Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Miscellaneous » เผย 6 วิธี!! ในการเข้าถึงบัญชี Facebook ผู้อื่น เรียนรู้เพื่อป้องกัน
Miscellaneous

เผย 6 วิธี!! ในการเข้าถึงบัญชี Facebook ผู้อื่น เรียนรู้เพื่อป้องกัน

2 กรกฎาคม 20162 Mins Read

 

สืบเนื่องจากข่าวข้อความลูกโซ่ใน Facebook ในช่วงสองสามวันที่ผ่านมา มันทำให้เราได้เห็นว่า บัญชี Facebook มีความสำคัญกับผู้คนปัจจุบันเยอะมาก ยิ่งนานวันเราก็ยิ่งอัพโหลดทั้งข้อความ รูปภาพ คลิปวิดีโอ และอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นทุกวัน สำคัญที่สุด ก็คือ เครือข่ายสังคม มันย่อมสร้างความกังวลใจไม่น้อยเกี่ยวกับการถูกเข้าถึงบัญชีโดยที่เราไม่อนุญาต หรือการแฮกบัญชี Facebook ของเรานั่นเอง

Hacker9 เว็บไซต์ข่าวสารด้านความปลอดภัยของโลกออนไลน์และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ออกมาเปิดเผย 6 วิธีในการแฮกบัญชี Facebook ที่นิยมใช้กัน ซึ่งบางวิธีเราแทบจะนึกไม่ถึงกันเลยทีเดียวครับ และขอบอกไว้ก่อนเลยว่าเราเปิดเผยวิธีการเหล่านี้ เป้าหมายเพื่อให้ผู้อ่านได้ระมัดระวังตัว ป้องกันตัวจากการถูกผู้อื่นมาแฮกบัญชี Facebook ไม่ใช่ชี้โพรงให้กระรอก เพราะอย่างไรก็ตามคนที่ไม่รู้วิธีการมาก่อน แม้จะมารู้จากบทความนี้ไป ใช่ว่านึกจะทำก็ทำได้ง่าย ๆ

ในบทความนี้

  • 1. คีย์ล็อกเกอร์ (Keylogger) โปรแกรมจดจำการกดปุ่มคีย์บอร์ดของเรา
  • 2. สร้างหน้า Facebook ปลอม เพื่อให้เรากรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านด้วยตัวเราเอง
  • 3. แฮกบัญชี Facebook โดยใช้มือถือของเราเอง
  • 4. ขโมยประวัติการเข้าเว็บไซต์ หรือ cookies ของเรา
  • 5. การจดจำรหัสผ่านด้วยเว็บบราวเซอร์
  • 6. เจาะผ่านช่องโหว่ของ Security Question ของ Facebook

1. คีย์ล็อกเกอร์ (Keylogger) โปรแกรมจดจำการกดปุ่มคีย์บอร์ดของเรา

คีย์ล็อกเกอร์ มีทั้งในรูปแบบซอฟท์แวร์ และฮาร์ดแวร์ เป็นเครื่องมือที่ปกติจะใช้กันในสำนักงาน บริษัทห้างร้านต่าง ๆ เพื่อจับตามองการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของพนักงาน ทำให้เจ้านายรู้ว่าพนักงานคนนั้น ๆ ใช้คอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้าง แต่คีย์ล็อกเกอร์ก็ถูกเหล่าแฮกเกอร์ใช้ในการบันทึกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านด้วย

Advertisement
Advertisement
Advertisement

คีย์ล็อกเกอร์ รูปแบบซอฟท์แวร์จะเป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้ฝังไว้ในคอมพิวเตอร์ โดยไม่แสดงตัวให้ผู้ถูกจับตามองเห็นได้ หลังจากติดตั้งคีย์ล็อกเกอร์จะทำการบันทึกการกดคีย์บอร์ดทุกตัวอักษรที่เราพิมพ์ลงไปเลยครับ ซึ่งหากคนที่ต้องการแฮกบัญชีเรา เขาแค่เข้าไปดูบันทึกดังกล่าว มันก็เดาได้ไม่ยากเลยว่า ชื่อผู้ใช้ที่ปกติจะเป็นอีเมลและรหัสผ่านคืออะไร ไม่ใช่แค่ Facebook นะ เขาแทบจะดึงข้อมูลเกี่ยวกับเราได้ทุกอย่างเลยหละ สิ่งที่น่ากลัวก็คือโปรแกรมนี้คนทั่วไปที่มีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์นิด ๆ หน่อย ๆ ก็สามารถใช้งานคีย์ล็อกเกอร์ตัวนี้ได้แล้วครับ

Hot-Girl-Video-Keylogger-video.exe

คีย์ล็อกเกอร์ รูปแบบฮาร์ดแวร์ จะเป็นแท่งที่จะถูกติดตั้งอยู่ระหว่างปลั๊กกับคีย์บอร์ด และแบบ USB ที่เสียบช่อง USB ของคอมพิวเตอร์เพื่อดูดข้อมูลการใช้งานคีย์บอร์ดของเราได้เลย

best-hardware-keylogger

2. สร้างหน้า Facebook ปลอม เพื่อให้เรากรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านด้วยตัวเราเอง

สำหรับวิธีการนี้จะเห็นกันปล่อยมากและใช้กันมานานแล้ว แต่ก็ยังมีคนหลงเชื่ออยู่เป็นจำนวนมาก ตกเป็นเหยื่อของเขาได้ง่าย ๆ กันเลยครับ วิธีการนั้นง่ายมาก แค่สร้างหน้าเพจหรือหน้า Facebook ปลอมขึ้นมา หลังจากนั้นก็ส่งอีเมลหาเหยื่อ โดยเมื่อเหยื่ออ่านอีเมลแล้วก็จะมีปุ่มกดเข้า Facebook ปลอมจากหน้าอีเมล หลังจากนั้นเหยื่อก็จะทำการล็อกอิน ซึ่งมิจฉาชีพก็จะได้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านจากตรงนี้หละครับ

Facebook-Phishing-Girl-scam

ข้อความในอีเมลสารพัดที่จะรังสรรค์ขึ้นมาหลอกเราครับ ส่วนใหญ่จะเป็นข้อความที่จูงใจให้เราคลิกล็อกอินเข้า Facebook อย่างรวดเร็ว อาจบอกว่าเราได้รางวัลจากคุณตัน อิชิตัน หรือรางวัลพิเศษนั่นนี่โน่น แค่นี้เราก็หลงกลได้ง่าย ๆ เลยครับ หรือช่วงหลังจะเนียนขึ้นมาก โดยส่งอีเมลมาแจ้งเราว่าบัญชี Facebook เราถูกแฮก ให้เราเข้าไปตรวจสอบในเร็วที่สุด ซึ่งในอีเมลจะมีปุ่มเข้าสู่ Facebook อยู่ เป็นเราก็ต้องกดเพราะอยากเข้าไปตรวจสอบให้เร็วที่สุดอยู่แล้ว โดยเฉพาะการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน เราจะตกเป็นเหยื่อง่ายมาก เพราะผู้ใช้สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเช็ค url ของหน้าเพจที่เราล็อกอินอยู่

3. แฮกบัญชี Facebook โดยใช้มือถือของเราเอง

สมมุติว่าเราอยู่ที่ทำงาน วางมือถือไว้ที่โต๊ะระหว่างที่เข้าห้องน้ำหรือทำธุระอื่น ๆ ผู้ไม่ประสงค์ดีก็จะเข้า Facebook จากมือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ของเขาเอง หากเขาทราบเบอร์โทรเราอยู่แล้ว เขาแค่กดปุ่มลืมรหัสผ่านแล้วกรอกเบอร์เราเข้าไป ทาง Facebook ก็จะส่งรหัสยืนยันมาทาง sms แค่นี้เราก็ยึดเอาบัญชีของเราไปได้แล้วครับ ดังนั้นวิธีป้องกันก็คือควรตั้งรหัสผ่านเข้าเครื่องสมาร์ทโฟนของเราเอาไว้ไม่ให้คนเข้าใช้งานเครื่องเราได้ง่าย ๆ

table-that-will-have-full-smartphone

 

4. ขโมยประวัติการเข้าเว็บไซต์ หรือ cookies ของเรา

Cookies คือข้อมูลที่เว็บไซต์ส่งให้กับโปรแกรมท่องเว็บหรือเว็บบราวเซอร์ของเรา และเมื่อเราเปิดหน้าเว็บไซต์ทางเว็บบราวเซอร์ก็จะส่งข้อมูลกลับไปให้เว็บไซต์เพื่อดึงการใช้งานเดิม ๆ ของเราขึ้นมา ความจริงก็มีไว้เพื่อความสะดวกของเรานั่นหละครับ เวลาเราใช้งานจะได้ไม่ต้องเรียกหน้าเว็บใหม่ทั้งหมด หรือไม่ต้องแม้กระทั่งล็อกอินใหม่ ดังนั้นเราควรป้องกันการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเอาไว้ให้ดี แต่หากใช้เครื่องสาธารณะก็ควรเข้า Facebook ด้วย https://www.facebook.com แทน http://www.facebook.com ก็จะเข้ารหัสการส่งข้อมูลทำให้การใช้งานมีความปลอดภัยมากขึ้นได้

5. การจดจำรหัสผ่านด้วยเว็บบราวเซอร์

เชื่อว่าหลายคนทำวิธีนี้ นั่นคือ เมื่อเราล็อกอินเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ เว็บบราวเซอร์ก็จะถามเราว่าให้จำรหัสผ่านเอาไว้หรือไม่? เพื่อความสะดวกในการใช้งานครั้งต่อไป เรามักจะกดให้เว็บบราวเซอร์จดจำรหัสผ่านเอาไว้ ทีนี้หากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเป็นของส่วนรวมหรือเราไม่ได้ใส่รหัสผ่านเอาไว้หรือผู้อื่นทราบรหัสผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา บุคคลนั้น ๆ ก็จะสามารถเข้าไปดูรหัส่ผานในเว็บบราวเซอร์ที่บันทึกเอาไว้ได้ ซึ่งวิธีนี้เราจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าถูกขโมยรหัสผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นกรอกรหัสผ่านใหม่ทุกครั้งด้วยมือเราดีกว่าครับ

6. เจาะผ่านช่องโหว่ของ Security Question ของ Facebook

หากเราตั้งคำถามเพื่อความปลอดภัย หรือ Security Question ในการล็อกอินเข้า Facebook ผู้ใช้จะสามารถกดลืมรหัสผ่าน จากนั้นกรอกที่อยู่อีเมลที่ต้องการรับคำถามเพื่อความปลอดภัย ใส่อีเมลอื่นใดก็ได้  Facebook ก็จะส่งคำถามเพื่อความปลอดภัยไปทางอีเมลนั้น ซึ่งแน่นอนคนที่ไม่ใช่เจ้าของบัญชีก็จะตอบคำถามไม่ได้ เมื่อเขาตอบผิด 3 ครั้ง ทาง Facebook ก็ใจดีเกินเหตุ ห่วงว่าเจ้าของบัญชีจะเข้าใช้บัญชีไม่ได้ จึงมีแผนสำรอง นั่นคือ ส่งรหัสความปลอดภัยให้เพื่อนเรา 3 คน(อันนี้ Hacker9 ไม่ได้บอกชัดเจนว่าเพื่อน 3 คนนี้เราเลือกส่งหรือส่งแบบสุ่ม) แล้วเราก็โทรหรือติดต่อเพื่อนทั้ง 3 คนนี้ เพื่อขอรหัสความปลอดภัยมากรอกให้ถูกต้อง นี่หละครับช่องโหว่ที่ผู้ไม่ประสงค์ดีจะแอบใช้วิธีการนี้ได้ เพียงเขาทำแบบนี้ เขาก็อาจรู้จักเพื่อนของเราทั้ง 3 คนที่ได้รับรหัส เขาก็เพียงต่อต่อขอรหัสความปลอดภัย โดยอ้างเหตุผลที่เข้าท่าสักอย่าง เท่านี้เขาก็จะยึดบัญชี Facebook ของเราได้แล้ว แต่ว่าก็มีล็อคตัวสุดท้ายเอาไว้ช่วยคนที่ถูกแฮกบัญชีอยู่ครับ นั่นคือ บัญชีที่ผ่านกระบวนการนี้จะถูกระงับใช้ 24 ชั่วโมง ซึ่งช่วงเวลานี้หละที่เราจะสามารถดำเนินการอะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะฝากเพื่อนประกาศว่าบัญชีถูกแฮกให้คนอื่น ๆ ระวังว่าจะถูกหลอก ขอความช่วยเหลือจาก Facebook หรือแจ้งความได้

Facebook_Security_Question

ช่องโหว่เรื่องนี้แก้ได้โดย เราอย่าไปตั้งคำถามเพื่อความปลอดภัยครับ ให้เลือกวิธีอื่นแทน เช่น ส่งรหัสผ่านเข้าเบอร์มือถือ หรือโทรแจ้งรหัสความปลอดภัย เป็นต้น

facebook-hacking

คำแนะนำอื่น ๆ เพื่อป้องการการถูกแฮก ก็คือ ไม่รับเพื่อนแปลกหน้า เวลาไปเที่ยวหรือพักร้อยไม่ควรประกาศ เพราะเราจะตกเป็นเป้าหมายได้ ควรเช็คอีเมลอยู่เสมอเพราะอาจมีอีเมลจาก Facebook มาแจ้งเกี่ยวกับการพยายามล็อกอินของคนอื่นให้เราทราบ และเพื่อให้มั่นใจมากขึ้น ทาง Hacker9 ยังย้ำอีกว่า ปัจจุบันยังไม่มีโปรแกรมใด ๆ เลยที่แฮกเข้าบัญชี Facebook ได้เอง ดังนั้นอยากตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง เช่น ได้รับอีเมลพร้อมลิงค์ให้เราไปเปลี่ยนรหัสผ่าน เป็นต้น อีกอย่างคือระวังอีเมลที่พยายามใช้ชื่อให้เหมือนกับส่งมาจาก Facebook จริง ๆ เช่น [email protected] ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นอีเมลที่ส่งมาหลอกให้เราคลิกเข้าไปกรอกรหัสผ่านด้วยมือของเราเอง จดจำเอาไว้ว่าการได้มาซึ่งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเข้า Facebook ล้วนมาจากการหลอกลวงในลักษณะนี้ทั้งนั้น มันไม่มีโปรแกรมอัจฉริยะที่จะแอบเข้าบัญชีเราแบบที่คนระมัดระวังอย่างเราจะไม่รู้ตัวหรอกครับ

account facebook Hacker ถูกแฮก
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
ดร.อเสข ขันธวิชัย
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Miscellaneous

Facebook ปรับนโยบายใหม่! วิดีโอ Live จะถูกลบอัตโนมัติภายใน 30 วัน เริ่ม 19 ก.พ. 2025

19 กุมภาพันธ์ 2025
Miscellaneous

กดยืนยันก่อน Facebook ปิดกั้นการมองเห็น “ว่าแฟนเพจคุณไม่ได้มีไว้สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี”

14 กุมภาพันธ์ 2025
Android

พบหลักฐานที่อ้างว่า Facebook, Google, และ Amazon ใช้บริการดักฟังโทรศัพท์เพื่อยิงโฆษณา

6 กันยายน 2024
Miscellaneous

Facebook Messenger เพิ่มฟังก์ชั่นเพียบ ส่งภาพคมชัด HD ให้กันได้แล้ว!

10 เมษายน 2024
Miscellaneous

เอกสารชี้ Facebook ให้ Netflix ส่องข้อความผู้ใช้งานในการพัฒนาโฆษณา

4 เมษายน 2024
Miscellaneous

หน่วยงานของเกาหลีใต้อาจคว่ำบาตร Facebook จากการฉ้อโกงภายในแพลตฟอร์ม

8 มีนาคม 2024
What Score?
8.5
Devices

รีวิว Infinix Note 50 Pro+ 5G+ สมาร์ตโฟนสุดคุ้ม สเปคแรง! ชาร์จไว 100W กล้อง 50MP OIS ซูม 100X

By Noppinij1 พฤษภาคม 2025252 Views
7.7
Devices

รีวิว vivo V50 Lite และ vivo Watch GT สมาร์ตโฟน+สมาร์ตวอทช์ “คู่หูแบตอึด” บางเบา จอคมชัด จัดเต็มเกินราคา

By Noppinij22 เมษายน 2025221 Views
8.9
Devices

รีวิว OPPO Find N5 สมาร์ตโฟนจอพับบางที่สุดในโลก แข็งแรง เทคโนโลยีล้ำ! พร้อมสำหรับการทำงาน และกล้องระดับโปร

By Noppinij8 เมษายน 2025295 Views
7.2
Devices

รีวิว vivo Y39 5G จัดเต็ม เครื่องสวยสายลุย! “เอาอยู่ ทุกความท้าทาย”

By Noppinij3 เมษายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Alldocube iPlay60 Pad Pro แท็บเล็ตลูกครึ่งโน๊ตบุ๊ค หน้าจอ 12.1 นิ้ว แบต 10000mAh สเปกคุ้มๆ ราคาไม่ถึงเก้าพัน

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Xbox & PC World

เปิดตัวแล้ว! Five Night At Freddy X Dead By Daylight ฆาตกรใหม่ แมพใหม่!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya10 พฤษภาคม 2025

ผู้ใช้ Steam เรียกร้องปุ่ม “อัปเดตทั้งหมด” เพื่อความสะดวกในการจัดการเกม

10 พฤษภาคม 2025

Helio ไปต่อ! MediaTeK เปิดตัว Helio G200: รีแบรนด์ G100 พร้อมแต่งหน้าใหม่เล็กน้อย

10 พฤษภาคม 2025

Huawei เปิดตัวโน้ตบุ๊ก HarmonyOS แทน Windows อย่างเป็นทางการ

10 พฤษภาคม 2025

Galaxy S25 Edge จะมาพร้อมกระจกกันรอยใหม่ Corning Gorilla Glass Ceramic 2 เป็นรุ่นแรกของโลก

9 พฤษภาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Xbox & PC World

เปิดตัวแล้ว! Five Night At Freddy X Dead By Daylight ฆาตกรใหม่ แมพใหม่!

10 พฤษภาคม 2025
Xbox & PC World

ผู้ใช้ Steam เรียกร้องปุ่ม “อัปเดตทั้งหมด” เพื่อความสะดวกในการจัดการเกม

10 พฤษภาคม 2025
Android

Helio ไปต่อ! MediaTeK เปิดตัว Helio G200: รีแบรนด์ G100 พร้อมแต่งหน้าใหม่เล็กน้อย

10 พฤษภาคม 2025
WINDOWS

Huawei เปิดตัวโน้ตบุ๊ก HarmonyOS แทน Windows อย่างเป็นทางการ

10 พฤษภาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo