Advertisement

เริ่มแล้ววันนี้ ( 13 ตุลาคม 2560 ) ไทยรัฐจัดทำหนังสือพิมพ์ประวัติศาสตร์ ที่จะออกมาให้ประชาชนชาวไทยได้เก็บไว้เป็นที่ระลึก พร้อมนำเทคเทคโนโลยี AR มาขยายความเนื้อหาให้ทรงคุณค่ามากยิ่งขึ้น ในโครงการ ” ไทยรัฐร่วมพสกนิกรไทย ส่งใจสู่ฟ้าอาลัยพ่อ” เพื่อให้คนไทยได้เปิดประสบการณ์ การรับชม แสง สี เสียง และสื่อประสม ในรูปแบบของคลิปวีดีโอ ผ่านแอพพลิเคชั่น Thairath AR ตลอดช่วงระยะเวลาก่อนพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นเวลา 14 วัน และฉบับพิเศษรวมเหตุการณ์วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมเป็น 15 ฉบับ

Advertisement

ก็เป็นผลงานที่ต่อเนื่องมาจากฉบับพิเศษ “100 วัน น้อมอาลัย ในหลวงภูมิพล” ที่ไทยรัฐผลิตสื่อหนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษ ซึ่งรองรับกับการใช้ AR บนแอพพลิเคชั่น Thairath AR เป็นครั้งแรก เพื่อให้ผู้อ่านได้ซึมซับเนื้อหาได้มากกว่าแค่การอ่านและได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนผู้ติดตามทั่วประเทศ

จนมาถึงโครงการที่สอง ที่เร่ิ่มฉบับแรกวันที่ 13 ตุลาคม 2560 ซึ่งใช้ชื่อหัวหนังสือว่า “365 วัน สวรรคต โศกสลดไม่จางหาย” ซึ่งภายในจะเป็นเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญในช่วงหนึ่งปีหลังการสวรรคต รวมรวบเป็นปกและเนื้อหาพิเศษที่เพ่ิ่มเข้ามาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเป็นฉบับนี้ฉบับแรกของโครงการครับ

ภาพที่ได้รับเกียรติขึ้นเป็นภาพปกแรกของหนังสือพิมพ์ในโครงการ ” ไทยรัฐร่วมพสกนิกรไทย ส่งใจสู่ฟ้าอาลัยพ่อ” ก็เป็นภาพ “พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย” ผลงานของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ และในปกต่อๆ ไปก็จะเป็นผลงานพระบรมสาทิสลักษณ์จากศิลปินแห่งชาติและศิลปินระดับชาติอีกรวม 13 ท่าน ซึ่งเนื้อหาภายในของแต่ละเล่มก็จะแตกต่างกัน โดยมีชื่อหัวเล่มที่ร้อยเรียงกันเป็นบทกลอนต่อเนื่องทั้ง 15 ฉบับครับ โดยมีฉบับสุดท้ายจะเป็นเนื้อหาสรุปงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ซึ่งบทบาทของแอพพลิเคชัน Thairath AR ที่พัฒนามาร่วมกับ Ookbee (อุ๊คบี) คือการนำเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) หรือเทคโนโลยีที่นำโลกเสมือนมาแสดงบนโลกความจริง เพื่อนำมาใช้ขยายความเนื้อหาในหนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษให้ทรงคุณค่ายิ่งขึ้น ออกมาเป็นภาพ กราฟฟิค 3 มิติ เช่นภาพพระเมรุมาศ วีดีโอเส้นทางขบวนพระบรมราชอิศริยยศ ริ้วขบวนและกราฟฟิค 360 องศา และภาพเครื่อนไหวอื่นๆ ระหว่างวันที่ 13 – 27 ตุลาคม 2560 อันวิจิตรตระการตากว่า 70 ชิ้นงาน

สังเกตง่ายๆ ว่า ภาพใดรองรับการใช้กับ Thiarat AR จะมีสัญลักษณ์แจ้งไว้ชัดเจนที่มุมภาพ

เมื่อนำสมาร์ทโฟนที่ติดตั้งแอพ Thairath AR เปิดแอพและนำไปส่องภาพ AR ก๋็จะทำให้หนังสือมีชีวิตและบอกเล่าเรื่องราวได้มากกว่าแค่ตัวอักษร

มีทั้งภาพวีดีเคลื่อนไหว เสียงประกอบ และยังมีการผสานกับเทคโนโลยี VR (Virtual reality) หรือโลกเสมือนจริง เช่นในหน้าหนังสือพิมพ์โครงการพิเศษฉบับแรก จะพาทุกคนไปเยี่ยมชมอาคารประทับส่วนพระองค์ที่โรงพยาบาลศิริราชในแบบมุมมอง 360 องศา ทำงานได้ว่องไวมากครับ ภาพคมชัด เสียงชัดเจน และดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ มาแสดงได้แบบไม่หนักเครื่อง

ซึ่งในแต่ละเล่มก็จะมีความแตกต่างกันออกไปตามเนื้อหาภายใน ซึ่งถ้าใครอยากรู้ อยากเห็น อยากติดตาม ก็อย่าพลาดไทยรัฐในทุกๆ เช้าบนแผงหนังสือ ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 27 ตุลาคมนี้ครับ

 

วิธีการใช้งานและการดาว์นโหลดแอพพลิเคชั่น

ดาว์นโหลดแอพพลิเคชั่น Thairath AR สำหรับ Android รองรับระบบปฏิบัติการ Andriod 5.0 ขึ้นไป RAM ขั้นต่ำ 1 GB

ดาว์นโหลดแอพพลิเคชั่น Thairath AR สำหรับ iOS รองรับระบบปฏิบัติการ ios เวอร์ชั่น 8 ขึ้นไป

หรือกดค้นหา ” THAIRATH AR ” ใน Play Store หรือ Appstore ซึ่งสำหรับผู้ที่เคยติดตั้งเอาไว้แล้ว แนะนำให้เข้าไปตรวจเช็คว่าแอพพลิเคชั่นได้รับการอัพเดทเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด เพื่อที่จะรองรับการใช้กับหนังสือพิมพ์ในโครงการ  “ไทยรัฐร่วมพสกนิกรไทย ส่งใจสู่ฟ้าอาลัยพ่อ”

 

หลังจากดาวน์โหลดก็สามารถใช้งานได้ทันที วิธีการก็คือ หลังจากเปิดแอพฯ แล้วนำสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ตส่องไปที่หน้าหนังสือพิมพ์

วิธีสังเกตจุดที่เรามาสามารถส่องได้ จะมีสัญลักษณ์รูปมือถือที่มีคำว่า AR เมื่อนำมือถือไปส่องบริเวณนั้น ก็จะปรากฏภาพเคลื่อนไหว แล้วแต่ว่าภาพนั้นจะออกมาในรูปแบบคลิปวีดีโอ หรืออาจจะเป็นภาพกราฟฟิคต่างๆ

 

***เปิดสัญญาณ WiFi เพื่อความคมชัด และไม่สิ้นเปลืองสัญญาณอินเตอร์เนต

ช่องทางการจำหน่ายเพิ่มเติม

แน่นอนว่าเนื่องจากเป็นฉบับพิเศษ อาจจะหาซื้อยากกันอย่างแน่นอนครับ บางแผงหนังสืออาจจะหมดกันตั้งแต่หัววันฉะนั้นนอกจากการสั่งจองซื้อผ่านร้านหนังสือทั่วไปและ 7-11 เราก็ยังสามารถสั่งซื้อผ่านบริการ LINE Man ได้ โดยราคาค่าหนังสือพิมพ์ฉบับพิเศษนี้ยังคงราคา 10 บาทเท่าเดิม เพราะไทยรัฐอยากให้คนไทยได้เก็บหนังสือพิมพ์ประวัติศาสตร์เอาไว้เพื่อระลึกถึงพระองค์ท่าน เริ่มสั่งได้ตั้งแต่วันนี้ 13 ตุลาคม ถึง 28 ตุลาคม 2560

 

 

 

 

แชร์
Avatar photo

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Exit mobile version