Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Android » Tips » [Tips]เริ่มต้นอย่างไรให้ง่าย สำหรับมือใหม่แอนดรอยด์
Tips

[Tips]เริ่มต้นอย่างไรให้ง่าย สำหรับมือใหม่แอนดรอยด์

13 พฤศจิกายน 2012Updated:14 พฤษภาคม 20133 Mins Read

  ในทุกๆปี ก็จะมีงานมือถือใหญ่ที่จัดขึ้นเป็นประจำในประเทศไทย ซึ่งแน่นอนว่าหลายท่านได้มีเสียตังค์แน่นอนครับ ^^ ยิ่งถ้าใครตั้งอกตั้งใจรอจะได้เห็นหน้าตาโปรโมชั่นของอุปกรณ์ตัวโปรดที่จะนำมาลดกระหน่ำกันในงาน รับรองไม่พลาดแน่ๆ เพราะงานในแต่ละครั้งที่จัดขึ้น แต่ละแบรนด์เตรียมอัดฉีดส่วนลดกันเต็มที่แถมยังจัดของสมนาคุณกันแบบต้องหาถุงมาใส่ของกลับบ้าน แต่ละร้านค้าทำยอดขายกันถล่มทลาย ยิ่งวันท้ายๆ คนแน่นเอี้ยด ขายโทรศัพท์ยังกะขายผักสด ^^

โดยเฉพาะอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่ทำยอดขายเป็นพระเอกของงานในช่วงหลังมาอย่างต่อเนื่อง จากกระแสความนิยมของตัวระบบและการสนับสนุนของผู้ผลิตสินค้า ในครั้งนี้ก็คงเช่นกัน หลากหลายแบรนด์เตรียมขนอุปกรณ์แอนดรอยด์ของตนเองไปให้ผู้ที่ต้องการมองหาสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตคู่ใจดีๆ สักตัว (หรือหลายตัว ^^) เอาไปใช้งาน แน่นอนว่าคงมีหลายท่านที่อาจจะเพิ่งได้เคยสัมผัสระบบการใช้งานของเจ้าหุ๋นกระป๋องเป็นครั้งแรก ระบบที่พูดกันเหลือเกินว่าใช้งานยาก เข้าใจลำบาก วันนี้ผมเลยจะมาขอแนะนำเทคนิคการเริ่มต้นกับแอนดรอยด์ในมือคุณแบบง่ายๆ เพื่อการใช้งานที่สนุกและถูกใจได้มากยิ่งขึ้น ^^

 

เริ่มทำความเข้าใจจากการใช้งานจริงไปสู่การรับข้อมูลจากภายนอก

Advertisement
Advertisement
Advertisement

อย่าเพิ่งเปิดรับข้อมูลภายนอก อย่าเพิ่งสงสัยกับศัพท์เฉพาะที่เคยได้ยินมา และอย่าเพิ่งอยากจะทำโน้นทำนี้ทุกๆ อย่างตั้งแต่เริ่มทำความเข้าใจกับตัวเครื่อง เพราะมันจะเพิ่มความสับสนและวุ่นวายในการเรียงละดับความเข้าใจ ให้เราเริ่มจากภายในอุปกรณ์ของตนเองตั้งแต่รู้ก่อนว่าตัวเครื่องเราชื่อรุ่นอะไร เปิดปิดอย่างไร และมีปุ่มกดใดให้ใช้งานบ้าง เพราะแต่ละอุปกรณ์ของแอนดรอยด์แตกต่างกันตั้งแต่ปุ่มคำสั่งภายนอก รูปร่างของตัวเครื่องยันการใช้งานภายใน

 

 

 

 

โดยหลักแล้วสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์นอกจากจะมีปุ่มเปิดปิดเครื่องและปุ่มเพิ่มเสียงลดเสียง ก็จะมีปุ่มมาตราฐานอยู่ 4 ปุ่มด้วยกันที่เป็นตัวสั่งงานหลักๆ ของระบบแอนดรอยด์ ได้แก่

-ปุ่ม Back หรือปุ่มย้อนกลับ เป็นปุ่มสำคัญที่หลักการทำงานเป็นไปตามชื่อ เมื่อต้องการย้อนการกระทำของการทำงานไปก่อนหน้านี้หนึ่งขั้นตอน ให้เรากดปุ่มนี้ และเป็นปุ่มสำคัญในการใช้ปิดโปรแกรมการทำงานบนสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ เพราะการออกจากตัวแอพพลิเคชั่นที่ทำงานอยู่ต้องออกโดยวิธีการกดปุ่มย้อนกลับไปจนแอพพลิเคชั่นนั้นปิดตัวลงไป จะถือว่าเป็นการออกจากแอพฯได้ถูกวิธี

 

-ปุ่ม Home คิดอะไรไม่ออกบอกปุ่มโฮม ทุกเมื่อที่ต้องการจะกลับมาเริ่มต้นการใช้งานใหม่ที่หน้าจอแสตนบายก็กดได้ทันที ไม่ว่าจะอยู๋ในหน้าจอของการทำงานใด ตัวเครื่องก็จะกลับออกมาอยู่ในหน้าโฮมทุกครั้ง แต่จงจำไว้ว่าการออกจากแอพพลิเคชั่นที่ทำงานอยู่ด้วยปุ่มโฮม เป็นการพักการทำงานของแอพพลิเคชั่นนั้นไว้เบื้องหลัง ไม่ใช่เป็นการปิด การออกจากแอพพลิเคชั่นหรือเกมด้วยปุ่มโฮมซ้ำๆ หลายๆ โปรแกรม จะเป็นที่มาของอาการ ค้าง แลค เพราะเนื่องจากมีแอพพลิเคชั่นที่กำลังทำงานอยู่เบื้องหลังมากเกินไป

 

-ปุ่ม Menu ทุกคำสั่งที่ไม่ได้อยู่บนหน้าจอก็มักจะอยู่ภายในปุ่มคำสั่งนี้ การตั้งค่า, ตัวเลือก, ความสามารถเพิ่มเติมอีกมากมาย เป็นปุ่มที่ควรจะศึกษาไว้ให้มากที่สุด ในแต่ละการทำงานปุ่มเมนูก็จะมีชุดคำสั่งที่แตกต่างออกไป หาอะไรไม่เจอก็ลองเข้าไปหาดูภายในปุ่มคำสั่งนี้ครับ

 

-ปุ่ม Recent app เป็นปุ่มที่เรียกรายชื่อแอพพลิเคชั่นที่เราเคยเรียกใช้งานย้อนหลัง ก่อนนี้เคยเรียกแอพฯอะไรมาใช้ รายชื่อก็จะเรียงขึ้นมาตามการใช้งานก่อนหลัง ประโยชน์เพื่อการสลับใช้แอพพลิเคชั่นได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

นี่คือปุ่มมาตราฐานที่สำคัญของระบบ OS Android แต่!! ไม่ได้หมายถึงทุกอุปกรณ์แอนดรอยด์จะมีมาให้ครบทั้งสี่ปุ่มในทุกๆอุปกรณ์นะครับ มันอาจจะโดนซ่อนหรือย้ายตำแหน่งไปยังที่อื่น เช่น ในตระกูลสมาร์ทโฟน Galaxy จาก Samsung มักจะไม่มีปุ่ม Recent app โดยเฉพาะ แต่จะใช้การกดปุ่ม “โฮม” ค้างไว้เป็นการทดแทนปุ่มคำสั่ง Recent app นั้นเอง หรือบางรุ่นอย่างเช่นเครื่อง HTC ซีรี่ย์ ONE จะไม่มีปุ่มเมนูบนตัวเครื่อง แต่จะออกแบบให้ปุ่มเมนูไปปรากฏอยู่ภายในหน้าจอโทรศัพท์แทนเป็นต้น

 

ก่อนจะเริ่มใช้งาน เราควรรู้ก่อนว่าตัวเครื่องของเรานั้น ปุ่มใดมีหน้าที่ในการทำงานในส่วนใด บางคำสั่งในการใช้งานมีการใช้ปุ่มร่วมกันสองปุ่มเช่น การเซฟภาพหน้าจอที่มักจะใช้ปุ่มปิดเครื่องกับปุ่มลดเสียงกดพร้อมกันเพื่อเซฟภาพจากหน้าจอเป็นต้น รวมถึงการกดปุ่มพาวเวอร์ค้างไว้เพื่อปิดเครื่องในกรณีเมื่อเครื่องเราเกิดอาการค้างและไม่รับคำสั่งใดๆ

 

**ปุ่มควบคุมที่แตกต่างกันแม้จะเป็นระบบปฏิบัติการตัวเดียวกัน

ทำความเข้าใจกับหน้าโฮม ส่วนสำคัญสำหรับการเริ่มต้น

จุดนี้เป็นจุดสำคัญครับ เข้าใจยากหรือง่ายก็อยู่ที่หน้าโฮมตัวนี้ เพราะความแตกต่างของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์กับระบบอื่นก็คือ “การที่มันมีหน้าโฮมแตกต่างกันเป็นร้อยๆ แบบ” แต่ละแบรนด์แต่ละรุ่นก็จะไม่เหมือนกัน ออกแบบมาใช้งานต่างกัน แถมยังสามารถหามาเปลี่ยนมาใช้ได้จากใน Playstore อีกเป็นร้อยแบบ ฉะนั้นควรทำความเข้าใจมันให้มากที่สุดว่ามันทำงานอย่างไร ทำอะไรได้

***ความแตกต่างของหน้าโฮมที่มีมากมายเป็นร้อยๆ แบบ

ให้เราคิดไว้ว่า หน้าโฮมสำหรับระบบแอนดรอยด์นั้น เหมือนโต๊ะทำงาน โดยบนโต๊ะทำงานของเรานี้จะสามารถเอาของจากในลิ้นชัก (ภายในเครื่อง) ออกมาวางบนหน้าโต๊ะเพื่อความสะดวกได้สามอย่างด้วยกัน

  1. Icon app ไอคอนที่เอาไว้เรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่มีอยู่ในเครื่อง โดยส่วนใหญ่จะเอาออกมาวางแค่เฉพาะแอพฯที่ใช้งานบ่อยๆ เท่านั้น
  2. Shortcut ตัวเรียกใช้งานด่วน โดยทั่วไปก็จะเป็นรายชื่อที่เราต้องการโทรหาบ่อยๆ แค่กดไปที่ Shortcut หน้าจอครั้งเดียวก็เป็นการโทรหาหมายเลขนั้นทันที หรือเป็น Shortcut Bookmark ของเว็บที่เราต้องเข้าบ่อยๆ แค่กดที่ Shortcut ตัวนั้น โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ก็จะทำการเปิดหน้าเพจนั้นทันที
  3. Widget นี่คือไม้ตายและจุดเด่นของระบบแอนดรอยด์ครับ จะอธิบายแบบกว้างๆ มันก็คือมินิโปรแกรมที่ทำงานอยู่บนหน้าโฮม โดยเราไม่ต้องไปเรียกเปิดแอพพลิเคชั่นตัวนั้นให้มันทำงานก่อน เช่น Widget ของ Twitter ก็จะเป็นหน้าต่างที่แสดงข้อความจาก Twitter ได้เลยบนหน้าโฮม หรือจะเป็น Widget ของแอพฯเล่นเพลง ที่เราสามารถควบคุมการเล่นเพลงได้บนหน้าโฮมเลยโดยตรง ยังมีเป็น Widget ในลักษณะปุ่มเปิดปิดการใช้งานฟังชั่นของเครื่อง เช่นการเปิดปิดแสงไฟหน้าจอ เป็นต้น
ส่วนวิธีที่เราจะนำเจ้าพวก  Icon app, Shortcut, หรือ Widget มาวางบนหน้าโฮมนั้น โดยส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นวิธีพื้นฐานในการทัชหน้าจอบริเวณที่ว่างค้างไว้ จนกว่าจะขึ้นคำสั่งการเลือกเพิ่มสิ่งที่ต้องการลงบนหน้าจอครับ หรือการกดปุ่มเมนูก็มักจะมีคำสั่งการเพิ่มสิ่งเหล่านี้ไว้บนหน้าจอด้วยครับ จะย้ายตำแหน่ง หรือจะลบทิ้งไป ก็ใช้วิธีทัชค้างบนตัวที่ต้องการย้ายแล้วลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการครับ
รู้จักกับ 4 ส่วนการทำงานที่สำคัญของแอนดรอยด์ 

 สำหรับระบบแอนดรอยด์ ก่อนที่เราจะเริ่มใช้งานแอพพลิเคชั่นจริงจัง จะมี 4 ส่วนสำคัญที่เราควรต้องรู้จักมันก่อน ส่วนแรกนั้นคือหน้าโฮมที่เรารู้จักกันไปแล้ว ส่วนที่เหลืออีกสามก็คือหน้า App drawer, Notify page และ Setting

App drawer ทุกแอพฯที่ลงเครื่องไว้ หาได้ในหน้านี้

หน้า App drawer ก็คือหน้ารวมรายชื่อแอพพลิเคชั่นทั้งหมดที่เครื่องเรามี โดยการเข้าหน้านี้สามารถเข้าได้จากช็อตคัทไอคอนจากหน้าโฮม ใครที่เคยเห็นหน้าจอ iPhone เป็นอย่างไรหน้า App drawer ก็เป็นเช่นนั้นครับ ไอคอนเรียงกันเป็นแถวๆ โดยปกติเราเองจะไม่ค่อยได้ใช้หน้า App drawer นี้หรอกครับ เพราะอะไรที่ใช้ก็ส่วนใหญ่ก็มักจะลากไปวางหน้าโฮมไว้หมดแล้ว (วิธีการลากไอคอนแอพฯจากหน้า App drawer ไปวางหน้าโฮม ทำได้ด้วยวิธีทัชบนไอคอนค้างไว้ จะสามารถลากออกไปวางได้ครับ)

 

 

Notify page ศูนย์รวมการแจ้งเตือนและแสดงสถานะของเครื่อง

เราจะสังเกตด้านบนหน้าจอของหน้าโฮมจะมีแถบสีดำที่แสดงรายละเอียดของ แบตเตอรี่, สัญญาณโทรศัพท์, นาฬิกา และเป็นแถบการแจ้งเตือนสายไม่ได้รับ, ข้อความเข้า หรือการแจ้งเตือนของการทำงานทุกๆ อย่างในตัวเครื่อง ศูนย์รวมการแสดงสถานะนี่เราเรียกว่า “Status bar” ครับ โดยเราสามารถดึงเลื่อนแถบ status bar ลงมาเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ซึ่งในหน้าที่เราดึงลงมาจะเรียกว่า “Notify page”

ในหน้า Notify page จะมีการแสดงรายละเอียดหลายๆ อย่างตามแต่การออกแบบมาให้จากทางผู้ผลิต บางรุ่นอาจจะเป็นหน้าว่างๆ บางรุ่นอาจจะมีสวิทช์เปิดปิดการทำงานบางอย่างของเครื่อง เมื่อมีการเตือนจากแอพพลิเคชั่นบางตัวบน status bar เมื่อเรารูดดึงหน้า Notify page ลงมา ก็จะเห็นถึงรายละเอียดการเตือนนั้นๆ เพิ่มเติ เราสามารถทัชไปที่รายละเอียดการเตือนนั้นเพื่อเข้าสู่แอพพลิเคชั่นหลักที่ทำการเตือนมาได้โดยตรงครับ

 

 

 

Setting การตั้งค่า เรียนรู้ไว้แล้วจะเข้าใจตัวเครื่อง

จะรู้จักเครื่องเราว่าทำอะไรได้มากแค่ไหนก็จากภายในการตั้งค่านี่เป็นสำคัญครับ ฟังชั่นและฟีเจอร์ต่างๆ มักจะมีการตั้งค่าอยู่ภายในนี้ โดยวิธีเข้าการตั้งค่าเราก็แค่กดปุ่มเมนูในหน้าโฮม หรือบางรุ่นคำสั่งเข้าการตั้งค่าอาจจะอยู่ที่หน้า Notify page ครับ ให้เราไล่ทำความเข้าใจไปทีละหัวข้อ อะไรใช้เปิดปิดอะไร เครื่องเรามีอะไรให้ใช้บ้าง ส่วนไหนไม่รู้ไม่เข้าใจก็ค่อยไปถามคนที่รู้ไปทีละเรื่อง มันจะทำให้เราเข้าใจการทำงานทั้งหมดได้ชัดเจน และการตั้งค่าส่วนใหญ่ก็เข้าใจถึงการทำงานมันไม่ยากครับ

 

 

 

เมื่อเราเรียนรู้และเข้าใจความสามารถของตัวเครื่องได้เป็นอย่างดี ก็พร้อมแล้วที่จะออกเดินทางไปในโลกกว้างแล้วครับ ^^ ก่อนอื่นก็ตรวจเช็คดูก่อนว่า ภายในเครื่องของเราทางผู้ผลิตมีการเตรียมแอพพลิเคชั่นใช้งานด้านใดมาให้เราไว้บ้าง แต่ละแอพฯมีประโยชน์ในการทำงานด้านใด

ถ้ามีสิ่งใดที่ขาดไปหรือเราไม่พอใจการทำงานของแอพพลิเคชั่นใด ก็ถึงเวลาที่เราจะมองหาแอพพลิเคชั่นใช้งานเพิ่มเติมได้แล้วครับ โดยการหาแอพพลิเคชั่นมาใช้เพิ่มเติมนั้น เราหาได้จาก “Play Store” ครับ ซึ่งจะมีเป็นแอพพลิเคชั่นภายในเครื่องสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์

 

Play Store คลังแสงขนาดมหาศาลของแอพฯและเกม

การใช้งาน “Play Store” แค่เพียงเราเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ต แล้วเข้าแอพฯ play store ภายในเครื่อง ล็อคอินด้วย id และ รหัสผ่าน ของ Gmail ที่เรามี (ถ้าไม่มีสามารถสมัครได้ผ่านหน้าแอพฯเลย) เท่านี้เราก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอพฯมาใช้งานได้แล้วครับ

โดยภายใน play store จะแยกแอพฯออกเป็นหมวดหมู่ แอพไหนไม่แจ้งราคาคือดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรี ส่วนแอพฯไหนมีราคากำหนดไว้ เราต้องมีบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตที่อนุญาตให้สามารถทำการซื้อของออนไลน์ได้ ถ้าหลังการสั่งซื้อไม่พอใจ กลับเข้าหน้าเดิมเพื่อขอเงินคืนได้ภายใน 15 นาทีครับผม ส่วนในการอัพเดทแอพฯในภายภาคหน้า ให้เข้ามายัง playstore อีกครั้ง และกดปุ่มปุ่มเมนู จะมีหัวข้อ “แอปส์ของฉัน” เมื่อเข้าไปแล้ว ถ้ามีแอพฯใดที่ออกตัวเวอร์ชั่นอัพเดทออกมา เราสามารถกดเข้าไปทำการอัพเดทได้เลยทันที

 

 

 

เมื่อเรารู้จักเครื่อง เข้าใจการทำงาน และมีแอพพลิเคชั่นถูกใจเอาไว้ใช้เมื่อต้องการ เท่านี้ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับมือใหม่แอนดรอยด์แล้วละครับ ก็ขอให้ทุกคนได้เครื่องถูกใจ ใช้งานได้ดีไม่มีงี่เง่า คุ้มค่าทุกบาททุกสตางค์ที่เสียไป

 

ถ้ายังไม่จุใจ แนะนำ 8 Tips เพิ่มความเข้าใจสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ใน หน้านี้ ครับ ^^

และส่วนแอพพลิเคชั่นไหนน่าสนใจ น่าใช้ ติดตามในเว็บ Appdisqus รับรอง มีเอามาฝากกันไม่เบื่อแน่นอนครับ ^^

Advertisement
Basic Android kid Tips คู่มือแอนดรอยด์ วิธีใช้ Android เริ่มต้นแอนดรอยด์
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
Noppinij
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

removing-your-personally-identifiable-information-from-Google-Search-17
Miscellaneous

[Tips] วิธีลบข้อมูลส่วนตัวออกจากผลการค้นหา Google ทั้งเบอร์โทรศัพท์ อีเมล ที่อยู่ รูปภาพลายเซ็น รูปภาพ และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ

28 เมษายน 2022
Apple

วิธีการกู้คืนรหัสผ่าน Apple ID, iCloud, iTunes, App Store ในกรณีลืมหรือหายโดยละเอียด

8 กุมภาพันธ์ 2017
how-to-google-trips-cover
Your Updates

[Tips] คัมภีร์ Google Trips แอพพลิเคชั่นเด็ดที่ขาเที่ยวห้ามพลาด!

21 กันยายน 2016
pokemon go
Android

ลิงก์ดาวโหลด Pokemon Go ในไทยอย่างเป็นทางการบน iOS / Android พร้อมตำราการเล่นเพื่อให้เริ่มต้นเป็นเทรนเนอร์ที่หนึ่งของโลก!

6 สิงหาคม 2016
Miscellaneous

[Tips] วิธีเปรียบเทียบรีวิวมือถือและอุปกรณ์ IT ง่ายๆ บนเว็บไซต์ APPDISQUS

28 กรกฎาคม 2016
catch-pikachu-screenshot-pokemon-go
Android

[Pokemon Go Tip] ทำอย่างไร ให้ได้ปิกาจู (Pikachu) มาเป็นโปเกม่อนตัวแรก!

11 กรกฎาคม 2016
What Score?
8.2
Devices

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

By Noppinij1 กรกฎาคม 2025
7.5
Accessories

รีวิว Xiaomi Smart Band 10 ดีไซน์ใหม่ ฟีเจอร์แน่น ใช้งานคุ้มเกินราคา

By Noppinij28 มิถุนายน 2025
90
Game Review

Review : Death Stranding 2 เข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังเก็บหัวใจเดิมไว้อย่างครบถ้วน

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya23 มิถุนายน 2025
8.0
Devices

รีวิว Redmi Pad 2 แท็บเล็ตสายเอนเตอร์เทน จอใหญ่ สเปกครบ ใช้งานลื่นไหลได้ข้ามวัน ด้วยแบต 9000mAh!

By Noppinij19 มิถุนายน 2025289 Views

On AppDisqus Channel

รีวิว Sony WH-1000XM6 หูฟังตัดเสียงรบกวนที่แม่นยำที่สุดของโซนี่! ดียังไง? มีอะไรใหม่?

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
WINDOWS

ยอดผู้ใช้ Windows หาย 400 ล้านใน 3 ปี แต่ Mac ก็ใช่ว่าจะรอด

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya1 กรกฎาคม 2025

เปิดตัว OPPO Reno14 Series 5G อัปเกรดประสบการณ์ The AI Portrait Expert ด้วย AI Flash Photography ราคาเริ่มต้น 12,999 บาท

1 กรกฎาคม 2025
8.2

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

1 กรกฎาคม 2025

ลือ Redmi Turbo 5 Pro พร้อมแบตยักษ์! ใหญ่กว่า 8000mAh ลุ้นใช้ต่อใน Poco F8

1 กรกฎาคม 2025

Halo Studios เตรียมเปิดเผยรายละเอียดเกม Halo ใหม่ 24 ตุลาคม นี้

1 กรกฎาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
WINDOWS

ยอดผู้ใช้ Windows หาย 400 ล้านใน 3 ปี แต่ Mac ก็ใช่ว่าจะรอด

1 กรกฎาคม 2025
News

เปิดตัว OPPO Reno14 Series 5G อัปเกรดประสบการณ์ The AI Portrait Expert ด้วย AI Flash Photography ราคาเริ่มต้น 12,999 บาท

1 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

1 กรกฎาคม 2025
News

ลือ Redmi Turbo 5 Pro พร้อมแบตยักษ์! ใหญ่กว่า 8000mAh ลุ้นใช้ต่อใน Poco F8

1 กรกฎาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo