Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Miscellaneous » News » จับเข่ามานั่งเคลียร์: สรุปข้อมูลและประเด็นปัญหา เกี่ยวกับชุดกฎหมายดิจิทัล ทั้ง 10 ฉบับ เข้าใจง่ายๆ เพียง 4 ขั้นตอน
Miscellaneous

จับเข่ามานั่งเคลียร์: สรุปข้อมูลและประเด็นปัญหา เกี่ยวกับชุดกฎหมายดิจิทัล ทั้ง 10 ฉบับ เข้าใจง่ายๆ เพียง 4 ขั้นตอน

27 มกราคม 20153 Mins Read

 

 เพื่อป้องกันการก่นดาและสาปแช่งคนเขียนจากผู้อ่านที่สนับสนุนและคัดค้านชุดกฎหมายดิจิทัลทั้ง 10 ฉบับนี้ ผมขอออกตัวก่อนจะเขียนบทความนี้นะครับว่า ผมต้องการเพียงนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องเท่านั้น ผมไม่ได้มีความสามารถเพียงพอที่จะวิเคราะห์หรือวิจารณ์ใดๆ ทั้งสิ้น แต่ผมนำเสนอบทความนี้เพื่อเป็นสื่อและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้เพื่อนๆ ที่ติดตามเราได้เข้าใจว่า ชุดกฎหมายดิจิทัลทั้ง 10 ฉบับที่สังคมออนไลน์กำลังพูดคุยกันอยู่ในขณะนี้มันคืออะไร? รายละเอียดเป็นอย่างไร? มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง? ไม่ได้มีเจตนาเพื่อชี้นำเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น แม้บางประโยคอาจจะเผลอไปบ้างก็ต้องขออภัยล่วงหน้านะครับ :D

B8KzjL6CYAIfsjB (1)

 

ประเด็นปัญหาคือชุดกฎหมายดิจิทัลทั้ง 10 ฉบับนี้ มันคือ “กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล” หรือ “กฎหมายความมั่นคงดิจิทัล” กันแน่ ??

 

Advertisement
Advertisement
Advertisement

ในบทความนี้

  • เท้าความ เล่าเรื่อง
  • ขั้นตอนการร่างพระราชบัญญัติ
  • รายละเอียดของชุดกฎหมายดิจิทัล
  • ความกังวลและเหตุผลในการร่างชุดกฎหมาย
  • เพื่อนๆ มีความคิดเห็นกันอย่างไรกับร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับนี้ ?
  • แหล่างข้อมูลอ้างอิง

เท้าความ เล่าเรื่อง:

ซีรี่ย์ยาวเรื่องนี้เริ่มขึ้นมาเมื่อคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา อนุมัติหลักการร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องต่ออุตสาหกรรมไอทีและอินเทอร์เน็ต จำนวน 10 ฉบับ ภายใต้แนวคิดการส่งเสริม Digital Economy ของประเทศไทย ได้แก่ [อ้างอิง 1]

  1. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  2. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อกำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  3. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
  4. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
  5. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
  6. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  7. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
  8. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  9. ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  10. ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

 

นอกจากนี้ ยังมีร่างกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและสิทธิเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารอีกจำนวนหนึ่ง เช่น ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย ที่จะทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมีความรับผิดเหมือนกับมาตรา 15 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปัจจุบัน (เท่ากับว่าที่จะแก้ไขมาตรา 15 ในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ให้มีข้อยกเว้นความรับผิดให้กับผู้ให้บริการ ก็มารับผิดตาม พ.ร.บ.นี้แทน) หรือร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เกี่ยวกับเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้ต้องสงสัย ที่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าถึงข้อมูลได้ตามที่ศาลอนุญาต (ซึ่งตามร่างแก้ไขวิอาญานี้ อย่างน้อยน่าจะดีกว่ามาตรา 34 ตามร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่ไม่ระบุถึงการพิจารณาของหน่วยงานตุลาการที่เป็นอิสระเลย) [อ้างอิง 2]

 

ภายหลังอนุมัติได้มีหลายหน่วยงานออกมาคัดค้าน ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายพลเมืองเน็ต ที่มองว่ากฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายเพื่อความมั่นคงมากกว่า ทั้งเรื่องการคืนคลื่นความถี่ให้รัฐบาล การเข้าถึงข้อมูลประชาชน การดักฟังข้อมูล โดยอ้างว่าทำเพื่อความมั่นคงของประเทศ สอดคล้องกับความกังวลของกลุ่มนักกฎหมายว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงมากเกินไป อันจะเป็นผลเสียมากกว่าการพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบาย Digital Economy ขณะที่ยังได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงทางไซเบอร์ฯ เขียนเพื่อจัดตั้งองค์กรทำหน้าที่ป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบในวงกว้าง และในเนื้อหาบางมาตราก็ยังมีการใช้คำว่า ไปรษณีย์ และ โทรเลข ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับโลกไซเบอร์ และเป็นการสื่อสารยุคเก่าที่ไม่มีแล้ว จึงตั้งข้อสังเกตว่าเกิดจากความเร่งรีบในการแก้กฎหมายจนเกินไปหรือไม่?

seminar-ict-laws-nbtc-nida-620x304

 

ส่วนความคืบหน้าในการผลักดันกฎหมายฉบับนี้ก็ยังดำเนินต่อไปตามขั้นตอน(ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมของ สนช.) แม้จะมีเสียงคัดค้านจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งที่ปรึกษารองนายกออกมาพูด, สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ออกมาเรียกร้อง, หรือเครือข่ายพลเมืองเน็ตเข้าชื่อหยุดกฎหมาย ตอนนี้ก็ยังไม่มีผลอะไรครับ ซึ่งนายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีไอซีที ยืนยันว่า พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ที่สร้างหน่วยงานใหม่ มีอำนาจดักฟังและสั่งการเอกชนว่าจะเดินหน้าต่อ หากจะแก้ไขก็ยังทำได้ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และในการพิจารณาของ สนช. ส่วนพลเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด ก็ยืนยันแบบเดียวกันว่าขณะนี้ร่างอยู่ในชั้นกฤษฎีกา และหากมีข้อทักท้วง ผู้คัดค้านสามารถเสนอเข้าไปยังชั้น สนช. ได้เลย [อ้างอิง 3]

 

เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนอันจะเป็นประโยชน์ในการติดตามข่าวสารและการพิจารณาชุดกฎหมายฉบับนี้ร่วมกัน เรามาทำความเข้าใจกระบวนการร่างพระราชบัญญัติกันก่อนนะครับ

 

ขั้นตอนการร่างพระราชบัญญัติ

สำหรับขั้นตอนการร่างพระราชบัญญัติตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ระบุเอาไว้มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ (ขออนุญาตยกข้อความมาทั้งหมด โดยไม่ตัดทอนหรือใส่เนื้อหาเพิ่มเติมนะครับ) [อ้างอิง 4]

 

[quote]

มาตรา ๑๔ พระมหากษัตริย์ทรงตราพระราชบัญญัติโดคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ร่างพระราชบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกันจํานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือคณะรัฐมนตรี หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติตามมาตรา ๓๑ วรรคสอง แต่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็แต่โดยคณะรัฐมนตรี

ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินตามวรรคสอง หมายความถึงร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้ หรือการดําเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หรือเงินตรา

ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติที่เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้วินิจฉัย

ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือสภาปฏิรูปแห่งชาตินั้นคณะรัฐมนตรีอาจขอรับไปพิจารณาก่อนสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะรับหลักการก็ได้

การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้กระทําได้โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ แต่การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้กระทําโดยคณะรัฐมนตรีหรือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น

 

มาตรา ๑๕ ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

 

ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย และพระราชทานคืนมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นใหม่ ถ้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่แล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนําร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีนําพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว

[/quote]

 

 

สำหรับพระราชบัญญัติชุดกฎหมายดิจิทัลทั้ง 10 ฉบับนี้ เป็นพระราชบัญญัติที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรีทั้งหมด ซึ่งกระบวนการยกร่างพระราชบัญญัติชุดนี้ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาและให้ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนที่จะบรรจุเข้าในระเบียบวาระการประชุมของ สนช. ต่อไป

 

รายละเอียดของชุดกฎหมายดิจิทัล

สำหรับชุดกฎหมายดิจิทัลทั้ง 10 ฉบับ เราจะขอสรุปสาระสำคัญ พร้อมลิงค์ดาวน์โหลดฉบับเต็มไว้ให้เพื่อนๆ ได้ศึกษา ดังต่อไปนี้ [อ้างอิง 5]

 

1. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ [Download]

สาระสำคัญ: กำหนดให้มีคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจเป็นรองประธานกรรมการ กำหนดให้มีคณะกรรมการเฉพาะด้าน 5 ด้าน คือ ด้าน Hard Infrastructure ด้าน Soft Infrastructure ด้าน Service Infrastructure ด้าน Digital Economy Promotion และด้าน Digital Society and Knowledge

 

2. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อกำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม [Download]

สาระสำคัญ: กำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้ครอบคลุมการทำงานในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ที่มีมิติของภารกิจและความรับผิดชอบเพิ่มเติมขึ้นจากเดิม แบ่งส่วนราชการระดับกรมในกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกเป็น 5 ส่วนราชการ ประกอบด้วย สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล กรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยเฉพาะในส่วนของสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการเฉพาะด้านจำนวน 5 ด้าน

 

3. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ [Download]

สาระสำคัญ: แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ (เป็นการโอนสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2545)

 

4. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ [Download]

สาระสำคัญ: แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะการทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การให้สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมันคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเป็นหน่วยงานกลาง ตลอดจนการให้สำนักงบประมาณ (สงป.) และกระทรวงการคลัง (กค.) สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ

 

5. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ [Download]

สาระสำคัญ: กำหนดหลักเกณฑ์การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ การให้มีคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ การจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ (เป็นการโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทุนและทรัพย์สิน ของสำนักความมั่นคงปลอดภัย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ไปเป็นของสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้)

 

6. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล [Download]

สาระสำคัญ: กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้หรือเปิดเผย และข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งสามารถทำให้ระบุตัวบุคคลนั้นได้ สิทธิของเจ้าของข้อมูล หลักเกณฑ์การร้องเรียน และการให้มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

7. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล [Download]

สาระสำคัญ:  กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ และการจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

 

8. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม [Download]

สาระสำคัญ: จัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และให้มีคณะกรรมการกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

9. ร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม [Download]

สาระสำคัญ: ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ให้ยกเลิกคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม และแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่

 

10. ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) [Download]

สาระสำคัญ: แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอกนิกส์ (องค์การมหาชน)

 

 

ความกังวลและเหตุผลในการร่างชุดกฎหมาย

สำหรับความกังวลที่มีต่อชุดกฎหมายดิจิทัลทั้ง 10 ฉบับนี้ ผมขออ้างอิงข้อสรุปการประชุมของสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ซึ่งได้ยื่นให้คณะรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีใจความว่า สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ในฐานะองค์กรของผู้ประกอบวิชาชีพการผลิตข่าวออนไลน์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากร่างกฎหมายดังกล่าว ได้ประชุมหารือกันเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว มีความเห็นเบื้องต้นเสนอไปยังนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ [อ้างอิง 6]

spying-on-you-1-620x349

 

 

[quote]

1.สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์สนับสนุนหลักการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ “ดิจิทัล” มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่ไม่เห็นด้วยหากจะมีการผลักดันดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมด้วยการเร่งรัดออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน

2.เนื้อหาของร่างกฎหมายหลายฉบับมีลักษณะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชน ซึ่งจะมีผลในการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อันเป็นการออกกฎหมายที่ไม่ส่งเสริมหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาบางส่วนที่จำกัดการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนด้วย

3.พนักงานเจ้าหน้าที่ในร่างกฎหมายหลายฉบับถูกกำหนดให้มีอำนาจอย่างไร้ขอบเขตและปราศจากการกลั่นกรอง หรือมีการรับรองการใช้อำนาจเข้าตรวจค้นจับกุม ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิของเอกชน เช่น การให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นจับกุมโดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการขยายขอบเขตการให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ ที่ไม่เข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงง่ายต่อการใช้อำนาจไปในทางที่ผิดจนเป็นการรบกวนสิทธิของประชาชน

4.ลักษณะของเนื้อหาตามร่างกฎหมายบางฉบับ มีการหมกเม็ดให้อำนาจแก่หน่วยงานรัฐโดยปราศจากการตรวจสอบจากกฎหมาย หรือหน่วยงานใดๆ ซึ่งถือเป็นการผิดวิสัยของการร่างกฎหมายที่ไม่เป็นตามมาตรฐานของการบัญญัติกฎหมาย หรือเข้าข่ายการร่างกฎหมายตามอำเภอใจ ซึ่งหากไม่มีการพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว กฎหมายที่ออกมาก็จะเป็นกฎหมายที่ขัดต่อหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)

5.เนื้อหาของร่างกฎหมายหลายฉบับมีลักษณะของการ “ควบคุม” มากกว่า “ส่งเสริม” การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมโดยดิจิทัล ตามเจตนารมณ์ที่รัฐบาลประกาศต่อสาธารณชน ซึ่งอาจจะมีผลให้ภาคธุรกิจต่างประเทศถอน หรือยกเลิกการลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

[/quote]

 

ด้วยเหตุผลข้างต้น สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จึงขอเรียกร้องมายังนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ชะลอการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวทั้ง 10 ฉบับ และเปิดการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง เพื่อให้การพิจารณาผลักดันนโยบายสำคัญของรัฐบาลเป็นไปด้วยความรอบคอบ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในระยะยาวต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม ก็มีคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ที่ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในวันที่ 21 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา ถึงความจำเป็นทีต้องมีชุดกฎหมายดิจิทัล เป็นคำพูดง่ายๆ แต่ได้ใจความชัดเจนตามสไตล์ของท่านว่า

 

[quote]

ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยังต้องผ่านการกลั่นกรองจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อย่างรอบคอบอีกชั้นหนึ่ง รัฐบาลไม่คิดล้วงตับหรือละเมิดสิทธิ์ประชาชน เป็นเรื่องของกฎหมาย

 

“ส่วนที่ดีไม่มีใครพูด อะไรที่ไม่ดีอย่างกรณีจะถูกปิดกั้น ไม่ได้ปิดกั้น เปิดดูในโทรศัพท์สิ มีไหม ที่เขียนอะไรไม่ดีที่มาจากต่างประเทศเรื่องสถาบัน แล้วมาด่าว่าทำไมผมไม่ดูแล แต่เวลาผมจะดูแล ก็ไม่ให้ดู ผมไม่ได้จะไปล้วงตับท่าน ไม่ได้ไปดูส่วนตัวท่าน”

[/quote]

 

 

สรุปว่าสำหรับประเด็นเรื่องการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลนั้นทุกฝ่ายเห็นความจำเป็นร่วมกัน แต่มีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการอนุญาตให้หน่วยงานตามพระราชบัญญัติสามารถ ดักฟัง หรือเข้าถึงข้อมูลของประชาชนโดยไม่ต้องมีหมายศาล ที่ฝ่ายต่อต้านก็อ้างเรื่องการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและการให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากเกินไป และขาดการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนรัฐบาลก็อ้างเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการตรวจสอบผู้กระทำผิดอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง งานนี้ผลสรุปจะลงเอยอย่างไร เรา … แม้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ก็สมควรอย่างยิ่งที่ต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดนะครับ

 

เพื่อนๆ มีความคิดเห็นกันอย่างไรกับร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับนี้ ?

 

 

แหล่างข้อมูลอ้างอิง:

[อ้างอิง 1] http://www.biothai.net/news/25781

[อ้างอิง 2] https://thainetizen.org/2015/01/digital-economy-cyber-security-bills-comments/

[อ้างอิง 3] https://www.blognone.com/node/65104

[อ้างอิง 4] http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF

[อ้างอิง 5] https://thainetizen.org/2015/01/new-thailand-digital-economy-organizations-structure-2015/

[อ้างอิง 6] http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000008587

 

 

 

 

Advertisement
กฎหมายความมั่นคงดิจิทัล กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล คสช. ชุดกฎหมายดิจิทัล
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
ดร.อเสข ขันธวิชัย
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Miscellaneous

จับเข่ามานั่งเคลียร์: สิ่งที่น่ากังวลใจมากที่สุด 5 มาตรา พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับใหม่ คนออนไลน์ของเสนอทางออก!!

20 มิถุนายน 2016
Android

แอป “รักษาดินแดน” ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเกินขอบเขต หรือ เป็นแค่เรื่องปกติ? แอปสังคมออนไลน์ใหม่จาก นรด.

3 มิถุนายน 2016
Miscellaneous

สตช. ระบุ หาก “ร่าง พรบ. คอมฯ ฉบับใหม่” ผ่าน จะสามารถติดตามมือปล่อยและคนเผยแพร่แถลงการณ์ปลอมใน LINE ได้ง่ายขึ้น แต่ตอนนี้ทำยาก!!

3 กุมภาพันธ์ 2015
News

รัฐบาลมองการณ์ไกล? ร่วมมือกับ Microsoft ทำแท็บเล็ตเพื่อคนไทยราคาประหยัด ภายใต้แบรนด์ “คืนความสุข”

7 พฤศจิกายน 2014
Miscellaneous

อัพเดทโค้งสุดท้าย กับการแจกคูปองดิจิตอลทีวี ใกล้สรุปกับตัวเลือกสองสามข้อที่รอพิจารณา จะ 650 บาท หรือ 1000

12 กรกฎาคม 2014
Miscellaneous

ยุติลือ *777*727# คสช. แจกเน็ตฟรี! แท้จริงเป็นโครงการจาก AIS ที่กำลังทดสอบระบบ

22 มิถุนายน 2014
What Score?
78
Game Review

Review : FATAL FURY: City of the Wolves ฉูดฉาดขึ้น! มันส์ขึ้น! ถูกใจแฟนเกมแน่นอน!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya2 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

By Noppinij1 กรกฎาคม 2025
7.5
Accessories

รีวิว Xiaomi Smart Band 10 ดีไซน์ใหม่ ฟีเจอร์แน่น ใช้งานคุ้มเกินราคา

By Noppinij28 มิถุนายน 2025
90
Game Review

Review : Death Stranding 2 เข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังเก็บหัวใจเดิมไว้อย่างครบถ้วน

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya23 มิถุนายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Sony WH-1000XM6 หูฟังตัดเสียงรบกวนที่แม่นยำที่สุดของโซนี่! ดียังไง? มีอะไรใหม่?

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Gaming

เปิดตัว Destiny: Rising เกมแนว RPG Shooter เปิดให้บริการ 28 สิงหาคมนี้ บน iOS และ Android

By HallZy7 กรกฎาคม 2025

เปิดตัว Resident Evil: Survival Unit เกมวางแผนแบบ Real-Time สำหรับ iOS และ Android ปล่อยตัวอย่างแรก 10 กรกฎาคมนี้

7 กรกฎาคม 2025

iPhone 17 Pro Max จะมาพร้อมกับแบตเตอรี่ขนาด 5,000 mAh มากสุดตั้งแต่ Apple เคยทำมา

7 กรกฎาคม 2025

Ratatan เกมริทึ่มใหม่จากผู้สร้าง Patapon เลื่อนเปิด Early Access หลังฟีดแบ็กไม่ค่อยดี

6 กรกฎาคม 2025

Galaxy Z Flip 7 ภาพหลุดโชว์จอ Cover เต็มขนาด edge‑to‑edge

6 กรกฎาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Gaming

เปิดตัว Destiny: Rising เกมแนว RPG Shooter เปิดให้บริการ 28 สิงหาคมนี้ บน iOS และ Android

7 กรกฎาคม 2025
Gaming

เปิดตัว Resident Evil: Survival Unit เกมวางแผนแบบ Real-Time สำหรับ iOS และ Android ปล่อยตัวอย่างแรก 10 กรกฎาคมนี้

7 กรกฎาคม 2025
Apple

iPhone 17 Pro Max จะมาพร้อมกับแบตเตอรี่ขนาด 5,000 mAh มากสุดตั้งแต่ Apple เคยทำมา

7 กรกฎาคม 2025
Xbox & PC World

Ratatan เกมริทึ่มใหม่จากผู้สร้าง Patapon เลื่อนเปิด Early Access หลังฟีดแบ็กไม่ค่อยดี

6 กรกฎาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo