Advertisement

มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สร้าง RobotCar โดยการติดตั้งเลเซอร์กับกล้องทำหน้าที่เป็น “ดวงตามองถนน” และ “สมองจดจำเส้นทาง” เพียงสัมผัสหน้าจอ  Tablet รถพลังงานไฟฟ้าหรือนิสสันลีฟ จะแปลงร่างเป็นรถหุ่นยนต์

 

Advertisement

ศาสตราจารย์ พอล นิวแมน แห่งภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ของออกซ์ฟอร์ด หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า เทคโนโลยีแบบนี้จะสามารถติดตั้งในรถยนต์ทั่วไปได้ภายใน 15 ปี

 

โครงการนี้ได้นำรถพลังงานไฟฟ้า นิสสัน ลีฟ มาติดตั้งเลเซอร์กับกล้องเข้ากับโครงรถ กล้องจะบันทึกและทำแผนที่สามมิติของเส้นทาง และสภาพแวดล้อมที่มันได้แล่นผ่าน แล้วป้อนข้อมูลไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ที่ช่องเก็บของท้ายรถยนต์

912d580793c1dbc53ae3ed47aab3ab2d

 

หุ่นยนต์จะถามคนขับผ่านทาง Tablet ซึ่งติดไว้กับคอนโซลหน้ารถ ว่า ต้องการใช้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือเปล่า คนขับเพียงแตะหน้าจอทัชสกรีนตอบ “ยอมรับ”  แล้วเจ้าหุ่นยนต์ก็จะรับหน้าที่ขับรถแทนเรา เลเซอร์ซึ่งติดตั้งไว้ข้างใต้กันชนหน้าจะสแกนเส้นทางด้วยความถี่ 13 ครั้งต่อวินาที คอยระวังสิ่งกีดขวาง เช่น คนข้ามถนน คนขับจักรยาน หรือรถราบนถนน ในระยะ 50 เมตรข้างหน้า ด้วยมุมมองกว้าง 85 องศา ถ้ามองเห็นสิ่งกีดขวาง รถจะชะลอความเร็วแล้วหยุด หากคนขับต้องการกลับมาขับเอง แค่ใช้เท้าแตะเบรค คอมพิวเตอร์ก็จะคืนการควบคุมรถให้

b9b86ce496f415c3649fe4471efe4a11

 

e4f4c98c2e2317be2344f0f996f93c0e

 

ทีมงานผู้พัฒนา บอกว่า ระบบนี้ดีกว่าการนำทางด้วยดาวเทียม เพราะมีความแม่นยำกว่ากันมาก สามารถระบุตำแหน่งของตัวรถได้โดยคลาดเคลื่อนไม่กี่นิ้ว ผิดกับพวก GPS ซึ่งอาจผิดเพี้ยนได้เป็นหลายๆเมตร และ RobotCar ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยดาวเทียมในการระบุพิกัดของตัวรถด้วย

 

เวลานี้ ระบบนำทางต้นแบบที่ว่านี้ มีต้นทุนราว 230,000 บาท ซึ่งถูกกว่าระบบอื่นๆซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาเช่นกัน ทีมงานคาดว่า ในอนาคต ราคาจะตกลงเหลือ 4,600 บาทเท่านั้น

 

เมื่อปีที่แล้ว Google ได้เปิดตัวรถที่ขับเองได้ ซึ่งตอนนี้ได้ทดสอบวิ่งบนถนนในสหรัฐแล้วกว่า 225,000 กิโลเมตร ขณะที่ RobotCar คันนี้ใช้ตัวตรวจจับสัญญาณ หรือเซนเซอร์ น้อยกว่า และอาศัยแผนที่เส้นทางแบบ 3 มิติบนตัวรถมากกว่า ดังนั้น RobotCar จึงดูจะเป็นไปได้มากกว่า

 

 

ขณะนี้ ทางการในอังกฤษยังอนุญาตให้ทดสอบระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติของ RobotCar ได้เฉพาะบนถนนเอกชนที่อุทยานวิทยาศาสตร์เบ็กโบรค ซึ่งเป็นที่ทำงานของนักวิทยาศาสตร์ทีมนี้ เนื่องจากเหตุผลด้านการประกันภัย กฎหมาย และความปลอดภัย  ทีมงานกำลังหารือกับกระทรวงการขนส่ง ว่าจะอนุญาตให้ทดสอบบนทางสาธารณะได้เมื่อไหร่ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ซึ่งในขั้นต่อไป ทีมงานจะพัฒนาให้รถหุ่นยนต์คันนี้สามารถจดจำ และเข้าใจการเคลื่อนตัวของสภาพการจราจรอันซับซ้อน และตัดสินใจเลือกเส้นทางเองได้

 

ที่มา VOICETV

แชร์
Avatar photo

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Exit mobile version