Advertisement

The Nokia Lumia 1020 smartphone as a 41-megapixel photomicroscope

 

Advertisement

สมาร์ทโฟนมีความสำคัญกับเราอย่างไร? มันเป็นตั้งแต่อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารทั้งผ่านการโทรพูดคุย การสนทนาผ่านข้อความในรูปแบบต่างๆ การปฏิสัมพันธ์ผ่านสังคมออนไลน์ ไปจนถึงอุปกรณ์ด้านความบันเทิง การบริหารจัดการงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่การค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ในโลกออนไลน์ ยิ่งนับวันที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น สมาร์ทโฟนก็ยิ่งมีความสามารถและประโยชน์มากขึ้นไปเรื่อยๆ เช่นกัน.. จนบางครั้งเราอาจคาดไม่ถึง ?

 

และนี่คือตัวอย่างของอีกบทบาทหนึ่งของสมาร์ทโฟนที่หันกลับมาตอบแทนให้กับวงการวิทยาศาสตร์ที่สร้างมันขึ้นมา นั่นคือ เป็นอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ในราคาย่อมเยา หาได้ง่าย ใช้งานไม่ยาก ตอบโจทย์ความต้องการของนักศึกษาและวิจัย สิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงก็คือ ใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายภาพจากล้องจุลทรรศน์นั่นเอง ซึ่งก่อนหน้านี้นักวิจัยหรือแพทย์เคยใช้สมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ อยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์เพราะรายละเอียดไม่ครบถ้วน ใช้งานจริงได้ไม่ดีนัก จนกระทั่งโลกได้รู้จักกับ Nokia Lumia 1020 สมาร์ทโฟนที่มาพร้อมกล้องความละเอียดสูง 41 ล้านพิกเซล มันจึงเป็นความหวังไม่น้อยในการเป็นผู้ช่วยเกี่ยวกับเรื่องนี้

 

John P Graff และ Mark Li-cheng Wu นักวิจัยจาก ภาควิชาพยาธิวิทยาและห้องปฏิบัติการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเออร์ไวน์(University of California Irvine) ได้ตีพิมพ์ผลงานที่ใช้ชื่อว่า “The Nokia Lumia 1020 smartphone as a 41-megapixel photomicroscope: Nokia Lumia 1020 สมาร์ทโฟนกล้องความละเอียด 41 ล้านพิกเซลกับการถ่ายภาพจากล้องจุลทรรศน์”  ในวารสารออนไลน์ Histopathology ฉบับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 ในบทความพวกเขาได้อธิบายวิธีใช้งาน Nokia Lumia 1020 ในการถ่ายภาพจากล้องจุลทรรศน์ รวมทั้งวิธีแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งในการทดลองของพวกเขานั้นเป็นการส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูชิ้นเนื้อจากร่างกายผู้ป่วย แล้วถ่ายภาพด้วย Nokia Lumia 1020  แล้วนำภาพนั้นไปวินิจฉัยความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ผลการวิจัยพบว่า Nokia Lumia 1020   ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ สะดวกสบาย เหมาะสมในการนำไปใช้จริงเป็นอย่างมาก

 

ฟีเจอร์เด่นที่เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค

โดยฟีเจอร์ที่ช่วยให้พวกเขาทำงานผลงานออกมาได้ดีจนสามารถลงตีพิมพ์ได้นั้นก็ด้วย ฟีเจอร์การป้องกันภาพสั่นไหว และความละเอียดของกล้องที่สูงถึง 41 ล้านพิกเซล ทำให้ภาพที่ออกมาคมชัดและมีความละเอียดเพียงพอในการนำไปวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ นอกจากนั้นเมื่อใช้สมาร์ทโฟนเราก็สามารถซูมเข้าออก ณ จุดนั้นได้เลย ซึ่งเพิ่มความสะดวกได้เป็นอย่างมาก

 

นอกจากนี้ด้วยฟีเจอร์ต่างๆ ของ Windows Phone อย่างเช่น OneDrive, OneNote หรือว่า Microsoft Office ใน Nokia Lumia 1020 ก็ช่วยอำนวยความสะดวกในการวิจัยและการทำงานได้เป็นอย่างมาก

 

สำหรับภาพตัวอย่างจากงานวิจัยแสดงไว้ด้านบนแล้วนะครับ ส่วนภาพอื่นๆ นั้น เพื่อนๆ ต้องไปตามอ่านในวารสารออนไลน์ Histopathology ฉบับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 ต่อเองนะครับ

 

 

ที่มา wmpoweruser

 

แชร์
Avatar photo

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Exit mobile version