วันจันทร์, เมษายน 29
Advertisement

Afiniti ผู้พัฒนาระบบ AI ทำเกมเล่นง่ายๆ “ค้อน กรรไกร กระดาษ” ให้ผู้เล่นได้สัมผัส AI จากการลอง เป่า ยิ้ง ฉุบ กับระบบ แม้แรกๆ มันอาจจะง่ายที่เราจะชนะได้ แต่ยิ่งนานเข้า คุณยิ่งคิด มันยิ่งเรียนรู้วิธีคิดของคุณ

เกมเป่ายิ้งฉุบจะแสดงพื้นฐานของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบปรับตัวได้ให้เห็นค่อนข้างชัดเจน โดย Afiniti ออกแบบระบบเรียนรู้ที่จะระบุรูปแบบพฤติกรรมของบุคคล วิเคราะห์กลยุทธ์การตัดสินใจเพื่อทำนายพฤติกรรมในอนาคตของพวกเขา

Advertisement

แม้ว่าเริ่มต้นคอมพิวเตอร์จะไม่ชนะทุกรอบ แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็สามารถเรียนรู้ลักษณะทางพฤติกรรมของบุคคลเพื่อนำมาสร้างโอกาสได้ดีกว่า ลองมาอ่านคำโอ้อวดของมันกันครับ น่าหมั่นไส้ยังไงไม่รู้ 555

“คอมพิวเตอร์คิดอย่างไร
ในฐานะคอมพิวเตอร์ ฉันพยายามทำนายการเคลื่อนไหวของคุณตามประวัติของคุณ เพราะคุณมีแนวโน้มที่ตนเองจะกระทำพฤติกรรมซ้ำๆ เพราะผู้คนไม่ได้กระทำด้วยการสุ่มจากเนื้อแท้ มือที่คุณออกกรรไกรแล้วแพ้จะมีผล ในครั้งต่อไปจะไม่ใช่ตัวเลือกแบบสุ่มเพราะคุณจะโยกออกกระดาษหรือกรรไกรจากพฤติกรรมของคุณ

แม้ว่าคุณจะพยายามเอาชนะฉันอย่างจริงจัง แต่ตัวเลือกของคุณก็จะซ้ำรอยในที่สุด และสิ่งที่ฉันต้องทำก็คือระบุรูปแบบเข้าไปภายในข้อมูล ยิ่งคุณเล่นมากเท่าไหร่ฉันก็ยิ่งมีข้อมูลมากขึ้นเท่านั้น และฉันจะทำนายพฤติกรรมของคุณ และเอาชนะคุณ ถ้าไม่เชื่อฉัน? ลองเล่นต่อไป!”

“HOW THE COMPUTER IS THINKING
As a computer, I am trying to predict your moves based on your history because you are very likely to repeat yourself.
People are inherently not random. The hand you play after playing scissors and losing will not be a truly random choice of rock, paper, or scissors.
Even when you are actively trying to beat me, your choices will ultimately repeat themselves, and all I have to do is identify patterns within the data. The more hands you play – thus the more data I have – the better I will be at predicting your behavior and beating you. Don’t believe me? Keep playing!”

ลองเล่นดูแล้ว แก้แค้นแทนผมด้วย – – หน้าเล่นเกม >> Afiniti rock-paper-scissors

แชร์
Avatar photo

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Exit mobile version