Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Miscellaneous » News » [ชวนคุยยามเช้า] ชุดตัวเลขประจำตัวของ คน สินค้า ธนบัตร บัตรเติมเงิน บัตรเครดิต เราจะปลอมขึ้นมาเองได้ไหม? แล้วทำอย่างไร?
Miscellaneous

[ชวนคุยยามเช้า] ชุดตัวเลขประจำตัวของ คน สินค้า ธนบัตร บัตรเติมเงิน บัตรเครดิต เราจะปลอมขึ้นมาเองได้ไหม? แล้วทำอย่างไร?

8 มิถุนายน 20152 Mins Read

หลายคนอาจเคยได้ยินข่าวการเจาะรหัสบัตรเติมเงินและนำออกขายในประเทศไทย จนกลายเป็นข่าวใหญ่โตไปทั่วโลก ถึงขั้นถูกยกให้เป็นการโจรกรรมที่เหนือชั้นมากที่สุดคดีหนึ่งของโลก สาเหตุเพราะว่า มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะเจาะรหัสบัตรเติมเงิน หรือชุดรหัสด้านการเงินได้ เพราะชุดรหัสเหล่านี้มันมีการสร้างด้วยชุดรหัสผลิตภัณฑ์และชุดรหัสตรวจสอบที่ซับซ้อนมาก

dtac card

 

ชุดรหัสผลิตภัณฑ์และชุดรหัสตรวจสอบ คืออะไร?

ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ ผมขอออกตัวเอาไว้ก่อนนิดนึงนะครับว่า แท้จริงแล้วในการนำไปใช้งานมันอาจมีชุดรหัสที่มากกว่านี้ และซับซ้อนกว่านี้ แต่ผมจะกล่าวถึงเฉพาะชุดรหัสผลิตภัณฑ์และชุดรหัสตรวจสอบ สำหรับชุดรหัสผลิตภัณฑ์นั้นก็คือ ชุดตัวเลขประจำบัตรหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวเลขแทนชื่อผลิตภัณฑ์ มูลค่า ลำดับการออก วันเดือนปีที่ออก เป็นต้น ส่วนชุดรหัสตรวจสอบก็คือ ชุดตัวเลขที่ใช้ระบุว่าชุดรหัสผลิตภัณฑ์นั้นมีความถูกต้องหรือไม่ ซึ่งชุดรหัสตรวจสอบนี้จะอยู่ในตำแหน่งใดของชุดตัวเลขทั้งหมดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกันด้วย จะมีเพียงโปรแกรมตรวจสอบของบริษัทเท่านั้นที่รู้และตรวจสอบได้ว่ามันเป็นชุดรหัสจริงหรือปลอม?

Advertisement
Advertisement
Advertisement

 

ตัวอย่างการใช้ ชุดรหัสผลิตภัณฑ์และชุดรหัสตรวจสอบ ในชีวิตจริง

สำหรับการใช้งานชุดรหัสผลิตภัณฑ์และชุดรหัสตรวจสอบที่เห็นได้ชัดและเปิดเผยได้ก็คือ เลขบัตรประจำตัวประชาชนของไทย และ ISBN ซึ่งจะเน้นไปที่ชุดรหัสผลิตภัณฑ์มากกว่า ส่วนชุดรหัสตรวจสอบจะมีแค่ 1 ตำแหน่ง เพราะผู้รับผิดชอบอาจเล็งเห็นว่าไม่สำคัญและเน้นไปที่เอาไว้ตรวจสอบความถูกต้องมากกว่าการป้องกันการเจาะรหัส

id card 001

 

สำหรับเลขบัตรประชาชนของไทยที่มีอยู่ 13 หลัก จะมีชุดรหัสผลิตภัณฑ์หรือชุดตัวเลขแทนตัวบุคคล 12 หลัก และหลักสุดท้ายเป็นรหัสตรวจสอบ หรือเรียกว่า Check Digit ซึ่งความหมายของเลขบัตรประชาชนในแต่ละหลัก มีดังต่อไปนี้

  • หลักที่ 1: ลักษณะหรือที่มาของการได้เป็นประชาชนไทย
  • หลักที่ 2 และ 3: เลขประจำจังหวัดที่จดทะเบียน
  • หลักที่ 4 และ 5: เลขประจำอำเภอที่เราไปจดทะเบียน
  • หลักที่ 6 – 10: เลขประจำตัวในทะเบียนบ้าน
  • หลักที่ 11 และ 12: เป็นการจัดลำดับว่าเป็นคนที่เท่าไรในบุคคลประเภทนั้นๆ
  • หลักที่ 13 : รหัสตรวจสอบ หรือ Check Digit

 

ประเด็นสำคัญ ก็คือ หลักที่ 13 นี่หละครับ ทำให้เราเขียนเลขบัตรประชาชนขึ้นมามั่วๆ ไม่ได้ เมื่อเราใส่หลักที่ 1-12 แล้วต้องผ่านการตรวจสอบด้วย หลักที่ 13 ว่ามันถูกต้องหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หลักตรวจสอบ หรือ Check Digit นี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ป้องกันการปลอมอย่างชัดเจน แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าเลขบัตรประชาชนที่เรากรอกหรือส่งเข้าระบบมันถูกต้องหรือไม่? ทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น แล้วมันมีวิธีตรวจสอบอย่างไร?

 

การตรวจสอบเลขบัตรประชาชนว่ามีความถูกต้องหรือไม่? ทำได้โดยอาศัยรหัสตรวจสอบเป็นตัวเช็ค นั่นคือ นำหลักที่ 1 – 12 มาคำนวณตามสูตร ว่าจะได้ผลออกมาเป็นหลักที่ 13 หรือไม่?

 

ตัวอย่างเลขบัตรประชาชน 5-4415-00023-20-2 ซึ่ง Check Digit ของรหัสประชาชนนี้คือเลข 2

  1. นำเลขในหลักที่ 1 – 12 มาเขียนแยกหลักกันก่อน จะได้ 544150002320
  2. นำเลขทั้ง 12 ตัว มาดำเนินการโดยในแต่ละหลัก คูณเข้ากับเลขประจำหลักของมันแล้วนำมาบวกกันทั้งหมด จากเลขบัตร 544150002320 จะได้ 5×13+4×12+4×11+1×10+5×9+0x8+0x7+0x6+2×5+3×4+2×3+0x2 = 240
  3. นำผลลัพธ์ที่ได้มา mod 11 (หารเอาเศษ) จะได้ 240 mod 11 = 9
  4. เอา 11 ตั้ง ลบออกด้วย เลขที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 จะได้ 11 – 9 = 2 (จะได้ 2 เป็นเลขในหลัก Check Digit) แต่หาก ลบแล้วได้ออกมาเป็นเลข 2 หลัก ให้เอาเลขในหลักหน่วยมาเป็น Check Digit

 

ส่วนเลข ISBN ที่เป็นชุดรหัสแทนหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ ในโลกนี้ก็ทำคล้ายๆ กับเลขบัตรประจำตัวประชาชนของเราครับ จะต่างกันที่วิธีการคำนวณหารหัสตรวจสอบนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ISBN 0 8 4 3 6 1 0 7 2 7 ชุดตัวเลข 9 หลักแรกเป็นตัวเลขประจำตัวของหนังสือเล่มนั้นๆ แต่หลักสุดท้ายเป็นรหัสตรวจสอบ ซึ่งมีวิธีคำนวณหารหัสตรวจสอบโดยการนำตัวเลข 9 ตัวแรก แต่ละหลักคูณกับเลขประจำตำแหน่ง ตั้งแต่ 10 จนถึง 2 แล้วนำมาบวกกันทั้งหมด จากนั้นนำไป mod กับ 11 (หารด้วย 11 เอาเศษที่ได้มาใช้งาน) ก็จะได้ตัวเลขที่เป็นรหัสตรวจสอบตัวสุดท้าย แต่ถ้า mod แล้วได้เลข 10 ก็จะใช้ตัวอักษร X แทนครับ ตัวอย่างเช่น ISBN 0 8 4 3 6 1 0 7 2 7

 

0 x 10 + 8 x 9 + 4 x 8 + 3 x7 + 6 x 6 + 1 x 5 + 0 x4 + 7 x 3 + 2 x 2 = 191 เมื่อนำไป mod กับ 11 จะได้ตัวเลขเป็น 4 สุดท้ายให้นำ 11 – 4 = 7 ก็จะได้รหัสตรวจสอบตัวสุดท้ายครับ นั่นคือ ISBN 0 8 4 3 6 1 0 7 2 7 ถูกต้องแล้วนั่นเอง

isbn 001

 

สำหรับวิธีการข้างต้นนี้เป็นวิธีการหารหัสตรวจสอบเพื่อสร้างชุดรหัสประจำตัวบุคคลหรือสินค้า แต่สำหรับวิธีการเช็คด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะง่ายกว่านี้มากครับ แค่นำชุดตัวเลขทุกตัว(รวมรหัสตรวจสอบ)ไปคูณกับเลขประจำหลัก แล้วดูว่าผลรวมหาร 11 ลงตัวหรือไม่เท่านั้นเอง

 

ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นการสร้างชุดตัวเลขที่ง่ายๆ แต่สำหรับชุดรหัสด้านการเงินนั้น ไม่ได้ง่ายแบบนี้แน่นอน รหัสตรวจสอบจะมีมากกว่า 1 หลัก และวิธีคำนวณก็จะซับซ้อนมากกว่าการบวกและคูณ จะใช้ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่ยากๆ เข้าไว้ แต่ก็ไม่ใช่ว่ายากเกินไปจนโปรแกรมตัวสอบทำงานช้า ตอบสนองลูกค้าได้ไม่ดีนะครับ

 

ทั้งหมดนี้เพื่อที่จะบอกว่ามันไม่ง่ายเลยที่จะมีมิจฉาชีพมาถอดรหัสหรือเจาะรหัสด้านการเงินของเรา ไม่ว่าจะเป็นบัญชีธนาคาร รหัสบัตรเครดิต บัตรเติมเงิน หรืออื่นๆ อีกมากมาย และผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ เราไม่ต้องกลัวว่าเราจะบอกเลขบัญชีหรือรหัสผิดจนเพื่อนเราโอนผิดไปให้คนอื่น เพราะยังไงโปรแกรมตรวจสอบมันจะรู้ว่ารหัสเราผิดครับ ยกเว้นเราจะบอกผิดหลายตำแหน่งมากเกินไป ซึ่งเกิดขึ้นได้น้อยมาก

Advertisement
Coding Coding Theory ISBN mathematics ชวนคุยยามเช้า รหัส เลขบัตรประชาชน
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
ดร.อเสข ขันธวิชัย
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Featured Story

แนะนำเครื่องมือฟรีสอน “เด็กอายุ 4 -18 ปี” รู้จักการเขียนโปรแกรม คิดเชิงคำนวณ สร้างทักษะแห่งอนาคต

3 พฤษภาคม 2019
Android

รหัสลับ ตอนที่ 1: Vigenere Cipher และแนะนำแอปฯ สร้างรหัสลับ มีเพียงมิตรแท้เท่านั้นที่อ่านได้

19 กันยายน 2017
Miscellaneous

[เช้าชวนคุย] เดี๋ยวนี้เลือกมือถือ มันเลือกง่าย!

10 พฤศจิกายน 2016
Miscellaneous

Appdisqus ชวนคุยยามเช้า: รู้ไหมว่า? ญี่ปุ่นเปิดบัญชี LINE@ เป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงฟรี!! สำหรับนักท่องเที่ยวไทยในญี่ปุ่น

27 มิถุนายน 2016
Miscellaneous

ชวนคุยยามเช้า : หากว่าสมาร์ทโฟน….ไม่มีแรงดึงดูดอย่างที่มันทำได้สำเร็จ?

4 สิงหาคม 2015
Miscellaneous

[ชวนคุยยามเช้า] อ่านรีวิวอย่างไรดี ให้มันมีประโยชน์

2 สิงหาคม 2015
What Score?
78
Game Review

Review : FATAL FURY: City of the Wolves ฉูดฉาดขึ้น! มันส์ขึ้น! ถูกใจแฟนเกมแน่นอน!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya2 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

By Noppinij1 กรกฎาคม 2025
7.5
Accessories

รีวิว Xiaomi Smart Band 10 ดีไซน์ใหม่ ฟีเจอร์แน่น ใช้งานคุ้มเกินราคา

By Noppinij28 มิถุนายน 2025
90
Game Review

Review : Death Stranding 2 เข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังเก็บหัวใจเดิมไว้อย่างครบถ้วน

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya23 มิถุนายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Sony WH-1000XM6 หูฟังตัดเสียงรบกวนที่แม่นยำที่สุดของโซนี่! ดียังไง? มีอะไรใหม่?

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Gaming

Minecraft อัพเดทใหญ่เพิ่ม โกเล็มทองแดง และอุปกรณ์ทองแดง!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya3 กรกฎาคม 2025

เปิดตัว MY HERO ACADEMIA: All’s Justice เกมภาคสุดท้ายของแฟรนไชส์!

3 กรกฎาคม 2025

มือถือพับได้ 3 ตอนของ Samsung มาแน่ พร้อมชิปตัวแรงสุด

3 กรกฎาคม 2025

Persona 5: The Phantom X เปิดให้โซนเราเล่นได้แล้ววันนี้!

3 กรกฎาคม 2025

PS5 Pro เตรียมอัปเกรด PSSR ด้วยอัลกอริธึมใน Project Amethyst ที่มีพื้นฐานจาก FSR 4 ในปี 2026

3 กรกฎาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Gaming

Minecraft อัพเดทใหญ่เพิ่ม โกเล็มทองแดง และอุปกรณ์ทองแดง!

3 กรกฎาคม 2025
Gaming

เปิดตัว MY HERO ACADEMIA: All’s Justice เกมภาคสุดท้ายของแฟรนไชส์!

3 กรกฎาคม 2025
Android

มือถือพับได้ 3 ตอนของ Samsung มาแน่ พร้อมชิปตัวแรงสุด

3 กรกฎาคม 2025
Gaming

Persona 5: The Phantom X เปิดให้โซนเราเล่นได้แล้ววันนี้!

3 กรกฎาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo