Microsoft เปิดตัว AI Aurora พยากรณ์อากาศในไม่กี่วินาที เร็วกว่าทุกระบบในโลก แต่นักวิทย์เตือน อาจมโนเองเพราะไม่รู้กฎฟิสิกส์
Microsoft เปิดตัวโมเดล AI ใหม่ชื่อว่า “Aurora” ที่สามารถพยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำในระดับจุลภาคและที่สำคัญคือ ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที เท่านั้น ซึ่งนับว่าเร็วกว่าแบบจำลองสภาพอากาศแบบเดิมที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการประมวลผลอย่างมาก
โมเดลนี้ได้รับการเปิดเผยผ่านงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature และในขณะนี้ได้เริ่มใช้งานจริงแล้วในศูนย์พยากรณ์อากาศขนาดใหญ่ของยุโรป โดย Aurora ใช้หลักการของ Generative AI แบบเดียวกับที่อยู่เบื้องหลังระบบอย่าง ChatGPT แต่ประยุกต์เข้ากับระบบข้อมูลของโลก ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้น ความดันอากาศ และอื่น ๆ
หนึ่งในจุดเด่นของ Aurora คือความสามารถในการพยากรณ์อากาศ ล่วงหน้า 10 วัน ได้แบบแม่นยำและครอบคลุมพื้นที่ขนาดเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นข้อได้เปรียบอย่างยิ่งในการรับมือกับภัยธรรมชาติ และสามารถต่อยอดไปใช้ในงานอื่น ๆ เช่น การคาดการณ์คุณภาพอากาศ พายุไซโคลน หรือภัยธรรมชาติอื่น ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน
“ผมตื่นเต้นมากที่ Aurora จะกลายเป็นแม่แบบในการพัฒนาโมเดล AI สำหรับระบบสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ”
— Paris Perdikaris หัวหน้าทีมวิจัย Aurora จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย กล่าวAdvertisement Advertisement Advertisement
แต่ AI ไม่ได้รู้ฟิสิกส์: นักวิทย์เตือนมันอาจมโนไปเอง
แม้จะดูมีศักยภาพสูง แต่ก็มีเสียงเตือนจากนักวิทยาศาสตร์ว่า Aurora ไม่ได้ถูกฝึกจากกฎฟิสิกส์โดยตรง แต่ใช้ข้อมูลและสถิติจากสิ่งแวดล้อมมาประมวลผล ซึ่งอาจทำให้โมเดล “สร้างผลลัพธ์ที่ดูสมจริงแต่ผิดพลาด” ได้
“มันไม่รู้กฎของฟิสิกส์เลย อาจมโนอะไรบางอย่างที่ไม่มีอยู่จริงขึ้นมาได้”
— Amy McGovern นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Oklahoma ให้ความเห็น
คุณ McGovern แม้ไม่ได้มีส่วนร่วมกับทีมพัฒนา Aurora โดยตรง แต่ก็ถือว่าอออกมาแสดงความกังวลในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และอุตุนิยมวิทยาสำหรับในเรื่องนี้
แม้จะมีข้อกังวล Aurora ก็ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่น่าจับตาที่สุดในแวดวง Earth System AI เพราะสามารถลดต้นทุนและเวลาในการพัฒนาโมเดลพยากรณ์อากาศแบบเดิมที่ซับซ้อนและกินทรัพยากรมหาศาลลงได้อย่างมาก
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญในตอนนี้คือการประเมินว่า Aurora สามารถให้ผลลัพธ์ที่ เชื่อถือได้ และ นำไปใช้จริงได้โดยไม่เสี่ยงต่อการตีความผิด ได้มากแค่ไหน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ต้องใช้ข้อมูลเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน
Aurora อาจเป็น “AI ที่ช่วยโลก” — แต่ก็อาจกลายเป็น “AI ที่เพี้ยนได้” หากไม่มีการตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนจะถูกนำไปใช้จริงกันอย่างแพร่หลาย