Advertisement

 

สื่อสังคมออนไลน์ทุกวันนี้สามารถสร้างผลกระทบต่อสังคมได้มหาศาล และเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได้เป็นอย่างดี ซึ่งเมื่อก่อนเราแทบไม่มีปากเสียงหรือที่พึ่งกันเลย ทุกวันนี้หากภาครัฐมีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบเราสามารถโพสลง Facebook เพื่อให้คนช่วยแชร์ช่วยกันตรวจสอบ จนเกิดเป็นกระแสสังคมได้ ด้วยเหตุนี้ Facebook จึงถือว่าเป็นสื่อที่รัฐต้องการควบคุมให้ได้เป็นอย่างมาก แต่ถ้าควบคุมไม่ได้หละ รัฐจะทำอย่างไร?

Advertisement

protest1

 

คำตอบก็เหมือนกันที่ประเทศจีนทำอยู่ นั่นคือ บล็อคไม่ใช้ประชาชนใช้งาน ซึ่งเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้วผ่านมารัฐบาลเวียดนามก็ทำเช่นเดียวกันครับ สาเหตุก็คือต้องการควบคุมการประท้วงออนไลน์ โดยเป็นการประท้วงรัฐบาลที่เพิกเฉยต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมและปล่อยของเสียที่เป็นพิษสู่ชุมชนของโรงงาน Formosa Plastics ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติจากไต้หวัน

Vietnam-fish-die-off-protests

 

การประท้วงจริงเริ่มขึ้นก่อน โดยประชาชนยืนยันว่าทางโรงงานปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำจริง จนทำให้ปลาและสัตว์ในแหล่งน้ำตายเป็นจำนวนมาก มีการรวบรวมและประชาสัมพันธ์การประท้วงผ่าน Facebook และเมื่อรัฐสลายการชุมนุมก็มีการเผยแพร่ภาพการสลายการชุมนุมผ่าน Instagram ด้วย!! ถือเป็นการเพิ่มความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล เกิดการแชร์ วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์ออกไปเป็นวงกว้าง เพื่อทวงถามความเป็นธรรมจากรัฐบาลและความจริงจากโรงงานต้นเหตุ ซึ่งคำตอบที่ได้คือ ปลาและสัตว์น้ำตายเพราะการเจริญเติบโตของสาหร่ายพิษ ยิ่งทำให้ความไม่พอใจแผ่ขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น จนรัฐบาลควบคุมไม่ได้ จึงตัดสินใจบล็อกการเข้าถึง Facebook เอาไว้ก่อน ซึ่งคาดว่าเป็นการบล็อกชั่วคราวเพื่อไม่ให้ประชาชนใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการระดมคนเข้าร่วมการประท้วงและหากมีการประท้วงก็จะเป็นการปิดช่องทางในการแชร์ภาพเหตุการณ์สลายการชุมนุมด้วย
001

 

สื่อหลักที่ติดตามเรื่องนี้ DownDetector ได้คาดว่าการบล็อกครั้งนี้ยุติลงหลังเหตุการณ์ประท้วงสงบลง แต่ปัจจุบันเรายังไม่มีรายงานว่า Facebook กลับมาใช้งานได้แล้วหรือยังนะครับ ซึ่งเราต้องติดตามกันต่อไป

 

ที่มา: digitaltrends

แชร์
Avatar photo

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Exit mobile version