Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Mobile and Gadget » Devices » รีวิว Sony Xperia Z Ultra แอนดรอยด์ที่เป็นแท็บเล็ตมากกว่า ความเป็นสมาร์ทโฟน
Devices

รีวิว Sony Xperia Z Ultra แอนดรอยด์ที่เป็นแท็บเล็ตมากกว่า ความเป็นสมาร์ทโฟน

28 กันยายน 2013Updated:29 กันยายน 20135 Mins Read

รีวิวทดสอบการใช้งาน Sony Xperia Z Ultra อุปกรณ์ลูกครึ่งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต หน้าจอ 6.4 นิ้ว

OLYMPUS DIGITAL CAMERAใหม่และใหญ่! นั้นคือ Sony Xperia Z Ultra หน้าจอ 6.4 นิ้วที่ผมไม่รู้จะเรียกมันว่าอะไรดี มันยังคงเป็น Phalet ตามที่เขาเรียกกันได้อยู่มั้ย ขนาดหน้าจอไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นความบานของมันที่ใหญ่โตมากด้วยขนาดหน้ากว้าง 18 เซนติเมตร น้องๆ แท็บเล็ต 7 นิ้วบางรุ่น

Xperia Z Ultra ในวันนี่ที่รีวิวยังต้องถือว่า เป็นเครื่องรุ่นตัวท็อบของทาง Sony (นอกจากจะแยกมันออกจากกลุ่มสมาร์ทโฟนแล้วจริงๆ) ด้วยราคาจำหน่าย 21,900 บาท ณ วันเปิดตัว สูงกว่า Xperia Z1 ที่จะออกจำหน่ายในราคา 20,990 บาท ความแตกต่างในจุดใหญ่ๆ ของสองรุ่นนี้ ที่สังเกตเห็นได้ง่ายๆ นั้นก็คือขนาดของจอแสดงผลนั้นเองครับ

Xperia Z Ultra ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานที่ต้องการการแสดงผลแบบจอใหญ่ๆ เต็มๆ ตา สะใจเวลาดูหนังเข้าเว็บหรืออ่านหนังสือ เป็นหน้าจอที่ถือว่าใหญ่มากถ้าเป็นสมารทโฟน แต่จะเล็กถ้าเรามองเป็นแท็บเล็ต แล้วไอ้เจ้าตัวนี้มันควรเป็นอย่างไหนละ?

Advertisement
Advertisement
Advertisement

“ผมคงต้องตอบมันมีความเป็นแท็บเล็ตสูงกว่าความเป็นสมาร์ทโฟนมากครับ”

เหตุผลที่ผมจะให้หลักๆ เลยสามข้อสำหรับความเป็นแท็บเล็ตของ Xperia Z Ultra

1.UI กว้าง : หน้าจอใหญ่ๆ ใครๆ ก็คิดว่ามันน่าจะสบายตา ตัวอักษรหรือไอคอนน่าจะขยายใหญ่ขึ้นมามากกว่าเดิม แต่ในความเป็นจริงแล้ว การแสดงผลของ Xperia Z Ultra เป็นแนวทางของแท็บเล็ตที่หดเล็กลงมากกว่าครับ ความใหญ่ของหน้าจอมันมีไว้แสดงผลในแนวกว้าง คือแสดงได้เยอะ ได้หลายตัวอักษร เห็นได้หลายบรรทัดมากกว่า แต่ตัวหนังสือนั้นขนาดเท่าเดิม เท่าๆ กับเครื่องสมาร์ทโฟนหน้าจอ 4-5 นิ้วทั่วๆ ไป (อยากจะบอกว่าเล็กกว่านั้นด้วยซ้ำ) ในการใช้งานแม้คุณจะปรับขนาดฟ้อนตัวหนังสือให้เป็นไซด์แบบใหญ่พิเศษ มันก็ยังถือว่าเป็นขนาดของตัวอักษรทั่วๆ ไปเท่านั้นครับ OLYMPUS DIGITAL CAMERA 2.การออกแบบตัวเครื่อง : การออกแบบตัวเครื่อง Xperia Z Ultra หัวท้ายเครื่องเหลือพื้นที่เยอะมากด้านละเท่าๆ กัน เอาไว้ให้ถือจับ หน้าโฮมทำมารองรับการใช้งานทั้งสองแกนแนวตั้งและแนวนอน แต่ตัวเครื่องเหมือนเน้นการใช้งานในแนวนอนมากกว่า เมื่อเทียบขนาดกับเครื่อง Samsung Galaxy Mega ที่หน้าจอ 6.3 นิ้ว ซึ่งเครื่องกลับเล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด และจะสังเกตเห็นว่าการออกแบบของ Galaxy Mega 6.3 เป็นโทรศัพท์ที่ให้ใช้งานแนวตั้ง

3.ไม่เน้นในเรื่องกล้องถ่ายภาพ : ข้อนี้ผมยกให้เป็นเรื่องของเจตนาว่า Sony ต้องการให้ Xperia z Ultra หนักไปทาง Tablet เพราะถ้าไม่ใช่เจตนาแบบนั้น เครื่อง Xperia Z Ultra ก็เป็นเครื่องราคาสองหมื่นกว่าที่กล้องแย่มากครับ กล้องหน้าพอไหวเพราะมาตรฐานส่วนใหญ่ไม่สูงอยู่แล้ว แต่กล้องหลังขนาด 8 ล้านพิกเซลแบบหลงยุคสมัย ไม่มีแฟลชและคุณภาพการถ่ายภาพแย่มาก โดยเฉพาะในที่แสงน้อย ย้ำว่าแค่แสงน้อย ไม่ได้หมายถึงที่มืดหรือตอนกลางคืนแต่อย่างใด คุณภาพห่างมาตรฐานแม้แต่จะนำไปเทียบกับเพื่อนร่วมแบรนด์เดียวกันที่มีราคาน้อยกว่า แต่ถ้านี่คือเจตนาทีทาง Sony ตั้งใจทำมา แน่ละ กล้องดีๆ บนแท็บเล็๋ต เราไม่ค่อยจะได้เห็นกันบ่อยนักหรอกครับ [divider]

ตัวเครื่องภายนอก

อุปกรณ์ภายในกล่องจะประกอบด้วย sony-xperia-Z-Ultra-Appdisqus-preview-002-610x343

  • สายชาร์จ USB
  • Adpator ชาร์จไฟ
  • หูฟังสีขาว
  • จุกยางหูฟังสำรอง
  • คู่มือ

Appdisqus Review: แกะกล่อง Sony Xepria Z Ultra 

Specification

  • หน่วยประมวลผล Snapdragon 800 2.2 GHz
  • หน้าจอ6.4 นิ้ว Triluminos และ X-Reality for mobile 16 ล้านสี ความละเอียด Full HD 1920 x 1080 พิกเซล
  • กระจก Tempered Glass รองรับการเขียนด้วยดินสอ
  • บาง 6.5 มิลลิเมตร น้ำหนัก 212 กรัม
  • กันน้ำได้ตามมาตราฐาน IP58 (กันน้ำได้ 1.5 เมตร นานถึง 30 นาที )
  • Android 4.2 Jelly Bean
  • หน่วยความจำภายใน 16GB microSD เพิ่มเติม 32GB
  • แรม 2 GB
  • รองรับ 3G  ทุกเครือข่าย บนระบบ GSM Quad-band
  • UMTS HSPA+ ความเร็ว(download) 42 Mbps (850/900/1700/1900/2100 MHz)
  • กล้องหลังความละเอียด 8 ล้านพิกเซล กล้องหน้า 2 ล้านพิกเซล Sony Exmor RS for mobile และ HDR Video

ลักษณะตัวเครื่องของ Xperia Z Ultra  บางมากครับ หกมิลลิเมตรกว่าๆ ด้านหน้าและด้านหลังตัวเครื่องครอบด้วยกระจก หรูหรามากครับ การดีไซด์เป็นไปตามสไตล์ Sony เรียบๆ มีไฟ LED แจ้งเตือนด้านบนข้างๆ โลโก้ที่โดดเด่นชัดเจน มีลำโพงขนาดเล็กบนล่างขอบเครื่อง ดูสมดุลแต่มันไม่ใช่ลำโพงสเตอริโอ เพราะด้านบนเป็นลำโพงสำหรับสนทนา และด้านล่างเป็นไมค์รับเสียง ลำโพงจริงอยู่ด้านใต้ตัวเครื่องครับ

ด้านหลังเครื่อง ก็เรียบๆ เช่นกัน มีเพียงโลโก้ของ Sony และสัญลักษณ์แสดงตำแหน่ง NFC ตำแหน่งกล้องหลังที่ไร้แฟลชอยู่บนสุดด้านซ้าย ด้านข้างตัวเครื่องเป็นอลูมิเนียมคั้นด้วยพลาสติก มีฝาปิดทั้งช่องใส่ซิมและ Sd card ด้านตรงข้ามมีช่องเสียบสายชาร์จที่มีฝาปิดเช่นกัน ซึ่งทั้งสองฝานี้ต้องปิดให้สนิทนะครับถึงจะสามารถกันน้ำได้  มีปุ่ม Power ทรงกลมที่ตอนนี้เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ไปแล้ว ปุ่มปรับเสียงอยู่กลางเครื่อง และ Xperia Z Ultra ยังเป็นอีกรุ่นหนึ่ง ที่ยังมีช่องไว้ร้อยสายคล้องมือมาให้อยู่ ^^

และด้านข้างกลางเครื่องด้านซ้าย เป็น Pin สำหรับการเชื่อมต่อสายไฟหรือ Docking ที่เป็นแม่เหล็ก สำหรับการชาร์จไฟและส่งผ่านข้อมูลได้ในอีกรูปแบบนึงครับ

เรื่องรูปลักษณ์ตัวเครื่องความสวยงาม จากที่ผมสังเกตจากคนรอบข้าง ถ้าผมบอกว่ามันเป็นโทรศัพท์ Xperia Z Ultra ก็จะดูเป็นโทรศัพท์ที่ใหญ่แบบดูน่ากลัวมาก แต่ถ้าผมบอกว่ามันคือแท็บเล็ต คนกลับมองว่าเป็นแท็บเล็ตที่น่าสนใจ เล็กกระชับ ไฮโซ และดูหรูมากทีเดียว ^^

***แนะนำสำหรับผู้ที่จะซื้อ ติดฟิล์มกันรอยทั้งด้านหน้าและด้านหลังนะครับ ของ Focus จะมีขายตรงรุ่นเลย

[divider]

การใช้งานภายใน

ถ้าพูดถึงสเปค Xperia Z Ultra  นี่ระดับท็อบครับ เครื่อง Snapdragon 800 2.2 GHz เต็มความแรงขั้นสุดยอดในตอนนี้ พร้อมแรมขนาด 2 GB เหลือๆ ในการใช้งาน ล่าสุดทดสอบกับรอมตัวอัพเดท 14.1.b.1.532 ลื่นไหลเกินพอครับ แอบมีสะดุดเพียงนิดเดียวจริงๆ สำหรับ Widget บางตัว แต่การใช้งานด้านอื่นๆ ผมให้ 100% กับความพอใจ

UI การใช้งานสวยงามดี (อัพเกรดเวอร์ชั่นล่าสุดก่อนนะ ถึงจะเป็นแบบนี้) แต่เรื่องขนาดตัวหนังสือก็อย่างที่ผมบอก เล็กไปหน่อย ต้องตั้งค่าแบบใหญ่พิเศษกันเลยสำหรับคนสายตาไม่ดีอย่างผม Screenshot_2013-09-28-19-45-18   แอพพลิเคชั่นที่เตรียมไว้ให้ก็ครบครับ มี OfficeSuite สำหรับเปิดไฟล์เอกสาร Neoreader สำหรับแสกน QR Code และ EverNote แอพจดบันทึกตัวฮิต ที่ผมชอบคือ FileCommand แอพพลิเคชั่นจัดการไฟล์ที่สวยงามและฉลาดพอดู เข้าถึงมีเดียได้หลายอย่างด้วยการแสกนหาในตัวมันเอง และเข้าถึง Cloud Server ได้หลายหลากครับ OLYMPUS DIGITAL CAMERA   แต่แอพพลิเคชั่นและบริการที่เป็น Exclusive ของทาง Sony เอง ต้องเรียกว่ายังไม่พร้อมสักเท่าไหร่ ทั้ง AppXtra สำหรับการแนะนำแอพพิเศษของ Sony หรือ Xperia Privilege สำหรับสิทธิพิเศษของผู้ใช้เครื่อง Xperia มีโปรโมชั้่นน้อยมากๆ ครับ ยังไม่น่าสนใจ Screenshot_2013-09-28-19-56-58 แต่สิ่งที่ดูจะพร้อมใช้แล้วและมีประโยชน์ ก็จะหาได้ใน Sony Select คลังแอพพลิเคชั่นที่ทาง Sony คัดมาให้แล้วว่าเจ๋งจริง สำหรับคนที่ไม่อยากไปงมจากมหาสมุทรแอพที่มากมายเยอะแยะใน Play Store ครับ OLYMPUS DIGITAL CAMERA   Xperia Lounge อันนี้สิ Exclusive จริง เป็นศูนย์รวมการนำเสนอเอนเตอร์เทนเม้นของทาง Sony ไม่ว่าจะเป็นหนังหรือเพลง มีคลิปวีดีโอน่าสนใจดีๆ มากมาย และมีสิทธิพิเศษให้ร่วมเล่นเกมตอบคำถามกันด้วย รางวัลก็สุดยอดแห่งความน่าสนใจครับ ^^ ถ้าได้ขึ้นมา ได้เดินทางไกลถึงต่างแดนกันเลยทีเดียว

Sociallife แอพพลิเคชั่นติดตามข่าวและ Social Network ที่ดูผู้ดีมาก การแสดงผลสวยงามและมีสไตล์ เอาแค่อ่านก็เพลินตาแล้วครับ

ฟังชั่นน่าสนใจ

เดี๋ยวนี่ขายสมาร์ทโฟน ขายกันแต่สเปคไม่ได้แล้วครับ มันต้องมาพร้อมฟังชั่น ยิ่งน่าสนใจแค่ไหน ยิ่งมีกระแส และทาง Sony เองก็มีการใส่ฟังชั่นมาให้ในเครื่อง Xperia Z Ultra ตัวนี้ไม่น้อยเหมือนกันครับ อย่าง mini Widget Application OLYMPUS DIGITAL CAMERA   คือการเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นในแบบ Pop-up เป็นหน้าต่างเล็กๆ หรือการเรียก Widget ขึ้นมาใช้งานบนแอพพลิเคชั่นอีกตัวนั้นเองครับ สามารถเรียกได้หลายตัว และสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่รองรับเพิ่มเติมได้ด้วยครับ การเรียกใช้งานก็ทำได้ง่ายๆ โดยการกดปุ่ม Recent App เจ้า Mini Widget จะรอให้เราเรียกใช้ได้จากในนั้นครับ OLYMPUS DIGITAL CAMERA   เครื่อง Xperia ทุกเครื่อง จะมาพร้อมธีมครับ อันนี้ก็ตามสไตล์ของ Sony เลย ในปัจจุปัน เครื่อง Xperia Z Ultra จะมีธีมให้เลือกใช้อยู่ 8 ธีมด้วยกันครับ ซึ่งมันจะเปลี่ยนทั้งสีสันของวอลล์เปเปอร์ สีสันของกรอบเมนู และไอคอนการทำงานหลักๆ ของเครื่องทั้งหมดเลยครับ   OLYMPUS DIGITAL CAMERA   ก็สวยดี อยากได้อารมณ์ไหนก็เลือกใช้งานกันเอา OLYMPUS DIGITAL CAMERA OLYMPUS DIGITAL CAMERA   ฟังชั่นในการเชื่อมต่อทั้งแบบมีสายและไร้สาย มีมากเลยทีเดียว Throw ก็คือการส่งข้อมูลไปแสดงผลในอุปกรณ์อื่นๆ ผ่านสัญญาณไร้สาย หรือ DLNA นั้นเองครับ Xperia Z Ultra ยังทำตัวเองให้เป็นเซิฟเวอร์จัดเก็บสื่อสำหรับให้อุปกรณ์อื่นๆ ในวง Lan เข้ามาดึงข้อมูลออกไปใช้งานได้ด้วย ยังมีการสะท้อนหน้าจอที่จะใช้ร่วมกันกับสมาร์ททีวีของ Sony เป็นการส่งภาพแสดงผลของ Xperia Z Ultra ไปบนหน้าจอโทรทัศนืโดยตรง Xperia Z Ultra ยังรองรับการเชื่อมต่อกับจอย Dual Shock3 ของเครื่อง PlayStation ผ่านสาย USB อีกด้วยครับ   OLYMPUS DIGITAL CAMERA     โหมดการจัดการพลังงานของเครื่องจาก Sony ที่เขาภาคภูมิใจ Stamina Mode แต่ผมไม่เคยเปิดใช้ มันคือโหมดที่คอยปิดการเชื่อมต่อทุกครั้งที่เราปิดหน้าจอ  ถ้าต้องการการเชื่อมต่อตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นอีเมล แอพเมสเซจ หรือการแจ้งเตือนจาก Social ต่างๆ เราก็ไม่ควรไปเปิดโหดมนี้

เกาะประเด็น:  รีวิว Infinix Note 50 Pro+ 5G+ สมาร์ตโฟนสุดคุ้ม สเปคแรง! ชาร์จไว 100W กล้อง 50MP OIS ซูม 100X

แค่ถ้าใครไม่ได้นำมาใช้ในจุดนี้เป็นหลัก การเปิดโหมด Stamina ไว้ จะยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ในแต่ละวันได้ยาวนานมากครับ

และ Xperia Z Ultra สามารถจดจำตำแหน่งที่เราต้องการให้เครื่องเปิดการเชื่อมต่อ Wi-Fi โดยอัตโนมัติได้ด้วยนะครับ ในการตั้งค่า “Wi-Fi ตามตำแหน่งที่ตั้ง”   OLYMPUS DIGITAL CAMERA     [quote] ถ้าจะถามว่า แบตเตอรี่ของ Xperia Z Ultra อึดมากแค่ไหน ทดสอบจากที่ใช้งานแบบเปิด Sync หมด เปิดแสงจอประมาณ 60%-80% ถือว่าเป็นเครื่องที่แบตไม่อึดครับ เพียงพอได้วันต่อวัน ใช้งานหนักๆ จากเช้าจะหมดช่วงเย็น รวมๆ ประมาณ 9 ชั่วโมงถ้าตามไลฟ์สไตล์การใช้งานแบบผม  และวันไหนถ้าเปิดจอนานๆ เปิดติดต่อกันเช่นดูหนังหรือซีรีย์ 4 ชั่วโมงแบตหมดได้เหมือนกันครับ [/quote]

ระบบของแอพพลิเคชั่นแกลอรี่แสดงรูปไดสวยงาม แสดงผลได้มากมายจริงๆ ย่อขยายขนาด Thumbnail รูปย่อได้หลายหลากขนาดด้วยนิ้วเราเอง

การแสดงภาพนอกจากจะแยกตามอัลบั้มจัดเก็บ ยังเรียกดูแยกตามพื้นที่จัดเก็บ แยกตามโฟลเดอร์ แสดงผลแยกตามวันที่ แยกตามสถานที่ถ่าย (ตรวจจับจาก Geo tag) และแสดงได้รอบโลกเลยครับ Screenshot_2013-09-28-20-27-47

[quote]สิ่งหนึ่งที่อยากจะฝากถึง Sony คือคีย์บอร์ดภาษาไทย ช่วยปรับให้เป็นแบบมาตรฐานสี่แถวทีเถิด – – พัฒนามาดีหมดทั้งการตอบสนอง หน้าตาการใช้งาน ยอดเยี่ยมมากในภาษาสากล แต่กับภาษาไทย ยังคงเอาสระไปซ่อนรวมกับตัวอักษรอื่นๆ อยู่เช่นเคย[/quote]

หน้าจอ Tempered Glass ของ Xperia Z Ultra จะรองรับการเขียนด้วยของแข็งครับ ไม่ว่าจะเป็นดินสอไม้ หรือกุญแจ จะเป็นอะไรก็ได้ที่พอจะเป็นสื่อนำให้เครื่องได้รับรู้ เหมือนจะมีประโยชน์ครับ แต่ในความเป็นจริง มันไม่ได้รองรับทุกๆ วัตถุอย่างที่เราคิด แม้แต่ดินสอที่ว่าชัวร์ บางแท่งก็เขียนได้ติดๆ หลุดๆ ครับ โดยเฉพาะถ้าติดฟิล์มกันรอยอาการยิ่งออก

สุดท้ายสำหรับคนที่ต้องการเขียนจอจริงๆ ก็ต้องพกดินสอหรือวัตถุอะไรก็ตามที่เราใช้แล้วแน่ใจว่ามันจะเขียนจอ Xperia Z ultra ได้ติดแน่ๆ ไว้สักแท่งอยู่ดี ฉะนั้นจะดีกว่าถ้า Sony จะมีปากกามาให้เลยเหมือนเครื่องอื่นๆ ที่เขียนจอได้ แต่ดูแล้วเรื่องนี่อาจจะเป็นแค่ออพชั่นน้ำจิ้ม เพราะแอพที่ติดมาให้สำหรับการขีดๆ เขียนๆ ก็ทำมาแบบธรรมดาทั่วไปครับ WP_20130928_20_50_48_Pro   ปิดท้ายเรื่องฟังชั่น ด้วยฟังชั่นจากแอพพลิเคชั่นฉลาดๆ อีกหนึ่งตัว นั้นก็คือ Smart Connect การกำหนดการทำงานอัตโนมัติของเครื่องเมื่อเราเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่นถ้าเราเชื่อมต่ออุปกรณ์คีย์บอร์ด เราต้องการจะให้เครื่องเปิดแอพพลิเคชั่นอะไรขึ้นมา หรือต้องการเปิดปิดฟีเจอร์ใดๆ ของเครื่องหรือไม่ เราสามารถกำหนดไว้เป็นค่าโปรไฟล์ได้ในทุกๆ อุปกรณ์ครับ OLYMPUS DIGITAL CAMERA   [divider]

ผลการทดสอบต่างๆ

การจับตำแหน่ง GPS แม่นยำและรวดเร็วมากครับ รองรับการทัชสกรีน 10 จุด ทีแรมให้ใช้งานจริง 1801MB และหน่วยความจำภายในให้ใช้งานได้ 11.72 GB [divider]

การแสดงผล

หน้าจอขนาด 6.4 นิ้ว  Triluminos 16 ล้านสี ความละเอียด Full HD 1920 x 1080 พิกเซล  และเทคโนโลนี X-Reality for mobile ที่เป็นซอฟแวร์ปรับแต่งสี สำหรับการทดสอบใช้งานจริง จุดอ่อนเดิมๆ ที่เคยเห็นใน Xperia Z หายไปแล้วครับ สีสันดีขึ้น มุมมองกว้างขึ้น แต่! แสงสู้แดดไม่ไหวเลยครับ

เพื่อนๆ ที่อ่านรีวิวนี่มาแต่ต้น อาจจะเห็นผมพูดถึงในการใช้งานแต่ละวัน ผมจะเปิดแสงจอมากกว่า 60% เป็นพื้นฐานในการใช้งาน Xperia Z Ultra  แต่ตามปกติเครื่องอื่นๆ ที่ผมใช้งานมา ไม่ค่อยมีที่จะต้องเปิดเกิน 40% แต่กับ Xperia z ultra ถ้าจะเอาตามระดับความเคยชิน ผมอาจจะต้องเปิดไปประมาณ 60%-70% เลยครับ

ภาพเปรียบเทียบกับจอ IPS ของ iQX2 เปิดแสงจอที่ 50% เท่ากัน

WP_20130928_21_07_21_Pro

เรื่องขนาดฟ้อนตัวหนังสือและไอคอน อย่างที่บอกไปตอนต้น ไม่ได้ใหญ่ตามที่หลายคนคิดนะครับ แต่จะออกแนวกว้าง แสดงผลได้เยอะกว่า เหมือนเครื่องแท็บเล็ตนั้นเองครับ ฟ้อนตัวหนังสือเล็กไปหน่อย ตอนผมใช้งานจำเป็นต้องปรับฟ้อนตัวหนังเป็นขนาดใหญ่ หรือ ใหญ่พิเศษ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

 

ส่วนการเล่นหนัง อ่านหนังสือ เข้าเว็บไซด์ ต้องบอกว่า นี่แหละใช่เลย ใหญ่เต็มๆ ตา ไม่เกี่ยวกับขนาดฟ้อนแล้ว แสดงผล 1080p ชัดแจ่ม สีสันได้ อ่านการ์ตูนกำลังดี และการแสดงผลกว้าง มีประโยชน์ในการเข้าหน้าเว็บเพจครับ เพราะเห็นได้ครอบคลุมมากกว่า

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

อ่านการ์ตูนอย่างแจ่มครับ กำลังสวยๆ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

 

เข้าเว็บแสดงผลได้กว้าง และการประมวลผลแรงๆ ช่วยให้ท่องเว็บได้ไหลลื่น

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

 

[divider]

การทำงานด้านเสียง

เป็นอีกสิ่งที่ผิดหวังแบบจิ๊ดๆ ตัวใหญ่เป็นช้างแต่เสียงประมาณแค่ตั๊กแตน เสียงเบามากครับ ลำโพงติดเครื่องที่ให้มา การออกแบบดีที่เอามาไว้ข้างเครื่อง เพราะเวลาวางหงายวางคว่ำไม่บังเสียง แต่มันเบาโดยธรรมชาติเองเลย คุณภาพเสียงใช้ได้ มีมิติและเสียงใส มาพร้อมระบบปรับเสียง ClearAudio+ การปรับอีควอไลเซอร์ รวมทั้งการเพิ่มเสียงจากลำโพง xLound Sound แต่มาตกม้าตายเรื่องความดังของเสียงนี่แหละ

คุณภาพหูฟังที่แถมมาให้ถือว่าพอใช้ครับ ตามมาตรฐานทั่วไป

แอพพลิเคชั่นเล่นเพลง Walkman ทำมาสวยงาม แบ่งแยกศิลปิน แนวเพลง นักร้อง และสามารถเล่นผ่านระบบ Lan ได้ในตัวแอพเลยด้วยครับ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

 

การเล่นเกม

ขอผ่านเลยได้มั้ย ^^ ระดับนี้ ลงได้คือเล่นได้นั้นแหละครับ ยกเว้นแอพมันไม่รองรับเพราะความไม่เข้ากันกับ CPU ที่ยังใหม่ เพราะเราอาจจะพบแอพหรือเกมบางอันจะยังมีปัญหาครับ ลงไม่ได้ แต่ที่เหลือสบายๆ หายไปหลายห่วงเลยละ ^^

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

 

[divider]

 

การถ่ายภาพ

ก็บอกมาตั้งแต่ต้นแล้วครับว่า “ไม่เน้น” เพราะค่อนข้างน่าผิดหวังในสิ่งที่ทาง Sony ใส่มาให้ ถ่ายกลางวันได้แสงช่วยทุกอย่างโอเค โฟกัสไว บันทึกภาพเร็ว แต่ในที่แสงน้อยถือว่าไม่ผ่าน เรื่องที่ไม่มีแฟลชไม่เป็นไรเพราะสำหรับผมเองมีก็ไม่ค่อยจะได้เปิดใช้ แต่เรื่องคุณภาพการถ่ายทั่วไปมันไม่ไหวจริงๆ ถ้ามองที่ราคาสองหมื่นกว่า

อาการออกในที่แสงไม่ต้องมืดมาก แค่ในอาคารหรือสภาพแสงในสถานที่จัดงานเลี้ยงก็เก็บภาพยากแล้ว แม้มาพร้อมเทคโนโลยีมากมายที่ Sony จะประดามี  Exmor RS for mobile ดูจะเป็นแค่ชื่อ ถ้านี่เป็นปัญหาที่ซอฟแวร์ Sony ก็รีบแก้ด่วนๆ ครับ ที่อัพเดทมายังไม่เข้าตาเช่นเดิม

ในโหมดการถ่ายภาพของ Xperia Z Ultra จะมีโหมดพื้นฐานอยู่ที่ตัว “อัตโนมัติแบบพิเศษ” แนะนำจากใจ ปรับเป็นโหมดธรรมดาเถอะครับ โดยเฉพาะในที่แสงน้อย เพราะโหมดอัตโนมัติแบบพิเศษตัวนี้ฉลาดเกินไป เจอแสงร่มๆ เข้าหน่อย มันจะดิ้นสลับโหมดกันสนุกเลย พอไม่นิ่งก็เล็งยาก ถ่ายออกมาก็ไม่สวยด้วยครับ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

เทียบภาพแบบโหมดอัตโนมัติธรรมดา กับโหมดอัตโนมัติแบบพิเศษ

Click! เพื่อดูภาพใหญ่

DSC_0118

ตัวอย่างภาพถ่ายตอนกลางวัน Click เพื่อดูภาพใหญ่

DSC_0147 DSC_0150 DSC_0153 DSC_0156 DSC_0158 DSC_0159 DSC_0165 DSC_0122

ตัวอย่างภาพถ่ายในอาคาร Click เพื่อดูภาพใหญ่

DSC_0131 DSC_0137 DSC_0139 DSC_0142

 

ทีนี้ขอเน้นๆ หน่อยกับการถ่ายภาพแสงน้อย ขอปรับแต่งเล็กๆ กับเน้นๆนิ่งๆ

DSC_0113 DSC_0112 DSC_0111 DSC_0109

 

สรุปท้ายรีวิว

รวมๆ แล้ว Xperia Z Ultra ก็ถือเป็นเครื่อง Android ที่อยู่ระดับสูง แต่ความสามารถโดยรวมไม่โดดเด่น จริงๆ ที่เห็นก็มีเพียงแค่เรื่องของความแรง CPU และคุณสมบัติกันน้ำ แต่ในส่วนอื่นนั้น วันนี้ต้องบอกว่าทาง Sony ยังบาลานซ์มาได้ไม่ดี จอไม่ใช่คุณภาพที่เหนือกว่าใคร กล้องถ่ายภาพที่ต้องได้รับการปรับปรุง เสียงลำโพงที่เบา การเขียนหน้าจอเป็นเพียงแค่น้ำจิ้ม  ทำให้จุดขายที่โดดเด่นจริงๆ หายาก  โดยเฉพาะถ้าคุณไม่ได้หลงใหลในการดีไซด์หรือแบรนด์ Sony ด้วยแล้วละก็

[gradeC]

reivew Sony (Xperia Series) xperia z Ultra รีวิว
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
Noppinij
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

8.5
Devices

รีวิว Infinix Note 50 Pro+ 5G+ สมาร์ตโฟนสุดคุ้ม สเปคแรง! ชาร์จไว 100W กล้อง 50MP OIS ซูม 100X

1 พฤษภาคม 2025
7.7
Devices

รีวิว vivo V50 Lite และ vivo Watch GT สมาร์ตโฟน+สมาร์ตวอทช์ “คู่หูแบตอึด” บางเบา จอคมชัด จัดเต็มเกินราคา

22 เมษายน 2025
8.9
Devices

รีวิว OPPO Find N5 สมาร์ตโฟนจอพับบางที่สุดในโลก แข็งแรง เทคโนโลยีล้ำ! พร้อมสำหรับการทำงาน และกล้องระดับโปร

8 เมษายน 2025
7.2
Devices

รีวิว vivo Y39 5G จัดเต็ม เครื่องสวยสายลุย! “เอาอยู่ ทุกความท้าทาย”

3 เมษายน 2025
Your Updates

รีวิวแรกสัมผัส POCO F7 Pro สมาร์ตโฟน Snapdragon 8 Gen 3 พร้อมจอ 2K AMOLED มาแบบเรือธงแต่ขายแค่หมื่นกลาง! มันเป็นอย่างไร?

1 เมษายน 2025
7.8
Devices

รีวิว nubia Neo 3 5G เกมมิ่งโฟนสุดคุ้ม เด่นด้วยไฟ RGB! เปิดตัวแรงในราคาไม่ถึง 7,000 บาท

1 เมษายน 2025
What Score?
8.5
Devices

รีวิว Infinix Note 50 Pro+ 5G+ สมาร์ตโฟนสุดคุ้ม สเปคแรง! ชาร์จไว 100W กล้อง 50MP OIS ซูม 100X

By Noppinij1 พฤษภาคม 2025251 Views
7.7
Devices

รีวิว vivo V50 Lite และ vivo Watch GT สมาร์ตโฟน+สมาร์ตวอทช์ “คู่หูแบตอึด” บางเบา จอคมชัด จัดเต็มเกินราคา

By Noppinij22 เมษายน 2025220 Views
8.9
Devices

รีวิว OPPO Find N5 สมาร์ตโฟนจอพับบางที่สุดในโลก แข็งแรง เทคโนโลยีล้ำ! พร้อมสำหรับการทำงาน และกล้องระดับโปร

By Noppinij8 เมษายน 2025294 Views
7.2
Devices

รีวิว vivo Y39 5G จัดเต็ม เครื่องสวยสายลุย! “เอาอยู่ ทุกความท้าทาย”

By Noppinij3 เมษายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Alldocube iPlay60 Pad Pro แท็บเล็ตลูกครึ่งโน๊ตบุ๊ค หน้าจอ 12.1 นิ้ว แบต 10000mAh สเปกคุ้มๆ ราคาไม่ถึงเก้าพัน

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Android

Helio ไปต่อ! MediaTeK เปิดตัว Helio G200: รีแบรนด์ G100 พร้อมแต่งหน้าใหม่เล็กน้อย

By Noppinij10 พฤษภาคม 2025

Huawei เปิดตัวโน้ตบุ๊ก HarmonyOS แทน Windows อย่างเป็นทางการ

10 พฤษภาคม 2025

Galaxy S25 Edge จะมาพร้อมกระจกกันรอยใหม่ Corning Gorilla Glass Ceramic 2 เป็นรุ่นแรกของโลก

9 พฤษภาคม 2025

Nintendo เตือนผู้ใช้ Nintendo Switch ที่ดัดแปลง อาจถูกแบนหรือเครื่องพังถาวร

9 พฤษภาคม 2025

Google ใช้ AI ป้องกันภัยออนไลน์: ตรวจจับสแกมใน Search, Chrome และ Android

9 พฤษภาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Android

Helio ไปต่อ! MediaTeK เปิดตัว Helio G200: รีแบรนด์ G100 พร้อมแต่งหน้าใหม่เล็กน้อย

10 พฤษภาคม 2025
WINDOWS

Huawei เปิดตัวโน้ตบุ๊ก HarmonyOS แทน Windows อย่างเป็นทางการ

10 พฤษภาคม 2025
Android

Galaxy S25 Edge จะมาพร้อมกระจกกันรอยใหม่ Corning Gorilla Glass Ceramic 2 เป็นรุ่นแรกของโลก

9 พฤษภาคม 2025
Nintendo World

Nintendo เตือนผู้ใช้ Nintendo Switch ที่ดัดแปลง อาจถูกแบนหรือเครื่องพังถาวร

9 พฤษภาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo