Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Featured Story » PM2.5 อันตรายจริง! อย่ามองข้าม พร้อมวิธีป้องกันฉบับชาว IT ด้วยเทคโนโลยี
PM2.5 - The National Issue of Thailand
Featured Story

PM2.5 อันตรายจริง! อย่ามองข้าม พร้อมวิธีป้องกันฉบับชาว IT ด้วยเทคโนโลยี

25 มกราคม 2025Updated:25 มกราคม 20253 Mins Read

หนึ่งในประเด็นที่ร้อนแรงมากๆ ในบ้านเราโดยขึ้นหน้าหนึ่งในแทบทุกสำนักข่าวนั้นคงหนีไม่เรื่องประเด็นฝุ่น PM2.5 ที่กรุงเทพมหานครและหลายพื้นที่ในประเทศไทยกำลังประสบพบเจออยู่ โดยหนึ่งในสิ่งที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่นั้นมาจากการโพสความเห็นและคำชี้แจงที่คุณหมอมนูญ ลีเชวงศ์ ได้โพสเอาไว้ผ่านทางเพจ หมอมนูญ ลีเชวงศ์ FC ที่มีเนื้อหาสรุปคร่าวๆ ได้ว่าคนไทยเราอยู่กับฝุ่น PM2.5 กันมานานแล้วแต่มันไม่ได้ส่งผลเป็นนัยยะสำคัญต่อปัญหาสุขภาพหรือสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยขนาดนั้น และยิ่งเมื่อพิจารณาถึงบริบททางเศรษฐกิจแล้วอาจจะไม่คุ้มค่าที่จะมีนโยบายชั่วคราวในการป้องกันปัญหาฝุ่น PM2.5 เช่นการหยุดโรงเรียนชั่วคราวหรือการขอความร่วมมือเรื่อง Work From Home ที่ กทม. กำลังทำอยู่ในตอนนี้

วันนี้ APPDISQUS อยากลองพาเพื่อนๆ มาวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ไปพร้อมๆ กันกับคุณหมอ และอยากจะขอเป็นอีกหนึ่งเสียงในการรณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหา PM2.5 ที่ควรเป็นวาระระดับชาติที่ต้องร่วมมือกันจัดการโดยด่วน และขอรณรงค์ให้ไม่ Normalize หรือด้อยค่าความสำคัญของปัญหา PM2.5 นี้โดยการเอามันไปเปรียบเทียบกับประเทศอื่นที่แย่กว่าเราเช่นประเทศอินเดีย โดยจะพาเพื่อนๆ วิเคราะห์ประเด็นต่างๆ ออกมาในมุมมองแบบ APPDISQUS เอง ทั้งนี้ต้องขอออกตัวก่อนว่าทีมงาน APPDISQUS ไม่มีทางมีความรู้ทางการแพทย์เท่าคุณหมอท่านแน่ๆ แต่จากข้อมูลสนับสนุนที่สามารถค้นคว้าได้ทั่วไปมากมาย เราเลยรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นมาสรุปให้ผู้อ่าน APPDISQUS ของเราย่อยกันได้ง่ายขึ้น พร้อมลิงก์ไปยังข้อมูลสนับสนุนตามแบบฉบับคน IT

PM2.5 is unhealthy and can't be normalized or ignoredฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือที่รู้จักกันในชื่อ PM2.5 เป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญในหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก รวมถึงกรุงเทพมหานครของประเทศไทย แม้ว่าบางคนอาจมองว่าฝุ่น PM2.5 เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล หรือไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ แต่ข้อมูลจากการวิจัยและหน่วยงานด้านสุขภาพชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่แท้จริงของฝุ่นชนิดนี้เอาไว้ดังนี้

ในบทความนี้ :

  • ฝุ่น PM2.5 อันตรายต่อสุขภาพจริง…ไม่จิงโจ้
  • ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อระดับฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ
  • ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากฝุ่น PM2.5 ที่อาจร้ายแรงกว่าค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปกับการป้องกันอย่างจริงจัง
  • การป้องกันและลดความเสี่ยงจากฝุ่น PM2.5 ในรูปแบบของชาวไอทีอย่างพวกเรา

ฝุ่น PM2.5 อันตรายต่อสุขภาพจริง…ไม่จิงโจ้

ฝุ่น PM2.5 มีขนาดเล็กมาก ทำให้สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจลึกถึงถุงลมในปอด และบางอนุภาคอาจเข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลายด้าน ดังนี้:

Advertisement
Advertisement
Advertisement

1.ระบบทางเดินหายใจ:

การสัมผัสฝุ่น PM2.5 อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินหายใจ แสบจมูก ไอ มีเสมหะ และหายใจลำบาก นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) – ที่มาจาก โรงพยาบาลบางประกอก 3

2.ระบบหัวใจและหลอดเลือด:

การได้รับฝุ่น PM2.5 อย่างต่อเนื่องสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย และหลอดเลือดสมองตีบได้ – ที่มาจาก โรงพยาบาลพญาไท

3.ระบบภูมิคุ้มกัน:

ฝุ่น PM2.5 สามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดและทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น เช่น ไข้หวัดใหญ่ และหลอดลมอักเสบได้ – ที่มาจาก โรงพยาบาลพญาไท

4.ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง:

การสัมผัสฝุ่น PM2.5 ในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด เนื่องจากสารพิษที่ปนเปื้อนในฝุ่นสามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ – ที่มาจาก โรงพยาบาลศิริราช

เมื่อเห็นความน่ากลัวของมันแล้ว APPDISQUS เองมองว่ามันคงไม่ดีนักถ้าเราจะด้อยค่าปัญหานี้ลงมาให้กลายเป็นปัญหาที่เราต้องหาทางอยู่กับมันไปวันๆ แทนที่จะแก้ไขอย่างจริงจัง เพราะจริงอยู่ว่าบ้านเราอาจมีค่า AQI ที่ไม่ได้แย่ที่สุดในโลก แต่ในเรื่องแบบนี้เราก็ไม่ควรแข่งกันแย่ที่สุดในโลกใช่ไหมล่ะครับ เห็นแบบนี้แล้วจะไม่ให้ตื่นตัวก็กะไรอยู่นะ

ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อระดับฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ

แม้ว่าบางคนอาจเชื่อว่าระดับฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคมเนื่องจากสภาพภูมิอากาศ แต่ความเป็นจริงคือ มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับฝุ่น PM2.5 ดังนี้ ซึึ่งสามารถแบ่งแยกออกมาเป็นหัวข้อใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1.การจราจร:

ท่อไอเสียจากยานพาหนะเป็นแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 ที่สำคัญในกรุงเทพฯ การจราจรที่คับคั่งและการใช้รถยนต์ส่วนตัวมากทำให้มีการปล่อยฝุ่นเพิ่มขึ้น 

2.การก่อสร้าง:

การขยายตัวของเมืองนำไปสู่การก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 อีกแหล่งหนึ่ง 

3.การเผาในที่โล่ง:

การเผาไหม้ของเสียจากการเกษตรและชีวมวลในพื้นที่ใกล้เคียงส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ 

4.สภาพภูมิอากาศ:

ภาวะอุณหภูมิผกผัน (temperature inversion) ในช่วงฤดูหนาวทำให้ฝุ่นสะสมในบรรยากาศมากขึ้น แต่ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ระดับฝุ่นเพิ่มขึ้น 

นอกจากนี้ในรายการเรื่องเล่าเช้านี้เทปวันที่ 24 มกราคม 2568 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ยังได้ให้สูตรจำไว้คร่าวๆ ถึงต้นตอของสาเหตุปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกิดขึ้นใน กทม. เอาไว้ดังนั้น

“30 มาจากรถยนต์กับโรงงานใน กทม. อีก 30 มาจากปัญหาธรรมชาติเมื่ออากาศปิด (temperature inversion) และอีก 30 คือการเผาจากด้านนอกที่พัดเข้ามาตกในกรุงเทพเนื่องจากกรุงเทพมีตึกสูงทำให้ลมเกิดการชะลอตัว”

จะเห็นได้ว่ามีเพียง 30 เท่านั้นที่เกิดจากธรรมชาติเอง ในขณะที่อีก 60 คือภาคส่วนที่เราทุกคนสามารถร่วมมือร่วมใจกัน และแน่นอนว่าไม่ใช่เพียงแต่ใน กทม. เท่านั้น แต่จังหวัดต่างๆ ในประเทศไทยเองก็ต้องร่วมมือกันเช่นกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรเป็นอย่างยิ่งที่จะผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อการแก้ไขอย่างแท้จริง

ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากฝุ่น PM2.5 ที่อาจร้ายแรงกว่าค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปกับการป้องกันอย่างจริงจัง

การมองว่าการออกมาตรการเพื่อป้องกันปัญหา PM2.5 นั้นเป็นเรื่องสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจนั้นอาจกล่าวได้เลยว่าเป็นการมองปัญหาเศรษฐกิจเพียงมิติเดียวที่ไม่สามารถเอามาเป็นข้ออ้างในการไม่แก้ไขปัญหา PM2.5 ได้เลย เพราะหากว่ากันตามตรงแล้ว ปัญหาระยะยาวที่เกิดจากการปล่อยให้ PM2.5 ยังคงอยู่นั้นน่าจะนำพามาซึ่งปัญหาทางเศรษฐกิจเสียมากกว่า

โลกเราเคยมีกรณีศึกษามาให้เห็นไม่น้อยแล้ว ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ก็เคยตัดสินใจสู้รบกับเจ้า PM2.5 นี้ขั้นเด็ดขาดเนื่องจากเล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพของประชาชนในระยะยาวที่จะกลายมาเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศได้ต่อไป

number of people health effected by pm2.5 in thailand
อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศของไทยตั้งแต่ปี 2563 – 2567 | เครดิตภาพ Kasikorn Research

ในบ้านเราเองนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ออกมาคาดการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจในมิติของค่าเสียโอกาส โดยเฉพาะด้านสุขภาพของคนกรุงเทพฯ เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือนเอาไว้ว่าจะอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท ซึ่งหากมองตัวเลขก็คงจะเห็นแล้วว่ามันสูงมากทีเดียว แต่ถ้าเรามองว่าในจำนวนนี้มีไม่น้อยที่กำลังอยู่ในวัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศแล้วต้องมาป่วยเพราะปัญหาจากฝุ่น PM2.5 แน่นอนว่าตัวเลขความสูญเสียทางเศรษฐกิจคงไม่ได้หยุดอยู่ที่ตัวเลขคาดการณ์นี้แน่ๆ

และเมื่อปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนมาช่วยให้มันสำเร็จได้จริงอย่างถาวร เราในฐานะของประชาชนที่ยังคงต้องใช้ชีวิตต่อไปก็ต้องรู้จักป้องกันตัวเองให้ผ่านพ้นไปจากภัยอันตรายของ PM2.5 กันไปก่อน ดังนั้นเราก็ต้องรู้จักป้องกันกันตัวด้วยวิธีพื้นฐานสุดๆ อย่างการสวมหน้ากากอนามัย N95 ที่สามารถกรองฝุ่น PM2.5 ได้จริงไว้ก่อน และนอกจากวิธีนี้แล้ว APPDISQUS เองยังอยากนำเสนอวิธีการป้องกันในแบบฉบับชาว IT อย่างพวกเราประกอบไปด้วยเลยละกัน

การป้องกันและลดความเสี่ยงจากฝุ่น PM2.5 ในรูปแบบของชาวไอทีอย่างพวกเรา

ในมุมของคนไอที มีหลายวิธีที่สามารถช่วยป้องกันและลดผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ได้โดยใช้เทคโนโลยีและแนวทางดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้:

1. ใช้ระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศอัจฉริยะ (Smart Air Quality Monitoring)

  • ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ในบ้านหรือออฟฟิศ เพื่อทราบค่าคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์
  • ลองศึกษาการเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับระบบ Home Assistant หรือ IoT Platform เช่น Home ของ Apple และ Google Home ของ Google เพื่อแสดงผลผ่านแอปพลิเคชัน หรือแจ้งเตือนเมื่อค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน

ตัวอย่างอุปกรณ์ที่น่าสนใจที่สามารถนำมาใช้งานได้ เช่น:

• Xiaomi Mi Air Quality Monitor

• Aqara PM2.5 Sensor

• DIY ด้วยบอร์ด ESP8266/ESP32 + เซ็นเซอร์ SDS011

2. ใช้แอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มติดตามคุณภาพอากาศ

วิดเจ็ตแสดงค่าฝุ่นตามพื้นที่อยู่จาก AirVisual บน iOS
วิดเจ็ตแสดงค่าฝุ่นตามพื้นที่อยู่จาก AirVisual บน iOS
  • ตรวจสอบค่าฝุ่น PM2.5 ผ่านแอปที่เชื่อถือได้ เช่น:

• AirVisual – แสดงค่าฝุ่นจากสถานีตรวจวัดทั่วโลก

• IQAir Air Quality – วิเคราะห์คุณภาพอากาศพร้อมแนะนำวิธีป้องกัน

• Air4Thai – แอปของกรมควบคุมมลพิษประเทศไทย

Tips: ใช้ API จากแหล่งข้อมูลเช่น AirVisual API เพื่อนำไปเชื่อมต่อกับระบบ Automation หรือแสดงผลใน Dashboard ส่วนตัว

หากเพื่อนๆ สนใจข้อมูลเกี่ยวกับแอปพลิเคชั่นวัดคุณภาพอากาศดีๆ ทั้งบน iOS และ Android ทาง APPDISQUS ได้มีการจัดทำบทความรวบรวมมาให้เพื่อนๆ ได้ไปหาดาวน์โหลดมาใช้กันได้แล้วนะครับ ติดตามได้ตามลิงก์นี้เลย

5 แอปพลิเคชั่นเช็คฝุ่นใช้ดี ทั้งไทยทั้งเทศ สำหรับ Android และ iOS

3. ปรับแต่งระบบบ้านอัจฉริยะ (Smart Home Automation)

air-quality-implemented-in-smarthome
ผสานระบบฟอกอากาศและการแสดงค่าอากาศภายในบ้านเข้ากับบ้านอัจฉริยะ – perfectsmartthing.com
  • เปิด-ปิดเครื่องฟอกอากาศอัตโนมัติ เมื่อค่าฝุ่นเกินระดับที่กำหนด เช่น ใช้ Home Assistant + Shelly หรือ Sonoff Switch
  • ตั้งค่าระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติผ่าน Line Notify หรือ Telegram
  • ปรับแอร์ให้ใช้ฟังก์ชันฟอกอากาศอัตโนมัติ โดยเชื่อมต่อระบบ HVAC กับ IoT

4. การทำงานแบบ Remote Work ลดการเผชิญมลพิษ

  • ใช้ Cloud Computing และ Remote Desktop Solutions เช่น Google Workspace, Microsoft Teams, Zoom เพื่อทำงานจากที่บ้าน ลดความจำเป็นในการเดินทาง
  • ใช้ VPN และ Remote Access Tools เพื่อเข้าถึงระบบองค์กรอย่างปลอดภัยจากระยะไกล

5. ใช้ AI และ Machine Learning วิเคราะห์แนวโน้มฝุ่น

  • รวบรวมข้อมูล PM2.5 จากแหล่งต่าง ๆ และใช้ Machine Learning เพื่อทำนายแนวโน้มฝุ่น เช่น การใช้ Python + TensorFlow เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังและทำนายค่าฝุ่น

6. ติดตั้งฟิลเตอร์และอุปกรณ์ไอทีที่ช่วยลดฝุ่นทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

Positive Pressure Air Purifier
เครื่องฟอกอากาศแบบแจ้งค่าคุณภาพอากาศอันรวมถึงค่า CO2 ด้วย
Normal Air Purifier
เครื่องฟอกอากาศเชื่อมต่อ WiFi ทั่วไปที่แจ้งค่าฝุ่น PM2.5
  • ใช้ เครื่องฟอกอากาศอัจฉริยะ ที่สามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi และควบคุมผ่านแอป
  • ติดตั้ง แผ่นกรอง HEPA ในอุปกรณ์ระบายอากาศ เช่น พัดลมคอมพิวเตอร์ หรือแอร์
  • ใช้ ฝาครอบป้องกันฝุ่น สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น Server หรือ Laptop

7. ใช้โซลูชัน Data Visualization เพื่อสร้างความตระหนัก

  • ใช้ Power BI, Grafana หรือ Google Data Studio เพื่อแสดงผลข้อมูลค่าฝุ่นในรูปแบบกราฟ และแชร์ให้พนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • จัดทำ Dashboard แสดงข้อมูลฝุ่นประจำวันขององค์กร

ทั้งหมดที่กล่าวมาในบทความนี้ APPDISQUS เพียงมุ่งหวังในการเป็นกระบอกเสียงเล็กๆ อีกหนึ่งกระบอกเสียงที่จะย้ำเตือนให้เพื่อนๆ ผู้อ่านของเราตระหนักถึงความสำคัญและอันตรายของปัญหาจาก PM2.5 และไม่เผลอด้อยค่าปัญหานี้ลงไปเพียงเพราะความจริงที่ว่าค่าฝุ่น PM2.5 ในบ้านเรานั้นยังดีกว่าอีกบางประเทศรอบด้าน เพราะอย่างที่บอกว่าเราคงไม่ต้องการคุณภาพชีวิตที่ยืนยาวขึ้นไปแตะ 80 ปี โดยต้องแลกกับอากาศหายใจที่นับวันยิ่งจะหายใจเต็มปอดไม่ได้สักที

และ APPDISQUS เองก็เชื่อเหลือเกินว่าปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาที่จะสามารถแก้ไขได้เพียงเพราะการลงมือปฏิบัติหรือนโยบายสนับสนุนจาก กทม. เพียงเท่านั้น แต่เรากำลังพูดกันถึงปัญหาระดับชาติที่ต้องเร่งแก้ไขในระดับพหุภาคี และหนึ่งในกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหานี้อย่างตรงไปตรงมาและชัดเจนได้นั้น นอกจากภาคประชาชนอย่างพวกเราแล้วก็ต้องอาศัยความจริงจังจากภาครัฐบาล เพื่อให้ปัญหามลภาวะ PM2.5 นี้ลดน้อยลงไปได้สักที

เพราะอากาศบริสุทธิ์คือหนึ่งในตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในประเทศ…คุณว่าจริงไหม?

 

Advertisement
National Crisis PM2.5 Pollution
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
Alex
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)
  • Instagram

อเล็กซ์ หรือ เอ ว่างเมื่อไหร่เป็นต้องหยิบเอามือถือหรือ iPad ข้างกายตนมาจับๆ จิ้มๆ ตามประสาคนมีงานแต่ชอบเล่นเกม คุณสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้กำลังใจเอได้เสมอผ่านทางการคอมเมนต์ในบทความนี้

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Your Updates

เสียวหมี่ ประเทศไทย มอบเครื่องฟอกอากาศ ดูแลสุขภาพประชาชนจากฝุ่น PM2.5

27 กุมภาพันธ์ 2025
Apple

5 แอปพลิเคชั่นเช็คฝุ่นใช้ดี ทั้งไทยทั้งเทศ สำหรับ Android และ iOS

25 มกราคม 2025
What Score?
7.5
Android

รีวิว OPPO Pad SE LTE แท็บเล็ตรุ่นคุ้มค่า หน้าจอใหญ่

By Noppinij12 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว HONOR 400 5G มือถือกล้อง 200MP ที่ใช้งานได้ดีจริง แบบไม่ต้องจ่ายเยอะ

By Noppinij8 กรกฎาคม 2025
78
Game Review

Review : FATAL FURY: City of the Wolves ฉูดฉาดขึ้น! มันส์ขึ้น! ถูกใจแฟนเกมแน่นอน!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya2 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

By Noppinij1 กรกฎาคม 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Sony WH-1000XM6 หูฟังตัดเสียงรบกวนที่แม่นยำที่สุดของโซนี่! ดียังไง? มีอะไรใหม่?

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Android

พื้นที่แจ้งเตือนใหม่บน Android มาแล้ว! “Gemini Space” โดย Google

By Appdisqus Team14 กรกฎาคม 2025

Shark Dentist เกมทำฟันฉลามสุดแปลกเตรียมลง Steam เร็วๆนี้

14 กรกฎาคม 2025

Jetpack Joyride Racing เปิดให้ลงทะเบียนล่วงหน้าเปิดให้เล่น 27 สิงหาคม 2025

14 กรกฎาคม 2025

Ken และ Chun‑Li จาก Street Fighter เตรียมบุก Fatal Fury: City of the Wolves ปี 2025

14 กรกฎาคม 2025

Samsung เตรียมใส่จอ CoE OLED เป็นครั้งแรกบน Galaxy S26 Ultra

14 กรกฎาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Android

พื้นที่แจ้งเตือนใหม่บน Android มาแล้ว! “Gemini Space” โดย Google

14 กรกฎาคม 2025
Xbox & PC World

Shark Dentist เกมทำฟันฉลามสุดแปลกเตรียมลง Steam เร็วๆนี้

14 กรกฎาคม 2025
Mobile

Jetpack Joyride Racing เปิดให้ลงทะเบียนล่วงหน้าเปิดให้เล่น 27 สิงหาคม 2025

14 กรกฎาคม 2025
Gaming

Ken และ Chun‑Li จาก Street Fighter เตรียมบุก Fatal Fury: City of the Wolves ปี 2025

14 กรกฎาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo