Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Your Updates » โครงการวิจัยการสร้างและศึกษาคุณสมบัติของกราฟความสัมพันธ์บนเฟซบุ๊ก(Facebook) : ระยะที่ 1
Your Updates

โครงการวิจัยการสร้างและศึกษาคุณสมบัติของกราฟความสัมพันธ์บนเฟซบุ๊ก(Facebook) : ระยะที่ 1

31 กรกฎาคม 2017Updated:31 กรกฎาคม 20174 Mins Read

ทฤษฎีกราฟ(Graph Theory) เป็นองค์ความรู้เก่าที่กลับมามีบทบาทใหม่ของคณิตศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ โดยเปลี่ยนปัญหามาอยู่ในรูปแบบโครงสร้างที่เรียกว่า “กราฟ” แม้จะใช้ชื่อกราฟเหมือนกัน แต่แตกต่างจากราฟข้อมูลทั่วไปที่เรารู้จัก เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยจุดและเส้น ส่วนใหญ่แล้วใช้จุดแทนหน่วยของข้อมูล และเส้นแทนความสัมพันธ์ของหน่วยนั้น ๆ หลังจากนั้นเราก็ทำการศึกษากราฟที่เป็นตัวแทนของข้อมูลที่เราสนใจว่ามีคุณสมบัติอะไรบ้าง ๆ เพื่อนำไปแก้ปัญหาที่เราต้องการต่อไป ซึ่งทฤษฎีกราฟได้พัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาเอาไว้มากมาย หลากหลายกรณี ตัวอย่างเช่น ปัญหาการหาเส้นทางที่สั้นที่สุด(Shortest Path Problem) จากจุดเริ่มต้นไปหาจุดปลายทาง ปัญหาการจับคู่จุดโดยไม่ใช้จุดร่วมกัน(Matching) ปัญหาการลงสีกราฟ(Graph Coloring) ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดตารางงานต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อน เป็นต้น ทฤษฎีกราฟจึงได้กลายเป็นโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับความนิยมในการนำไปแก้ปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีข้อมูลอยู่จำนวนมหาศาล ทฤษฎีกราฟก็ได้เข้ามาช่วยทำให้การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ง่ายและเป็นระบบมากขึ้น

รูปที่ 1 :  ตัวอย่างกราฟระบุทิศทางและน้ำหนักของเส้น(ขันธวิชัย, 2558)

 

Advertisement
Advertisement
Advertisement

สังคมออนไลน์(Social Media) ถือว่าเป็นค่านิยมของสังคมยุคใหม่ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ อายุตำแหน่งหน้าที่ ใด ๆ ทางสังคม ก็หันมาใช้งานสังคมออนไลน์มากขึ้น สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า “Social Media” ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะพบเห็นมันอยู่ตลอดเวลา  โดยคำว่า “Social” หมายถึง สังคม ส่วนคำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น ดังนั้นคำว่า “Social Media”  จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สรุปก็คือ เว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง และสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือ Facebook จนทำให้นิยามของคำว่าสังคมออนไลน์แทบจะขาดองค์ประกอบ สำคัญที่เรียกว่า Facebook ไปไม่ได้เลย โครงสร้างของ Facebook จะประกอบไปด้วยหน้า Feed สำหรับปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนคนอื่น และหน้าส่วนตัวของผู้ใช้ ซึ่งใน Facebook จะประกอบไปด้วยความสัมพันธ์ของผู้ใช้มากมายและซับซ้อน ผู้พัฒนา Facebook ก็ต้องใช้ขั้นตอนวิธีเฉพาะของตนเองในการเลือกลักษณะการแสดงผลหน้า Feed เพื่อให้การปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นมากที่สุด จึงเป็นปัญหาที่น่าขบคิดว่าลักษณะความสัมพันธ์ใน Facebook ของบุคคลเป็นอย่างไรบ้าง?

ด้วยเหตุนี้ทีมวิจัยจึงเล็งเห็นว่าการนำทฤษฎีกราฟมาใช้ศึกษาความสัมพันธ์ของบุคคลใน Facebook มีความน่าสนใจ และจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์และเฝ้าสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมออนไลน์ ซึ่งอาจเป็นสังคมรูปแบบใหม่ที่จะเติบโตและเปลี่ยนโลกในหลาย ๆ ด้าน และได้ดำเนินโครงการวิจัยการสร้างและศึกษาคุณสมบัติของกราฟความสัมพันธ์บนเฟซบุ๊ก โดยในระยะที่ 1 เราจะศึกษาในกรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา(Creating Graph of User’s Relationship on Facebook and Finding Properties of this Graph: A Case Study of The Sunandha Rajabhat University Student) เพื่อสร้างและศึกษาคุณสมบัติของกราฟความสัมพันธ์บนเฟซบุ๊ก ลักษณะการติดตามแฟนเพจ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาขึ้น

 

ผลการวิจัยระยะที่ 1

โครงการวิจัยการสร้างและศึกษาคุณสมบัติของกราฟความสัมพันธ์บนเฟซบุ๊ก กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ถือว่าเป็นโครงการวิจัยระยะเริ่มต้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลความสัมพันธ์ทั้งหมดบนเฟซบุ๊ก แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการศึกษาวิจัยโดยละเอียด เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยในระยะแรกเราได้ดำเนินการศึกษาการลักษณะการติดตามแฟนเพจของกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ผลการศึกษาเพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาคุณสมบัติและขยายผลการศึกษาในระดับใหญ่ต่อไปในอนาคต

ผลการศึกษาพฤติกรรมการกดติดตามแฟนเพจในเฟซบุ๊ก (Facebook) ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รวมถึงศึกษาการใช้ประโยชน์และผลกระทบที่นักศึกษาได้รับจากการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ทั้งนี้ เพื่อจะได้นำข้อมูลที่ได้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมการสื่อสารในเครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน รวมถึงสามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงวางแผนส่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความเข้มแข็งให้กับนักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชนที่สำคัญของประเทศชาติ ให้เป็นผู้ที่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัย มั่นคงรวมถึงสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการสื่อสารอย่างรู้เท่าทัน เพื่อพัฒนาตนเองให้กลายเป็นบุคคลากรที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ผลการวิจัยนั้นเราได้กราฟมาทั้งหมด 53 กราฟ เป็นกราฟย่อยแยกตามแฟนเพจต่าง ๆ ที่เป็นศูนย์กลาง และกราฟสรุปผลรวม ซึ่งในที่นี้เราแสดงได้เพียงกราฟสรุปผลรวมการติดตามแฟนเพจในเฟซบุ๊ก(Facebook)  ของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น สำหรับกราฟทั้งหมดที่เหลือ ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในเล่มรายงานผลการวิจัย                โครงการวิจัยการสร้างและศึกษาคุณสมบัติของกราฟความสัมพันธ์บนเฟซบุ๊ก กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

รูปที่ 2 :  กราฟรวมแสดงการติดตามแฟนเพจในเฟซบุ๊ก(Facebook)  ของกลุ่มตัวอย่าง

เมื่อกำหนดให้

จุด A แทนเพจ The Face Thailand

จุด B แทนเพจ The mask Singer

จุด C แทนเพจ I Can See Your Voice Thailand

จุด D แทนเพจ Take Me Out Thailand

จุด E แทนเพจ คนอวดผี

จุด F แทนเพจ เลขอวดกรรม

จุด G แทนเพจ ปริศนาฟ้าแลบ

จุด H แทนเพจ รถโรงเรียน

จุด I แทนเพจ Thailand Gottalent

จุด J แทนเพจ Stage Fighter

จุด K แทนเพจ KFC

จุด L แทนเพจ Dairy Queen Thailand

จุด M แทนเพจ Pizza Company

จุด N แทนเพจ Pizza Hut

จุด O แทนเพจ Dunkin’Donuts

จุด P แทนเพจ McDonald’s

จุด Q แทนเพจ Factory หมูกระทะ

จุด R แทนเพจ HotPot

จุด S แทนเพจ Swensen’s

จุด T แทนเพจ MK Restaurants

จุด U แทนเพจ มึงอะคิดมาก

จุด V แทนเพจ เฉยชา

จุด W แทนเพจ มึง

จุด X แทนเพจ คนอะไรเป็นแฟนหมี

จุด Y แทนเพจ คิดมาก

จุด Z1 แทนเพจ once

จุด Z2 แทนเพจ นี่แหละแฟนเรา

จุด Z3  แทนเพจ ตามติดชีวิตนักศึกษา

จุด Z4  แทนเพจ โนสน

จุด Z5  แทนเพจ โง่

จุด Z6 แทนเพจ Khaosod

จุด Z7  แทนเพจ Thairath

จุด Z8  แทนเพจ Nation TV22

จุด Z9  แทนเพจ Dailynew

จุด Z10  แทนเพจ Matichon Online

จุด Z11  แทนเพจ Ch7news

จุด Z12  แทนเพจ ข่าวการศึกษา ครูวันดีดอทคอม

จุด Z13  แทนเพจ ครอบครัวข่าว3

จุด Z14  แทนเพจ เรื่องเล่าเช้านี้

จุด Z15  แทนเพจ Woody

จุด Z16  แทนเพจ Workpoint

จุด Z17  แทนเพจ Sunandhanews

จุด Z18 แทนเพจ ค่ายอาสาพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

จุด Z19  แทนเพจ EverydayKpop

จุด   Z20  แทนเพจ GDH

จุด Z21  แทนเพจ Cutepress

จุด Z22  แทนเพจ Oriental Princess

จุด Z23  แทนเพจ GMM

จุด Z24  แทนเพจ Major Cineplex

จุด Z25  แทนเพจ Kseris

จุด Z26  แทนเพจ JJ Green-จตุจักร กรีน

จุด Z27  แทนเพจ MBC

เราจะพบว่ากราฟดังกล่าวมีขนาดใหญ่มาก ดังนั้นการนำข้อมูลผลการวิจัยไปใช้งานต่อ ควรนำผลการวิจัยของกราฟย่อย ที่ปักหมุดให้แต่ละแฟนเพจเป็นศูนย์กลางของกราฟ ไปทำการศึกษาและอ้างอิง ส่วนการศึกษาคุณสมบัติในทางทฤษฎีกราฟเพื่อเติม จะสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์และใช้ข้อมูลเชิงตัวเลขเป็นหลัก

นอกจากนี้เราจะเห็นว่า แฟนเพจที่มีการกดติดตามซ้ำกันของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด ก็คือ แฟนเพจ Take Me Out Thailand ที่มีการติดตามซ้ำกับแฟนเพจอื่นถึง 50 แฟนเพจ และค่าน้ำหนักรวมเป็น 172  แสดงดังรูป

 

รูปที่ 3 :  กราฟ D  แสดงกราฟเมื่อ แฟนเพจ Take Me Out Thailand เป็นศูนย์กลาง

          แฟนเพจที่มีการกดติดตามซ้ำกันของกลุ่มตัวอย่างน้อยที่สุด ก็คือ แฟนเพจ เลขอวดกรรมและปริศนาฟ้าแลบ ที่มีการติดตามซ้ำกับแฟนเพจอื่นเพียง 20 แฟนเพจ และมีค่าน้ำหนักรวมของเส้นเชื่อมเท่ากัน นั่นคือ  24 แสดงดังรูป

รูปที่ 4 :  กราฟ F แสดงกราฟเมื่อ แฟนเพจ เลขอวดกรรม เป็นศูนย์กลาง

รูปที่ 5 : กราฟ G แสดงกราฟเมื่อ แฟนเพจ ปริศนาฟ้าแลบ เป็นศูนย์กลาง

 

ข้อเสนอแนะในการทำการวิจัย

จากการศึกษาวิจัยในโครงการวิจัยการสร้างและศึกษาคุณสมบัติของกราฟความสัมพันธ์บนเฟซบุ๊ก(Facebook)  กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ทีมวิจัยขอเสนอแนะในการทำการวิจัยต่อไปในอนาคต ดังต่อไปนี้

  1. นักวิจัยควรออกแบบเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย โดยเฉพาะการวิจัยที่ไม่ใช่การศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวนประชากรมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์เพียงอย่างเดียว ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชัน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยทำให้เก็บรวบรวมข้อมูลได้จำนวนมากและมีความหลากหลาย
  2. นักวิจัยควรหาวิธีในการนำเสนอผลการวิจัยที่มองเห็นภาพได้ดีและครบถ้วนมากขึ้น เพราะเมื่อมีจำนวนประชากรมากขึ้น กราฟที่เราสร้างจะมีขนาดใหญ่มากขึ้นด้วย ส่งผลทำให้เราไม่สามารถนำเสนอผ่านรูปเล่มการวิจัยได้ จากใช้เว็บไซต์และระบบกลุ่มเมฆมาช่วยในการสรุปผลการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. นักวิจัยสามารถนำผลการศึกษาจากโครงการวิจัยนี้ไป ค้นหาคุณสมบัติของกราฟเพิ่มเติมได้ ซึ่งในทฤษฎีกราฟจะมีคุณสมบัติที่ใช้ศึกษากราฟอยู่จำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมการกดติดตามแฟนเพจและการใช้งานสังคมออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างได้มากขึ้น
  4. นักวิจัยสามารถขยายผลการศึกษาไปสู่การศึกษาพฤติกรรมในการใช้สังคมออนไลน์ในรูปแบบอื่น ๆ ของกลุ่มเป้าหมายได้ ตัวอย่างเช่น การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่มปิด การเป็นเพื่อนกันในสังคมออนไลน์ของกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น และอาจนำไปขยายผลการศึกษาในสังคมออนไลน์อื่น ๆ นอกจากจากเฟซบุ๊ก(Facebook)

 

เอกสารอ้างอิง

[1] Boonlert Aroonpiboon. (10 มกราคม 2555). thailibrary. เข้าถึงได้จาก thailibrary: http://www.thailibrary.in.th/2012/01/10/social-media-social-network/

[2]  SRICHAO VIHOGTO. (15 มกราคม 2556). สถาบันการศึกษานอกโรงเรียนภาคกลาง. เข้าถึงได้จาก crnfe2013: http://crnfe2013.blogspot.com

[3]  Supaporn Saduakdee. (2011). Perfection of glued graphs of perfect original graphs. BANGKOK: Chulalongkorn University.

[4]  ธงไชย ศรีนพคุณ. (2541). การประยุกต์ทฤษฎีกราฟในระบบควบคุม. วิศวกรรมสาร มข., 45-57.

[5]  ปริศนา เพชระบูรณิน. (2556). สังคมออนไลน์กับพลังทางสังคม. Patumwan Institute of Technology.Library.

[6]  สุพรรษา เกษสีแก้ว. (2554). พฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์เวลาจริงของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

[7]  อเสข ขันธวิชัย. (2558). คณิตศาสตร์ดีสครีต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Advertisement
facebook graph กราฟ เฟซบุ๊ก
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
ดร.อเสข ขันธวิชัย
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Miscellaneous

Facebook เตรียมดูดภาพจากเครื่องผู้ใช้ หวังป้อนให้ Meta AI แม้ยังไม่ได้โพสต์

28 มิถุนายน 2025
Miscellaneous

Facebook ปรับนโยบายใหม่! วิดีโอ Live จะถูกลบอัตโนมัติภายใน 30 วัน เริ่ม 19 ก.พ. 2025

19 กุมภาพันธ์ 2025
Miscellaneous

กดยืนยันก่อน Facebook ปิดกั้นการมองเห็น “ว่าแฟนเพจคุณไม่ได้มีไว้สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี”

14 กุมภาพันธ์ 2025
Android

พบหลักฐานที่อ้างว่า Facebook, Google, และ Amazon ใช้บริการดักฟังโทรศัพท์เพื่อยิงโฆษณา

6 กันยายน 2024
Miscellaneous

Facebook Messenger เพิ่มฟังก์ชั่นเพียบ ส่งภาพคมชัด HD ให้กันได้แล้ว!

10 เมษายน 2024
Miscellaneous

เอกสารชี้ Facebook ให้ Netflix ส่องข้อความผู้ใช้งานในการพัฒนาโฆษณา

4 เมษายน 2024
What Score?
7.5
Android

รีวิว OPPO Pad SE LTE แท็บเล็ตรุ่นคุ้มค่า หน้าจอใหญ่

By Noppinij12 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว HONOR 400 5G มือถือกล้อง 200MP ที่ใช้งานได้ดีจริง แบบไม่ต้องจ่ายเยอะ

By Noppinij8 กรกฎาคม 2025
78
Game Review

Review : FATAL FURY: City of the Wolves ฉูดฉาดขึ้น! มันส์ขึ้น! ถูกใจแฟนเกมแน่นอน!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya2 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

By Noppinij1 กรกฎาคม 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Sony WH-1000XM6 หูฟังตัดเสียงรบกวนที่แม่นยำที่สุดของโซนี่! ดียังไง? มีอะไรใหม่?

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Android

พื้นที่แจ้งเตือนใหม่บน Android มาแล้ว! “Gemini Space” โดย Google

By Appdisqus Team14 กรกฎาคม 2025

Shark Dentist เกมทำฟันฉลามสุดแปลกเตรียมลง Steam เร็วๆนี้

14 กรกฎาคม 2025

Jetpack Joyride Racing เปิดให้ลงทะเบียนล่วงหน้าเปิดให้เล่น 27 สิงหาคม 2025

14 กรกฎาคม 2025

Ken และ Chun‑Li จาก Street Fighter เตรียมบุก Fatal Fury: City of the Wolves ปี 2025

14 กรกฎาคม 2025

Samsung เตรียมใส่จอ CoE OLED เป็นครั้งแรกบน Galaxy S26 Ultra

14 กรกฎาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Android

พื้นที่แจ้งเตือนใหม่บน Android มาแล้ว! “Gemini Space” โดย Google

14 กรกฎาคม 2025
Xbox & PC World

Shark Dentist เกมทำฟันฉลามสุดแปลกเตรียมลง Steam เร็วๆนี้

14 กรกฎาคม 2025
Mobile

Jetpack Joyride Racing เปิดให้ลงทะเบียนล่วงหน้าเปิดให้เล่น 27 สิงหาคม 2025

14 กรกฎาคม 2025
Gaming

Ken และ Chun‑Li จาก Street Fighter เตรียมบุก Fatal Fury: City of the Wolves ปี 2025

14 กรกฎาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo