Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Miscellaneous » News » [Lo’s Axiom] Axiom of Coding: ความจริงเกี่ยวกับ “รหัส” ที่เป็นพื้นฐานของพื้นฐานระบบการรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ทั้งการแสดงผล และการสื่อสาร บนระบบคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์อื่นๆ
Miscellaneous

[Lo’s Axiom] Axiom of Coding: ความจริงเกี่ยวกับ “รหัส” ที่เป็นพื้นฐานของพื้นฐานระบบการรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ทั้งการแสดงผล และการสื่อสาร บนระบบคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์อื่นๆ

24 เมษายน 2014Updated:30 พฤษภาคม 20143 Mins Read

portfolio-img5

 

สรุปใจความสำคัญ

[box_light]ทุกการแสดงผลที่เราเห็นในชีวิตประจำวันผ่านอุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น อันได้แก่ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน โทรทัศน์ วิทยุ และอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนเป็นรหัสที่ส่งมาจากแหล่งกำเนินของข้อมูล สิ่งที่ส่งผ่านสายหรืออากาศมานั้น มันไม่ได้ส่งมาเป็นภาพ วีดีโอ เสียง หรือตัวหนังสือ แต่มันส่งมาในรูปของ “รหัส(Coding)” ซึ่งมันไม่ใช่โค๊ดโปรแกรมด้วย(โค๊ดโปรแกรมเป็นตัวหนังสือและสัญลักษณ์) คำว่า “รหัส” มันพื้นฐานมากกว่านั้น มันอยู่ในรูปตัวเลข 0 และ 1 เท่านั้น บทความนี้เราจะมาดูกันว่า มันทำงานอย่างไร? มีการพัฒนาอย่างไร? อนาคตมันจะเป็นยังไงบ้าง? และมันเชื่อมโยงกับการรับส่งข้อมูลในโลกนี้อย่างไรบ้าง ?[/box_light]

Advertisement
Advertisement
Advertisement

 

ในบทความนี้

  • รหัส คืออะไร?
  • สงสัยไหม ทำไมสมัยก่อนคุยโทรศัพท์แล้วเสียงขาดๆ หายๆ ?
  • เราส่งรูปภาพ วีดีโอ และข้อมูลต่างๆ หากันได้ยังไง ?
  • คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน 32 Bit หรือ 64 Bit มันคืออะไร ?
  • รู้ไหมครับ เราสามารถฝังชุดรหัสลงในสารเคมีหรือสิ่งมีชีวิตได้แล้ว ?

รหัส คืออะไร?

TheMatrixWallpaper1024

 

รหัส(Coding) ที่ผมจะกล่าวถึงในบทความนี้ไม่ใช่ “รหัสลับ(Cryptography)” เหมือนในหนังนะครับ แต่มันคือชุดตัวเลขที่มีแต่เลข 0 และ 1 เท่านั้น เป็นนวัตกรรมทางความรู้ที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีด้านการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ สมัยก่อนอาจเป็นแค่การส่งโทรเลข หรือคลื่นวิทยุ แต่ทุกวันนี้มันกลายเป็นทุกๆ อย่างเลยทีเดียว ทั้ง โทรทัศน์ที่เราดู คอมพิวเตอร์ที่เราใช้ โทรศัพท์ที่เราพูดคุย และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน

ทำไมต้องมีแต่เลข 0 และ 1 ? เหตุผลของเรื่องนี้ก็คือ สมัยยุคเริ่มต้นของการส่งข้อมูลทางไกลโดยไม่อาศัยม้าเร็ว นักวิทยาศาสตร์เขาส่งข้อมูลไปหากันด้วยการเปิดและปิดสวิตช์ไฟผ่านสาย หากเปิดสวิตซ์ให้หมายถึงเลข 1 และหากปิดสวิตซ์ให้หมายถึงเลข 0 โดยมีการนัดแนะกันว่าชุดตัวเลขที่ส่งไปแบบนี้มันหมายความว่าอะไร? ตัวอย่างเช่น

  • “00000”   หมายถึง ตัวอักษร “A”
  • “00001”   หมายถึง ตัวอักษร “B”
  • “00010”   หมายถึง ตัวอักษร “C”
  • .
  • .
  • .
  • “01110”   หมายถึง ตัวอักษร “Z”

 

ขอเรียกชุดรหัสนี้ว่า “รหัสชุดที่หนึ่ง” เอาไว้กล่าวถึงภายหลัง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นต้นกำเนิดการส่งข้อมูลผ่านสายได้เป็นครั้งแรกของโลก

 

สงสัยไหม ทำไมสมัยก่อนคุยโทรศัพท์แล้วเสียงขาดๆ หายๆ ?

เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น แทนที่จะจดคำแปลรหัสบนไว้กระดาษ เราก็สามารถสร้างเครื่องมือแปลรหัสเป็นตัวอักษรได้โดยอัตโนมัติ แต่เมื่อมีการใช้งานไปนานๆ เข้า ก็พบปัญหาว่า การส่งนั้นมีข้อผิดพลาดขึ้นในระหว่างทาง สายส่งข้อมูลอาจถูกฟ้าผ่า ถูกลม ถูกฝนกระทบระหว่างทาง ทำให้การส่งข้อมูลมีความผิดพลาดขึ้น ด้วยเหตุนี้ “นักคณิตศาสตร์” จึงเข้ามาเกี่ยวข้อง

        นี่เป็นคำถามที่หลายคนเคยถามบ่อยๆ ว่า “เรียนคณิตศาสตร์ไปเพื่ออะไร?” สาเหตุที่เราไม่ตระหนักรู้ก็เพราะว่าเราเรียนคณิตศาสตร์ต้นทางที่เป็นพื้นฐานมากๆ แต่สำหรับบทความนี้ผมจะบอกว่าคณิตศาสตร์ปลายทางมันก็เพื่อสิ่งนี้ “การแก้ปัญหา” ซึ่ง ณ ทีนี้ มันได้เข้ามาแก้ปัญหาการรับส่งข้อมูลนั่นเอง

ในบทความนี้ผมจะไม่ลงลึกมากนักนะครับ แต่จะบอกคร่าวๆ ว่ามันเข้ามาแก้ปัญหาจุดไหน อย่างไร? นั่นก็คือ คณิตศาสตร์ได้นำทฤษฎีพีชคณิตนามธรรม(Abstract Algebra) เป็นทฤษฏีที่ศึกษาเกี่ยวกับ เซต และ การดำเนินการ ซึ่งสำหรับเรื่องการรับส่งข้อมูลนี้ เซตที่เราสนใจก็คือเซตของชุดรหัสที่เราส่งหากันนั่นเอง เนื่องจากชุดรหัสมีแต่ตัวเลข 0 และ 1 ดังนั้น การดำเนินการพวกเขาจึงใช้การบวกและการคูณของเลขฐานสองเข้ามาช่วย นั่นคือ 0+0 = 0, 0+1=1+0=1 และ 1+1=0 เป็นต้น ส่วนการคูณก็ได้ผลเหมือนตัวเลขปกติ นักคณิตศาสตร์ได้สร้างชุดรหัสขึ้นมาใหม่ ไม่ใช้ชุดตัวเลข 5 ตัว ดัง “รหัสชุดที่หนึ่ง” แล้ว พวกเขาใส่ตัวเลขเพิ่มเข้าไปอีก 3 ตัว ซึ่ง 5 ตัวแรก(สีแดง) ความหมายมันก็เหมือนกับ “รหัสชุดที่หนึ่ง” แต่ 3 ตัวหลังมันจะทำหน้าที่ตรวจสอบและแก้ไขหากรหัสมีการผิดพลาดระหว่างทาง “รหัสชุดที่สอง” แสดงได้ดังนี้

  • “00000011”   หมายถึง ตัวอักษร “A”
  • “00001001”   หมายถึง ตัวอักษร “B”
  • “00010101”   หมายถึง ตัวอักษร “C”
  • .
  • .
  • .
  • “01110000”   หมายถึง ตัวอักษร “Z”

 

ทำไมมันตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไขได้หละ? นั่นก็เพราะว่าระบบมันสร้างเซตของรหัสขึ้นมา A = {00000000, 00000001, …, 11111111} พร้อมกับการบวกและคูณของเลขฐานสอง ทำให้มันมีคุณสมบัติเป็น “สนาม(Field)” ด้วยคุณสมบัติของเจ้า “สนาม(Field)” นี่หละครับ ทำให้เราตั้งเครื่องรับและส่งข้อมูลเช็คดูได้ว่า รหัสที่รับมามันอยู่ในเซตของรหัส A หรือไม่? ถ้าไม่อยู่ใน A แล้วมันผิดพลาดตรงไหน? ตำแหน่งอะไร? และเมื่อรู้ว่ามันผิดเครื่องก็จะแก้ให้ทันที นี่หละคือเสน่ห์ของเลขฐานสอง นั่นคือ หากเรารู้ว่าตำแหน่งอะไรผิดเราก็แก้ให้เป็นอีกตัวได้เลย เพราะตัวเลขมันมีแค่ 0 และ 1 เท่านั้น

 

เราส่งรูปภาพ วีดีโอ และข้อมูลต่างๆ หากันได้ยังไง ?

Mobile smart phones while transferring pictures

 

ในเซต A เราจะเห็นว่ามันเป็นชุดรหัสที่มีตัวเลขอยู่ 8 ตัว เราเรียกมันว่า “8 bit= 1 byte” ซึ่ง 1 byte ก็ส่งข้อมูลได้แค่ 1 ตัว เมื่อเราส่งข้อมูลหากันมากๆ มันก็จะกลายเป็น

  • 1 KiloByte (KB) = 1024 Byte
  • 1 MegaByte (MB) = 1024 KiloByte
  • 1 GigaByte (GB) = 1024 MegaByte

 

เริ่มคุ้นๆ แล้วใช่ไหมครับ ? มันก็คือหน่วยที่เราใช้วัดปริมาณของข้อมูล หรือขนาดไฟล์นั่นเอง ไม่ว่าไฟล์ของเราอยู่ในรูปแบบอะไรก็ตาม .doc, .jpg, .mov, .mp3 หรือ .mp4 ทุกรูปแบบของไฟล์มันจะมีขนาดที่มีหน่วยเป็น Byte นั่นเอง แสดงว่ามันเกิดมาจาก 0 และ 1 จำนวนมหาศาลที่มารวมกัน

 

        ขอยกตัวอย่างรูปภาพที่เราถ่ายด้วยสมาร์ทโฟนนะครับ หากรูปมันมีความละเอียด 2 ล้านพิกเซล นั่นหมายความว่า ใน 1 รูปที่เรามองเห็นมันจะมีเม็ดสีทั้งหมด 2 ล้านเม็ด ในแต่ละเม็ดจะมีเพียงสีเดียวเท่านั้น ซึ่งการที่เม็ดนั้นมันจะแสดงผลเป็นสีอะไรก็ขึ้นอยู่ว่าชุดรหัสที่มันได้รับมา ตัวอย่างเช่น 00010101 เป็นสีแดง, 01110010 เป็นสีดำ, 00011111 เป็นสีขาว อย่างนี้เป็นต้น หากเราส่งรูปให้เพื่อนหรืออัพโหลดขึ้น Facebook มันไม่ได้ส่งเป็นรูปไปเลยนะ รูปภาพมันวิ่งตามสายหรืออากาศไม่ได้ มันจะแปลงรูปในเครื่องเราเป็นชุดของรหัสก่อน จากนั้นใช้เปิดและปิดสัญญาณ ส่งตามสายหรืออากาศ เพื่อบอกว่าในแต่ละชุดรหัสมีตัวเลขอะไรบ้าง 0 หรือ 1 เมื่อส่งเข้าระบบไป หากมีข้อผิดพลาดระหว่างทางมันก็จะใช้คุณสมบัติของ “สนาม(Field)” เปลี่ยนเป็นชุดรหัสที่ถูกต้องได้ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนของเพื่อนเราก็จะแปลงชุดรหัสเป็นเม็ดสี และเมื่อเม็ดสีหลายล้านเม็ดมารวมกันก็จะกลายเป็นรูปภาพที่พวกเขาเห็นในคอมพิวเตอร์หรือในสมาร์ทโฟนนั่นเอง

 

คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน 32 Bit หรือ 64 Bit มันคืออะไร ?

iphone_5s_64_bit_slide

 

เนื่องด้วย 1 Byte มันมีแค่ 8 Bit โดยที่เลข 5 ตัวแรกแทนข้อมูล ส่วน 3 ตัวหลังเป็นชุดตรวจสอบและแก้ไขความถูกต้อง ทำให้มันมีข้อจำกัด หากมันผิดพลาด 1 หรือ 2 ตำแหน่งยังพอแก้ไขได้ แต่ถ้ามากกว่านั้นจะแก้ไขไม่ได้ เป็นต้นเหตุให้ข้อมูลที่ได้รับมันผิดเพี้ยนไปได้ อย่างเช่นการโทรศัพท์สมัยก่อนเสียงจะขาดๆ หายๆ นั่นหละครับ หมายความว่ารหัสมันแก้ไขข้อผิดพลาดไม่ได้ ด้วยเหตุนี้เมื่อเรามีข้อมูลมากขึ้น ใน 1 Byte จึงจำเป็นต้องมีจำนวน Bit มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เราสามารถบรรจุข้อมูลได้มากขึ้น และมีจำนวน Bit ที่เอาไว้ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดได้มากขึ้นด้วย ส่งผลทำให้แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาดระหว่างทางสักแค่ไหนก็ตามระบบก็จะสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ ยิ่งจำนวน Bit เยอะประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลก็ยิ่งดีขึ้นนั่นเอง ซึ่งทฤษฏีนั้นมันทำได้แบบนับไม่ถ้วนอยู่แล้วครับ ใน 1 Byte เราจะให้มีกี่ล้าน Bit ก็ได้ แต่ปัญหามันอยู่ที่ตัวแปลงรหัสสัญญาณนั่นเองว่ามีความสามารถแค่ไหน ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนก็พัฒนามากขึ้นตาม จนสามารถเพิ่มจำนวน Bit เข้าไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ  จึงเป็นที่มาของ คอมพิวเตอร์ หรือ สมาร์ทโฟน 16 Bit, 32 Bit, 64 Bit ตามลำดับของการพัฒนาการ

 

ผมไม่ขอลงลึกมากเรื่อง ทฤษฏีรหัส(Coding Theory) หรือ พีชคณิตนามธรรม(Abstract Algebra) ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่นำมาช่วยตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของชุดรหัสนะครับ  นี่หละเป็นคำตอบสำหรับหลายคนที่ถามมาตลอดว่า “เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม?”  และนี่คือ พื้นฐานของพื้นฐานของเทคโนโลยีที่เราเสพอยู่ ที่เราอาจเคยรู้ว่ามันเกิดจากเลข 0 และ 1 มารวมกัน แต่ก็ไม่รู้ว่ามันทำงานอย่างไร?  หากใครสนใจและต้องการลงลึกมากกว่านี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากสื่อที่เป็นหนังสือหรือสื่อออนไลน์เกี่ยวกับ “ทฤษฏีรหัส(Coding Theory)” ได้เลยนะครับ แล้วเพื่อนๆ จะรู้ว่ามันคืออะไร ? มันตรวจสอบและแก้ไขความผิดพลาดอย่างไร? และจะได้เห็นว่าการศึกษาเรื่องนี้มันยังไม่สิ้นสุดและมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ครับ

 

รู้ไหมครับ เราสามารถฝังชุดรหัสลงในสารเคมีหรือสิ่งมีชีวิตได้แล้ว ?

 

 

 

 

[box_info]

เอกสารอ้างอิง:

สุพจน์ ไวท์ยางกูร, ทฤษฏีรหัสขั้นแนะนำ(Introduction to Coding Theory), ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2540.

[/box_info]

 

Advertisement
computer Lo Axiom smartphone
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
ดร.อเสข ขันธวิชัย
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Android

ซี – นุนิว เสิร์ฟช่วงเวลาสุดฟิน เก็บครบทุกโมเมนต์ใน 3 วินาที! ด้วย OPPO Reno13 Series 5G สมาร์ตโฟน AI รุ่นใหม่ล่าสุด

15 กุมภาพันธ์ 2025
Android

iPhone ยังคงครองตำแหน่งสมาร์ตโฟนที่ขายดีที่สุดในโลก

4 สิงหาคม 2024
Android

ตามยุคสมัย Meizu ประกาศยุติธุรกิจสมาร์ตโฟน มุ่งสู่ธุรกิจ AI แทน

20 กุมภาพันธ์ 2024
Your Updates

ตลาดสมาร์ตโฟนเริ่มกลับมาดีขึ้น หลังแย่ลงต่อเนื่อง 27 เดือน

24 พฤศจิกายน 2023
Android

ยอดขายสมาร์ตโฟนไตรมาส 2 ลดลง 10% มีแบรนด์ใหม่ขึ้นมาติดท็อป 5 แทน

29 กรกฎาคม 2023
Miscellaneous

ข่าวลือ Canon กำลังทางร่วมมือกับผู้ผลิตสมาร์ตโฟน

22 พฤษภาคม 2023
What Score?
78
Game Review

Review : FATAL FURY: City of the Wolves ฉูดฉาดขึ้น! มันส์ขึ้น! ถูกใจแฟนเกมแน่นอน!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya2 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

By Noppinij1 กรกฎาคม 2025
7.5
Accessories

รีวิว Xiaomi Smart Band 10 ดีไซน์ใหม่ ฟีเจอร์แน่น ใช้งานคุ้มเกินราคา

By Noppinij28 มิถุนายน 2025
90
Game Review

Review : Death Stranding 2 เข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังเก็บหัวใจเดิมไว้อย่างครบถ้วน

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya23 มิถุนายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Sony WH-1000XM6 หูฟังตัดเสียงรบกวนที่แม่นยำที่สุดของโซนี่! ดียังไง? มีอะไรใหม่?

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Gaming

Minecraft อัพเดทใหญ่เพิ่ม โกเล็มทองแดง และอุปกรณ์ทองแดง!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya3 กรกฎาคม 2025

เปิดตัว MY HERO ACADEMIA: All’s Justice เกมภาคสุดท้ายของแฟรนไชส์!

3 กรกฎาคม 2025

มือถือพับได้ 3 ตอนของ Samsung มาแน่ พร้อมชิปตัวแรงสุด

3 กรกฎาคม 2025

Persona 5: The Phantom X เปิดให้โซนเราเล่นได้แล้ววันนี้!

3 กรกฎาคม 2025

PS5 Pro เตรียมอัปเกรด PSSR ด้วยอัลกอริธึมใน Project Amethyst ที่มีพื้นฐานจาก FSR 4 ในปี 2026

3 กรกฎาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Gaming

Minecraft อัพเดทใหญ่เพิ่ม โกเล็มทองแดง และอุปกรณ์ทองแดง!

3 กรกฎาคม 2025
Gaming

เปิดตัว MY HERO ACADEMIA: All’s Justice เกมภาคสุดท้ายของแฟรนไชส์!

3 กรกฎาคม 2025
Android

มือถือพับได้ 3 ตอนของ Samsung มาแน่ พร้อมชิปตัวแรงสุด

3 กรกฎาคม 2025
Gaming

Persona 5: The Phantom X เปิดให้โซนเราเล่นได้แล้ววันนี้!

3 กรกฎาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo