Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Your Updates » งานวิจัยล่าสุดที่ใช้ AI มาจำแนกคนเป็นเกย์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
Your Updates

งานวิจัยล่าสุดที่ใช้ AI มาจำแนกคนเป็นเกย์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

23 กันยายน 2017Updated:23 กันยายน 20172 Mins Read
ai-gay-recognize-2

สองสัปดาห์ก่อน นักวิจัยคู่หนึ่งจากมหาวิทยาลัย Standford ได้เผยแพร่งานค้นคว้าวิจัยของตนเกี่ยวกับการใช้รูปภาพหลายพันรูปที่เก็บมาจากเว็บไซต์หาคู่เพื่อฝึกให้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้กระบวนการแยกเพศที่สามหรือเกย์ออกจากชาย/หญิงแท้ผ่านทางรูปถ่ายออกมาสู่สาธารณชน โดย The Economist คือสื่อแรกที่ค้นพบงานวิจัยนี้เข้า ก่อนที่สื่ออื่นๆ จะตามเอามาเป็นประเด็นพาดหัวกันในเวลาต่อมา

แต่งานวิจัยดังกล่าวสามารถทำได้อย่างที่ว่าหรือไม่ ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้จะสามารถแยกแยะเพศสภาพของคนจากการดูแค่รูปถ่ายแล้วจริงๆ เหรอ? และหากเป็นดังนั้นจริงจะเกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้? นี่คือคำถามที่ตั้งกันตามมาหลังจากที่งานวิจัยดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ออกมาเป็นวงกว้าง และ TheVerge คือเว็บไซต์ที่พาเรามาตีแผ่ความจริงจากงานวิจัยในครั้งนี้

faception_classifiers
บริษัทสตาร์ทอัพชื่อ Faception บอกว่าพวกเขาสามารถแยกแยะโอกาสที่คนๆ หนึ่งจะเป็นผู้ก่อการร้ายได้จากการดูหน้าของคนๆ นั้นด้วยเทคโนโลยี Machine Learning คล้ายใน Apple A11 Bionic ชิปเซ็ต

งานวิจัยนี้ได้รับการค้นคว้าและวิจัยโดยดอกเตอร์ Michal Kosinski และ Yilun Wang โดย Kosinski กล่าวว่าจุดประสงค์ของการค้นคว้าวิจัยในครั้งนี้ก็เพื่อเตือนให้ผู้คนได้รู้ถึงอันตรายของ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ และเพื่อให้โลกได้ตระหนักว่าอีกไม่นานระบบการจดจำและจำแนกใบหน้าที่เราใช้อยู่นั้นจะไม่ใช่แค่ใช้เพื่อการจำแนกเพศสภาพของผู้คนได้เท่านั้น แต่ยังสามารถใช้เพื่อการจำแนกความแตกต่างทางความคิดเห็นทางการเมือง อาชญากร และแม้แต่ไอคิวของแต่ละบุคคลได้อีกด้วย

ช่วงหนึ่งของผลการทดลองในงานวิจัยระบุว่า “เมื่อให้ AI วิเคราะห์รูปภาพหนึ่งรูปของแต่ละบุคคล [ซอฟต์แวร์] ดังกล่าวสามารถที่จะจำแนกเกย์ในผู้ชายออกจากชายแท้ได้ 81% ของเคสที่ทดลอง ในขณะที่สำหรับผู้หญิงนั้นสามารถจำแนกออกได้ 71%” ซึ่งอัตราความถูกต้องนี้เพิ่มสูงขึ้นไปอีกเมื่อเพิ่มรูปภาพของบุคคลนั้นๆ เข้าไปเป็น 5 รูป โดยเพิ่มขึ้นจาก 81% ในเพศชายเป็น 91% และ 71% ในเพศหญิงเป็น 83%

Advertisement
Advertisement
Advertisement

หากดูจากถ้อยแถลงตรงนี้อาจดูเหมือนว่า AI นั้นสามารถจำแนกเกย์ออกจากชายแท้ได้ถูกถึง 81% จากรูปถ่ายเพียงรูปเดียว แต่ TheVerge มีคำอธิบายที่ขัดแย้งกับคำพูดนั้นและน่าสนใจมากทีเดียว โดย TheVerge บอกว่า จริงๆ แล้วมันไม่ได้เป็นแบบนั้นเสียทีเดียว เพราะ AI ไม่สามารถจำแนกเกย์ออกจากชายแท้ได้ถูกต้อง 81% หากเอารูปมั่วๆ ซั่วๆ คละๆ กันมาให้ดู แต่การทดลองนี้ถูกทดลองโดยรูปถ่ายของคนเป็นคู่ๆ โดยคนหนึ่งในคู่นั้นเป็นชายแท้ และอีกคนในคู่นั้นเป็นเพศที่สาม จากนั้นก็ตั้งคำถาม AI ด้วยคำถามอารมณ์ประมาณว่าคนไหนที่ดูเหมือนเกย์มากกว่ากัน ซึ่งเจ้าปัญญาประดิษฐ์สามารถทายถูกได้ 81% จากทั้งหมดสำหรับเพศชาย และ 71% จากทั้งหมดสำหรับเพศหญิง แต่อย่าลืมว่าโครงสร้างการทดสอบนั้นเอื้อให้ปัญญาประดิษฐ์เริ่มการคาดเดาที่ 50% แล้ว คือชายสองคน หญิงสองคน และคนหนึ่งเป็นชาย/หญิงแท้ ซึ่งแทบไม่ต่างอะไรจากการให้ AI สุ่มเดานั่นล่ะ และถึงแม้ว่าผลของการเดาจะถูกต้องมากจนน่าขนลุก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าปัญญาประดิษฐ์จะสามารถเดาเพศสภาพของคนได้ถูกถึง 81% อย่างที่เข้าใจกัน

Philip Cohen นักสังคมวิทยาจาก University of Maryland ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่เขียนบล็อกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับงานวิจัยในครั้งนี้กล่าวกับ TheVerge ว่า

“ปัจจุบันนี้มนุษย์เราต้องอยู่กับความกลัวในสถานการณ์ที่ว่าหากคุณมีชีวิตส่วนตัวและสถานภาพทางเพศที่ไม่ต้องการให้ใครรู้ และคุณต้องเดินทางไปยังสนามบินหรืองานแข่งขันกีฬาสักอย่างและต้องถูกเครื่องคอมพิวเตอร์สแกนตัวคุณแล้วสามารถระบุตัวตนของคุณว่าคุณเป็นเกย์หรือชาย/หญิงแท้ออกมาให้คนอื่นเห็น แต่เทคโนโลยีที่ว่านี่ก็ยังไม่มีหลักฐานอะไรมากมายนักมารองรับว่ามันทำได้จริงตามที่ว่า”

Kosinski และ Wang ได้สรุปไว้ท้ายงานวิจัยของพวกเขาว่าเมื่อนำเอารูปภาพ 1000 รูปมาให้ AI ดูแทนการทดสอบจากแค่ 2 รูป แล้วให้ AI เลือกเอาคนที่เป็นเกย์ขึ้นมาแสดง โดยในดาต้าชีตนั้นมี 7% ที่เป็นเกย์ ซึ่งเปรียบได้กับจำนวนประชากรที่เป็นเกย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และเมื่อบอกให้ AI เลือก 100 รูปที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นเกย์ออกมา ผลปรากฏว่า AI สามารถเลือกออกมาได้ถูกต้องทั้งสิ้น 43 คน จากทั้งหมด 70 คนที่เป็น โดยอีก 53 คนที่เลือกออกมานั้นเป็นความผิดพลาดของ AI เพราะคนเหล่านั้นเป็นชายแท้ และเมื่อตีคำถามให้เป็นวงแคบไปอีก โดยให้เลือก 10 จาก 100 คนในนั้นที่มีโอกาสเป็นเกย์มากที่สุดขึ้นมา AI สามารถเลือกได้ถูกต้อง 9 คน

เกาะประเด็น:  Huawei เปิดตัวโน้ตบุ๊ก HarmonyOS แทน Windows อย่างเป็นทางการ

ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า AI นั้นใช้หลักเกณฑ์อะไรกันแน่ในการจำแนกประชากรที่เป็นเพศที่สามออกจากชาย/หญิงแท้ทั่วไป แต่ Kosinski และ Wang มีสมมติฐานว่า AI แยกเพศสภาพของคนออกจากโครงสร้างของใบหน้าว่าในใบหน้าของชายหนุ่มคนหนึ่งมีโครงสร้างของผู้หญิงมากน้อยเพียงใด และเช่นเดียวกันกับกรณีของใบหน้าของผู้หญิงว่ามีโครงสร้างของผู้ชายอยู่ในนั้นเพียงใด ซึ่งนั่นทำให้เกิดจุดบกพร่องอันยิ่งใหญ่ในตรรกะของ AI จุดที่ว่านั้นก็คือการแสดงออกทางสีหน้าของคนๆ หนึ่งที่อาจทำให้ AI สับสนในตรรกะที่ใช้ในการตรวจวัดนั่นเอง

composite-of-straight-and-gay
รูปจากงานวิจัยแสดงหน้าตาของผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่เป็นชายแท้ และไม่ใข่ชายแท้ และข้อแตกต่างที่ใช้จำแนกเพศสภาพ

นี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดข้อพิพากษ์ที่มาขัดแย้งงานวิจัยนี้อย่างชัดเจน โดยตามที่ Greggor Mattson อาจารย์ภาคสังคมวิทยาจากวิทยาลัย Oberlin กล่าวไว้ในบล็อกว่าสิ่งๆ นี้ชี้ให้เห็นความบกพร่องของงานวิจัยชิ้นนี้ เพราะลำพังรูปภาพที่นำมาใช้นั้นก็มีความเอนเอียงแล้ว เพราะมันเป็นรูปภาพที่เก็บมาจากเว็บไซต์หาคู่และถูกเลือกขึ้นมาโพสโดยผู้ใช้งานในเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อหาคู่ที่เป็นเพศที่ตนต้องการทั้งนั้น ซึ่งนั่นก็เป็นประหนึ่งการระบุเพศสภาพให้กับตัวเองผ่านทางภาพถ่ายจากอากัปกริยาทางสีหน้าและลักษณะท่าทางแล้ว ยังไม่รวมถึงความจริงที่ว่ากลุ่มคนตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนั้นล้วนแล้วแต่เป็นคนผิวขาวที่เป็นเกย์ทั้งหมด ไม่มีพวกที่จัดตัวเองในกลุ่มไบเซ็กชวลหรือกลุ่มคนที่แปลงเพศแล้วในนั้นเลย ซึ่งทำให้มันง่ายต่อการจำแนกตามตรรกะของ AI นั่นเอง

งานวิจัยนี้ยังเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ในวงกว้าง และ APPDISQUS เองเห็นว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่คิดๆ ไปแล้วทั้งน่าขนลุกและน่าตกใจที่ปัญญาประดิษฐ์นั้นอาจไม่ไกลเกินจินตนาการที่เราเคยเห็นในภาพยนตร์กันแล้วหากต่อไปมีคนสามารถพิสูจน์ความสามารถของมันออกมาเป็นทฤษฎีที่ไร้ขอพิพากษ์โดยสิ้นเชิง

อย่างไรก็ตามการทดลองโดยการเอาปัญญาอัฉริยะเหล่านี้มาสร้างความตระหนกให้เกิดขึ้นกับคนกลุ่มๆ หนึ่งนั้นดูจะเป็นอะไรที่ไม่สมควรนักจนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ ณ ขณะนี้ เพราะหากเจ้า AI เกิดทำได้ตามที่ว่ามาจริงๆ โดยไร้ข้อกังขา โลกเราคงเกิดความโกลาหลขึ้นไม่น้อยหากเครื่องมือเหล่านี้ตกไปอยู่ในการใช้งานของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ไม่ควร

เราคงต้องจับตาดูความก้าวล้ำของ Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะนี้กันต่อไป

เพื่อนๆ สามารถตามอ่านข้อพิพากษ์ของงานวิจัยนี้จาก The Verge ได้โดยละเอียดจากลิงก์ที่เราใส่ไว้ในอ้างอิงเนื้อหาบทความ

และหากเพื่อนๆ ต้องการอ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม APPDISQUS ได้คัดเลือกมาให้แล้วตามลิงก์ข้างล่างนี้เลย

  • Android มีเปอร์เซ็นต์ระบบเกิดข้อผิดพลาดสูงกว่า iOS ส่วน iOS นั้นเกิดปัญหาแอพพลิเคชั่นล้มเหลวมากกว่า Android ถึง 5 เท่า
  • วิเคราะห์ 8 จุดขาย และ 4 จุดตาย ของ Apple iPhone X
  • ดูหนัง ฟังเพลง เปลือง 4G และ 3G กันสักเท่าไหร่ มาดูกัน!

AI Assistant bixby Google Assistant siri
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
Alex
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)
  • Instagram

อเล็กซ์ หรือ เอ ว่างเมื่อไหร่เป็นต้องหยิบเอามือถือหรือ iPad ข้างกายตนมาจับๆ จิ้มๆ ตามประสาคนมีงานแต่ชอบเล่นเกม คุณสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้กำลังใจเอได้เสมอผ่านทางการคอมเมนต์ในบทความนี้

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

WINDOWS

Huawei เปิดตัวโน้ตบุ๊ก HarmonyOS แทน Windows อย่างเป็นทางการ

10 พฤษภาคม 2025
apple-intelligence-deepseek
Your Updates

Siri ไม่มา ผู้ใช้ไม่ทน! ฟ้อง Apple ฐานโฆษณาเกินจริงแล้วในสองประเทศ

11 เมษายน 2025
News

Google Assistant จะถูกแทนที่ด้วย Gemini ในปี 2025!

15 มีนาคม 2025
Apple Intelligent is to be even more powerful with the new apple exec
Apple

Apple เร่งซ่อม Siri ดึงมือจัดการ AI มืออาชีพเข้าร่วมทีมในฐานะผู้บริหาร

25 มกราคม 2025
Apple

Apple ยอมจ่าย 95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อยุติคดีความ Siri แอบฟังผู้ใช้

6 มกราคม 2025
Android

ค้นหาเพลงด้วย Google Assistant แค่ฮัมเพลง ฮื๊อ..ฮือ ก็รู้ชื่้อเพลงได้

23 กันยายน 2024
What Score?
8.5
Devices

รีวิว Infinix Note 50 Pro+ 5G+ สมาร์ตโฟนสุดคุ้ม สเปคแรง! ชาร์จไว 100W กล้อง 50MP OIS ซูม 100X

By Noppinij1 พฤษภาคม 2025252 Views
7.7
Devices

รีวิว vivo V50 Lite และ vivo Watch GT สมาร์ตโฟน+สมาร์ตวอทช์ “คู่หูแบตอึด” บางเบา จอคมชัด จัดเต็มเกินราคา

By Noppinij22 เมษายน 2025221 Views
8.9
Devices

รีวิว OPPO Find N5 สมาร์ตโฟนจอพับบางที่สุดในโลก แข็งแรง เทคโนโลยีล้ำ! พร้อมสำหรับการทำงาน และกล้องระดับโปร

By Noppinij8 เมษายน 2025295 Views
7.2
Devices

รีวิว vivo Y39 5G จัดเต็ม เครื่องสวยสายลุย! “เอาอยู่ ทุกความท้าทาย”

By Noppinij3 เมษายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Alldocube iPlay60 Pad Pro แท็บเล็ตลูกครึ่งโน๊ตบุ๊ค หน้าจอ 12.1 นิ้ว แบต 10000mAh สเปกคุ้มๆ ราคาไม่ถึงเก้าพัน

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Xbox & PC World

เปิดตัวแล้ว! Five Night At Freddy X Dead By Daylight ฆาตกรใหม่ แมพใหม่!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya10 พฤษภาคม 2025

ผู้ใช้ Steam เรียกร้องปุ่ม “อัปเดตทั้งหมด” เพื่อความสะดวกในการจัดการเกม

10 พฤษภาคม 2025

Helio ไปต่อ! MediaTeK เปิดตัว Helio G200: รีแบรนด์ G100 พร้อมแต่งหน้าใหม่เล็กน้อย

10 พฤษภาคม 2025

Huawei เปิดตัวโน้ตบุ๊ก HarmonyOS แทน Windows อย่างเป็นทางการ

10 พฤษภาคม 2025

Galaxy S25 Edge จะมาพร้อมกระจกกันรอยใหม่ Corning Gorilla Glass Ceramic 2 เป็นรุ่นแรกของโลก

9 พฤษภาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Xbox & PC World

เปิดตัวแล้ว! Five Night At Freddy X Dead By Daylight ฆาตกรใหม่ แมพใหม่!

10 พฤษภาคม 2025
Xbox & PC World

ผู้ใช้ Steam เรียกร้องปุ่ม “อัปเดตทั้งหมด” เพื่อความสะดวกในการจัดการเกม

10 พฤษภาคม 2025
Android

Helio ไปต่อ! MediaTeK เปิดตัว Helio G200: รีแบรนด์ G100 พร้อมแต่งหน้าใหม่เล็กน้อย

10 พฤษภาคม 2025
WINDOWS

Huawei เปิดตัวโน้ตบุ๊ก HarmonyOS แทน Windows อย่างเป็นทางการ

10 พฤษภาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo