Advertisement

AIS ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สามารถพัฒนาอุปกรณ์ IoT ซึ่งเป็นมิเตอร์ไฟฟ้า  Smart Meter อัจฉริยะ บนโครงข่ายอินเตอร์เน็ต NB-IoT ได้สำเร็จ และพร้อมนำไปให้บริการจริงเป็นรายแรกในไทยแล้วครับ

โดยข้อมูลจากคุณอัศนีย์ วิภาตเวทย์ หัวหน้าส่วนงานผลิตภัณฑ์ลูกค้าองค์กรและบริการระหว่างประเทศของ AIS ให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า

Advertisement

“ในฐานะผู้นำนวัตกรรม IoT ที่มีความแข็งแกร่งทั้งด้าน Platform และเครือข่าย NB-IoT , eMTC ซึ่งครอบคลุมแล้วทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมพัฒนานวัตกรรม IoT Smart Meter ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยนำมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ มาผสมผสานเข้ากับอุปกรณ์ IoT ที่ทำงานบนเครือข่าย NB-IoT เพื่อประยุกต์ใช้งานโครงข่ายดิจิทัลกับการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ทำให้เกิดการจัดสรรพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนคอยจดมิเตอร์ไฟฟ้า, แบตเตอรี่ของอุปกรณ์ IoT มีอายุการใช้งานยาวนาน, อุปกรณ์สามารถสื่อสารกับเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่า IoT Smart Meter จะอยู่ในอาคาร รวมถึงสามารถตรวจสอบและควบคุมผ่านระบบ Cloud และระบบ Web Portal ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย
จึงถือเป็นครั้งแรกของไทยที่นำเอาโครงข่าย NB-IoT มาเพิ่มศักยภาพการให้บริการของระบบสาธารณูปโภคได้สำเร็จ ตอกย้ำความเป็นผู้นำของเอไอเอสในฐานะผู้นำนวัตกรรม IoT อันดับ 1 ของประเทศ โดย IoT Smart Meter พร้อมให้บริการแก่หน่วยงานรัฐที่ต้องบริหารจัดการไฟฟ้า เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชนต่อไป”
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ พิรักษ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการ Smart Grid Technology Research Center บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน กล่าวว่า “เทคโนโลยีสื่อสาร NB-IoT มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือในการรับส่งข้อมูล ของมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงข่ายสื่อสารสำหรับ Smart Grid เนื่องจากใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เช่น ความถี่คลื่นวิทยุที่ได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย และ สถานีฐานที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาครัฐวิสาหกิจในการลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของ (Total Cost of Ownership) ในระบบ Advanced Metering Infrastructure (AMI) ต่อไป
ในก้าวต่อไปเป็นเรื่องของการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์ (Big Data Analytics) เพื่อใช้ในการลดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าทั้งแบบ Technical และ Non-technical Losses อีกทั้งการนำข้อมูลพลังงานที่ได้แบบ real-time ในการซื้อขายไฟฟ้าเสรีผ่านเทคโนโลยี Block Chain อาทิเช่น การซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Roof เป็นต้น
โดยความร่วมมือกับเอไอเอสในการทดลองนำนวัตกรรมเครือข่าย IoT มาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานรับส่งข้อมูลของมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะในครั้งนี้ ประสบสำเร็จด้วยดี และพร้อมจะให้หน่วยงานรัฐที่ต้องบริหารจัดการไฟฟ้านำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชน เชื่อมั่นว่าจะช่วยตอบโจทย์การบริหารจัดการไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศได้อย่างแน่นอน”

ก็เป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางด้าน IoT ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการจัดการสิ่งต่างๆ รอบตัวได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ด้วยระบบ IoT ที่มีอินเตอร์เน็ตเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนครับ โดยสามารถต่อยอดไปสู่ระดับองค์กรขนาดใหญ่ได้ด้วย

จริงๆ ถ้าการไฟฟ้าบ้านเรานำระบบตัวนี้ไปใช้ มันก็จะสบาย ลดค่าใช้จ่าย และเก็บเป็นฐานข้อมูลให้กับประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้นอีกด้วยนะครับ

แชร์
Avatar photo

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Exit mobile version