Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Miscellaneous » News » [ชวนคุยยามเช้า] Back to Basic มาดูกันว่าเว็บไซต์ชื่อดังแต่ละเว็บ ตอนเริ่มก่อตั้งเค้ามีหน้าตายังไง เราเองก็ค้นหาได้เองง่ายๆ
Miscellaneous

[ชวนคุยยามเช้า] Back to Basic มาดูกันว่าเว็บไซต์ชื่อดังแต่ละเว็บ ตอนเริ่มก่อตั้งเค้ามีหน้าตายังไง เราเองก็ค้นหาได้เองง่ายๆ

24 เมษายน 2015Updated:24 เมษายน 20152 Mins Read

สวัสดีวันศุกร์ครับ กลับมาพบกับผมแอดมินต้นอีกครั้งสำหรับเช้าวันสุดท้ายของการทำงานแบบนี้นะครับ

ยุคนี้ เราจะคุ้นชินกับอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์กันแบบที่เรียกว่าถ้าวันไหนไม่มีอินเตอร์เน็ต หรือเว็บไซต์โปรดของเราล่มขึ้นมา เรียกว่าวันนั้นเหมือนจะขาดอะไรในชีวิตกันไปซักอย่างเลยทีเดียว

และแน่นอนว่าเว็บไซต์ชื่อดังในวันนั้น ย่อมต้องมีจุดเริ่มต้นเหมือนทุกๆอย่างครับ วันนี้ผมจะพาทุกท่านมารำลึกความหลังกับเว็บไซต์ดังๆทั้งที่ต่างประเทศและในบ้านเรากัน

 

Advertisement
Advertisement
Advertisement

 

Web 1.0 VS Web 2.0

ก่อนจะไปดูหน้าตาเว็บเหล่านั้น เรามาดูสิ่งที่เปลี่ยนไปจากยุคนั้นมายุคนี้กันดีกว่าครับ โดยเริ่มต้นนั้น เว็บไซต์ต่างๆจะอยู่ในยุคของ Web 1.0 หรือยุคแรกของเว็บไซต์ ซึ่งคอนเซ็ปท์ง่ายๆของ Web 1.0 คือ หน้าเว็บไซต์ที่เอาไว้แสดงข้อมูลต่างๆให้กับผู้ที่เข้าเยี่ยมชมเท่านั้น ซึ่งการแสดงผลก็จะเน้นที่ข้อความ รูปภาพความละเอียดต่ำหรือว่าคลิปอาร์ต สีสันพื้นๆ และที่แน่นอนคือภาพเคลื่อนไหวแบบ GIF ที่ใครไม่มีในหน้าเว็บเรียกว่าเชยแหลก

คอนเซ็ปท์ของเว็บ 1.0 ถูกอธิบายเอาไว้ดังภาพครับ

เครดิตภาพ: http://www.greenbirdmedia.com/blog/score-san-diego-web-design-seo-hiring-web-designer
เครดิตภาพ: http://www.greenbirdmedia.com/blog/score-san-diego-web-design-seo-hiring-web-designer

ต่อมาเราก็เข้าสู่ยุคของ Web 2.0 กัน ซึ่ง Web 2.0 ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีใหม่นะครับ เพียงแต่คำว่า 2.0 เป็นการบัญญัติมาเพื่อเรียกแนวทางการทำเว็บในยุคใหม่ว่า ในยุคต่อไปนี้ เว็บไซต์ควรมีอะไรบ้าง

เว็บ 2.0 เริ่มใช้งานกันในช่วงปลายปี 1999 และเริ่มบูมจริงๆในช่วงปี 2004 โดยคอนเซ็ปท์หลักของเว็บ 2.0 จะอยู่ที่ การให้ผู้ใช้งานมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์มากขึ้น (อาจะเริ่มง่ายๆที่การสมัครสมาชิก หรือซับซ้อนขึ้นอย่างการเปิดให้แสดงความเห็น หรือเว็บบล๊อกต่างๆ) ไม่ใช่แค่เว็บสำหรับการอ่านข้อมูลที่เจ้าของต้องการจะสื่อสารเท่านั้น รวมถึงเน้นไปที่การสร้างเนื้อหา (Content) บนเว็บจากผู้เข้าเยี่ยมชม รวมถึงเน้นเรื่องคอมมิวนิตี้หรือชุมชนต่างๆ อันเป็นยุครุ่งเรืองของเว็บบอร์ด และแน่นอนว่าต้องมีรูปแบบเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้น อย่างการแทรกไฟล์วิดีโอในหน้าเว็บไซต์เป็นต้น

เครดิตภาพ: http://www.greenbirdmedia.com/blog/score-san-diego-web-design-seo-hiring-web-designer
เครดิตภาพ: http://www.greenbirdmedia.com/blog/score-san-diego-web-design-seo-hiring-web-designer

ซึ่งตัวอย่างของเว็บไซต์ในยุคเว็บ 2.0 ก็จะเป็นเว็บชื่อดังรวมถึงเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆนั่นเอง

เครดิตภาพ: http://www.greenbirdmedia.com/blog/score-san-diego-web-design-seo-hiring-web-designer
เครดิตภาพ: http://www.greenbirdmedia.com/blog/score-san-diego-web-design-seo-hiring-web-designer

 

Web 3.0 เป็นยุคที่เรากำลังอยู่ในตอนนี้ครับ ซึ่งจริงๆไม่ต่างกับเว็บ 2.0 มากนัก แต่นิยามคร่าวๆคือเว็บไซต์จะมีความฉลาดขึ้น ระบบการค้นหาดีขึ้น รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาได้ดีขึ้น รวมถึงมีระบบ Distribute computing อย่าง P2P หรือพูดง่ายๆคือระบบ Cloud computing และระบบ Host สำหรับการเล่นเกมส์นั่นเอง

ตอนนี้เราก็รู้คอนเซ็ปท์คร่าวๆของเว็บในแต่ละยุคแล้วนะครับ เรามาดูหน้าตาของเว็บไซต์ชื่อดังในยุคแรกของพวกเค้ากันเลย

 

เว็บไซต์เทศ

Google

Google

เว็บที่ไม่มีใครไม่รู้จัก และเผลอๆส่วนมากจะใช้หน้านี้เป็นหน้าหลัก (Home) ของบราวเซอร์เลยด้วย เพราะติดตั้ง Google Chrome ไว้แล้วไม่ได้เปลี่ยนหน้า Home (เช่นผมเป็นต้น)

เจ้าพ่อ Search Engine นี้ไม่มีอะไรเปลี่ยนไปมากนักในแง่รูปแบบการวางเนื้อหา Google ก่อตั้งและเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการวันที่ 4 กันยายน 1998

 

Facebook

Facebook

ชื่อแรกของเว็บไซต์นี้คือ thefacebook เปิดตัวเมื่อปี 2004 ผลงานของ Mark Zuckerberg นักศึกษาในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ตอนนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก รู้หรือไม่ว่าหน้าคนทางมุมซ้ายบน เป็นหน้าของดาราชื่อดังอย่าง Al Pacino ด้วย

Alpacino_Facebook

 

YouTube

YouTube

เว็บที่ไม่มีคนไม่รู้จักอีกเช่นกัน หน้าจอแรกของเว็บไซต์ YouTube เข้าขั้นวิกฤต โลโก้ยังทำออกมาติดพื้นขาวด้วย ทั้งที่เปิดใช้งานจริงๆในปี 2005 ด้วยผู้ก่อตั้งแค่ 3 คนเท่านั้น และ Google ก็ซื้อกิจการไปอย่างรวดเร็วในปี 2006

 

Twitter

Twitter

เว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คชื่อดังอีกเว็บที่อาจจะมีฐานผู้ใช้ไม่เท่า Facebook แต่ว่าก็มีไม่น้อยที่ชอบเล่นทวิตเตอร์ครับ Twitter ก่อตั้งในปี 2006

 

Yahoo

Yahoo

เป็นเว็บที่คนอาจจะใช้ไม่มากนักในบ้านเรา แต่ว่าที่เมืองนอกกระแสก็ดีในระดับน่าพอใจ (ถึงแม้จะมีดราม่าและปัญหาภายในเยอะหน่อยในช่วงหลังๆ)

 

Microsoft

Microsoft

เว็บไซต์ยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอที ที่ตอนเริ่มต้นแน่นอนว่าอยู่ในยุคที่อินเตอร์เน็ตเพิ่งเริ่มก่อตัวเท่านั้น หน้าตาเว็บไซต์เลยคลาสสิก (?) เอามากๆ

 

Apple

Apple

นี่ก็ไม่น่าจะไม่มีใครไม่รู้จักครับ สำหรับบริษัทที่เริ่มจากการทำตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์และตอนนี้เป็นขาใหญ่ในแทบจะทุกวงการแล้ว หน้าตาเว็บไซต์ยุคเริ่มแรกของ Apple ก็คลาสสิกไม่แพ้ Microsoft นะเนี่ย

 

Dell

Dell

อาจจะเป็นอดีตยักษ์ใหญ่ ที่ตอนนี้ด้วยสถานการณ์ตลาด PC ที่เปลี่ยนไป ชื่อของ Dell อาจจะเสื่อมมนต์ขลังไปบ้าง แต่ก็ยังครองใจแฟนๆอยู่ ส่วนหน้าเว็บไซต์ยุดแรกของ Dell นั้นเล่นเอาอึ้งครับ

 

เว็บไทยๆ

จากเว็บเมืองนอกแล้ว เรามาดูเว็บไทยๆกันบ้าง

Pantip.com

pantip-1g-homepage

เว็บไซต์คอมมิวนิตี้ที่ใหญ่เป็นลำดับต้นๆของเมืองไทย AppDisqus เราก็มีจุดกำเนิดจากการรวมตัวของคนในเว็บไซต์แห่งนี้

คอนเซ็ปท์ของพันทิปคือสังคมอุดมมาม่า เอ้ย ปัญญาครับ หน้าตายุคแรกคลาสสิกไม่หยอก แถมใช้พื้นหลังเป็นรูปดาวด้วย..นึกถึงความหลังตอนเขียนเว็บส่งอาจารย์ในชั้นเรียนมากๆ ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะหน้าเว็บเวอร์ชั่นนี้ถูกใช้งานในปี 1998 กันเลยทีเดียว

 

Sanook.com

อีกเว็บที่ไม่พูดถึงไม่ได้เหมือนกันในบ้านเรา กับเว็บวาไรตี้..มากๆ เว็บหนึ่งที่มีหมวดหมู่ต่างๆให้เลือกอ่านมากกกกกก มายครับ

หน้าตาเว็บยุคแรกก็ไม่หนีไปจากพันทิปมากนัก

 

Thaimail.com
เครดิตภาพ:
เครดิตภาพ: Libraryhub.in.th

อ๊ะๆ ใครเกิดทันบ้างครับ นี่เป็นอีเมลแอดเดรสแรกๆที่ผมมีเลยเช่นกัน เพราะว่าฟรีและเป็นภาษาไทยอีกต่างหาก เริ่มก่อตั้งในปี 1999 เลยทีเดียว

 

AppDisqus.com

ชื่อนี้ไม่มีใครไม่รู้จักครับ (เหรอ) เว็บไซต์ไอทีหน้าใหม่ไฟแรง..ว่าไปนั่น ผมก็เพิ่งรู้เหมือนกันว่าก่อนที่ผมจะเข้ามาร่วมด้วยนี้ เว็บไซต์ของเรามีการเปลี่ยนโลโก้ตามเทศกาลกับเค้าด้วย…แล้วตอนนี้มันหายไปไหน

อ้อ เรามุ่งเน้นการผลิตคอนเทนท์ที่เป็นเนื้อในแทนหน้าตาเว็บ เพื่อเพื่อนๆทุกคนนั่นเองครับ 555

วันนั้นมีคนไลค์แฟนเพจถึง 1,045 คนเลยทีเดียว (เมื่อปลายปี 2012)

AppDisqus_1

 

การเรียกดูหน้าเว็บไซต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ว่าไปนั่น)

เพื่อนๆก็สามารถทำได้เองสนุกๆครับ ว่าเราอยากดูเว็บไซต์โปรดของเราในช่วงเวลาใด วิธีง่ายๆคือไปที่เว็บไซต์ http://archive.org/web/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ทีเก็บประวัติของเว็บไซต์ต่างๆทั่วโลกที่มีการบันทึกเอาไว้ มากกว่า 456 พันล้านเว็บเลยทีเดียว

web.archive_1

 

ซึ่งการใช้งานก็ไม่ยากครับ เราพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการ จากนั้นระบบก็จะแสดงประวัติของหน้าเว็บไซต์นั้นๆตามช่วงเวลาที่มีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงเอาไว้ให้

web.archive_2

ซึ่งเราสามารถเรียกดูได้ตามช่วงเวลาที่ต้องการด้วยการเลื่อนแถบเวลา และเรียกดูจากปฏิทินได้อีกด้วย

web.archive_2

web.archive_3

 

ได้มาแล้ว
ได้มาแล้ว

 

เพื่อนๆก็ลองเอาไปเล่นกันดูนะครับ และสามารถเอาภาพเว็บไซต์เก่าๆมาแชร์กันได้ในช่องคอมเม้นท์ด้านล่างเลยครับ

 

 

ที่มา: Mashable.com, Libraryhub.in.th, Telegraph

 

Advertisement
ชวนคุยยามเช้า เว็บเก่าๆ
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
Ton Panasit
  • Facebook

Geek มือใหม่ อ่านข่าว IT เป็นกิจวัตร ใช้งานมือถือมาหลายระบบ แต่ตอนนี้ลงหลักปักฐานกับ windows phone…

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Miscellaneous

[เช้าชวนคุย] เดี๋ยวนี้เลือกมือถือ มันเลือกง่าย!

10 พฤศจิกายน 2016
Miscellaneous

Appdisqus ชวนคุยยามเช้า: รู้ไหมว่า? ญี่ปุ่นเปิดบัญชี LINE@ เป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงฟรี!! สำหรับนักท่องเที่ยวไทยในญี่ปุ่น

27 มิถุนายน 2016
Miscellaneous

ชวนคุยยามเช้า : หากว่าสมาร์ทโฟน….ไม่มีแรงดึงดูดอย่างที่มันทำได้สำเร็จ?

4 สิงหาคม 2015
Miscellaneous

[ชวนคุยยามเช้า] อ่านรีวิวอย่างไรดี ให้มันมีประโยชน์

2 สิงหาคม 2015
News

[ชวนคุยยามเช้า] เริ่มเห็นเป็นตัว Windows 10 ระยะสุดท้ายก่อนของจริงจะมา แค่นี้ก็ปลื้มใจหนักหนาแล้วกับผลลัพท์ที่รอคอย

5 กรกฎาคม 2015
Miscellaneous

[ชวนคุยยามเช้า] Final Fantasy VII Remake ความฟินของเกมส์เมอร์ทั่วโลก และเกมส์เมอร์ไทยวัย 30+

19 มิถุนายน 2015
What Score?
78
Game Review

Review : FATAL FURY: City of the Wolves ฉูดฉาดขึ้น! มันส์ขึ้น! ถูกใจแฟนเกมแน่นอน!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya2 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

By Noppinij1 กรกฎาคม 2025
7.5
Accessories

รีวิว Xiaomi Smart Band 10 ดีไซน์ใหม่ ฟีเจอร์แน่น ใช้งานคุ้มเกินราคา

By Noppinij28 มิถุนายน 2025
90
Game Review

Review : Death Stranding 2 เข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังเก็บหัวใจเดิมไว้อย่างครบถ้วน

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya23 มิถุนายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Sony WH-1000XM6 หูฟังตัดเสียงรบกวนที่แม่นยำที่สุดของโซนี่! ดียังไง? มีอะไรใหม่?

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Gaming

Marvel Rivals เผยตัวละครใหม่ใน Seasons ใหม่! Phoenix และ Blade เตรียมเข้าเกม!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya2 กรกฎาคม 2025

Nothing Phone (3) พร้อมขาย 15 ก.ค. 2025 ชู Glyph Matrix, Snapdragon 8s Gen 4

2 กรกฎาคม 2025
7.8

Review : FATAL FURY: City of the Wolves ฉูดฉาดขึ้น! มันส์ขึ้น! ถูกใจแฟนเกมแน่นอน!

2 กรกฎาคม 2025

Samsung ยอมถอย เลื่อนแผนชิป 1.4nm ไปปี 2029 โฟกัสชิป 2nm ให้คุ้มกว่านี้ก่อน

2 กรกฎาคม 2025

Hideo Kojima เผยอยากไป “สถานีอวกาศนานาชาติ” เพื่อเรียนรู้การเป็นนักบินอวกาศ และนำมาสร้างเป็นเกม

2 กรกฎาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Gaming

Marvel Rivals เผยตัวละครใหม่ใน Seasons ใหม่! Phoenix และ Blade เตรียมเข้าเกม!

2 กรกฎาคม 2025
News

Nothing Phone (3) พร้อมขาย 15 ก.ค. 2025 ชู Glyph Matrix, Snapdragon 8s Gen 4

2 กรกฎาคม 2025
7.8
Game Review

Review : FATAL FURY: City of the Wolves ฉูดฉาดขึ้น! มันส์ขึ้น! ถูกใจแฟนเกมแน่นอน!

2 กรกฎาคม 2025
Android

Samsung ยอมถอย เลื่อนแผนชิป 1.4nm ไปปี 2029 โฟกัสชิป 2nm ให้คุ้มกว่านี้ก่อน

2 กรกฎาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo