Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Your Updates » ศัพท์สำคัญของ 5G ที่ควรรู้ mmWave, Sub-6, 5G NSA และ 5G SA สเปคในมือถือมันคืออะไรกันแน่?
Your Updates

ศัพท์สำคัญของ 5G ที่ควรรู้ mmWave, Sub-6, 5G NSA และ 5G SA สเปคในมือถือมันคืออะไรกันแน่?

17 กุมภาพันธ์ 2020Updated:17 กุมภาพันธ์ 20203 Mins Read

ประเทศไทยเราเดินเข้าสู่ยุค 5G กันเข้าไปทีละนิดแล้วนะครับ แต่เชื่อว่าด้วยความหลากหลายของเทคโนโลยีที่นำเข้ามาเปลี่ยนแปลงเพื่อผ่านจากยุค 4G มาสู่ 5G นั้น มันมีข้อมูลมากมายมหาศาล ไม่ใช่เรื่องที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ เหมือนตอนเราเปลี่ยนผ่านจาก 3G สู่ 4G ในรุ่นก่อนครับ

เพราะเทคโนโลยี 5G มีความหลากหลายมาก มีความหยืดหยุ่นสูงมาก มีศัพท์เฉพาะมากมาย มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับ 5G เยอะมาก เราเลยจะได้ยินคำศัพท์ใหม่ๆ อย่างเช่น Millimeter wave, mmWave, Sub-6, low-band, Mid-band, 5G NSA หรือ 5G non-standalone และยังมี 5G SA หรือ 5G standalone อีก และก็ยังมีอื่นๆ อีกมากมายที่จะมีการพูดถึงกันอย่างแน่นอน ซึ่งเทคโนโลนีใหม่ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องเอ่ยขึ้นมาถ้าเราต้องการจะคุยกันถึงเรื่อง 5G ครับ

ด้วยความที่มันไม่ง่ายเหมือนยุคเก่า ฉะนั้นวันนี้เรา Appdisqus จะขอนำศัพท์สำคัญที่ทุกคนควรจะรู้จักไว้ โดยจะเอามาอธิบายให้เข้าใจกันได้แบบง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นเวลาได้ยินหรือเจอคำเหล่านี้ในอนาคตครับ

Millimeter wave ในอีกชื่อคือ high-band หรือ mmWave

นี่คือศัพท์หลักตัวแรกที่ต้องเข้าใจกันก่อนเลยสำหรับการใช้งานอุปกรณ์ 5G เพราะนี่น่าจะเป็นตัวตนที่แท้จริงของคลื่น 5G ตามที่คนไทยเรานิยามถึงมันกันเอาไว้ครับ โดย Millimeter wave หรือชื่อทางเทคนิคที่ FCC เรียกมันว่า high-band ส่วนบริษัท Qualcomm ใช้เทคโนโลยีนี้ในชื่อว่า mmWave แต่ทั้งหมดมันจะหมายถึงเทคโนโลยีการเชื่อมต่อสัญญาณบนคลื่นความถี่ที่สูงกว่า 24 GHz ขึ้นไปครับ

Advertisement
Advertisement
Advertisement

เป็นย่านความถี่ที่ปกติแต่ไหนแต่ไรเราไม่เคยคิดหยิบมันมาใช้กับอุปกรณ์สื่อสาร เพราะแม้ว่ามันจะมีความถี่ของสัญญาณที่สูงมาก มีพื้นที่ความกว้างของสัญญาณที่ยังเหลือให้ใช้กว้างมาก แต่ข้อเสียของสัญญาณความถี่สูงระดับนั้นก็คือระยะทางที่มันส่งสัญญาณได้สั้นเกินไป และมันไม่อาจจะทะลุทะลวงผ่านสิ่งใดได้เลยแม้แค่เพียงอุ้งมือของเรา ถ้าเผลอไปปิดกั้นทางเดินของสัญญาณมันก็หายไปได้แล้วละครับ

แต่ด้วยเทคโนโลยีการออกแบบและพัฒนาของผู้ผลิตอุปกรณ์ ในที่สุดเขาได้ออกแบบการรับส่งความถี่แบบ Millimeter wave จนมันสามารถนำมาใช้งานได้จริงบนอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟนครับ โดยความสามารถของมันก็คือการรับส่งข้อมูลได้เร็วระดับ 1Gbps ขึ้นไป เป็นความเร็วตามมโนภาพ 5G ที่เราคาดหวังกันเอาไว้นั้นเอง

Sub-6

Sub-6 ต้องเป็นคำที่ต้องมาตามหลัง Millimeter wave มาติดๆ เลยละครับ เพราะนี่คืออีกหนึ่งมาตรฐาน 5G ที่สำคัญ เพราะถ้าจะบอกว่า Millimeter wave เป็นย่านความถี่สูง ใช้เพื่อความเร็วสูง แต่ระยะสัญญาณมันสั้นเกินไป ฉะนั้นเจ้า sub-6 ก็คือเทคโนโลยีที่สองที่จะถูกใส่ไว้ในอุปกรณ์ 5G ครับ มันมีเพื่อจะรองรับคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่า 6GHz ที่จะใช้ในการรับสัญญาณที่มีความสเถียรและครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างกว่านั้นเองครับ

โดย Sub-6 จะนิยมใส่เข้ามาอยู่คู่กันกับ mmWave เพื่อให้ตัวอุปกรณ์สมาร์ทโฟนของเราสามารถสลับรับสัญญาณที่เหมาะสมได้ตลอดเวลา เพราะคลื่นความถี่สูงระยะสั้นอย่าง mmWave จะเหมาะสมที่ผู้ให้บริการจะไปติดตั้งตัวส่งในพื้นที่เฉพาะหรือมีคนพลุกพล่านเท่านั้น เพราะขอบเขตจะแคบแต่ก็มีความเข้มข้นและความเร็วของสัญญาณที่สูง ส่วนตัว Sub-6  ก็จะใช้ในการกระจายสัญญาณในพื้นที่บริเวณกว้าง เป็นตัวเสริมระยะขอบเขตที่ Millimeter wave  ยากจะครอบคลุมได้ทั่วถึงนั้นเองครับ

5G NR หรือ 5G New Radio

ถ้าได้ยินคำว่า 5G NR หรือไม่ว่าจะเป็น 5G New Radio มันคือชื่อของมาตรฐาน 5G ของโลกในตอนนี้ครับ เป็นชื่อเรียกโดยรวมทั้งเทคโนโลยี Millimeter wave และ Sub-6 เข้าไว้ด้วย

5G NSA หรือ 5G non-standalone

คำนี้จะถูกพูดถึงกันใน 5G ยุคสมัยแรกๆ นี้แหละครับ มันคือเทคโนโลยีที่เราใช้ในช่วงเปลี่ยนถ่ายสัญญาณ 4G ไปสู่ 5G ในช่วงนี้แหละ โดย 5G NSA ก็คือเทคโนโลยีที่นำสัญญาณของ 4G มาสนับสนุนการทำงานของคลื่น 5G เพื่อเพิ่มความเสถียรของการให้บริการและการรับส่งข้อมูลของตัวอุปกรณ์ โดยจะถูกพบในอุปกรณ์ที่รองรับ 5G ยุคเริ่มต้น แต่ในอนาคตก็จะเปลี่ยนเป็น 5G SA หรือ 5G Standalone กันทั้งหมดครับ

5G SA หรือ 5G Standalone

5G Standalone หรือตัวย่อ 5G SA มันคืออนาคตที่มาแน่ๆ เนื่องจากมันเป็นระบบที่สามารถทำงานบน 5G ได้ทั้งหมดด้วยตัวเอง ไม่ต้องกลับไปพึ่งพาระบบเก่าอย่าง 4G อีกต่อไป สิ่งนี้จะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นทั้งผู้ผลิตและผู้ให้บริการ โครงสร้างเครือข่ายก็จะแข็งแกร่งลงตัว และน่าจะส่งผลให้ราคาค่าบริการถูกลงกว่าเดิมได้ครับ ฉะนั้นความลงตัวของโลก 5G น่าจะไปอยู่ในยุคที่เราไปใช้ 5G SA กันหมดแล้วนั้นเองครับ


มาถึงตรงนี้ผมว่าก็น่าจะช่วยให้ทุกคนได้เข้าใจคร่าวๆ ได้ในเวลาเห็นสเปค 5G ของอุปกรณ์สมาร์ทโฟนกันบ้างแล้วนะครับ โดยด้านล่างคือตัวอย่างของการบอกสเปค 5G จากเครื่อง Samsung Galaxy S20 Series ซึ่งผมยกตัวอย่างมาให้ดูกัน เขาก็จะบอกเทคโนโลยีที่เครื่องรองรับมาแบบนี้ครับ

โดย Samsung Galaxy S20 Series ในรุ่นรองรับ 5G นี่มีครบดี มาทั้ง 5G NSA, 5G SA แสดงว่ายุคเก่าก็ได้ยุคใหม่ก็พร้อม และรองรับ mmWave และ Sub6 ด้วยตามมาตรฐาน

 


ศัพท์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

Low-band คลื่นความถี่ต่ำ

คลื่นความถี่ต่ำ ก็คือช่วงคลื่นใกล้ๆ กับที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้แหละครับ เช่น 600Mhz, 800Mhz และ 900MHz รวมถึง 700Mhz ที่ประเทศไทยเพิ่งเปิดประมูลกันออกไปด้วย โดยคลื่นพวกนี้มีคุณสมบัติในการกระจายสัญญาณได้กว้าง ครอบคลุมพื้นที่ได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องวางเสาสัญญาณเยอะก็พร้อมจะรองรับทั่วทั้งอาณาเขตได้ในทันที

แต่ข้อเสียก็คือขีดจำกัดความเร็วของสัญญาณ มันไม่อาจะเทียบได้กับคลื่นความถี่สูงได้นั้นเองครับ แต่ก็มีผู้ให้บริการบางรายในต่างประเทศ อย่างเช่น T-Mobile และ AT&T ของอเมริกา ที่ต้องการจะใช้คลื่น 600MHz และ 850MHz ในการเปิดเป็น 5G เพื่อช่วยเพิ่มอาณาเขตสนับสนุนร่วมกับคลื่น Millimeter wave ความถี่สูงครับ

Mid-band คลื่นความถี่ระดับกลาง

ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนครับเป็นย่านความถี่ตามชื่อ คือสูงกว่า Low-Band แต่ยังไม่ถึงระดับ Sub-6 ที่วิ่งอยู่ประมาณ 6GHz ลงมา โดยคลื่นความถี่ระดับกลางหรือ Mid-band จะอยู่ที่ช่วงประมาณ 2.0GHz  ถึง 5.0 GHz ราวๆ นี้ครับ ซึ่งก็มีทาง Sprint ที่ได้ปรับใช้คลื่น 2.5Ghz มาให้บริการ 5G อยู่เหมือนกันครับ

Unlicensed หรือคลื่นที่ไม่มีใบอนุญาต

ถ้ามีคลื่นที่ถูกประมูลออกไปซึ่งได้ใบอนุญาตอย่างถูกกฏหมาย ก็ย่อมต้องมีคลื่นอื่นๆ ที่ยังไม่มีการออกใบอนุญาต หรือ Unlicensed นั้นแหละครับ ซึ่งได้มีข้อตกลงกันเป็นมาตรฐานสากลว่า ความถี่ที่ไม่มีใบอนุญาตอย่างเช่น 2.4, 3.5, 5.0, 6.0 GHz ก็สามารถนำมาใช้งานได้เช่นกัน และด้วยความยืดหยุ่นของเทคโนโลยี 5G มันอาจจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางใดทางหนึ่งได้เสมอครับ

MIMO (Multiple-input และ multiple-output)

MIMO คือชื่อย่อของเทคโนโลยี Multiple-input และ Multiple-output ความสามารถในการรับและส่งข้อมูลได้หลายๆท่อในเวลาเดียวกัน มันเป็นเทคโนโลยีที่จะถูกพูดถึงเสมอทั้งในอุปกรณ์เสาสัญญาณ ทั้งภาคส่ง รวมถึงภาครับอย่างอุปกรณ์ที่เราใช้งาน ก็จะมีฟังก์ชั่นนี้คอยช่วยเพิ่มช่องรับส่งข้อมูลได้หลายๆ ทางในเวลาเดียวกันได้ครับ เพิ่มความเสถียรและความราบลื่นในการเข้าออกของข้อมูล

Beamforming

อีกหนึ่งชื่อของฟีเจอร์ในด้านความสามารถเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับการเดินทางของสัญญาณ จากอุปกรณณ์สู่อุปกรณ์ มันคือรูปแบบการรับส่งข้อมูลที่จะ “หากันจนเจอ” แม้ว่าการรับส่งข้อมูลในเส้นทางเดิมจะสูญเสียไปหรือมีอะไรปิดกั้น มันจะมีเส้นทางใหม่ในการเดินเข้าหาเป้าหมายเดิมได้อยู่ตลอดเวลา ฟีเจอร์นี้ก็จะถูกพูดถึงบ่อยๆ ในคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้รับส่งข้อมูลในเครือข่ายเสมอๆ ครับ

Small cells

เซลล์ไซต์ขนาดเล็ก ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเข้มของสัญญาณจากผู้ให้บริการ ให้ตัวส่งสัญญาณได้เขยิบเข้ามาใกล้อุปกรณ์อย่างสมาร์ทโฟนของเรามากขึ้นครับ ปกติพวกมันจะถูกติดไว้ตามเสาไฟฟ้าหรือในอาคารที่มีคนพลุกพล่าน ทำหน้าที่คอยรับและขยายสัญญาณจากเซลไซต์หลักตัวใหญ่ที่จะอยู่ไกลไปบนอาคารสูงอีกทีหนึ่ง โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนใช้แบนด์วิดช์กันสูงมากขนาดนี้ ก็จำเป็นต้องติดตั้ง Small cells เหล่านี้มากขึ้นตามไปด้วย

แต่ก่อนมันเคยทำหน้าที่ในการช่วยขยายคลื่น LTE 4G แต่ตอนนี้ในยุคใหม่ มันก็พร้อมจะทำงานภายใต้สัญญาณ 5G ด้วยเช่นกัน

Ping

ถ้าสปีดจะหมายถึงความเร็ว Ping ก็คงจะหมายถึงค่าความไวของเน็ตนั้นเองครับ จริงๆ แล้วมันคือชุดคำสั่งที่เข้าไปทดสอบหาค่าเวลาในการเดินทางไปกลับของคำสั่ง จากโฮสต์ต้นทางไปยังปลายทางว่าใช้เวลามากน้อยแค่ไหนในการเดินทางครั้งนี้ ซึ่งมันส่งผลต่อความไวตอบสนองสั่งงานเวลาเราใช้เน็ตนั้นเองครับ

Latency

อีกหนึ่งคำที่ใช้เวลาเราพูดถึงคุณภาพของสัญญาณ เพราะการเดินทางของข้อมูลมันจะมีการสูญเสียเวลาไปกับทุกจังหวะการทำงาน เช่นการที่เราสั่งงานอุปกรณ์เพื่อให้ไปดึงข้อมูลจากเว็บไซด์ที่เราต้องการ เมื่อปลายทางอย่างเช่นเว็บไซต์ได้รับคำขอของเราแล้ว ก็จะส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ก่อนที่เซิร์ฟเวอร์จะดูว่าจะมันจะต้องส่งไฟล์ใดกลับมาให้เราบ้าง ระยะเวลาที่ใช้ไปทั้งหมด เราเรียกว่า Latency

และค่า Latency นี้แหละครับ เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญหลักของเทคโนโลยี 5G ที่มันจะต้องพิสูจน์ตัวเองว่าได้ถูกอัพเกรดขึ้นไปมากแค่ไหนจากเทคโนโลยี 4G เก่า เพราะค่า Latency ที่ต่ำ ก็หมายถึงการตอบสนองแบบเรียลไทม์ระหว่างปลายทางกับผู้ใช้ ในเวลาเดียวกันเหมือนอยู่ที่เดียวกันยังไงยังงั้น ลองนึกภาพหมอกำลังผ่าตัดคนไข้ระยะไกลด้วยสัญญาณ 5G กันดูสิครับ ถ้าค่า Latency มันหน่วงกว่าความเป็นจริง จะเกิดอะไรขึ้นกับคนไข้ที่กำลังถูกผ่าตัด!

5Ge หรือ 5G Evolution

เป็นชื่อที่ผมยกตัวอย่างมาให้ดูกัน จะเรียกพวกชื่อเหล่านี้ว่า “5G ปลอม” ก็ได้นะครับ เพราะมันไม่ใช่ 5G จริงๆ แต่เป็นชื่อทางการตลาดที่นำมาให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดกันได้ อย่างเช่น 5G Evolution ซึ่งเป็นชื่อทางการตลาดของ AT&T ที่นำเอาผลลัพท์ของการรวมเน็ต LTE 4G เข้ากับเน็ต Fiber มารวมกันให้เกิดความเร็วที่มากกว่า 4G ทั่วไปเพียงอย่างเดียว แล้วก็เรียกมันว่า 5G Evolution โดยที่ไม่มีอะไรเกี่ยวกับ 5G เลย

5G NSA หรือ 5G non-standalone 5G SA 5G standalone low-band Mid-band Millimeter wave mmWave sub-6 วิธีดู 5G
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
Noppinij
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

What Score?
8.5
Devices

รีวิว Infinix Note 50 Pro+ 5G+ สมาร์ตโฟนสุดคุ้ม สเปคแรง! ชาร์จไว 100W กล้อง 50MP OIS ซูม 100X

By Noppinij1 พฤษภาคม 2025254 Views
7.7
Devices

รีวิว vivo V50 Lite และ vivo Watch GT สมาร์ตโฟน+สมาร์ตวอทช์ “คู่หูแบตอึด” บางเบา จอคมชัด จัดเต็มเกินราคา

By Noppinij22 เมษายน 2025223 Views
8.9
Devices

รีวิว OPPO Find N5 สมาร์ตโฟนจอพับบางที่สุดในโลก แข็งแรง เทคโนโลยีล้ำ! พร้อมสำหรับการทำงาน และกล้องระดับโปร

By Noppinij8 เมษายน 2025297 Views
7.2
Devices

รีวิว vivo Y39 5G จัดเต็ม เครื่องสวยสายลุย! “เอาอยู่ ทุกความท้าทาย”

By Noppinij3 เมษายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Alldocube iPlay60 Pad Pro แท็บเล็ตลูกครึ่งโน๊ตบุ๊ค หน้าจอ 12.1 นิ้ว แบต 10000mAh สเปกคุ้มๆ ราคาไม่ถึงเก้าพัน

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Your Updates

มุมมองสะท้อนระบบการศึกษายุคใหม่: นักศึกษา Ivy League ใช้ AI ทำการบ้าน 80%: เมื่อการศึกษาเข้าสู่ยุคของการ “ฝากหุ่นยนต์เรียนแทน”

By Noppinij11 พฤษภาคม 2025

ฟ้าคำรามเตรียมกลับมาอีกครั้งเป็นตัวละคร DLC ในเกม Tekken 8!

11 พฤษภาคม 2025

เปิดตัวแล้ว! Five Night At Freddy X Dead By Daylight ฆาตกรใหม่ แมพใหม่!

10 พฤษภาคม 2025

ผู้ใช้ Steam เรียกร้องปุ่ม “อัปเดตทั้งหมด” เพื่อความสะดวกในการจัดการเกม

10 พฤษภาคม 2025

Helio ไปต่อ! MediaTeK เปิดตัว Helio G200: รีแบรนด์ G100 พร้อมแต่งหน้าใหม่เล็กน้อย

10 พฤษภาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Your Updates

มุมมองสะท้อนระบบการศึกษายุคใหม่: นักศึกษา Ivy League ใช้ AI ทำการบ้าน 80%: เมื่อการศึกษาเข้าสู่ยุคของการ “ฝากหุ่นยนต์เรียนแทน”

11 พฤษภาคม 2025
Gaming

ฟ้าคำรามเตรียมกลับมาอีกครั้งเป็นตัวละคร DLC ในเกม Tekken 8!

11 พฤษภาคม 2025
Xbox & PC World

เปิดตัวแล้ว! Five Night At Freddy X Dead By Daylight ฆาตกรใหม่ แมพใหม่!

10 พฤษภาคม 2025
Xbox & PC World

ผู้ใช้ Steam เรียกร้องปุ่ม “อัปเดตทั้งหมด” เพื่อความสะดวกในการจัดการเกม

10 พฤษภาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo