Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Miscellaneous » News » ชวนคุยยามเช้า: ยุคการ “อ่าน” ที่สวนทางกับการ ”เขียน” เนื้อหาออนไลน์
Miscellaneous

ชวนคุยยามเช้า: ยุคการ “อ่าน” ที่สวนทางกับการ ”เขียน” เนื้อหาออนไลน์

22 มิถุนายน 2015Updated:22 มิถุนายน 20152 Mins Read

รู้สึกไหมครับ? ว่าคนไทยทุกวันนี้อ่านหนังสือน้อยลง ทั้งที่เป็นตัวหนังสือจริงๆ และเนื้อหาออนไลน์ต่างๆ เมื่อก่อนคำว่า “คนไทยอ่านหนังสือไม่เกินปีละ 7 บรรทัด” มันอาจเป็นแค่คำด่ากันในสื่อออนไลน์ต่างๆ ในเชิงประชดประชัน แต่เอาเข้าจริง มันก็เหมือนเราโดนมนต์สะกดให้ยอมรับและทำตัวกันแบบนั้นไปกันหมด ตอนแรกอาจเป็นคำด่า แต่พักหลังดูเหมือนมันจะกลายเป็นคำปลอบใจไปแล้ว “หน่า…ไม่ใช่เราคนเดียวหรอกที่อ่านหนังสือน้อย คนส่วนใหญ่มันก็ไม่อ่านเหมือนกัน” “ทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องอ่านหรอก อยากรู้อะไร, Google ตอบได้หมด”  และอื่นๆ อีกมากมาย แล้วการอ่านมันยังจำเป็นอยู่ไหมนะ? การอ่านให้อะไรเราบ้าง?

Screenshot (220)

สำหรับคนที่คลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ผมเชื่อว่ามีพื้นฐานการอ่านอยู่พอสมควรแล้วหละ สำหรับคำถามข้างต้นคงรู้อยู่แล้วว่า ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัยการอ่านมันก็ยังมีความจำเป็นอยู่มากมาย มันไม่ใช่แค่อ่านเพื่อเสพข้อมูลอย่างเดียว แต่การอ่านจะช่วยให้เราได้เรียนรู้โลกในทุกๆ มิติ ผ่านตัวหนังสือ เรียนรู้ประสบการณ์ของผู้อื่นที่ได้พบเจอมาแล้วถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือให้เราได้อ่าน จนมีการเปรียบเทียบที่เถียงกันไม่จบ ว่า “เดินทางหมื่นลี้ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม คบมิตรสหายหมื่นคน แบบไหนดีกว่ากัน?”

ใช่ครับ แม้การอ่านเพื่อเรียนรู้ประสบการณ์คนอื่นจะไม่สู้เราออกไปหาประสบการณ์เอง แต่ขอถามเถอะครับว่า ตลอดช่วงชีวิตของการเรียนรู้ของมนุษย์ 1 คน ยังไงประสบการณ์การที่ได้ก็ไม่เกินประสบการณ์ของมนุษย์ 1 คนหรอก แต่หากเรารู้จักการอ่าน แม้หนังสือ 1 เล่ม จะเรียนรู้ประสบการณ์ได้แค่ 0.1 ของประสบการณ์จริง ยังไง 1 + 0.1 = 1.1 มันก็มากกว่า 1 อยู่ดี? และเมื่อเราอ่านมากๆ พร้อมเรียนรู้ประสบการณ์จริงมากๆ เข้าทักษะและประสบการณ์ของเราก็จะเหนือกว่าคนอื่นๆ “เดินทางหมื่นลี้ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม คบมิตรสหายหมื่นคน” คือสิ่งที่เราควรทำทั้งหมด  หากเราทำได้ความสำเร็จในชีวิตมันไม่ยากเลยครับ

Advertisement
Advertisement
Advertisement

ในบทความนี้

  • การอ่าน สวนทางกับ การเขียน อย่างไร?
  • เราจะทำอะไรได้บ้าง?
  • [quote]สำหรับผู้อ่าน … คิดเอาเอง!![/quote]

การอ่าน สวนทางกับ การเขียน อย่างไร?

สำหรับคนที่อ่านบทความมาจนถึงตรงนี้แล้ว ผมว่าผ่านแล้วหละครับ แม้บางคนอาจไม่ได้ชอบอ่านหนังสือมากมาย แต่เราก็มีภูมิคุ้มกันในการเสพเนื้อหาออนไลน์ในทุกวันนี้ โดยเฉพาะการเสพเนื้อหาผ่านสื่อสังคมออนไลน์อ่าน Facebook ที่คนอ่านน้อยลง อ่านแค่หัวข้อก็สรุปใจความสำคัญทั้งหมด ตรงข้ามกับการเขียนทุกวันที่ ที่หัวข้อแทบไม่เกี่ยวอะไรกันเนื้อหาเลย คนเขียนตั้งใจเขียนหัวข้อข่าวหรือบทความให้มีประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดให้คนคลิกเข้าไปอ่าน หรือแม้ไม่อ่านก็ให้คนกด Like, Comment และ Share เท่านี้ Fan page ผู้เขียนก็ได้ประโยชน์แล้ว โดยไม่มีจิตสำนึกของการเขียนเพื่อผู้อ่านอยู่เลย ประกอบกับทุกวันนี้ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือออกโปรโมชั่นใช้งาน Facebook ฟรี แต่ห้ามคลิกลิงค์ต่างๆ ออกไปเด็ดขาดไม่งั้นเสียเงินค่าเน็ตแน่ๆ !! สิ่งเหล่านี้ทำให้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ไม่ชวนให้เกิดการอ่านเพื่อเรียนรู้สิ่งต่างๆ เลย … เราจะโทษใครดี? คนอ่านที่มักง่าย คนเขียนที่มักได้ Facebook ที่ไม่ใส่ใจ หรือใครสักคนที่เราอยากโยนความรับผิดชอบให้?

computer_and_book_2400_1100_65_s_c1

เราจะทำอะไรได้บ้าง?

คำถามเมื่อกี้นี้ไม่ต้องสรรหาคำตอบหรอกครับ ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย! เรามาดูกันว่าเราทำอะไรได้บ้างดีกว่า?

สำหรับผู้เขียน: ปัญหาแรกตอนนี้ ก็คือ การพาดหัวข้อข่าวหรือบทความที่ไม่ตรงกันเนื้อหา เขียนหัวข้อให้เร้าใจให้คนคลิกเข้าไปอ่าน บอกเลยว่ากลุ่มคนที่เราหลอกล่อได้เขาก็ไม่ยอมคลิกอยู่ดีครับ และหัวข้อของเราก็อาจทำให้เขาเข้าใจผิดมากขึ้น เกิดคนโง่มากขึ้น สร้างปัญหามากขึ้น ไม่มีอะไรน่าอภิรมย์เลย สู้เราพาดหัวข้อข่าวหรือบทความให้ชัดเจน เขาก็จะกด Like, Comment และ Share ตามความเข้าใจของเขาจริงๆ เราจะได้สร้างคนที่รักเราจริงๆ ขึ้นมาได้ ส่วนคนที่สนใจข่าวหรือบทความนั้นๆ ก็จะคลิกเข้าไปอ่านเพิ่มเติม เราก็จะได้แฟนเพจหรือผู้ติดตามที่มีคุณภาพมากขึ้น ลองนึกดูหากเราพาดหัวคนละอย่างกับเนื้อหา กลุ่มคนเหล่านี้พานจะนึกตำหนิเราจนทำให้เรากลายเป็นสื่อไร้คุณภาพ ปัญหาต่อมาก็คือ ทักษะในการเขียน เรื่องนี้แม้เราไม่ได้เรียนด้านการเขียนมาโดยตรง เราก็สามารถเพิ่มพูนทักษะนี้จากการอ่านให้มากๆ เมื่อเราอ่านมากๆ แล้ว เราก็จะซึมซับวิธีการเขียนที่ดีได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งตัวผมเองก็ยอมรับเลยว่าผมยังต้องพัฒนาอีกมากเช่นกัน

สำหรับ Facebook: เขาทำเต็มที่แล้วครับ มีเครื่องมือมาให้เราใช้งานมากมาย แต่เราไม่ใช้มันเอง ตัวอย่างเครื่องมือที่ผมใช้อยู่เป็นประจำ นั่นคือ “Save link” เหมาะสำหรับการบันทึกลิงค์ที่เราเห็นในหน้า News feed ที่น่าอ่าน น่าสนใจ แต่เรายังไม่สะดวก อยากเก็บไว้อ่านทีหลัง เราก็คลิกไปที่ มุมด้านบนขวาของเรื่องนั้นๆ แล้วกดปุ่ม “Save link” ได้เลย และเมื่อเราสะดวกหรือว่างๆ พร้อมที่จะอ่านเรื่องราวที่น่าสนใจผ่าน Facebook เราก็มองไปที่เมนู FAVORITES แล้วจะมีเมนูย่อย Saved อยู่ ในเมนูนี้ก็จะมีลิงค์ต่างๆ ที่เรากดบันทึกเอาไว้ครับ นอกจากนี้ในอนาคต Facebook ก็จะทยอยออกฟังก์ชันการใช้งานบน Facebook ที่สนับสนุนการอ่านมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น เปิดให้ผู้เขียนสามารถเขียนบทความต่างๆ ใน Facebook ได้แบบเต็มๆ ใส่รูปภาพ ใส่เนื้อหา และอื่นๆ ได้ไม่แพ้บนเว็บไซต์ต่างๆ ทีนี้ผู้อ่านก็ไม่ต้องคลิกลิงค์เพื่อออกไปอ่านข้างนอกแล้ว โปรโมชั่นฟรี Facebook และสังคมออนไลน์อื่นๆ ก็จะมีประโยชน์ต่อการอ่านมหาศาลเลยครับ ส่วนตัวผมมองว่าความสามารถนี้ของ Facebook จะส่งเสริมการอ่านเนื้อหาออนไลน์ได้มากขึ้นครับ

Photo 20150423153700524

สำหรับเว็บบราวเซอร์: ทุกเว็บบราวเซอร์ต่างก็มีฟังก์ชันสำหรับส่งเสริมการอ่านให้เราอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น internet explorer จะมีโหมดสำหรับการอ่านโดยเฉพาะ และก็สามารถบันทึกหน้าเว็บต่างๆ เก็บเอาไว้อ่านทีหลังได้ ซึ่ง Google Chrome เช่นกัน  แถมมีส่วนขยายให้เราติดตั้งเพื่อเก็บเนื้อหาต่างๆ เอาไว้อ่านทีหลังได้ อย่างเช่น TimetoRead เป็นต้น

สำหรับสมาร์ทโฟน: แอพพลิเคชั่นที่ส่งเสริมการอ่านอยู่อยู่มากมายครับ ทั้ง IFTTT, Pulse และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งแอพฯ ประเภทนี้มีอยู่ทั้ง iOS, Android, Windows Phone และอื่นๆ

[quote]สำหรับผู้อ่าน: … คิดเอาเอง!![/quote]

read-new-york-times-free1

การอ่าน สังคมออนไลน์ ออนไลน์ อ่านหนังสือ
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
ดร.อเสข ขันธวิชัย
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Miscellaneous

วิธีพิมพ์สัญลักษณ์ เครื่องหมายและสมการคณิตศาสตร์ในสังคมออนไลน์

12 ตุลาคม 2023
Android

แนะนำ 2 วิธีตั้งค่าจำกัดเวลาเล่น TikTok เพื่อบุตรหลาน หรือ ตัวเราเองนั่นหละ ^^

19 มกราคม 2023
facebook-ads-technical-competitor-7
Miscellaneous

[Tips] เทคนิคการยิงโฆษณาบน Facebook: การเลียนแบบโฆษณาคู่แข่งที่มีประสิทธิภาพ

16 พฤษภาคม 2022
Miscellaneous

องค์การเภสัชกรรมเปิดขายเจลล้างมือออนไลน์ GPO CLEAN CARE gel วันนี้เป็นลอตแรก!!

11 มีนาคม 2020
Featured Story

เฝ้ามองและติดตามโซเชียลด้วย Zanroo เพื่อวิเคราะห์ผู้บริโภค ปรับแผนการตลาดตามกระแสโลก

30 กรกฎาคม 2019
Miscellaneous

วิธีโพสเหล้า-เบียร์ อย่างไรไม่ให้โดนปรับ? พร้อมเผยรางวัลคนชี้เบาะแสรับสูงสุด 50,000 บาท!!

24 กรกฎาคม 2017
What Score?
8.5
Devices

รีวิว Infinix Note 50 Pro+ 5G+ สมาร์ตโฟนสุดคุ้ม สเปคแรง! ชาร์จไว 100W กล้อง 50MP OIS ซูม 100X

By Noppinij1 พฤษภาคม 2025247 Views
7.7
Devices

รีวิว vivo V50 Lite และ vivo Watch GT สมาร์ตโฟน+สมาร์ตวอทช์ “คู่หูแบตอึด” บางเบา จอคมชัด จัดเต็มเกินราคา

By Noppinij22 เมษายน 2025216 Views
8.9
Devices

รีวิว OPPO Find N5 สมาร์ตโฟนจอพับบางที่สุดในโลก แข็งแรง เทคโนโลยีล้ำ! พร้อมสำหรับการทำงาน และกล้องระดับโปร

By Noppinij8 เมษายน 2025289 Views
7.2
Devices

รีวิว vivo Y39 5G จัดเต็ม เครื่องสวยสายลุย! “เอาอยู่ ทุกความท้าทาย”

By Noppinij3 เมษายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Alldocube iPlay60 Pad Pro แท็บเล็ตลูกครึ่งโน๊ตบุ๊ค หน้าจอ 12.1 นิ้ว แบต 10000mAh สเปกคุ้มๆ ราคาไม่ถึงเก้าพัน

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Gaming

เผยเกมเพลย์แรก Mafia: The Old Country ตัดระบบ Open World เน้นเล่าเรื่องเส้นตรงมากขึ้น วางขาย 8 สิงหาคมนี้

By HallZy9 พฤษภาคม 2025

ไม่ต้องมี VR ก็เล่นได้แล้ว !! เปิดตัว Alien: Rogue Incursion – Part One: Evolved Edition เตรียมวาขาย 30 กันยายน 2025

9 พฤษภาคม 2025

เตรียมเปิดตัว! HONOR Pad X9a แท็บเล็ตใหม่ จอใหญ่ 11.5 นิ้ว รองรับปากกาอัจฉริยะ จัดเต็มทั้งการทำงานและความบันเทิงในเครื่องเดียว พบกัน 15 พ.ค.นี้

8 พฤษภาคม 2025

ภาพหลุด! ASUS ROG Ally 2 โผล่ก่อนเปิดตัว หน้าจอใหญ่ขึ้น

8 พฤษภาคม 2025

เปิดตัวหูฟัง Bose x LISA Ultra Open Limited Edition ดีไซน์พิเศษจากขวัญใจชาวไทย

8 พฤษภาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Gaming

เผยเกมเพลย์แรก Mafia: The Old Country ตัดระบบ Open World เน้นเล่าเรื่องเส้นตรงมากขึ้น วางขาย 8 สิงหาคมนี้

9 พฤษภาคม 2025
Gaming

ไม่ต้องมี VR ก็เล่นได้แล้ว !! เปิดตัว Alien: Rogue Incursion – Part One: Evolved Edition เตรียมวาขาย 30 กันยายน 2025

9 พฤษภาคม 2025
Android

เตรียมเปิดตัว! HONOR Pad X9a แท็บเล็ตใหม่ จอใหญ่ 11.5 นิ้ว รองรับปากกาอัจฉริยะ จัดเต็มทั้งการทำงานและความบันเทิงในเครื่องเดียว พบกัน 15 พ.ค.นี้

8 พฤษภาคม 2025
Xbox & PC World

ภาพหลุด! ASUS ROG Ally 2 โผล่ก่อนเปิดตัว หน้าจอใหญ่ขึ้น

8 พฤษภาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo