Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Apple » iPhone Updates » News » จับเข่ามานั่งเคลียร์: อย่า Like อย่า Share ภาพนี้!! ถ้าไม่อยากโดนสวมเขาแบบไม่รู้ตัว?
Apple

จับเข่ามานั่งเคลียร์: อย่า Like อย่า Share ภาพนี้!! ถ้าไม่อยากโดนสวมเขาแบบไม่รู้ตัว?

16 พฤศจิกายน 20152 Mins Read

 

เทรนด์อย่างหนึ่งในสังคมออนไลน์ทุกวันนี้ ก็คือ พฤติกรรมที่เรียกกันว่า “ดักควาย” เราขอไม่ขยายความวลีนี้นะครับ เชื่อว่าทุกคนรู้ความหมาย ซึ่งพฤติกรรมนี้มักจะเกิดตามกระแสสังคมออนไลน์ที่ทำท่าว่าจะเอนอียงไปด้านใดด้านหนึ่งแบบสุด ๆ ชนิดที่เรียกว่า “ไม่คิด” กันเลยทีเดียว คนอีกกลุ่มจะเถียงหรือแชร์โดยใช้ตรรกะและเหตุผล แต่ก็มีคนอีกบางกลุ่มรู้ดีว่าตรรกะและเหตุผลเอามาใช้ไม่ได้ในสถานการณ์แบบนั้น จึงดัดนิสัยคน “ไม่คิด” ด้วยรูปหรือโพส “ดักควาย” อันเป็นข้อมูลที่เป็นเท็จ ซึ่งคาดว่าคนกลุ่ม “ไม่คิด” จะ Like และ Share แบบไม่คิดอีกเช่นเคย

1424500_381023922032557_2088606763_n

 

Advertisement
Advertisement
Advertisement

อย่างไรก็ตาม คนโพส “ดักควาย”  ก็พอจะมีจรรยาบรรณอย่างหนึ่งอยู่บ้าง นั่นคือ จะแนบเฉลยไว้ในโพสทุกครั้ง หรืออย่างน้อย ๆ ก็จะแนบเฉลยเอาไว้ในคอมเม้นท์ โดยส่วนใหญ่แล้ว กลุ่มคนที่แชร์แบบไม่คิด จะไม่อ่านข้อความนั้นเลย

 

 

[quote]

หากคนไทยมีความสามัคคีกัน และช่วยกันปกป้องดินแดนทั้งหมดเอาไว้ได้ ประเทศไทยจะมีอาณาเขตกินเนื้อที่ราว 5,283,000 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าประเทศไทยในปัจจุบันถึง 10 เท่า หรือใหญ่กว่าสหภาพยุโรปทั้งหมดรวมกันเสียอีก

น่าเศร้าที่ประเทศไทยซึ่งเคยเป็นชาติอันยิ่งใหญ่กว่าเหล่าประเทศในสหภาพยุโรปที่หลงลืมความยิ่งใหญ่ของอดีตไปและเอาแต่เดินตามฝรั่งมังค่าที่มีดินแดนเล็กกว่าประเทศไทยโบราณหลายเท่าตัว วิญญาณบรรพบุรุษที่เสียสละเลือดเนื้อปกป้องแผ่นดินไว้ต้องหลั่งน้ำตาเป็นแน่แท้

ลูกหลานไทยจงอย่าได้ลืมประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของเรา เราต้องร่วมมือกัน เพื่อทวงคืนดินแดนที่บรรพบุรุษสูญเสียไปกลับมาเป็นของคนไทยอีกครั้ง
อ้างอิงจากแผนที่ไทยโบราณในแบบเรียนของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช https://www.facebook.com/photo.php?fbid=380950782039871&set=a.300634830071467.1073741828.207705419364409&type=1&theater

 

[/quote]

หมายเหตุ: สีเขียว คือข้อความดักควาย สีแดง คือเฉลย

 

ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นอาจารย์คณิตศาสตร์ จะบอกว่า การสอนผ่านความจริงที่ผิดพลาดนี้ถือว่าเป็นเทรนด์ในวงการคณิตศาสตร์เช่นกัน แต่จะบอกนักศึกษาว่ามันผิด!! แล้วตั้งคำถามกลับไปว่ามันผิดจุดไหน? เท่านี้นักศึกษาก็จะพยายามค้นคว้าหาความจริงด้วยตัวเอง อย่างสนุกสนาน…

 

เช่นเดียวกันกับเรื่องโพสดักควาย มันจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าคนที่ถูกดัก Like และ Share ไปแล้ว ไม่รู้ว่ามันผิด แถมบางคนอาจบันทึกแค่รูปแล้วไปโพสแชร์ต่อโดยไม่แนบเฉลยไปด้วย ทีนี้แม้แต่คนรู้จักคิดหน่อย ก็อาจเข้าใจผิดไปได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงขอนำเสนอข้อความจริงเกี่ยวกับรูปภาพข้างต้นนะครับ ซึ่งที่มาก็นำมาจากแฟนเพจที่โพสรูปดังกล่าวนั่นหละครับ ข้อความจริงระบุว่า …

1425667_380950782039871_1845001586_n

 

 

[quote]

ประวัติศาสตร์เสียดินแดน: จากนิทานสร้างชาติ สู่เครื่องมือสร้างอคติและความเกลียดชัง

– ขุนวิจิตรมาตรา เริ่มต้นเรื่องด้วยคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต

– หลวงวิจิตรวาทการ ระบุว่าไทยเสียดินแดน 5 ครั้ง

– แบบเรียนของไทยวัฒนาพานิชระบุว่าไทยเสียดินแดน 8 ครั้ง

– ขณะที่โลกยุคใหม่ คลิป Youtube ที่มีการแชร์ทั่วไประบุว่าไทยเสียดินแดน 14 ครั้ง

 

นี่คือพล็อตประวัติศาสตร์ที่เรารู้จักกันดี และดูเหมือนยิ่งเวลาผ่านไปเรายิ่งเสียดินแดนมากครั้งขึ้นทุกทีๆ

โดยไม่มีใครเคยถามเลยว่า มีหลักฐานอะไรยืนยันบ้าง?

 

นับตั้งแต่ความขัดแย้งกรณีปราสาทเขาพระวิหารเริ่มปรากฏ หนังสือ, คลิป, คำอธิบายก็ปรากฏตีพิมพ์ออกมามากมาย ทั้งโดยนักวิชาการอาชีพและมือสมัครเล่น แต่ทั้งหมดมีแบบแผนการเล่าคล้ายกัน คือเริ่มด้วย“พล็อตเรื่อง”ประวัติศาสตร์การเสียดินแดน และความทรงจำอันเจ็บปวดว่าด้วยการเสียดินแดนถูกผลิตซ้ำผ่านตำราเรียนให้กับคนไทยรุ่นแล้วรุ่นเล่า

 

ปัญหาของประวัติศาสตร์ชนิดนี้คือการเอาความเข้าใจแบบรัฐสมัยใหม่ ไป“ยัด”ใส่รัฐโบราณ โดยที่รัฐโบราณไม่มีกรอบคิดเรื่องเส้นเขตแดนใดๆ ความสัมพันธ์อำนาจระหว่างแต่ละเมืองแต่ละรัฐก็เป็นไปอย่างหลวมๆ เมืองประเทศราชส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมดก็คือเมืองสองฝั่งฟ้า

 

แหล่งกำเนิดของคนไทยว่ามาจากเทือกเขาอัลไต (ระบุด้วยว่าคุปติ?) รวมถึงอาณาเขตไทยโบราณอันยิ่งใหญ่กินพื้นที่เกือบทั้งแผ่นดินจีนนั้น ทุกวันนี้เราก็ทราบกันดีว่าเป็นเพียงนิทานที่ไม่มีหลักฐานใดรองรับ

 

และเพียงแค่ตัวหนังสือ, รูปภาพและคลิป บนฐานของพล็อตประวัติศาสตร์ที่ไร้ที่มาที่ไป ก็แสดงตัวออกมาเป็นความเกลียดชัง-ความเป็นศัตรู-ความรุนแรง ที่ถูกโหมกระพือ นำไปสู่สงครามจริงๆมีคนตายจริงในที่สุด

 

เมื่อเราเริ่มเข้าสู่การเป็น Modern State “พล็อตประวัติศาสตร์เสียดินแดน”นี้ ถูกใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือสร้างชาติ นั่นคือเหตุผลของยุคสมัยนั้นอันมาจากความมุ่งหวังที่ดีของคนในยุคนั้น

 

แต่เมื่อถึงปัจจุบันที่การศึกษาประวัติศาสตร์พัฒนารอบด้าน ผู้คนมีความรู้เกี่ยวกับโลกกว้างขึ้น-และ”คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต”กลายเป็นเรื่องตลก- ประวัติศาสตร์เสียดินแดนนี้จึงกลายเป็นมายาคติที่มีไว้ย้ำความเกลียดชัง สร้างความเป็นศัตรู และนำไปสู่ความรุนแรงได้ในที่สุด

 

คำถามคือ พล็อตประวัติศาสตร์สร้างความเกลียดชังนี้ ยังจำเป็นแค่ไหนในโลกศตวรรษที่ 21?

 

—————

อ้างอิง

– พวงทอง ภวัครพันธุ์, รัฐและขบวนการอนารยะสังคมไทยในกรณีปราสาทพระวิหาร State and Uncivil Society in Thailand at the temple of Preah Vihear

– ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประมวลแผนที่ :ประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์-การเมืองกับลัทธิอาณานิคมในอาเซียน-อุษาคเนย์

– ธงชัย วินิจจะกูล, กำเนิดสยามจากแผนที่ ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ Siam Mapped A History of the Geo-body of a Nation

[/quote]

 

 

สุดท้ายนี้ขอฝากถึงทั้งคนโพส คน Like และคน Share นะครับว่า ในตอนนี้สังคมออนไลน์กฎหมายยังเอื้อมถึงยาก บรรทัดฐานทางสังคมก็ไม่ได้เกิดง่าย ๆ ด้วยตัวบุคคล แต่สิ่งที่ตัวเราทำได้และควรมี ก็คือ “ความรับผิดชอบ” ?

 

 

ที่มา: แฟนเพจ New Culture

Advertisement
จับเข่ามานั่งเคลียร์ ดักควาย
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
ดร.อเสข ขันธวิชัย
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Featured Story

จับเข่ามานั่งเคลียร์: อันตรายของระบบสแกนลายนิ้วมือ รูม่านตา และใบหน้า คำตอบที่ดีสุดตอนนี้คือการยืนยันตัวตน 2+ ขั้นตอน ใช่หรือไม่?

2 พฤศจิกายน 2016
Miscellaneous

[จับเข่ามานั่งเคลียร์] Pen-Pineapple-Apple-Pen ไวรัลในโลกโซเชียล และวิธีแก้เพลงนี้ที่ติดหู ที่มาที่ไป รวม Cover น่ารัก ๆ ทั้งหมด

26 กันยายน 2016
Miscellaneous

จับเข่ามานั่งเคลียร์: สิ่งที่น่ากังวลใจมากที่สุด 5 มาตรา พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับใหม่ คนออนไลน์ของเสนอทางออก!!

20 มิถุนายน 2016
Miscellaneous

จับเข่ามานั่งเคลียร์: ดราม่ารายวันใน Facebook!! สังคมมันแย่ลง หรือ เราโดนเพจดัง ๆ ชวนให้ “มโน” กันไปเอง ?

14 มีนาคม 2016
Apple

จับเข่ามานั่งเคลียร์ : ทำไม Facebook ไม่คิดออก Apps ใส่รูปธงชาติไทยในรูปโปรไฟล์ ตอนเกิดเหตุที่ราชประสงค์?

15 พฤศจิกายน 2015
Apple

จับเข่ามานั่งเคลียร์: Barcode และ QR Code คืออะไร? ต่างกันอย่างไร? ทำงานอย่างไร? มีกี่ประเภท และรูปแบบที่เรายังไม่เคยเห็นมาก่อน

14 มีนาคม 2015
What Score?
78
Game Review

Review : FATAL FURY: City of the Wolves ฉูดฉาดขึ้น! มันส์ขึ้น! ถูกใจแฟนเกมแน่นอน!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya2 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

By Noppinij1 กรกฎาคม 2025
7.5
Accessories

รีวิว Xiaomi Smart Band 10 ดีไซน์ใหม่ ฟีเจอร์แน่น ใช้งานคุ้มเกินราคา

By Noppinij28 มิถุนายน 2025
90
Game Review

Review : Death Stranding 2 เข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังเก็บหัวใจเดิมไว้อย่างครบถ้วน

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya23 มิถุนายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Sony WH-1000XM6 หูฟังตัดเสียงรบกวนที่แม่นยำที่สุดของโซนี่! ดียังไง? มีอะไรใหม่?

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Gaming

NASCAR Heat ประกาศปิดเซิร์ฟเวอร์ออนไลน์ 1 สิงหาคม 2568 หลังโอนสิทธิ์ให้ iRacing

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya5 กรกฎาคม 2025

Helldivers 2 เตรียมลง Xbox สิงหาคมนี้ แต่ไม่มีใน Game Pass

5 กรกฎาคม 2025

มีรายงาน Qualcomm ยกเลิกชิป 2nm จาก Samsung รุ่น Snapdragon 8 Elite Gen 2

5 กรกฎาคม 2025

สุดเซอร์ไพรส์! SpongeBob: Krusty Cook‑Off โผล่ PS4/PS5 โดยไม่ตั้งตัว

4 กรกฎาคม 2025

Steam เพิ่มตัวเลือกปิดแจ้งเตือนเนื้อหาผู้ใหญ่แบบถาวรแล้ว

4 กรกฎาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Gaming

NASCAR Heat ประกาศปิดเซิร์ฟเวอร์ออนไลน์ 1 สิงหาคม 2568 หลังโอนสิทธิ์ให้ iRacing

5 กรกฎาคม 2025
Xbox & PC World

Helldivers 2 เตรียมลง Xbox สิงหาคมนี้ แต่ไม่มีใน Game Pass

5 กรกฎาคม 2025
Android

มีรายงาน Qualcomm ยกเลิกชิป 2nm จาก Samsung รุ่น Snapdragon 8 Elite Gen 2

5 กรกฎาคม 2025
PlayStation World

สุดเซอร์ไพรส์! SpongeBob: Krusty Cook‑Off โผล่ PS4/PS5 โดยไม่ตั้งตัว

4 กรกฎาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo