นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2566 ในประเทศไทยเรามี “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล” หรือชื่อว่า Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) ซึ่งพัฒนาโดยความร่วมมือระหว่าง AIS และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อใช้เป็นดัชนีประเมินความสามารถของคนไทยในการอยู่รอด ปลอดภัย และรู้เท่าทันภัยไซเบอร์ในโลกดิจิทัลยุคใหม่
ทำไมถึงต้องมีดัชนี TCWI? ใครควรสนใจ? และมันวัดอะไรได้บ้าง? บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจว่าดัชนีนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของนักวิชาการหรือหน่วยงานรัฐเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับตัวเราโดยตรง ไม่ว่าคุณจะเป็นวัยรุ่น นักเรียน คนทำงาน หรือผู้สูงอายุ หากคุณมีชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์ TCWI ก็คือเครื่องบอกถึง “ภูมิคุ้มกันดิจิทัล” ที่จะช่วยให้คนไทยที่ได้เห็นดัชนีชี้วัดที่เข้าใจง่าย สามารถรู้ตัวและป้องกันภัยทางไซเบอร์ได้ชัดเจนมากขึ้น
ในบทความนี้
TCWI คืออะไร และวัดอะไร?
Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) หรือ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นประจำในทุกปี ตั้งแต่ปี 2566 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีเครื่องมือวัดพฤติกรรม ทักษะ และความรู้เท่าทันในการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักวิชาการผสมผสานกับเทคโนโลยี เพื่อสะท้อนว่า คนไทยมีสุขภาวะทางไซเบอร์ในระดับใด และควรได้รับการส่งเสริมในจุดไหน
แสดงออกมาในรูปแบบคะแนนประเมิน เข้าใจง่าย ถูกต้องแม่นยำ เพราะไม่ได้ผ่านการคาดเดาแต่ถูกวิเคราะห์ขึ้นมา โดยการแสดงแยกไว้ตามวัย, เพศ, วิชาชีพ, ภูมิภาคที่อาศัย และเจาะลึกลงไปตามแต่ละจังหวัดของประเทศไทย จึงสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างชัดเจนมากที่สุด
TCWI วัดผ่าน 7 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่:
- การใช้ดิจิทัล
- การรู้เท่าทันดิจิทัล
- การสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล
- การเข้าใจสิทธิทางดิจิทัล
- ความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์
- การแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล
- การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์
โดยผลการศึกษาปี 2567 พบว่าค่าเฉลี่ยระดับสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยอยู่ที่ ระดับพื้นฐาน (0.68) ซึ่งหมายความว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนา โดยเฉพาะในด้าน ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนที่สุดใน 7 ด้าน
สรุปผลประเมิน Thailand Cyber Wellness Index ประจำปี 2567 ที่ผ่านมา
TCWI สำคัญกับคนไทยอย่างไร?
ในยุคที่เราใช้มือถือทำธุรกรรม แชร์ข้อมูลส่วนตัว และเชื่อมโยงตัวตนเข้ากับแพลตฟอร์มออนไลน์มากมาย “ความรู้เท่าทัน” และ “การป้องกันตัว” กลายเป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นไม่ต่างจากการอ่านออกเขียนได้ TCWI ช่วยให้เรารู้ว่าเราอยู่ตรงไหน และต้องปรับปรุงพฤติกรรมใดเพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของภัยไซเบอร์
ยิ่งไปกว่านั้น ข้อมูลจาก TCWI ยังสามารถนำไปใช้ในการวางนโยบาย การเรียนการสอน การอบรม และการออกแบบแคมเปญเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในโลกออนไลน์ได้อย่างตรงจุด เป็นประโยชน์ทั้งต่อภาครัฐ เอกชน และสังคมโดยรวม
อยากชวนมารู้เท่าทันโลกออนไลน์ เข้าใจพฤติกรรมดิจิทัลของตนเอง ผ่านสถิติที่เข้าใจง่ายใน Thailand Cyber Wellness Index โดยสามารถเข้าไปดูแบบละเอียด มีข้อมูลครบ ได้ที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index
ใช้ TCWI ทำอะไรได้บ้างในชีวิตจริง?
- รู้จุดอ่อนของตัวเอง เช่น ถ้าคุณไม่รู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงแค่ไหน TCWI จะบอกให้คุณรู้ และเสนอเครื่องมือทดสอบ ” Digital Health Check” เพื่อประเมิน และพัฒนาความเข้าใจในการรู้ทันภัยไซเบอร์ได้มากขึ้น
- สร้างเกราะให้คนรอบตัว เมื่อคุณรู้แล้ว คุณก็สามารถสอนหรือเตือนคนในครอบครัว เพื่อน หรือเด็ก ๆ ให้รู้เท่าทันได้ ด้วยข้อมูลที่บอกถึงจุดอ่อนและสิ่งที่ควรเน้นให้เข้าใจได้ตรงตามวัย, เพศ และไลฟ์สไตล์ของการใช้ชีวิตประจำวัน
- วางแนวทางอบรมในองค์กรหรือโรงเรียน ครูผู้สอนสามารถใช้ข้อมูลดัชนีมาวางแผนพัฒนา Soft Skill ด้านดิจิทัลให้กับนักเรียนได้
- สร้างสังคมออนไลน์ที่ปลอดภัยมากขึ้น เพราะสุขภาวะดิจิทัลไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เกี่ยวข้องกับทั้งระบบ เมื่อผู้คนมีภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ที่แข็งแรงขึ้น มาตรฐานของทั้งสังคมก็จะแข็งแรงขึ้นตามไป จนเป็นกำแพงขนาดใหญ่ที่มิจฉาชีพจะเจาะเข้าถึงคนไทยได้ยากมากขึ้น
สรุป
Thailand Cyber Wellness Index คือเครื่องมือที่จำเป็นในยุคที่ชีวิตแทบทุกมิติผูกติดกับโลกดิจิทัล ยิ่งคนไทยรู้จักและเข้าใจดัชนีนี้มากเท่าไร โอกาสในการมีชีวิตที่ปลอดภัยและมีความสุขบนโลกออนไลน์ก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น
และเพราะ “ภัยไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัว” ความรู้เท่าทันจึงเป็นก้าวแรกของการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวคุณเองและคนรอบข้าง
หากคุณอยากรู้ว่า “ภูมิคุ้มกันไซเบอร์” ของคุณอยู่ในกลุ่มระดับไหน แยกตามวัยของคุณ, วิชาชีพของคุณ, ภูมิภาคที่อาศัยและจังหวัดของคุณ อยากรู้อย่าช้า! เข้าไปดูรายละเอียดและตรวจสอบคะแนนสุขภาวะดิจิทัลได้ที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index