต้องการมาใช้งานได้ตามใจ ก็เรียกว่าเราใช้งานสมาร์ทโฟนเป็นในระดับนึงแล้วละครับ ^^