Close Menu
  • Home
  • Android
    • News
    • Tips
  • Apple
    • iPad
      • News
      • Tips
    • iPhone
      • News
      • Tips
  • WINDOWS
    • News
    • Tips
  • Gaming
    • Game Review
    • PlayStation
    • Nintendo
    • Xbox & PC
    • Mobile
  • Gadget Reviews
    • Accessories
    • Devices
  • Wearable
  • EV Car
  • Miscellaneous
    • News
    • Tips
  • Tips and Tricks
  • Video
  • Cooky Policies
  • ติดต่อโฆษณา
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
  • Home
  • Android
    • Tips & Tricks
  • Apple
    • Tips & Tricks
  • Windows
    • Tips & Tricks
  • Gaming
    • Game Review
    • In Spotlight
    • PlayStation
    • Xbox & PC
    • Nintendo
    • Mobile Games
  • Reviews
    • Mobiles & Tablets
    • Game Review
    • Accessories
  • EV Car
  • Miscellaneous
แอพดิสคัสแอพดิสคัส
คุณกำลังอ่าน :Home » Apple » iPhone Updates » Tips » จับเข่ามานั่งเคลียร์: ระบบแผนที่อย่าง Google Maps, Here Maps หรือ Apple Maps มันใช้วิธีอะไร? มาเลือกเส้นทางให้กับเรากันแน่
Apple

จับเข่ามานั่งเคลียร์: ระบบแผนที่อย่าง Google Maps, Here Maps หรือ Apple Maps มันใช้วิธีอะไร? มาเลือกเส้นทางให้กับเรากันแน่

6 กุมภาพันธ์ 2015Updated:6 กุมภาพันธ์ 20153 Mins Read

 

 เคยสงสัยกันไหมครับ? ว่าเวลาเราต้องการเดินทางจากตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งไปยังจุดหมายปลายทาง เราค้นหาเส้นทางจากระบบแผนที่ไม่ว่าจะเป็น Google Maps, Here Maps หรือ Apple Maps แล้วมันก็คำนวณเส้นทาง สุดท้ายก็เลือกหรือเสนอเส้นทางให้กับเรา ซึ่งเราเชื่อว่ามันเป็นเส้นทางที่ดีที่สุด … มันจริงไหมนะ? และมันทำได้อย่างไร?

DSCF1673

 

Advertisement
Advertisement
Advertisement

หลายคนก็คงตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า “มันก็ใช้โปรแกรมคำนวณสิ!!” เอ่อ…. คือ มันก็ใช่นะ แต่มันแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรจากคำตอบนั้นเลย หากเราต้องการประโยชน์หรือความรู้จากมัน เราก็ต้องคิดไปให้ลึกและไกลกว่านั้นครับ นั่นคือ โปรแกรมที่ว่ามันใช้อะไรมาคำนวณหรือตัดสินใจ? บทความนี้มีคำตอบให้ครับ และเราสามารถคำนวณมือ โดยไม่อาศัยโปรแกรมได้ด้วยนะครับ มาลองกันดูดีกว่า …

 

ในบทความนี้

  • การเปลี่ยนระบบแผนที่ให้กลายเป็นโมเดลปัญหา
  • การหาเส้นทางที่สั้นที่สุด?
  • อัลกอริทึมของไดก์สตรา(Dijkstra’s algorithm)
  • ระบบมด (Ant System)

การเปลี่ยนระบบแผนที่ให้กลายเป็นโมเดลปัญหา

สำหรับการหาเส้นทางที่สั้นที่สุดนั้น วิธีการที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือ การสร้างแบบจำลองเส้นทางหรือแผนที่เป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า “กราฟ(Graph)” ซึ่งเจ้ากราฟนี้ประกอบด้วย จุด(Vertex) และ เส้น(Edge) ซึ่ง จุด จะใช้แทนทางแยก สถานที่ หรือตำแหน่งอ้างอิงอื่นๆ ส่วน เส้น จะใช้แทนถนน จากนั้นค่อยนำกราฟที่เป็นตัวแทนระบบแผนที่ไปคำนวณหาเส้นทางที่สั้นที่สุด

 

ตัวอย่างกราฟอย่างง่าย

Algorithm of maps (6)

รูปภาพ 1: กราฟที่มี 2 จุด และ 1 เส้น

Algorithm of maps (2)

รูปภาพ 2: กราฟที่มี 4 จุด และ 3 เส้น

Algorithm of maps (1)

รูปภาพ 3: กราฟที่เป็น Cycle

 

ตัวอย่างข้างต้นเป็นกราฟที่ง่ายที่สุด ที่เขาเรียกว่า Simple Graphs แต่เมื่อเปลี่ยนระบบแผนที่มาเป็นกราฟ เราจะได้กราฟที่มีความซับซ้อนมากขึ้น มีทั้งกราฟที่เป็นลูป(แทนถนนที่วนมาที่จุดเดิมโดยไม่ผ่านแยกใดๆ) Multiple Graph(จุดสองจุดมีถนนเชื่อมกันมากกว่า 1 เส้น) กราฟระบุเส้นทางเข้ามาด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นกราฟทางเดียวหรือกราฟตรง(แทนถนนที่เป็นวันเวย์) มันทำให้โครงสร้างใหญ่และมีความซับซ้อนมากขึ้น

 

inmap

 

 

รูปภาพ 4: ตัวอย่างกราฟที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

 

หมายเหตุ: นักคอมพิวเตอร์หรือกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศจะเรียก จุด ว่า โหนด(Node) และเรียก เส้น ว่า อาร์ค(Arc)

 

การหาเส้นทางที่สั้นที่สุด?

เมื่อเราต้องการหาเส้นทางที่สั้นที่สุด บางโมเดลของปัญหาอาจสนใจแค่ว่า เราจะผ่านจุดหรือแยกให้น้อยที่สุดได้อย่างไร? ตัวอย่างเช่น

Algorithm of maps (3)

 

รูปภาพ 5: เส้นทางจาก A ไป C ต้องผ่าน B เท่านั้น(ไม่มีเส้นทางอื่น)

Algorithm of maps (4)

รูปภาพ 6: กราฟที่ระบุค่าถ่างน้ำหนักเข้ามาด้วย เส้นทางจาก A ไป C ที่สั้นที่สุดระยะทางเป็น 4

Algorithm of maps (5)

รูปภาพ 7: กราฟที่ระบุค่าถ่างน้ำหนักเข้ามาด้วย เส้นทางจาก A ไป E ที่สั้นที่สุดต้องผ่าน B ระยะทางเป็น 12

 

แต่เมื่อนำมาโมเดลปัญหามาใช้ในชีวิตจริงเราจะพบว่า การหาเส้นทางที่ดีหรือสั้นที่สุดนั้น มันไม่ได้นับที่จำนวนแยกเลย เชื่อว่าเพื่อนๆ คงมองออกว่าสิ่งที่ทำให้เราเสียเวลาบนท้องถนนมากที่สุด ก็คือ รถติด + ระยะทาง + ด่าน + อุบัติเหตุ และอื่นๆ อีกมากมาย (เราเรียกว่าค่าถ่วงน้ำหนัก) ดังนั้น การแก้ปัญหาที่แท้จริง เราจึงได้ทำการเพิ่มค่าถ่วงน้ำหนักให้กับเส้นทางของกราฟ ซึ่งค่าถ่วงน้ำหนักตัวนี้แล้วแต่ว่าเจ้าไหนจะเอาอะไรมาคิดบ้าง? ซึ่งมันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบแผนที่นั่นเอง นี่ก็เป็นตัวชี้วัดอีกอย่างหนึ่งว่าใครที่เก่งในการจัดการค่าถ่วงน้ำหนักก็จะทำให้ระบบแผนที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

 

จากนั้นเมื่อเราแทนปัญหาด้วย จุด เส้น ค่าถ่วงน้ำหนัก และระบุทิศทางของเส้นทางเรียบร้อยแล้ว เราก็จะใช้โปรแกรมที่รันด้วยอัลกอริทึมเฉพาะตัวมาหาผลเฉลยหรือเส้นทางที่ดีที่สุดได้ ซึ่งเจ้าอัลกอริทึมตัวนี้ ระบบแผนที่แต่ละเจ้า ทั้ง Google Maps หรือ Here Maps และอื่นๆ จะใช้อัลกอริทึมที่แตกต่างกัน ที่ไม่ยอมเผยความลับให้ใครรู้ได้ง่ายๆ … แต่ว่าโดยทั่วไปแล้ว การหาเส้นทางที่สั้นที่สุดจะนิยมใช้อัลกอริทึมพื้นฐานเดียวกัน นั่นคือ อัลกอริทึมของไดก์สตรา(Dijkstra’s algorithm) แล้วนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้มันตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด หรือ ใส่ค่าถ่วงน้ำหนักที่ครบถ้วนและเหมาะสมก็จะทำให้การคำนวณมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็มีอัลกอริทึมอื่นๆ อีกที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ณ ที่นี้ เราจะนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้รู้จัก 2 อัลกอริทึม ที่สำคัญ ที่แตกต่างกันมาก  และให้ผลเฉลยที่ต่างกันมากเช่นกัน แต่กลับมีความนิยมไม่แพ้กันเลยครับ ได้แก่ อัลกอริทึมของไดก์สตรา(Dijkstra’s algorithm) และ ระบบมด (Ant System)

 

อัลกอริทึมของไดก์สตรา(Dijkstra’s algorithm)

Dijkstra’s algorithm ถูกคิดค้นขึ้นโดยนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวดัตช์นามว่า แอ็ดส์เคอร์ ไดก์สตรา(Edsger Dijkstra) ในปี 1959 เพื่อแก้ไขปัญหาการหาเส้นทางที่สั้นที่สุดจากจุดหนึ่งใดๆ สำหรับกราฟที่มีความยาวของเส้นเชื่อมไม่เป็นลบ สำหรับขั้นตอนวิธี Dijkstra’s Algorithm นี้จะหาระยะทางสั้นที่สุดจากจุดหนึ่งไปยังจุดใด ๆ ในกราฟโดยจะหาเส้นทางที่สั้นที่สุดไปทีละจุดยอดเรื่อยๆ จนครบตามที่ต้องการ

 

S__1130535

 

Dijkstra’s algorithm

กำหนดให้จุด จุดหนึ่งภายในกราฟเป็นจุดเริ่มต้น (initial node) และกำหนดให้ “ระยะทางของจุด X” (distance of node X) หมายถึงระยะทางจากจุดเริ่มต้นไปยังจุด X ใด โดย Dijkstra’s algorithm จะกำหนดค่าระยะทางเริ่มต้นไว้บางจุดและจะเพิ่มค่าไปทีละขั้นตอน

  1. กำหนดให้ทุกจุดมีค่าระยะทางตามเส้นเชื่อม โดยให้จุดเริ่มต้นมีค่าเป็นศูนย์ และจุดอื่นๆมีค่าเป็นอนันต์
  2. ทำเครื่องหมายทุกจุด ยกเว้นจุดเริ่มต้นว่ายังไม่ไปเยือน (unvisited) ตั้งให้จุดเริ่มต้นเป็นจุดปัจจุบัน
    สร้างเซตของจุดที่ยังไม่ไปเยือนขึ้นมาเซตหนึ่งซึ่งประกอบด้วยจุดทุกจุด ยกเว้นจุดเริ่มต้น
  3. จากจุดปัจจุบัน พิจารณาจุดข้างเคียงตามเส้นเชื่อมทุกจุดที่ยังไม่ไปเยือน และคำนวณระยะทางต่อเนื่องของเส้นเชื่อม ตัวอย่างเช่น ถ้าจุดปัจจุบันคือ A มีระยะทางของจุดเป็น 6 และเส้นเชื่อมที่ต่อจาก A ไปยังจุดข้างเคียง B มีระยะทางเป็น 2 ดังนั้นระยะทางของจุด B (โดยผ่าน A) จึงเท่ากับ 6+2=8 เป็นต้น ถ้าระยะทางที่คำนวณได้มีค่าน้อยกว่าค่าระยะทางที่บันทึกอยู่ของจุดนั้น ให้เขียนทับค่าระยะทางของจุดดังกล่าว แม้ว่าจุดข้างเคียงได้ถูกพิจารณาแล้ว แต่ก็ยังไม่ทำเครื่องหมายว่าไปเยือนแล้ว (visited) ในขั้นตอนนี้ จุดข้างเคียงจะยังคงอยู่ในเซตของจุดที่ยังไม่ไปเยือนเช่นเดิม
  4. เมื่อพิจารณาจุดข้างเคียงจากจุดปัจจุบันครบทุกจุดแล้ว ทำเครื่องหมายที่จุดปัจจุบันว่าไปเยือนแล้ว (visited) และนำออกจากเซตของจุดที่ยังไม่ไปเยือน โดยจุดที่ไปเยือนแล้วนี้จะไม่ถูกนำมาตรวจสอบอีก ค่าระยะทางที่บันทึกอยู่จะสิ้นสุดและมีค่าน้อยที่สุด
  5. จุดปัจจุบันตัวถัดไปที่ถูกเลือกจะเป็นจุดที่มีค่าระยะทางน้อยสุดในเซตของจุดที่ยังไม่ไปเยือน
  6. ถ้าเซตของจุดที่ยังไม่ไปเยือนว่างแล้วให้หยุดการทำงาน ขั้นตอนวิธีเสร็จสิ้น แต่ถ้าหากไม่ใช่ให้เลือกจุดที่ยังไม่ไปเยือนที่มีค่าระยะทางน้อยสุดเป็นจุดปัจจุบัน แล้ววนกลับไปทำขั้นตอนที่ 3

Dijkstras-algorithm

 

รูปภาพ 8: รูปภาพแสดงการใช้ Dijkstra’s algorithm

โค๊ดภาษา C++ สำหรับ  Dijkstra’s algorithm(คลิกที่รูป)

 

1454566_10204685481430520_3886840674191750252_n

 

 

ระบบมด (Ant System)

อัลกอริทึมของระบบมด(Ant Colony Algorithm)  เป็นอัลกอริทึมที่จำลองหรือได้แนวคิดมาจากการเดินหาอาหารของมด โดยมดจะอาศัยสารเคมีที่เรียกวาฟีโรโมน (Pheromone) ที่มดแต่ละตัวก่อนหน้านี้ปล่อยลงบนพื้นและเมื่อมดตัวหลังเดินตามมาก็จะปรับปรุงฟีโรโมนลงไปบนพื้นอีก ซึ่งเหตุนี้เองฟีโรโมนจึงเป็นข้อมูลที่สําคัญในการหาเส้นทางจากแหล่งอาหารกลับไปยังรัง ซึ่งอธิบายพฤติกรรมของมดโดยใช้ข้อมูเรื่องปริมาณของฟีโรโมนในการหาเส้นทางเดินจากรังไปยังแหล่งอาหาร

Algorithm of maps (1)

 

 รูปภาพ 9: รูปภาพแสดงวิธีการเดินของมด

 

จุดเด่นของระบบมด ก็คือ เป็นขั้นตอนวิธีที่สามารถหาผลเฉลยได้มากกว่า 1คําตอบ ทําให้ได้เส้นทางที่หลากหลาย เมื่อเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดเกิดมีปัญหา เช่น เนื่องจากเส้นทางชำรุด หรือการจราจรหนาแน่นจะสามารถรู้ว่าเส้นทางที่เหมาะสมเส้นรองต่อไปคือเส้นทางใด โดยที่ไม่ต้องทำาการคำนวณหาอีกครั้ง

S__1130534

 

ข้อแตกต่างของ อัลกอริทึมของไดก์สตรา(Dijkstra’s algorithm) และ ระบบมด (Ant System) ก็คือ อัลกอริทึมของไดก์สตรา จะได้เพียงคำตอบเดียว แต่ได้เส้นทางที่สั้นที่สุด ส่วนระบบมด จะได้หลายคำตอบ แต่อาจไม่ใช่เส้นทางที่สั้นที่สุด นี่คือตัวอย่างการทดลองของอัลกอริทึมของไดก์สตรา(Dijkstra’s algorithm) และ ระบบมด (Ant System) บนระบบแผนที่จำลอง โดย ราชการ ปรึกษาดี และ สุนันฑา สดสี ในบทความเรื่อง การเปรียบเทียบหาเส้นทางที่เหมาะสมโดยวิธีระบบมดและ Dijkstra’s Algorithm แสดงผลการทดลองดังกราฟ

Algorithm of maps (2)

  รูปภาพ 10: รูปภาพแสดงผลการเปรียบเทียบ อัลกอริทึมของไดก์สตรา(Dijkstra’s algorithm) และ ระบบมด (Ant System)

 

 

สำหรับการนำไปใช้ในระบบแผนที่ทั้ง Google Maps, Here Maps, Apple Maps หรืออื่นๆ นั้นก็จะประยุกต์เอาอัลกอริทึมเหล่านี้นี่หละครับไปใช้ อาจไม่ได้ใช้อัลกอริทึมเดียว อาจมีการปรับแต่ง ปรับแล้วปรับอีก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับแข่งขันในตลาด พวกเราอาจเคยได้ยิน Apple ออกมาบอกว่า Apple Maps ยิ่งมีคนใช้เยอะก็ยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นแสดงว่า อัลกอริทึมของ Apple Maps อาจทำงานบนพื้นฐานวิธีระบบมดก็เป็นได้ ส่วน Google Maps ที่เราเคยค้นหาเส้นทาง บางทีก็ได้เส้นทางเดียว(Dijkstra’s Algorithm) บางครั้งก็มีเส้นทางสำรองให้เราเลือก(ระบบมด) แสดงว่าอาจมีการผสมผสานทั้งสองอัลกอริทึมก็เป็นได้ และแผนที่บางตัวจะมีให้เราติ๊กเลือกได้เลยว่า ต้องการเส้นทางสำรองหรือไม่ นั่นแปลว่า ถ้าเราไม่ต้องการอาจคำนวจด้วย Dijkstra’s Algorithm แล้วได้เส้นทางที่ดีที่สุด แต่เมื่อติ๊กเลือกขอเส้นทางสำรองด้วย เราอาจได้เส้นทางที่ไม่ได้ดีที่สุดเลยก็เป็นได้ครับ

2184501121189

 

แหล่งอ้างอิง:

1. http://waynewbishop.com/swift/graphs/dijkstra/

2. http://hastuts.com/dijkstra-shortest-path-algorithm-in-cpp/

3. https://www.youtube.com/watch?v=UG7VmPWkJmA

4. http://202.44.34.144/nccitedoc/admin/nccit_files/NCCIT-2011040226.pdf

5. http://202.44.34.144/nccitedoc/admin/nccit_files/NCCIT-2011080300.pdf

6. https://mikecvet.wordpress.com/2011/01/27/linkedin-maps-your-professional-network-as-a-pretty-graph/

 

 

 

ant system
Google News YouTube
Share. Facebook Twitter LinkedIn Email Copy Link
Avatar photo
ดร.อเสข ขันธวิชัย
  • Website
  • Facebook
  • X (Twitter)

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Advertisement
Advertisement
What Score?
8.5
Devices

รีวิว Infinix Note 50 Pro+ 5G+ สมาร์ตโฟนสุดคุ้ม สเปคแรง! ชาร์จไว 100W กล้อง 50MP OIS ซูม 100X

By Noppinij1 พฤษภาคม 2025252 Views
7.7
Devices

รีวิว vivo V50 Lite และ vivo Watch GT สมาร์ตโฟน+สมาร์ตวอทช์ “คู่หูแบตอึด” บางเบา จอคมชัด จัดเต็มเกินราคา

By Noppinij22 เมษายน 2025220 Views
8.9
Devices

รีวิว OPPO Find N5 สมาร์ตโฟนจอพับบางที่สุดในโลก แข็งแรง เทคโนโลยีล้ำ! พร้อมสำหรับการทำงาน และกล้องระดับโปร

By Noppinij8 เมษายน 2025294 Views
7.2
Devices

รีวิว vivo Y39 5G จัดเต็ม เครื่องสวยสายลุย! “เอาอยู่ ทุกความท้าทาย”

By Noppinij3 เมษายน 2025

On AppDisqus Channel

รีวิว Alldocube iPlay60 Pad Pro แท็บเล็ตลูกครึ่งโน๊ตบุ๊ค หน้าจอ 12.1 นิ้ว แบต 10000mAh สเปกคุ้มๆ ราคาไม่ถึงเก้าพัน

Follow Us
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
  • TikTok
Latest
Xbox & PC World

ผู้ใช้ Steam เรียกร้องปุ่ม “อัปเดตทั้งหมด” เพื่อความสะดวกในการจัดการเกม

By Teethasade Isarankura Na Ayudhaya10 พฤษภาคม 2025

Helio ไปต่อ! MediaTeK เปิดตัว Helio G200: รีแบรนด์ G100 พร้อมแต่งหน้าใหม่เล็กน้อย

10 พฤษภาคม 2025

Huawei เปิดตัวโน้ตบุ๊ก HarmonyOS แทน Windows อย่างเป็นทางการ

10 พฤษภาคม 2025

Galaxy S25 Edge จะมาพร้อมกระจกกันรอยใหม่ Corning Gorilla Glass Ceramic 2 เป็นรุ่นแรกของโลก

9 พฤษภาคม 2025

Nintendo เตือนผู้ใช้ Nintendo Switch ที่ดัดแปลง อาจถูกแบนหรือเครื่องพังถาวร

9 พฤษภาคม 2025
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Xbox & PC World

ผู้ใช้ Steam เรียกร้องปุ่ม “อัปเดตทั้งหมด” เพื่อความสะดวกในการจัดการเกม

10 พฤษภาคม 2025
Android

Helio ไปต่อ! MediaTeK เปิดตัว Helio G200: รีแบรนด์ G100 พร้อมแต่งหน้าใหม่เล็กน้อย

10 พฤษภาคม 2025
WINDOWS

Huawei เปิดตัวโน้ตบุ๊ก HarmonyOS แทน Windows อย่างเป็นทางการ

10 พฤษภาคม 2025
Android

Galaxy S25 Edge จะมาพร้อมกระจกกันรอยใหม่ Corning Gorilla Glass Ceramic 2 เป็นรุ่นแรกของโลก

9 พฤษภาคม 2025
แอพดิสคัส
Facebook X (Twitter) Instagram YouTube TikTok
  • Home
  • ติดต่อโฆษณา
  • Cookies Policy & Settings
© 2025 APPDISQUS.COM APPDISQUS : A Source You Can Trust.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าคุกกี้อนุญาตทั้งหมด
ตั้งค่าความยินยอม

Privacy Overview

AppDisqus.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งานในขณะที่คุณกำลังอ่านและรับชมคอนเทนต์ต่างๆ ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ โดยในบรรดาคุกกี้เหล่านี้ คุกกี้ประเภทข้อมูลที่จำเป็นนั้นจะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณเองที่ใช้สำหรับการเข้าชมเว็บไซต์เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่าคุกกี้เหล่านี้เป็นคุกกี้ที่จำเป็นเพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ นอกจากนี้เรายังใช้คุกกี้บุคคลที่สามเพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ของคุณมากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้เหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาไว้บนอุปกรณ์ของคุณเท่านั้น และจะจัดเก็บได้ก็ต่อเมื่อคุณได้การอนุญาต ทั้งนี้คุณสามารถจัดการกับการตั้งค่าคุกกี้ของคุณได้เสมอผ่านทางเมนูการตั้งค่านี้

อย่างไรก็ตาม การปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจทำให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานของคุณได้
ข้อมูลจำเป็น
Always Enabled
คุกกี้บางประเภทนั้นจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้งานเพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ครบฟังก์ชั่นกับผู้ใช้งานได้ โดยคุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เราคงเซ็สชั่นการเข้าถึงเว็บไซต์ของคุณเอาไว้ ตลอดจนป้องกันสิ่งต่างๆ ที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ AppDisqus.com ทั้งนี้ คุกกี้ประเภทนี้จะไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คุกกี้ประเภทนี้จะใช้เพื่อให้คุณสามารถเข้าสู่ระบบและคงสถานะการเข้าระบบของคุณบนเว็บเว็บไซต์เราเอาไว้ได้นั่นเอง
CookieDurationDescription
AWSALBCORS7 daysAmazon Web Services ใข้คุกกี้นี้เพื่อเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น load balancing หรือการกระจายโหลดเซิร์ฟเวอร์
cf_use_obpastCloudflare ใช้คุกกี้นี้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพความรวดเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ เพื่อประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชม
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ข้อมูลสถิติ"
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ฟังก์ชั่นการทำงาน"
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "จำเป็น"
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "อื่นๆ"
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsคุกกี้นี้จัดเก็บความยินยอมของผู้ใช้งานให้กับคุกกี้ในหมวดประเภท "ประสิทธิภาพ"
JSESSIONIDsessionคุกกี้ JSESSIONID ถูกใช้โดย New Relic เพื่อเป็นการเก็บไอดีจำเพราะในการเข้าใช้งานของผู้ใช้งานเพื่อให้ New Relic สามารถติดตามและตรวจนับเซ็ตชั่นการเข้าใช้งานเว็บไซต์ได้
viewed_cookie_policy11 monthsคุกกี้นี้ใช้เพื่อเป็นการเก็บความยินยอมในการอนุญาตให้จัดเก็บและใช้งานคุกกี้ของผู้ใช้งาน โดยไม่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวใดๆ ของผู้ใช้งานแม้แต่น้อย
ข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลเพื่อฟังก์ชั่นการทำงานที่อาจไม่ได้จำเป็นที่สุดบนหน้าเว็บไซต์ AppDisqus.com ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชั่นการฝังสื่อประเภทวิดีโอและปุ่มการแชร์บทความไปยังโซเชียลมีเดียต่างๆ บนเว็บไซต์เป็นต้น
ข้อมูลประสิทธิภาพ
คุกกี้ประสิทธิภาพใช้เพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจในประสบการณ์การทำงานของเว็บไซต์ต่อผู้ใช้งาน เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลสถิติ
คุกกี้ประเภทนี้จะจัดเก็บข้อมูลประเภทสถิติ เช่นตัวเลขผู้เข้าชมเว็บไซต์ ตัวเลข UIP หรือผู้ใช้งานที่นับต่อ IP ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ที่ถูกเข้าถึงบ่อยที่สุด ข้อมูลแหล่งที่มาของการเข้าถึง และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เราได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนชี้ให้เห็นว่าเราควรปรับปรุงในเรื่องใดเพื่อประสบการณ์ที่ดีขึ้นของผู้ใช้งาน
CookieDurationDescription
_ga_CE4TLMWX4S2 yearsคุกกี้ถูกติดตั้งโดย Google Analytics เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
_gid1 dayติดตั้งโดย Google Analytics โดย คุกกี้ _gid นี้ใช้สำหรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของผู้เข้าชม ในขณะเดียวกันก็ยังใช้ในการจัดทำสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย โดยข้อมูลที่เก็บนั้นยกตัวอย่างเช่นจำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่ผู้เข้าชมเปิดอ่านโดยไม่เปิดเผยตัวตนของผู้เข้าชม
ข้อมูลเพื่อการโฆษณา
คุกกี้ประเภทโฆษณาจะช่วยให้เราสามารถเผยแพร่โฆษณาที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้เข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น โดยคุกกี้ประเภทนี้จะติดตามการใช้งานในเว็บไซต์ AppDisqus เท่านั้นเพื่อการเผยแพร่โฆษณาได้อย่างตรงความต้องการของผู้ใช้งานต่อไป
CookieDurationDescription
IDE1 year 24 daysคุกกี้จาก Google DoubleClick IDE นี้ติดตั้งโดย Google เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อกำหนดมาตรฐานในการเลือกโฆษณาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้งานมาแสดงบนหน้าเว็บไซต์
test_cookie15 minutesคุกกี้นี้ถูกติดตั้งโดย Doubleclick.net (Google) เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าบราวเซอร์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้งานอยู่รองรับคุกกี้หรือไม่
VISITOR_INFO1_LIVE5 months 27 daysคุกกี้นี้ถูกใช้งานโดย Youtube เพื่อตรวจสอบแบนด์วิดธ์ที่ผู้ใช้งานใช้ในการเปิดดูวิดีโอ เพื่อเป็นการระบุเวอร์ชั่นของตัวเล่นวิดีโอว่าเป็นเวอร์ชั่นใหม่หรือเก่า
YSCsessionคุกกี้ YSC ถูกติดตั้งและใช้งานโดย Youtube โดยใช้เพื่อเป็นการดึงเอาข้อมูลวิดีโอจากเว็บไซต์ Youtube ขึ้นมาแสดงในหน้าที่ดึงเอาวิดีโอนั้นๆ มาแสดง
yt-remote-connected-devicesneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt-remote-device-idneverYoutube ติดตั้งคุกกี้นี้เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลการตั้งค่าการเล่นวิดีโอของ Youtube บนเว็บไซต์นี้เพื่อใช้ในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้เข้าชมเว็บไซต์
yt.innertube::nextIdneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
yt.innertube::requestsneverคุกกี้จาก Youtube ประเภทนี้ใช้สำหรับการสร้างเลขไอดีจำเพาะเพื่อเก็บข้อมูลของวิดีโอที่ผู้เข้าชมเพิ่งรับชมไปในเว็บไซต์นี้
ข้อมูลอื่นๆ
คุกกี้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้มีการระบุหมวดหมู่ประเภทเอาไว้ แต่อาจมีผลต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์
SAVE & ACCEPT
Powered by CookieYes Logo