Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Android » ความใกล้เคียงกัน Huawei Harmony OS กับระบบใหม่ Google Fuchsia ที่จะมาแทนที่ Android
Android

ความใกล้เคียงกัน Huawei Harmony OS กับระบบใหม่ Google Fuchsia ที่จะมาแทนที่ Android

12 กันยายน 20202 Mins Read

Fuchsia ของ Google และ HarmonyOS ของ Huawei ทั้งคู่มีการถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง และผู้ที่ติดตามข่าวของสมาร์ทโฟนน่าจะเคยได้ยินกันมาบ้าง ทั้งสองระบบใหม่นี้มีความคล้ายกันอยู่หลายประเด็นเลย

จากคำยืนยันล่าสุดของ Huawei เกี่ยวกับ HarmonyOS ที่จะเริ่มเข้ามาแทนที่ Android ในปีหน้า โดยสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบ Harmony ได้นั้น จะมีทั้งสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่และสมาร์ทโฟนรุ่นเก่าที่รองรับเทคโนโลยีและสามารถอัพเดทเป็น EMUI 11 ก็จะมีโอกาสได้รับอัพเกรดข้ามระบบไปเป็น Harmony ได้ด้วยเช่นกัน

สื่อนอกมองว่า นี่เหมือนจะบอกเป็นนัยถึงการแทนที่ Android ด้วยระบบอื่นที่ใช้ฐานเทคโนโลยีใกล้เคียงกันนั้นสามารถทำได้ และข่าวการมาของ Fuchsia ระบบใหม่ของ Google ก็พอดิบพอดีเหลือเกิน ที่จะเชื่อกันได้ว่า Google อาจจะอนุญาตให้เจ้าของโทรศัพท์ Android สามารถอัปเกรดเป็นซอฟต์แวร์ไปยัง OS รุ่นต่อไปโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อใหม่ได้ด้วยเช่นกัน

พูดถึงจุดกำเนิดของ HarmonyOS ก้นก่อน อาจอ้างอิงได้ว่ามันเกิดจากการที่รัฐบาลสหรัฐฯสั่งห้ามบริษัทภายในประเทศทำการค้ากับบริษัท Huawei นั้นรวมถึงบริษัท Google ที่เป็นเจ้าของระบบ Android ด้วยนั้นเองครับ ซึ่ง Huawei ก็เป็นหนึ่งในผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่ใช้ Android เป็นระบบปฏิบัติการพื้นฐาน แต่ด้วยอำนาจของรัฐบาลสหรัฐ ทำให้ Google จำเป็นต้องถอนการให้บริการต่างๆ ของตน ออกจาผลิตภัณฑ์ของ Huawei ทำให้สมาร์ทโฟนของ Huawei ไม่สามารถใช้ GMS (Google Mobile Service) บนสมาร์ทโฟนของตนได้ ส่งผลให้เกิดการขาดการใช้งานพื้นฐานของระบบเช่นการไม่มีแอพ Google Search, แอพ Gmail, แอพ Google Maps หรือแอพพลิเคชั่น YouTube

Advertisement
Advertisement
Advertisement

ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน Huawei ที่ต้องการใช้งานสิ่งเหล่านี้จะต้องดาวน์โหลดแอพหรือบริการทางเลือกมาใช้ทดแทน สุดท้ายจึงเกิด Huawei Mobile Services (HMS) ที่พัฒนาขึ้นมาใช้บนระบบ Android แต่มันก็เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาใหญ่ชั่วคราวของ Huawei เพื่อที่จะก้าวไปในขั้นที่ใหญ่กว่านั้นเองครับ

และในขั้นต่อไป Huawei ก็คือการเริ่มแทนที่ระบบ Android ในปีหน้าด้วย OS ของเขาเอง นั้นคือ HarmonyOS 2.0 โดยมันจะพร้อมใช้สำหรับสมาร์ทโฟนในปลายปี 2020 ด้วยสิ่งใหม่นี้ถ้าเรามองอีกมุมของผู้เสียหาย หนึ่งในนั่นก็คงเป็น Google ไม่ผิดอย่างแน่นอน เพราะ Huawei เป็นบริษัทยักษ์ ที่มียอดขายหลายร้อยล้านเครื่องต่อปีที่เคยใช้บริการ Google อยู่นอกประเทศจีนก่อนการแบน แต่เมื่อ HarmonyOS กลายเป็นระบบปฏิบัติการเริ่มต้นสำหรับ Huawei เชื่อว่าด้วยจำนวนยอดผู้ใช้ที่ไม่ธรรมดา ทาง Google นอกจากจะเสียรายได้แล้ว อาจจะต้องยอมเสียเงินโฆษณาจำนวนหนึ่งเพื่อให้มีการเข้าถึงจากโทรศัพท์เหล่านั้นอีกด้วยครับ

โดยสิ่งที่น่าสนใจและความคล้ายกันกับระบบใหม่ Fuchsia ของ Google อยู่ตรงนี้ เพราะทาง Google ก็กำลังพัฒนาระบบใหม่ที่จะมาดำเนินการแทนที่ Android ด้วยเช่นกัน

แฟน ๆ Android หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับชื่อ Fuchsia นี้ดีอยู่แล้ว เราเห็นข่าวมันเริ่มลือมานานหลายปีก่อนที่ Google จะยืนยันการมีอยู่จริงของมัน

โดยจุดกำเนิดของ Fuchsia ต่างจาก Harmony เพราะมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นระบบปฏิบัติการใหม่ที่ดีกว่า และจะแก้ไขสิ่งที่เลวร้ายที่สุดเกี่ยวกับ Android ในรุ่นปัจจุบัน

เกาะประเด็น:  เปิดตัว Destiny: Rising เกมแนว RPG Shooter เปิดให้บริการ 28 สิงหาคมนี้ บน iOS และ Android

ระบบ Fuchsia จะมีรูปแบบการแยกส่วนของระบบ ที่จะทำให้ Google มีอิสระในการอัปเดต OS เช่นเดียวกับที่ Apple ใช้กับ iOS ประการที่สองระบบปฏิบัติการจะทำงานบนอุปกรณ์ได้หลายประเภทโดยไม่คำนึงถึงขนาดของหน้าจอ หรือแม้แต่ว่าอุปกรณ์นั้นจะมีหน้าจออญุ่ด้วยหรือไม่ก็ตาม สิ่งนี้จะช่วยให้ Google สามารถนำเสนอประสบการณ์การใช้งานบนอุปกรณ์ขนาดหน้าจอที่แตกต่างเช่นแท็บเล็ตหรือแล็ปท็อปกับระบบ Fuchsia ได้ดีกว่า Android และ ChromeOS ที่เขาเคยพัฒนามา

นอกจากนี้มันจะยังช่วยให้นักพัฒนาสามารถเขียนโค้ดแอปสำหรับใช้งานบนหลายแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้นผ่าน Flutter SDK ซึ่งทาง Google ได้ปล่อยมันออกมาแล้ว และ Fuchsia ยังมีคุณลักษณะด้านความเป็นส่วนตัวที่ดีขึ้น ระบบปลอดภัยมากขึ้น แก้ปัญหาใหญ่หลายอย่างที่เคยมีใน Android ไปจนหมดสิ้น

นั่นคือสิ่งที่เราได้รู้จากรายงานของ Fuchsia มาก่อนหน้านี้ แม้ปัจจุบันยังไม่มีการรับประกันว่าแผนของ Google จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่ชัดเจนคือ Google ไม่ได้หยุดพัฒนา Fuchsia และเชื่อว่าแอป Android ทั้งหมดที่มีอยู่จะทำงานได้บนแพลตฟอร์ม Fuchsia ดั้งนั้นการเปลี่ยนไปใช้ระบบปฏิบัติการใหม่นี้ไม่น่าจะเป็นปัญหาในด้านแอพพลิเคชั้่น

ทั้งสอง OS ถูกพูดขึ้นมาในเวลาไม่ห่างกันนัก แง่มุมที่พัฒนาอาจจะต่างกัน แต่จุดประสงค์คือการมาแทนที่ OS Android เช่นเดียวกัน

และการประกาศของ Huawei ว่าสมาร์ทโฟนระบบ Android จะสามารถข้ามไปใช้ระบบ HarmonyOS ได้โดยไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่ ทำให้เกิดการผูกโยงไปถึง Fuchsia ที่ใครอาจไม่เคยพิจารณามาก่อน ว่าเมื่อ Fuchsia เปิดตัวก็อาจจะทำได้เช่นกัน

เพราะโทรศัพท์มือถือ Android ที่มีอยู่ตลาด มีหลานรุ่นได้รับรับการันตีการอัพเดท OS อย่างน้อยสามปีเช่น Galaxy S หรือ Pixel แล้วถ้า Fuchsia เปิดตัว พวกเขาจะยังได้รับการอัปเดต Android เป็นเวลาสามปีอยู่หรือไม่?

เว้นแต่ Google จะวางแผนสนับสนุนการเปลี่ยนระบบจาก Android ไปเป็น Fuchsia ในโทรศัพท์มือถือบางรุ่นได้ ด้วยวิธีนี้ลูกค้าจะไม่ต้องกังวลว่าโทรศัพท์ราคาแพงของเขาจะล้าสมัยเมื่อ Fuchsia เปิดตัว

มองไปที่คุณสมบัติของระบบ HarmonyOS 2.0 มันคล้ายกันกับ Fuchsia มากเลยครับ

HarmonyOS จะสามารถทำงานบนอุปกรณ์หลายประเภทได้โดยจะปรับให้เข้ากับขนาดหน้าจอโดยอัตโนมัติเพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่เหมือนๆ กันบนทุกอุปกรณ์เหมือนเช่น Fuchsia

HarmonyOS จะรองรับอุปกรณ์ที่หลากหลายตั้งแต่สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตไปจนถึงอุปกรณ์สวมใส่ รวมถึงทีวีและระบบภายในรถยนต์ ตัวมันจะปรับให้เข้ากับทุกขนาดหน้าจอและจะเรียกใช้งานชุดแอปเดียวร่วมกันได้ทั้งหมด

Huawei บอกกับ Android Authority ไว้ว่าโทรศัพท์ Huawei ที่ใช้ EMUI 11 จะสามารถอัปเกรดเป็น HarmonyOS ได้หากผู้ใช้ต้องการ มันสมเหตุสมผลมากที่อนุญาตให้มีการอัปเกรด Android-to-Harmony ด้วยเหตุผลเดียวกัน Google ก็ควรต้องรองรับการเปลี่ยนจาก Android ไปเป็น Fuchsia

ลองนึกภาพการซื้อ Huawei P Pro รุ่นใหม่ล่าสุดที่อาจจะยังใช้ Androidโดยมี EMUI และ HMS ของ Huawei มาครอบทับเพื่อการให้บริการ แต่ใครจะซื้อเพียงเพื่อว่าในเวลาอันใกล้จะไม่มี Android เวอร์ชันถัดไปให้อัพเดท ในกรณีนี้จึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีพาธการอัพเกรดไปยัง HarmonyOS พ่วงมาให้ด้วย

สำหรับ HarmonyOS คงเป็นเรื่องใกล้ตัวเราผู้ใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้นทุกวัน เพราะอีกไม่นานแล้วสำหรับการเปิดใช้งานจริง แต่กับ Fuchsia ไม่ต้องรีบตื้นเต้นไปกันนะครับ เพราะจนกว่า Google จะตัดสินใจประกาศก้าวใหญ่อย่างชัดเจน ตอนนี้ก็อยู่กันไปกับ Android และการแก้ไขปัญหาไปทีละเรื่องของ Google กันก่อน แล้วปีหน้าลองชิมลางกับของใหม่ HarmonyOS ในปี 2021 ครับ

Advertisement
Android EMUI Fuchsia Google Harmony OS Huawei
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
Noppinij
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Advertisement
Advertisement

Related Posts

Gaming

เปิดตัว Destiny: Rising เกมแนว RPG Shooter เปิดให้บริการ 28 สิงหาคมนี้ บน iOS และ Android

7 กรกฎาคม 2025
Gaming

เปิดตัว Resident Evil: Survival Unit เกมวางแผนแบบ Real-Time สำหรับ iOS และ Android ปล่อยตัวอย่างแรก 10 กรกฎาคมนี้

7 กรกฎาคม 2025
Android

Google Pixel 10 เผยสเปกเต็ม หน้าจอสว่างขึ้น ใช้ชิป Tensor G5 แต่ลดสเปกกล้องหลักลงกว่ารุ่นเดิม

26 มิถุนายน 2025
Android

Google ซุ่มเตรียมปล่อย Handoff เวอร์ชัน Android ซิงก์ทุกอย่างข้ามอุปกรณ์

24 มิถุนายน 2025
Miscellaneous

Google จับมือ OpenAI ใช้ Google Cloud รองรับ ChatGPT

22 มิถุนายน 2025
Android

ไม่ใช่แค่เตือน Samsung พัฒนาฟีเจอร์เตือนแผ่นดินไหวใหม่ใน One UI ให้ทำได้มากกว่า Android ปกติ

21 มิถุนายน 2025
What Score?
78
Game Review

Review : FATAL FURY: City of the Wolves ฉูดฉาดขึ้น! มันส์ขึ้น! ถูกใจแฟนเกมแน่นอน!

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya2 กรกฎาคม 2025
8.2
Devices

รีวิว Reno14 5G และ Reno14 F 5G ยกระดับ The AI Portrait Expert ถ่ายแฟลชสวยคม ฝาหลังใหม่! ดีไซน์หางปลาสุดล้ำ

By Noppinij1 กรกฎาคม 2025
7.5
Accessories

รีวิว Xiaomi Smart Band 10 ดีไซน์ใหม่ ฟีเจอร์แน่น ใช้งานคุ้มเกินราคา

By Noppinij28 มิถุนายน 2025
90
Game Review

Review : Death Stranding 2 เข้าใจง่ายขึ้น แต่ยังเก็บหัวใจเดิมไว้อย่างครบถ้วน

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya23 มิถุนายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Sony WH-1000XM6 หูฟังตัดเสียงรบกวนที่แม่นยำที่สุดของโซนี่! ดียังไง? มีอะไรใหม่?

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Gaming

เปิดตัว Destiny: Rising เกมแนว RPG Shooter เปิดให้บริการ 28 สิงหาคมนี้ บน iOS และ Android

By HallZy7 กรกฎาคม 2025

เปิดตัว Resident Evil: Survival Unit เกมวางแผนแบบ Real-Time สำหรับ iOS และ Android ปล่อยตัวอย่างแรก 10 กรกฎาคมนี้

7 กรกฎาคม 2025

iPhone 17 Pro Max จะมาพร้อมกับแบตเตอรี่ขนาด 5,000 mAh มากสุดตั้งแต่ Apple เคยทำมา

7 กรกฎาคม 2025

Ratatan เกมริทึ่มใหม่จากผู้สร้าง Patapon เลื่อนเปิด Early Access หลังฟีดแบ็กไม่ค่อยดี

6 กรกฎาคม 2025

Galaxy Z Flip 7 ภาพหลุดโชว์จอ Cover เต็มขนาด edge‑to‑edge

6 กรกฎาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Gaming

เปิดตัว Destiny: Rising เกมแนว RPG Shooter เปิดให้บริการ 28 สิงหาคมนี้ บน iOS และ Android

7 กรกฎาคม 2025
Gaming

เปิดตัว Resident Evil: Survival Unit เกมวางแผนแบบ Real-Time สำหรับ iOS และ Android ปล่อยตัวอย่างแรก 10 กรกฎาคมนี้

7 กรกฎาคม 2025
Apple

iPhone 17 Pro Max จะมาพร้อมกับแบตเตอรี่ขนาด 5,000 mAh มากสุดตั้งแต่ Apple เคยทำมา

7 กรกฎาคม 2025
Xbox & PC World

Ratatan เกมริทึ่มใหม่จากผู้สร้าง Patapon เลื่อนเปิด Early Access หลังฟีดแบ็กไม่ค่อยดี

6 กรกฎาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo