ด้วยความร่วมมือกันอย่างยาวนานระหว่างสองบริษัท AMD (NASDAQ: AMD) เปิดเผยว่ากูเกิลได้เลือก AMD Radeon รุ่นที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษสำหรับ Datacenter เพื่อใช้งานบนแพลตฟอร์ม Google Stadia เพื่อรองรับ Vulkan และ Linux โดยกูเกิลประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม Google Stadia ที่งาน Game Developers Conference (GDC) ที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย AMD ให้การสนับสนุน Google ในด้านเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์บนระบบปฏิบัติการ Linux และโอเพนซอร์สไดรเวอร์ Vulkan ที่จะช่วยให้นักพัฒนาเกมสามารถพัฒนาคุณภาพของเกมในอนาคตเพื่อให้สามารถทำงานบนแพลตฟอร์มที่ใช้กราฟิกรุ่นใหม่
Ogi Brkic รองประธานบริษัท และผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจ Datacenter GPU ของ AMD กล่าวว่า “การผสมผสานกันระหว่างการมีเทคโนโลยีที่เหมาะกับการเล่นเกม และความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์ ผนวกกับความมุ่งมั่นยาวนานในแพลตฟอร์มแบบเปิด ทำให้ AMD สามารถมอบเทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ เพื่อสร้างประสบการณ์ระดับโลกในการเล่นเกมบนระบบคลาวด์ เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับ Google ด้วยความพยายามที่จะนำประสบการณ์การเล่นเกมที่ยอดเยี่ยมส่งมอบสู่เกมเมอร์ทั่วโลก บนความเชื่อมั่น และประสิทธิภาพที่เหนือความคาดหมาย”
Dov Zimring ผู้นำกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์ม Gooel Stadia กล่าวว่า “เราทำงานร่วมกับเอเอ็มดีอย่างใกล้ชิดมาอย่างยาวนานในโครงการนี้ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนากราฟิกที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ มาพร้อมฟีเจอร์ และประสิทธิภาพที่ล้ำสมัยสำหรับแพลตฟอร์ม Google Stadia ทั้งนี้ Google และ AMD ต่างร่วมกันแลกเปลี่ยนพันธกิจเรื่องความเชี่ยวชาญโอเพนซอร์สใน Vulkan, ไดรเวอร์กราฟิกโอเพนซอร์สสำหรับ Vulkan และเครื่องมือโอเพนซอร์สในการเพิ่มประสิทธิภาพกราฟิก เราชื่นชมจิตวิญญาณของการพัฒนานวัตกรรม และความร่วมมือจากทั่วอุตสาหกรรมเกม และรอคอยที่จะเป็นผู้บุกเบิกอนาคตของเทคโนโลยีกราฟิกร่วมกับนักพัฒนาเกมในรูปแบบโอเพ่นซอร์ส”
กราฟิก AMD ประสิทธิภาพสูงสำหรับ Datacenter
การสตรีมมิ่งเกมที่ต้องใช้กราฟิกระดับสูงไปยังความต้องการของผู้เล่นหลายล้านคนทั่วโลกบนระบบคลาวด์ต้องการความสามารถในการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ เพื่อลดระยะเวลาในการหน่วงให้น้อยที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพของเกมให้มากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ ของดาต้าเซ็นเตอร์ รวมไปถึง ด้านความปลอดภัย การจัดการ และความยืดหยุ่น
กราฟิก AMD Radeon Datacenter ประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษบนแพลตฟอร์ม Google Stadia ประกอบด้วย:
- High-Bandwidth Memory รุ่นที่สอง (HBM2) ช่วยให้ประหยัดพลังงานที่ดีมากยิ่งขึ้
- มีฟีเจอร์ที่สำคัญสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ เช่น ระบบ Error Correcting Code (ECC) เพื่อให้ความมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูล
- ประสิทธิภาพที่รวดเร็ว และคาดการณ์ผลลัพธ์ได้ พร้อมฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยสำหรับการเล่นเกมบนระบบคลาวด์ผ่านโซลูชั่นการจำลองกราฟิกการ์ดครั้งแรกของอุตสาหกรรมเกมที่สร้างขึ้นจาก เทคโนโลยี SR-IOV (Single-Root I/O Virtualization)
สถาปัตยกรรมกราฟิกของเอเอ็มดี รองรับแพลตฟอร์มการเล่นเกมที่หลากหลายในปัจจุบัน ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ไปจนถึงเครื่องเกมคอนโซลต่าง ๆ ทำให้นักพัฒนาสามารถปรับแต่งเกมให้เหมาะสำหรับสถาปัตยกรรมกราฟิกการ์ดแบบเดี่ยว และพัฒนาต่อไปยังแพลตฟอร์มที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงแพลตฟอร์มการเล่นเกมบนระบบคลาวด์ขนาดใหญ่
เครื่องมือที่แข็งแกร่งสำหรับนักพัฒนา
ซอฟต์แวร์ของเอเอ็มดีที่มีประสิทธิภาพช่วยให้นักพัฒนาสามารถปรับแต่งเกม และแอปพลิเคชันอื่น ๆ จากกราฟิกการ์ด AMD Radeon โดยเอเอ็มดีเสริมพลังให้กับเหล่านักพัฒนาด้วยตัวเลือกที่มีให้มากมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแอปพลิเคชันที่ใช้กราฟิกตามพันธกิจอันยาวนานของการทำแพลตฟอร์มโอเพนซอร์ส รวมไปถึงไดรเวอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Linux และการรองรับ Vulkan API ในแบบ Low-Level ที่สามารถควบคุมประสิทธิภาพ และความสามารถของกราฟิก AMD Radeon ได้อย่างครอบคลุม
โอเพ่นซอร์สไดรเวอร์ของ AMD บนระบบปฏิบัติการ Linux ช่วยให้กูเกิลและคู่ค้าด้านการพัฒนาสามารถตรวจสอบโค้ด และเข้าใจถึงวิธีการทำงานของไดรเวอร์ ทำให้สามารถปรับแต่งการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันด้วยกราฟิก AMD Radeon โดยไดรเวอร์ยังมีฟีเจอร์ด้านการติดตามแอปพลิเคชันอย่าง AMD Radeon GPU Profiler (RGP) ที่ช่วยให้เข้าถึงรายละเอียดข้อมูลระดับต่ำที่เกี่ยวกับเวิร์คโหลดการทำงานของกราฟิก AMD Radeon การระบุปัญหาด้านระยะเวลาที่สามารถแนะนำได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยพัฒนาความสามารถของนักพัฒนาในการสร้างแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดบนกราฟิก AMD Radeon
AMD Radeon GPU Profiler (RGP) ช่วยให้นักพัฒนาเกมเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นว่าแอปพลิเคชันของเขาจะใช้ประโยชน์จากกราฟิกการ์ดได้อย่างไร รวมไปถึงการประมวลผลของกราฟิก และหน่วยการทำงานของชิปประมวลผล (Thread) โดยนักพัฒนาสามารถติดตามช่วงเวลาของเหตุการณ์ และพัฒนาประสิทธิภาพของเกมบนแพลตฟอร์ม Google Stadia ระบบ RGP ยังทำงานร่วมกันกับโอเพนซอร์สที่เป็นที่รู้จักอย่าง RenderDoc ในการแก้ไขข้อบกพร่องด้านกราฟิกเพื่อให้นักพัฒนาเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกในการแสดงผลของแต่ละเฟรม แบบเรียลไทม์ ลดเวลาที่ต้องใช้ในการแก้ไขข้อผิดพลาด และตรวจสอบคุณลักษณะของเฟรมระหว่างกระบวนการพัฒนา
RGP ทำงานในลักษณะเดียวกันกับระบบ Virtualized Environment เช่นเดียวกันกับการทำงานบนระบบ PC Client ทำให้ง่ายกับนักพัฒนาในการปรับแต่งแอปพลิเคชันการจำลองกราฟิกการ์ดขนาดใหญ่ เช่นเดียวกันกับแพลตฟอร์มการเล่นเกมอื่นๆ