Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Your Updates » หน่วยความจำของเครื่องเต็มทำอย่างไร จะสำรองรูปไปเก็บไว้ที่ไหน มีทางออกให้สามวิธี
Your Updates

หน่วยความจำของเครื่องเต็มทำอย่างไร จะสำรองรูปไปเก็บไว้ที่ไหน มีทางออกให้สามวิธี

11 กรกฎาคม 2020Updated:11 กรกฎาคม 20202 Mins Read

ปัญหาพื้นที่จัดเก็บใกล้เต็มของมือถือ เชื่อว่าหลายคนที่ใช้สมาร์ทโฟนในการจัดเก็บภาพ, ข้อมูล และไฟล์ข้อมูลต่างๆ เมื่อใช้ไปสักระยะ จะเจอปัญหาหน่วยความจำของเครื่องไม่พอใช้กันอย่างแน่นอนครับ

ปัญหาของหน่วยความจำเครื่องเต็มหรือใกล้จะเต็ม จะส่งผลต่อการใช้งานหลายอย่าง เช่น การทำงานของเครื่องช้าลง หรือไม่สามารถอัพเดทหรือติดตั้งแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมได้ อาจจะรวมถึงไม่สามารถถ่ายภาพวีดีโอได้อีกต่อไป

ในกรณีแบบนี้ เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายๆ 3 วิธิด้วยกันครับ ซึ่งผมจะอธิบายให้ฟังทีละวิธี

Advertisement
Advertisement
Advertisement

1. ลบแอพ, เกม หรือวีดีโอที่ไม่ได้ใช้งานออกไปจากเครื่อง

เป็นวิธีที่ง่ายและทำได้เลยทันที แอพพลิเคชั่นใดที่เราไม่ค่อยได้ใช้ให้ทำการลบทิ้งครับ และโดยเฉพาะแอพพลิเคชั่นเกม ยิ่งเกมภาพสวยๆ ก็ยิ่งกินพื้นที่จัดเก็บ ก็ลบทิ้งไปครับถ้าเราไม่ได้ใช้ รวมถึงไฟล์วีดีโอนี่ก็ตัวกินเมมโมรี่เลย วีดีโอไหนที่ไม่ใช่หรือไม่ต้องการแล้วก็ลบทิ้งไป แต่ถ้าวีดีโอเหล่านั้นมันสำคัญก็ให้มองวิธีข้อต่อไปเพื่อจัดเก็บไฟล์วีด๊โอของเราเอาไว้ในข้อที่ 2 และ 3 ตามด้านล่างครับ

2. สำรองจัดเก็บไฟล์ภาพ, วีดีโอ ไปไว้ที่อุปกรณ์ภายนอก

เชื่อว่าปัญหาหลักของทุกวันนี้ที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนใช้เครื่องกันจนหน่วยความจำเต็ม มักจะมาจากรูปภาพและวีดีโอมีอยู่ล้นเครื่องครับ ถ่ายภาพกันบ่อย เซฟภาพกันเยอะ และมีความจำเป็นต้องจัดเก็บภาพเหล่านั้นเอาไว้ใช้ในภายหลัง ผมแนะนำให้ทำการย้ายไฟล์เหล่านั้นไปไว้ในอุปกรณ์ภายนอกครับ โดยเราสามารถย้ายไปเก็บไว้ได้ที่คอมพิวเตอร์, Notebook แค่เพียงเสียบสาย USB จากสมาร์ทโฟนต่อเข้าที่ PC หรือ Notebook ก็จะเข้าถึงที่เก็บข้อมูลของสมาร์ทโฟนเราได้ทั้งหมด คัดลอกไฟล์รูปที่ต้องการจากในโฟลเดอร์ “DCIM” ซึ่งมักเป็นโฟลเดอร์หลักในการจัดเก็บภาพของอุปกรณ์สมาร์ทโฟนระบบ Android นั้นเองครับ หรือถ้าเป็นระบบ iOS ก็สามารถจัดการได้ผ่านโปรแกรม iTune โดยตรงนั้นเอง

3. สำรองเก็บไฟล์ภาพและวีดีโอ จัดเก็บขึ้นบริการจัดเก็บคลาวด์

เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในยุคสมัยนี้ต้องรู้จักไว้เลยครับ เป็นวิธีที่อยากจะแนะนำมากที่สุด เพราะง่ายและประหยัด สามารถใช้งานได้ฟรี และไม่เสียเวลา แต่แค่ต้องทำความเข้าใจสักเล็กน้อย

ระบบพื้นที่จัดเก็บคลาวด์ (Cloud) เป็นการบริการที่มีมานานหลายปีแล้วครับ เริ่มเป็นที่นิยมและเป็นมาตรฐานในการสำรองไฟล์ทุกชนิดรวมถึงภาพภ่าย โดยไฟล์เหล่านั้นจะไม่หายไปไหนแม้เราจะรีเซ็ตโทรศัพท์หรือทำมือถือพังหรือทำมือถือหายไป

โดยจะมีผู้ให้บริการที่เป็นบริษัทใหญ่ เชื่อถือได้ และมีให้บริการฟรีอยู่มากมาย เช่น Google ที่ให้บริการ Google Drive หรือปัจจุบันเปลี่ยนมาทำตลาดภายใต้ชื่อ Google One และอีกเจ้าใหญ่นั้นคือของทาง Microsoft ที่ให้บริการในชื่อ OneDrive ซึ่งในสองบริการที่หยิบมาพูดถึงนี้ จะสามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนทุกระบบ Android, iOS แต่จะมีบริการของทาง Apple ที่ให้บริการกับระบบ iOS เพียงอย่างเดียวในชื่อ iCloud ด้วยเช่นกัน

โดยบริการเหล่านี้เขาจะให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ หรือเรียกว่าเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่อยู่บนระบบออนไลน์อาจจะเข้าใจง่ายกว่า โดยพื้นที่เหล่านั้นก็จะเหมือนฮาร์ดดิสจัดเก็บข้อมูลของเราเลยครับ แต่ไม่ได้ใช้การเสียบสายเชื่อมต่อหรือมีตัวอุปกรณ์อยู่จริงๆ แต่เราสามารถเข้าถึงที่จัดเก็บข้อมูลของเราตรงนั้นได้ ด้วย “อินเตอร์เน็ต”

โดยในสมาร์ทโฟน เรายังไม่ติดตั้งแอพพลิเคชั่นของบริการดังกล่าว ก็สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Google One หรือ OneDrive แล้วแต่จะต้องการใช้งานของเจ้าไหนเอามาติดตั้งในเครื่องของเราก่อนครับ หลังจากนั้นเขาจะให้เราสมัคร ID เพื่อเริ่มใช้งาน โดยจะใช้ ID เป็นที่อยู่ Gmail หรือ Hotmail ตามลำดับ และจะจัดการสร้างที่จัดเก็บข้อมูลของเราให้ขึ้นมาโดยอัตโนมัติ

ซึ่งปัจจุปันมีการแจกพื้นที่ให้ใช้ฟรีเริ่มต้นกันที่ 15GB เลยทีเดียว สามารถจัดเก็บไฟล์รูปได้มากถึงประมาณ 5,000 รูปเลยทีเดียวครับ แต่จริงๆ แล้ว ในพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์ของเรา จะเอาไฟล์อะไรไปเก็บก็ได้ทั้งนั้นครับ เขาไม่ได้จำกัด เพราะมันเหมือนเป็นฮาร์ดดิสของเราที่จะเอาอะไรไปใส่ไว้ก็ได้ทั้งนั้น ลบอะไรทิ้งก็ได้ หรือจะคัดลอกย้ายไฟล์ จัดการเพิ่มโฟลเดอร์ ทำได้หมด ไม่ต่างจากฮาร์ดดิสที่มีอยู่จริงในคอมพิวเตอร์ของเราเอง

ซึ่งหลังจากเราสมัครใช้งานในครั้งแรก หลังจากนั้นก็ไม่ต้องสมัครหรือล็อคอินใหม่อะไรแล้วครับ ตัวแอพพลิเคชั่นมันจะเป็นทางเข้าไปหาไฟล์ของเราได้ในทันทีที่เราเปิดแอพ

ส่วนการจัดเก็บไฟล์ขึ้นไปเก็บไว้ในระบบตคลาวด์ก็ง่ายดายที่สุดแล้วครับ เข้าไปเลือกภาพที่เราต้องการจะนำขึ้นไปจัดเก็บแล้วกด “แชร์” ออกไปยังแอพบริการคลาวด์ที่เราเลือกใช้ และไฟล์เหล่านั้นก็จะถูกส่งขึ้นไปจัดเก็บยังพื้นที่คลาวด์ของเราด้วยสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่จำเป็นต้องเชื่อต่อเอาไว้ขณะอัพโหลดครับ

ข้อดีของระบบคลาวด์ยังมีมากมาย ไม่ใช่แค่เป็นพื้นที่จัดเก็บที่เปิดให้ใช้งานกันได้ฟรี แต่มันยังเป็นพื้นที่เก็บสำรองไฟล์สำคัญเอาไว้ แม้มือถือเราจะหายจะพังไป ไฟล์ที่เราจัดเก็บไว้ในคลาวด์ก็ไม่ได้เกี่ยวกัน มันก็จะอยู่ตรงนั้นให้เราล้อคอินเข้าไปใช้งานได้เหมือนเดิม

เป็นพื้นที่ส่วนบุคคลของเราที่สามารถเข้าถึงได้ในหลายช่องทางเมื่อยามจำเป็นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าด้วยแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน มันยังเข้าถึงได้ด้วยโปรแกรมบนอุปกรณ์อย่าง PC หรือ Notebook ด้วยครับ และยังเข้าถึงได้ด้วยการเปิดหน้าเว็บไซด์โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมก่อนแต่อย่างใด แค่เพียงเรามีไอดีและรหัสผ่านของเรา เราก็สามารถเข้าไปดูหรือดาวน์โหลดไฟล์เรามาใช้งานได้ในทุกๆ ที่ที่เราต้องการ แค่เพียงมีสัญญาณเน็ตและอุปกรณ์ที่เปิดเบราว์เซอร์ได้เท่านั้นเอง

และเรายังสามารถล็อคอินบริการคลาวด์เหล่านี้ไว้ได้หลายอุปกรณ์พร้อมๆ กัน เช่น ถ้าเราใช้สมาร์ทโฟนหลายเครื่อง หรือใช้อุปกรณ์อย่าง PC หรือ Notebook เราสามารถลงแอพลงโปรแกรม และล็อคอินไอดีเราเอาไว้ทุกอุปกรณ์ จะทำให้แต่ละอุปกรณ์ที่เราล็อคอินไอดีไว้นั้น เขาถึงไฟล์เดียวกันที่เราจัดเก็บขึ้นไปบนคลาวด์ได้ทุกอุปกรณ์พร้อมๆ กันเลยครับ เป็นหนึ่งในวิธีการส่งไฟล์ข้ามอุปกรณ์ที่ผมนิยมใช้งานเป็นประจำ

เรายังสามารถแชร์ไฟล์ที่อยู่ในคลาวด์ของเราให้กับบุคคลอื่นได้ด้วย โดยการแชร์ลิงก์ดาวน์โหลดไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการให้บุคคลอื่นสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ โดยจะส่งเป็นลิงก์ของไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นออกไป แต่ผู้นั้นจะไม่มีสิทธิ์เข้าถึงหรือมองเห็นไฟล์อื่นๆ ของเราได้เลยนะครับไม่ต้องห่วง เขาจะสามารถเข้าไปดูหรือดาวน์โหลดได้แค่ที่เราส่งลิงก์ไปเท่านั้น


ก็เป็นสามวิธีในการจัดการไฟล์ภาพหรือเพิ่มพื้นที่จัดเก็บให้กับอุปกรณ์ของเราได้ แต่อย่างไรผมก็ขอแนะนำวิธีที่สามหรือการใช้งานระบบคลาวด์นะครับ อยากให้ทำความเข้าใจเพื่อจะได้ใช้งานมันกันได้เป็น เพราะมันมีประโยชน์สูงมากกว่าที่คิดไว้แน่นอนครับ

 

Advertisement
App Cloud Google One Onedrive พื้นที่จัดเก็บใกล้เต็ม วิธีเก็บรูป สำรองรูป เมมเต็ม แอพพลิเคชั่นสำรองรูป
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
Noppinij
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Your Updates

วิธีย้ายไฟล์ระหว่างบริการ Cloud แบบรวดเดียวจบ ไม่ว่าจะ OneDrive, Google Drive ได้หมด โดยไม่ต้องโหลดลงเครื่องก่อน(เสียเงิน)

8 ตุลาคม 2016
Miscellaneous

Microsoft กลับลำมอบพื้นที่ฟรี 15 GB ให้กับผู้ใช้ OneDrive เดิม รับสิทธิ์ก่อน 31 มกราคมหน้า พร้อมวิธีรับสิทธิ์ท้ายข่าว

12 ธันวาคม 2015
Apple

Microsoft จะลดพื้นที่ฟรีเหลือ 5 GB ใน OneDrive และยกเลิกโปรฯ พื้นที่ไม่จำกัด สำหรับผู้ใช้ Office 365

3 พฤศจิกายน 2015
News

[Tips] วิธีย้ายภาพจาก OneDrive มา Google Photos แบบง่ายๆใช้เวลาไม่นาน (สำหรับคนรูปเยอะ)

22 มิถุนายน 2015
News

[ข่าว] OneDrive และ OneNote อัพเดทใหม่ล่าสุด สำหรับทำงานบน Android

5 พฤษภาคม 2015
News

Foxit Mobile PDF Reader ดาวน์โหลดผ่าน Windows Phone Store ได้แล้ววันนี้

30 มีนาคม 2015
What Score?
78
Game Review

Review : FATAL FURY: City of the Wolves ฉูดฉาดขึ้น! มันส์ขึ้น! ถูกใจแฟนเกมแน่นอน!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya2 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

By Noppinij1 กรกฎาคม 2025
7.5
Accessories

รีวิว Xiaomi Smart Band 10 ดีไซน์ใหม่ ฟีเจอร์แน่น ใช้งานคุ้มเกินราคา

By Noppinij28 มิถุนายน 2025
90
Game Review

Review : Death Stranding 2 เข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังเก็บหัวใจเดิมไว้อย่างครบถ้วน

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya23 มิถุนายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Sony WH-1000XM6 หูฟังตัดเสียงรบกวนที่แม่นยำที่สุดของโซนี่! ดียังไง? มีอะไรใหม่?

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Gaming

Minecraft อัพเดทใหญ่เพิ่ม โกเล็มทองแดง และอุปกรณ์ทองแดง!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya3 กรกฎาคม 2025

เปิดตัว MY HERO ACADEMIA: All’s Justice เกมภาคสุดท้ายของแฟรนไชส์!

3 กรกฎาคม 2025

มือถือพับได้ 3 ตอนของ Samsung มาแน่ พร้อมชิปตัวแรงสุด

3 กรกฎาคม 2025

Persona 5: The Phantom X เปิดให้โซนเราเล่นได้แล้ววันนี้!

3 กรกฎาคม 2025

PS5 Pro เตรียมอัปเกรด PSSR ด้วยอัลกอริธึมใน Project Amethyst ที่มีพื้นฐานจาก FSR 4 ในปี 2026

3 กรกฎาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Gaming

Minecraft อัพเดทใหญ่เพิ่ม โกเล็มทองแดง และอุปกรณ์ทองแดง!

3 กรกฎาคม 2025
Gaming

เปิดตัว MY HERO ACADEMIA: All’s Justice เกมภาคสุดท้ายของแฟรนไชส์!

3 กรกฎาคม 2025
Android

มือถือพับได้ 3 ตอนของ Samsung มาแน่ พร้อมชิปตัวแรงสุด

3 กรกฎาคม 2025
Gaming

Persona 5: The Phantom X เปิดให้โซนเราเล่นได้แล้ววันนี้!

3 กรกฎาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo