Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Miscellaneous » จับเข่ามานั่งเคลียร์: สิ่งที่น่ากังวลใจมากที่สุด 5 มาตรา พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับใหม่ คนออนไลน์ของเสนอทางออก!!
Miscellaneous

จับเข่ามานั่งเคลียร์: สิ่งที่น่ากังวลใจมากที่สุด 5 มาตรา พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับใหม่ คนออนไลน์ของเสนอทางออก!!

20 มิถุนายน 20162 Mins Read

หลายคนก็คงได้ยินมาแว่ว ๆ มาบ้างเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ที่ สนช. กำลังพิจารณาอยู่ ว่าให้อำนาจทางการสอดส่องดูแลเราได้มากขึ้น ป้องกันภัยต่าง ๆ ได้ดีขึ้น แต่ก็รุกล้ำพื้นที่ส่วนตัวของเรามากขึ้นเช่นกัน แต่หลายคนกลับแค่ปล่อยผ่าน ไม่ใส่ใจมันมากนัก จะรู้สึกตัวและมีปฏิกิริยาก็ต่อเมื่อ พ.ร.บ. ฉบับนี้ประกาศใช้แล้ว ซึ่งตอนนั้นก็คงได้แค่บ่นแต่ไร้ผลใด ๆ … ? ทำไมเราทำตัวแบบนี้นะ ผมเองก็ถามคำถามนี้กับตัวเองเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงได้คลี่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่นี้ออกมาดู หาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งมาพินิจ นำความเห็นของหลาย ๆ คนออกมาพิจารณา จึงได้ความว่า มันน่ากังวลใจยิ่งนัก!! โดยเฉพาะ 5 มาตราที่ผมจะกล่าวถึงต่อไปนี้ ด้วยเหตุนี้จึงขอสรุปประเด็นปัญหาบางส่วนของ พ.ร.บ.คอมฯ มาแสดงไว้สั้น ๆ ให้เพื่อน ๆ ชาว AppDisqus ได้อ่านและนำไปไตร่ตรองกันดูครับว่า มันน่ากังวลใจอย่างที่ผมบอกไว้หรือไม่? ดีกว่าที่จะปล่อยผ่านไปจนถึงจุดที่เราแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว

เอกสารประกอบบทความ

  1. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
  2. ร่วมลงชื่อ >> หยุด Single Gateway หยุดกฎหมายล้วงข้อมูลส่วนบุคคล

computer_law

ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่จะเสริมเขี้ยวเล็บให้รัฐ ในการสอดแนม ดักจับ และปิดกั้นข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์ให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เรามาดูว่า 5 มาตราที่น่ากังวลนี้มีอะไรบ้าง

Advertisement
Advertisement
Advertisement
  • มาตรา 8 (แก้ไขมาตรา 14 ของร่างเดิม) >> อ่านบทบัญญัติเต็ม ๆ ได้ที่นี่

นิยามคำต่าง ๆ ในมาตรานี้ เช่น “ข้อมูลเท็จ” “ความเสียหายแก่ประชาชน” และ “ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ” ไม่มีความชัดเจน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ที่แสดงความเห็นออนไลน์ถูกลงโทษอาญาฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาได้ ทั้ง ๆ ที่กรณีเช่นนี้ควรเป็นคดีแพ่งมากกว่า

  • มาตรา 9 (แก้ไขมาตรา 15 ของร่างเดิม) >> อ่านบทบัญญัติเต็ม ๆ ได้ที่นี่

มาตรานี้กำหนดโทษอาญาต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จากการแสดงความเห็นและการกระทำของผู้ใช้บริการ การกำหนดโทษดังกล่าวย่อมเป็นเหตุจูงใจให้ ISP ยอมเซ็นเซอร์ข้อมูลบางอย่างและยอมละเมิดเสรีภาพของผู้ใช้บริการ เพื่อหลีกเลี่ยงบทลงโทษของตัวเอง ซึ่งมีตั้งแต่การจ่ายค่าปรับ การถูกระงับ ไปจนถึงปิดเว็บไซต์และยกเลิกธุรกิจ

  • มาตรา 13 (แก้ไขมาตรา 18 ของร่างเดิม) >> อ่านบทบัญญัติเต็ม ๆ ได้ที่นี่

มาตรานี้เป็นการขยายอำนาจการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนโดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งศาล โดยเจ้าหน้าที่สามารถ “ขอความร่วมมือ” เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นต่อการสอบสวน โดยอาจรวมถึงการบังคับให้ถอดหรือเปิดเผยรหัสสำหรับข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสรักษาความปลอดภัยด้วย

  • มาตรา 14 (แก้ไขมาตรา 20 ของร่างเดิม) >> อ่านบทบัญญัติเต็ม ๆ ได้ที่นี่

มาตรานี้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ลบหรือระงับการเข้าถึงเนื้อหาออนไลน์ที่ถูกมองว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ว่าจะเป็นเนื้อหาที่ไม่ผิดกฎหมายใด ๆ ก็ตาม ซึ่งถือเป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการแสวงหา รับรู้ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิด

  • มาตรา 17 (แก้ไขมาตรา 26 ของร่างเดิม) >> อ่านบทบัญญัติเต็ม ๆ ได้ที่นี่

มาตรานี้ว่าด้วยการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ โดยไม่ยกเลิกข้อกำหนดเดิมที่ให้มีการเก็บรักษาข้อมูลแบบครอบจักรวาลและหว่านแห (mass surveillance) นอกจากนั้น มาตรานี้ยังขยายระยะเวลาสูงสุดของการเก็บรักษาข้อมูลจาก 1 ปีเป็น 2 ปี และไม่ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องขออำนาจจากศาลด้วย

 

ปัญหาหลักน่าจะอยู่ที่มาตรา 14 ครับ ซึ่งทางผู้เปิดแคมเปญรณรงค์หยุด พ.ร.บ. ฉบับนี้ผ่าน Change.org ได้สรุปประเด็นปัญหาออกมา 4 ข้อ โดยระบุไว้ชัดเจนและเห็นภาพออกมาเลยว่า

  1. มาตรา 14 (1) ของร่างที่แก้ไขใหม่ ยังถูกตีความให้นำมาใช้กับความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ ทั้งที่เจตนารมณ์แท้จริงของกฎหมายมุ่งที่จะแก้ปัญหาการปลอมแปลงตัวตนเพื่อหลอกลวงออนไลน์เท่านั้น
  1. มาตรา 14 (2) ของร่างที่แก้ไขใหม่ กำหนดฐานความผิดไว้อย่างคลุมเครือ เช่น ความผิดฐานโพสต์ข้อมูลเท็จที่กระทบต่อ “ความปลอดภัยสาธารณะ” หรือ “ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ” ซึ่งไม่มีนิยามอยู่ในกฎหมาย การใช้คำที่ไม่ชัดเจนเช่นนี้ อาจส่งผลให้การบังคับใช้มีปัญหา เกิดการตีความโดยเจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์ของผู้มีอำนาจในเวลานั้น
  1. มาตรา 15 และ 20 ของร่างที่แก้ไขใหม่ ให้อำนาจรัฐมนตรีออกประกาศเพิ่มเติมเรื่องหลักเกณฑ์และขั้นตอนวิธีการปิดกั้นเว็บไซต์ได้ ซึ่งปรากฏเอกสารของกระทรวงไอซีทีว่ามีการเตรียมการออกประกาศให้สามารถมีวิธีการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสเพื่อให้สามารถปิดกั้นเว็บไซต์ที่เข้ารหัสได้ และหากผู้ให้บริการ (เช่น อินเทอร์เน็ตเกตเวย์) ไม่ให้ความร่วมมือก็จะมีความผิด การกระทำดังกล่าวจะรบกวนระบบรักษาความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ต และทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดตกอยู่ในความไม่ปลอดภัย แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดใดเลยก็ตาม
  1. มาตรา 20 (4) ซึ่งเพิ่มขึ้นมาใหม่ เรื่องการปิดกั้นเว็บไซต์ จะส่งผลให้เว็บไซต์ถูก “บล็อค” ได้ แม้ว่าเนื้อหาบนเว็บไซต์จะไม่ผิดกฎหมายใด ๆ เลยก็ตาม หากคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์เห็นว่าเนื้อหาเหล่านั้น “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” ทั้งนี้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ ทั้ง 5 คนมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ และร่างกฎหมายไม่ได้กำหนดคุณสมบัติที่ชัดเจนของกรรมการ

 

อัน “สิทธิที่จะมีเสรีภาพและสิทธิความเป็นส่วนตัว” ควรได้รับการคุ้มครองตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ไทยเป็นประเทศภาคีมาตั้งแต่ปี 2539 หน้าที่ของทางการไทยจึงเป็นการคุ้มครองสิทธิดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ไม่ใช่การพยายามปิดกั้นอย่างที่เป็นอยู่

 

อย่างไรก็ตาม หากเราจะคิดในมุมมองของภาครัฐจะเข้าใจในระดับหนึ่งว่า ในตอนนี้รัฐควบคุมและดูแลสังคมออนไลน์ได้ยากมาก มันเหมือนเป็นรัฐอิสระในโลกออนไลน์ที่ไร้กฎหมายควบคุม ด้วยเหตุนี้รัฐจึงพยายามที่จะเข้าไปดูแล แต่เนื่องด้วยสังคมออนไลน์มันกว้าง เร็ว มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา เครื่องมือที่จะนำมาใช้จึงต้องมีพลังมากพอที่จะหยุดสิ่งที่ไม่เหมาะสมได้ทัน พ.ร.บ. คอมฯ ฉบับนี้จึงเป็นคำตอบสำหรับเรื่องนี้ แต่ …

IMG_7086-1

ผมคิดว่า(ความเห็นส่วนตัวมาก ๆ ไม่เกี่ยวกับ AppDisqus) หากภาครัฐมองเห็นศักยภาพของสังคมออนไลน์อย่างแท้จริง ก็จะรู้ว่าไม่มีกฎหมายใด ๆ ที่จะมาแก้ปัญหาได้อย่างหมดจด ยกเว้นจะห้ามคนไทยใช้สังคมออนไลน์ที่เป็นปัญหาไปเลย ดังนั้นภาครัฐควรสร้างกฎหรือกติกาที่เกิดจากฐานรากของสังคมออนไลน์จริง ๆ จำลองยุคสมัยก่อนที่เรายังไม่มีกฎหมาย เราพึ่งจารีตประเพณี บรรทัดฐานทางสังคม และค่านิยมในสังคมนั้น ๆ มาดูแลกันและกัน ในตอนนี้สังคมออนไลน์ก็มาถึงจุดนั้นแล้ว จะสังเกตเห็นว่าชาวเน็ตที่เล่นสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เขาไม่ได้เล่นตามใจชอบ นึกจะโพสอะไรก็โพส และไม่ได้ปล่อยปละละเลย หากมีโพสไม่เหมาะสมก็ทำการ “รายงาน” ให้เจ้าของสังคมออนไลน์นั้น ๆ ลบให้ หรือไม่ก็แชร์เพื่อตำหนิ ประจานในพันทิป และอื่น ๆ อีกมากมาย ชาวเน็ตดูแลซึ่งกันและกันให้สังคมออนไลน์นั้นอยู่อย่างสงบกันดีพอสมควร ผมมองว่ารัฐควรเพิ่มเครื่องมือให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่พยายามดูแลและควบคุมสังคมออนไลน์ของพวกเขา มากกว่าเพิ่มเครื่องมือที่มีอำนาจแต่ไร้พลังให้ตัวเอง จึงอยากเสนอแนวทางบางอย่างที่พอนึกได้ในตอนนี้ และขอความเห็นเพื่อน ๆ เพิ่มเติมด้วยนะครับ

  1. ปัญหาของการ ”รายงาน(report)” โพสไม่เหมาะสมของสังคมออนไลน์ต่าง ๆ นั้น หัวข้อที่ให้เราเลือกรายงาน ในช่วงแรกมักจะเป็นเรื่องที่ขัดกับบรรทัดฐานทางสังคมของตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีการแสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะปรับปรุงหัวข้ออยู่เสมอ แต่มันก็ยังไม่เพียงพอมากนัก ในเรื่องนี้หากรัฐจะเจรจาหรือขอร้องให้มีหัวข้อในการ ”รายงาน(report)” ครอบคลุมเรื่องที่ไม่เหมาะสมมากขึ้น จะเป็นผลดีต่อการช่วยกันสอดส่องให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  1. ศึกษาโมเดลการทำงานของแฟนเพจ “กรมทรัพย์สินทางปัญญา” ที่จัดการทางกฎหมายกับกลุ่มละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ไหว(เพราะมันเยอะมาก) แม้จะมีกฎหมายที่เอาผิดได้อยู่ในมือก็ตาม ก็ใช้พลังด้านดีของผู้ใช้งานสังคมออนไลน์ช่วยกันรายงานไปทาง Facebook หรือสังคมออนไลน์อื่น ให้ลบโพสหรือแฟนเพจละเมิดลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ได้สำเร็จ (นั่นเพราะ Facebook ให้ความสำคัญกับการละเมิดสิขสิทธิ์อยู่แล้ว ดังนั้นเราต้องทำข้อ 1 ให้ได้เสียก่อน)
  1. ประสานงานกับแฟนเพจหรือกลุ่มคนที่มีคุณภาพในการจับตาสังคมออนไลน์ เพื่อสนับสนุนทั้งการเผยแพร่ปัญหาร่วมกันและรับปัญหามาจัดการอย่างทันท่วงที มันจะเกิดความร่วมมืออันดับระหว่างภาครัฐและผู้ใช้สังคมออนไลน์ที่ดี(ต้องประชาสัมพันธ์หรือแสดงให้เห็นจริง ถึงความร่วมมือนี้ให้สังคมออนไลน์ได้รับทราบด้วย)

 

นอกจาก 3 ข้อนี้ ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกมากมายครับ ภาครัฐมีบุคลากรที่มีศักยภาพ มีอำนาจมากกว่าแฟนเพจหรือกลุ่มคนใด ๆ ในสังคมออนไลน์ การทำเรื่องนี้ไม่ได้ยากเลย และลำพังกฎหมายฉบับเดิมก็เพียงพอในการจัดการเรื่องพวกนี้แล้ว พ.ร.บ. คอมฯ ฉบับนี้ มันเป็นเครื่องมือที่ดี ถ้าอยู่ในมือคนดี แต่มันจะกลายเป็นเครื่องมือที่ชั่วร้ายถ้าตกอยู่ในมือคนที่คิดไม่ซื่อ ผมไม่ได้กลัวถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพหรอกครับ แต่ผมกลัวว่ากฎหมายฉบับนี้จะทำให้คนชั่วมันชั่วได้มากขึ้น ได้ง่ายขึ้น ได้เร็วขึ้น เมื่อถึงตอนนี้ ท่านที่เป็นคนยกมือให้กฎหมายฉบับนี้ผ่าน อาจจะรู้สึกผิดภายหลังก็เป็นไปได้

118874920

 

ที่มาคุณภาพ:

  1. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
  2. ร่วมลงชื่อ >> หยุด Single Gateway หยุดกฎหมายล้วงข้อมูลส่วนบุคคล
  3. เปิด 5 มาตรา พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับใหม่ น่าใจหายกว่าเดิม
  4. เปิดดูเนื้อใน 3 ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลที่ ครม.เห็นชอบ
  5. My Computer Law: ได้เวลา พ.ร.บ.คอมฯ ภาคประชาชน!!

Advertisement
กฎหมาย กฎหมายความมั่นคงดิจิทัล กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล จับเข่ามานั่งเคลียร์ ชุดกฎหมายดิจิทัล พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 รัฐบาล สังคมออนไลน์
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
ดร.อเสข ขันธวิชัย
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Miscellaneous

แอป “ทางรัฐ” วิธีลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

8 กรกฎาคม 2024
Miscellaneous

วิธีพิมพ์สัญลักษณ์ เครื่องหมายและสมการคณิตศาสตร์ในสังคมออนไลน์

12 ตุลาคม 2023
Android

แนะนำ 2 วิธีตั้งค่าจำกัดเวลาเล่น TikTok เพื่อบุตรหลาน หรือ ตัวเราเองนั่นหละ ^^

19 มกราคม 2023
plookganja-application-ios-android-download-how-to-7
Android

[Tips] วิธีการขออนุญาต ( ขอจดแจ้ง ) ปลูกกัญชา กัญชง ผ่านแอป ปลูกกัญ หรือ Plookganja

8 มิถุนายน 2022
facebook-ads-technical-competitor-7
Miscellaneous

[Tips] เทคนิคการยิงโฆษณาบน Facebook: การเลียนแบบโฆษณาคู่แข่งที่มีประสิทธิภาพ

16 พฤษภาคม 2022
Featured Story

เฝ้ามองและติดตามโซเชียลด้วย Zanroo เพื่อวิเคราะห์ผู้บริโภค ปรับแผนการตลาดตามกระแสโลก

30 กรกฎาคม 2019
What Score?
78
Game Review

Review : FATAL FURY: City of the Wolves ฉูดฉาดขึ้น! มันส์ขึ้น! ถูกใจแฟนเกมแน่นอน!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya2 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

By Noppinij1 กรกฎาคม 2025
7.5
Accessories

รีวิว Xiaomi Smart Band 10 ดีไซน์ใหม่ ฟีเจอร์แน่น ใช้งานคุ้มเกินราคา

By Noppinij28 มิถุนายน 2025
90
Game Review

Review : Death Stranding 2 เข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังเก็บหัวใจเดิมไว้อย่างครบถ้วน

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya23 มิถุนายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Sony WH-1000XM6 หูฟังตัดเสียงรบกวนที่แม่นยำที่สุดของโซนี่! ดียังไง? มีอะไรใหม่?

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Gaming

NASCAR Heat ประกาศปิดเซิร์ฟเวอร์ออนไลน์ 1 สิงหาคม 2568 หลังโอนสิทธิ์ให้ iRacing

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya5 กรกฎาคม 2025

Helldivers 2 เตรียมลง Xbox สิงหาคมนี้ แต่ไม่มีใน Game Pass

5 กรกฎาคม 2025

มีรายงาน Qualcomm ยกเลิกชิป 2nm จาก Samsung รุ่น Snapdragon 8 Elite Gen 2

5 กรกฎาคม 2025

สุดเซอร์ไพรส์! SpongeBob: Krusty Cook‑Off โผล่ PS4/PS5 โดยไม่ตั้งตัว

4 กรกฎาคม 2025

Steam เพิ่มตัวเลือกปิดแจ้งเตือนเนื้อหาผู้ใหญ่แบบถาวรแล้ว

4 กรกฎาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Gaming

NASCAR Heat ประกาศปิดเซิร์ฟเวอร์ออนไลน์ 1 สิงหาคม 2568 หลังโอนสิทธิ์ให้ iRacing

5 กรกฎาคม 2025
Xbox & PC World

Helldivers 2 เตรียมลง Xbox สิงหาคมนี้ แต่ไม่มีใน Game Pass

5 กรกฎาคม 2025
Android

มีรายงาน Qualcomm ยกเลิกชิป 2nm จาก Samsung รุ่น Snapdragon 8 Elite Gen 2

5 กรกฎาคม 2025
PlayStation World

สุดเซอร์ไพรส์! SpongeBob: Krusty Cook‑Off โผล่ PS4/PS5 โดยไม่ตั้งตัว

4 กรกฎาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo