Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Your Updates » หน่วยความจำของเครื่องเต็มทำอย่างไร จะสำรองรูปไปเก็บไว้ที่ไหน มีทางออกให้สามวิธี
Your Updates

หน่วยความจำของเครื่องเต็มทำอย่างไร จะสำรองรูปไปเก็บไว้ที่ไหน มีทางออกให้สามวิธี

11 กรกฎาคม 2020Updated:11 กรกฎาคม 20202 Mins Read

ปัญหาพื้นที่จัดเก็บใกล้เต็มของมือถือ เชื่อว่าหลายคนที่ใช้สมาร์ทโฟนในการจัดเก็บภาพ, ข้อมูล และไฟล์ข้อมูลต่างๆ เมื่อใช้ไปสักระยะ จะเจอปัญหาหน่วยความจำของเครื่องไม่พอใช้กันอย่างแน่นอนครับ

ปัญหาของหน่วยความจำเครื่องเต็มหรือใกล้จะเต็ม จะส่งผลต่อการใช้งานหลายอย่าง เช่น การทำงานของเครื่องช้าลง หรือไม่สามารถอัพเดทหรือติดตั้งแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมได้ อาจจะรวมถึงไม่สามารถถ่ายภาพวีดีโอได้อีกต่อไป

ในกรณีแบบนี้ เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายๆ 3 วิธิด้วยกันครับ ซึ่งผมจะอธิบายให้ฟังทีละวิธี

Advertisement
Advertisement
Advertisement

1. ลบแอพ, เกม หรือวีดีโอที่ไม่ได้ใช้งานออกไปจากเครื่อง

เป็นวิธีที่ง่ายและทำได้เลยทันที แอพพลิเคชั่นใดที่เราไม่ค่อยได้ใช้ให้ทำการลบทิ้งครับ และโดยเฉพาะแอพพลิเคชั่นเกม ยิ่งเกมภาพสวยๆ ก็ยิ่งกินพื้นที่จัดเก็บ ก็ลบทิ้งไปครับถ้าเราไม่ได้ใช้ รวมถึงไฟล์วีดีโอนี่ก็ตัวกินเมมโมรี่เลย วีดีโอไหนที่ไม่ใช่หรือไม่ต้องการแล้วก็ลบทิ้งไป แต่ถ้าวีดีโอเหล่านั้นมันสำคัญก็ให้มองวิธีข้อต่อไปเพื่อจัดเก็บไฟล์วีด๊โอของเราเอาไว้ในข้อที่ 2 และ 3 ตามด้านล่างครับ

2. สำรองจัดเก็บไฟล์ภาพ, วีดีโอ ไปไว้ที่อุปกรณ์ภายนอก

เชื่อว่าปัญหาหลักของทุกวันนี้ที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนใช้เครื่องกันจนหน่วยความจำเต็ม มักจะมาจากรูปภาพและวีดีโอมีอยู่ล้นเครื่องครับ ถ่ายภาพกันบ่อย เซฟภาพกันเยอะ และมีความจำเป็นต้องจัดเก็บภาพเหล่านั้นเอาไว้ใช้ในภายหลัง ผมแนะนำให้ทำการย้ายไฟล์เหล่านั้นไปไว้ในอุปกรณ์ภายนอกครับ โดยเราสามารถย้ายไปเก็บไว้ได้ที่คอมพิวเตอร์, Notebook แค่เพียงเสียบสาย USB จากสมาร์ทโฟนต่อเข้าที่ PC หรือ Notebook ก็จะเข้าถึงที่เก็บข้อมูลของสมาร์ทโฟนเราได้ทั้งหมด คัดลอกไฟล์รูปที่ต้องการจากในโฟลเดอร์ “DCIM” ซึ่งมักเป็นโฟลเดอร์หลักในการจัดเก็บภาพของอุปกรณ์สมาร์ทโฟนระบบ Android นั้นเองครับ หรือถ้าเป็นระบบ iOS ก็สามารถจัดการได้ผ่านโปรแกรม iTune โดยตรงนั้นเอง

3. สำรองเก็บไฟล์ภาพและวีดีโอ จัดเก็บขึ้นบริการจัดเก็บคลาวด์

เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในยุคสมัยนี้ต้องรู้จักไว้เลยครับ เป็นวิธีที่อยากจะแนะนำมากที่สุด เพราะง่ายและประหยัด สามารถใช้งานได้ฟรี และไม่เสียเวลา แต่แค่ต้องทำความเข้าใจสักเล็กน้อย

ระบบพื้นที่จัดเก็บคลาวด์ (Cloud) เป็นการบริการที่มีมานานหลายปีแล้วครับ เริ่มเป็นที่นิยมและเป็นมาตรฐานในการสำรองไฟล์ทุกชนิดรวมถึงภาพภ่าย โดยไฟล์เหล่านั้นจะไม่หายไปไหนแม้เราจะรีเซ็ตโทรศัพท์หรือทำมือถือพังหรือทำมือถือหายไป

โดยจะมีผู้ให้บริการที่เป็นบริษัทใหญ่ เชื่อถือได้ และมีให้บริการฟรีอยู่มากมาย เช่น Google ที่ให้บริการ Google Drive หรือปัจจุบันเปลี่ยนมาทำตลาดภายใต้ชื่อ Google One และอีกเจ้าใหญ่นั้นคือของทาง Microsoft ที่ให้บริการในชื่อ OneDrive ซึ่งในสองบริการที่หยิบมาพูดถึงนี้ จะสามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนทุกระบบ Android, iOS แต่จะมีบริการของทาง Apple ที่ให้บริการกับระบบ iOS เพียงอย่างเดียวในชื่อ iCloud ด้วยเช่นกัน

โดยบริการเหล่านี้เขาจะให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ หรือเรียกว่าเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่อยู่บนระบบออนไลน์อาจจะเข้าใจง่ายกว่า โดยพื้นที่เหล่านั้นก็จะเหมือนฮาร์ดดิสจัดเก็บข้อมูลของเราเลยครับ แต่ไม่ได้ใช้การเสียบสายเชื่อมต่อหรือมีตัวอุปกรณ์อยู่จริงๆ แต่เราสามารถเข้าถึงที่จัดเก็บข้อมูลของเราตรงนั้นได้ ด้วย “อินเตอร์เน็ต”

โดยในสมาร์ทโฟน เรายังไม่ติดตั้งแอพพลิเคชั่นของบริการดังกล่าว ก็สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Google One หรือ OneDrive แล้วแต่จะต้องการใช้งานของเจ้าไหนเอามาติดตั้งในเครื่องของเราก่อนครับ หลังจากนั้นเขาจะให้เราสมัคร ID เพื่อเริ่มใช้งาน โดยจะใช้ ID เป็นที่อยู่ Gmail หรือ Hotmail ตามลำดับ และจะจัดการสร้างที่จัดเก็บข้อมูลของเราให้ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ

ซึ่งปัจจุปันมีการแจกพื้นที่ให้ใช้ฟรีเริ่มต้นกันที่ 15GB เลยทีเดียว สามารถจัดเก็บไฟล์รูปได้มากถึงประมาณ 5,000 รูปเลยทีเดียวครับ แต่จริงๆ แล้ว ในพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์ของเรา จะเอาไฟล์อะไรไปเก็บก็ได้ทั้งนั้นครับ เขาไม่ได้จำกัด เพราะมันเหมือนเป็นฮาร์ดดิสของเราที่จะเอาอะไรไปใส่ไว้ก็ได้ทั้งนั้น ลบอะไรทิ้งก็ได้ หรือจะคัดลอกย้ายไฟล์ จัดการเพิ่มโฟลเดอร์ ทำได้หมด ไม่ต่างจากฮาร์ดดิสที่มีอยู่จริงในคอมพิวเตอร์ของเราเอง

ซึ่งหลังจากเราสมัครใช้งานในครั้งแรก หลังจากนั้นก็ไม่ต้องสมัครหรือล็อคอินใหม่อะไรแล้วครับ ตัวแอพพลิเคชั่นมันจะเป็นทางเข้าไปหาไฟล์ของเราได้ในทันทีที่เราเปิดแอพ

ส่วนการจัดเก็บไฟล์ขึ้นไปเก็บไว้ในระบบตคลาวด์ก็ง่ายดายที่สุดแล้วครับ เข้าไปเลือกภาพที่เราต้องการจะนำขึ้นไปจัดเก็บแล้วกด “แชร์” ออกไปยังแอพบริการคลาวด์ที่เราเลือกใช้ และไฟล์เหล่านั้นก็จะถูกส่งขึ้นไปจัดเก็บยังพื้นที่คลาวด์ของเราด้วยสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่จำเป็นต้องเชื่อต่อเอาไว้ขณะอัพโหลดครับ

ข้อดีของระบบคลาวด์ยังมีมากมาย ไม่ใช่แค่เป็นพื้นที่จัดเก็บที่เปิดให้ใช้งานกันได้ฟรี แต่มันยังเป็นพื้นที่เก็บสำรองไฟล์สำคัญเอาไว้ แม้มือถือเราจะหายจะพังไป ไฟล์ที่เราจัดเก็บไว้ในคลาวด์ก็ไม่ได้เกี่ยวกัน มันก็จะอยู่ตรงนั้นให้เราล้อคอินเข้าไปใช้งานได้เหมือนเดิม

เป็นพื้นที่ส่วนบุคคลของเราที่สามารถเข้าถึงได้ในหลายช่องทางเมื่อยามจำเป็นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าด้วยแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน มันยังเข้าถึงได้ด้วยโปรแกรมบนอุปกรณ์อย่าง PC หรือ Notebook ด้วยครับ และยังเข้าถึงได้ด้วยการเปิดหน้าเว็บไซด์โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมก่อนแต่อย่างใด แค่เพียงเรามีไอดีและรหัสผ่านของเรา เราก็สามารถเข้าไปดูหรือดาวน์โหลดไฟล์เรามาใช้งานได้ในทุกๆ ที่ที่เราต้องการ แค่เพียงมีสัญญาณเน็ตและอุปกรณ์ที่เปิดเบราว์เซอร์ได้เท่านั้นเอง

และเรายังสามารถล็อคอินบริการคลาวด์เหล่านี้ไว้ได้หลายอุปกรณ์พร้อมๆ กัน เช่น ถ้าเราใช้สมาร์ทโฟนหลายเครื่อง หรือใช้อุปกรณ์อย่าง PC หรือ Notebook เราสามารถลงแอพลงโปรแกรม และล็อคอินไอดีเราเอาไว้ทุกอุปกรณ์ จะทำให้แต่ละอุปกรณ์ที่เราล็อคอินไอดีไว้นั้น เขาถึงไฟล์เดียวกันที่เราจัดเก็บขึ้นไปบนคลาวด์ได้ทุกอุปกรณ์พร้อมๆ กันเลยครับ เป็นหนึ่งในวิธีการส่งไฟล์ข้ามอุปกรณ์ที่ผมนิยมใช้งานเป็นประจำ

เรายังสามารถแชร์ไฟล์ที่อยู่ในคลาวด์ของเราให้กับบุคคลอื่นได้ด้วย โดยการแชร์ลิงก์ดาวน์โหลดไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการให้บุคคลอื่นสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ โดยจะส่งเป็นลิงก์ของไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นออกไป แต่ผู้นั้นจะไม่มีสิทธิ์เข้าถึงหรือมองเห็นไฟล์อื่นๆ ของเราได้เลยนะครับไม่ต้องห่วง เขาจะสามารถเข้าไปดูหรือดาวน์โหลดได้แค่ที่เราส่งลิงก์ไปเท่านั้น


ก็เป็นสามวิธีในการจัดการไฟล์ภาพหรือเพิ่มพื้นที่จัดเก็บให้กับอุปกรณ์ของเราได้ แต่อย่างไรผมก็ขอแนะนำวิธีที่สามหรือการใช้งานระบบคลาวด์นะครับ อยากให้ทำความเข้าใจเพื่อจะได้ใช้งานมันกันได้เป็น เพราะมันมีประโยชน์สูงมากกว่าที่คิดไว้แน่นอนครับ

 

App Cloud Google One Onedrive พื้นที่จัดเก็บใกล้เต็ม วิธีเก็บรูป สำรองรูป เมมเต็ม แอพพลิเคชั่นสำรองรูป
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
Noppinij
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Your Updates

วิธีย้ายไฟล์ระหว่างบริการ Cloud แบบรวดเดียวจบ ไม่ว่าจะ OneDrive, Google Drive ได้หมด โดยไม่ต้องโหลดลงเครื่องก่อน(เสียเงิน)

8 ตุลาคม 2016
Miscellaneous

Microsoft กลับลำมอบพื้นที่ฟรี 15 GB ให้กับผู้ใช้ OneDrive เดิม รับสิทธิ์ก่อน 31 มกราคมหน้า พร้อมวิธีรับสิทธิ์ท้ายข่าว

12 ธันวาคม 2015
Apple

Microsoft จะลดพื้นที่ฟรีเหลือ 5 GB ใน OneDrive และยกเลิกโปรฯ พื้นที่ไม่จำกัด สำหรับผู้ใช้ Office 365

3 พฤศจิกายน 2015
News

[Tips] วิธีย้ายภาพจาก OneDrive มา Google Photos แบบง่ายๆใช้เวลาไม่นาน (สำหรับคนรูปเยอะ)

22 มิถุนายน 2015
News

[ข่าว] OneDrive และ OneNote อัพเดทใหม่ล่าสุด สำหรับทำงานบน Android

5 พฤษภาคม 2015
News

Foxit Mobile PDF Reader ดาวน์โหลดผ่าน Windows Phone Store ได้แล้ววันนี้

30 มีนาคม 2015
What Score?
8.5
Devices

รีวิว Infinix Note 50 Pro+ 5G+ สมาร์ตโฟนสุดคุ้ม สเปคแรง! ชาร์จไว 100W กล้อง 50MP OIS ซูม 100X

By Noppinij1 พฤษภาคม 2025261 Views
7.7
Devices

รีวิว vivo V50 Lite และ vivo Watch GT สมาร์ตโฟน+สมาร์ตวอทช์ “คู่หูแบตอึด” บางเบา จอคมชัด จัดเต็มเกินราคา

By Noppinij22 เมษายน 2025227 Views
8.9
Devices

รีวิว OPPO Find N5 สมาร์ตโฟนจอพับบางที่สุดในโลก แข็งแรง เทคโนโลยีล้ำ! พร้อมสำหรับการทำงาน และกล้องระดับโปร

By Noppinij8 เมษายน 2025298 Views
7.2
Devices

รีวิว vivo Y39 5G จัดเต็ม เครื่องสวยสายลุย! “เอาอยู่ ทุกความท้าทาย”

By Noppinij3 เมษายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Alldocube iPlay60 Pad Pro แท็บเล็ตลูกครึ่งโน๊ตบุ๊ค หน้าจอ 12.1 นิ้ว แบต 10000mAh สเปกคุ้มๆ ราคาไม่ถึงเก้าพัน

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
PlayStation World

The Elder Scrolls IV: Oblivion Remastered มีปัญหาประสิทธิภาพ บนคอนโซล

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya12 พฤษภาคม 2025

ข่าวหลุดล่าสุดของ iPhone 17 Series บอกใบ้สิ่งที่แฟนๆหลายคนหวังว่าจะไม่จริง

12 พฤษภาคม 2025

Killing Floor 3 ประกาศวันวางจำหน่ายใหม่ 24 กรกฎาคมนี้ หลังเลื่อนจากกำหนดเดิม

12 พฤษภาคม 2025

Samsung เตรียมเพิ่ม “Private album” ซ่อนภาพและวิดีโอลับได้ใน One UI 8 โดยไม่ต้องลงแอปเพิ่ม

12 พฤษภาคม 2025

หลุดสเปก iQOO Pad 5 / Pad 5 Pro ก่อนเปิดตัว พร้อมเผยโฉม Watch 5

12 พฤษภาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
PlayStation World

The Elder Scrolls IV: Oblivion Remastered มีปัญหาประสิทธิภาพ บนคอนโซล

12 พฤษภาคม 2025
iPhone Updates

ข่าวหลุดล่าสุดของ iPhone 17 Series บอกใบ้สิ่งที่แฟนๆหลายคนหวังว่าจะไม่จริง

12 พฤษภาคม 2025
Xbox & PC World

Killing Floor 3 ประกาศวันวางจำหน่ายใหม่ 24 กรกฎาคมนี้ หลังเลื่อนจากกำหนดเดิม

12 พฤษภาคม 2025
Android

Samsung เตรียมเพิ่ม “Private album” ซ่อนภาพและวิดีโอลับได้ใน One UI 8 โดยไม่ต้องลงแอปเพิ่ม

12 พฤษภาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo