วันจันทร์, เมษายน 29
Advertisement

เราต้องยอมรับว่าในยุคที่สังคมออนไลน์เฟื่องฟูอย่างในปัจจุบัน ก่อให้เกิดช่องธุรกิจและโอกาสใหม่ ๆ สำหรับคนที่มีหัวคิดด้านธุรกิจก็อาจเปิดร้านค้าออนไลน์ การขายสินค้า เช่น ครีม เครื่องสำอง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นต้น คนมีมีทักษะในการนำเสนอหรือรูปร่างหน้าตาเอื้ออำนวยก็รับงานโฆษณาหรือรีวิวสินค้าในหน้า Facebook หรือแฟนเพจของตัวเอง ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจหรือช่องทางการหารายได้ที่ลงทุนและมีความเสี่ยงน้อยกว่าธุรกิจประเภทอื่นมาก จนทำให้ธุรกิจออนไลน์เหล่านี้เติบโตและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล แต่ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าส่วนใหญ่มีรายได้แต่ไม่ได้เสียภาษีที่ถูกต้อง อาจเพราะไม่รู้(ใช้เป็นข้ออ้างเลี่ยงกฎหมายไม่ได้) ไม่ได้นึกถึง หรือไม่ใส่ใจเลย มาถึงตอนนี้ต้องเริ่มใส่ใจกันแล้ว

ล่าสุดนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง สั่งการให้รองปลัดกระทรวงการคลังและกรมสรรพากร ตั้งคณะทำงานพิเศษเพื่อตรวจสอบการเสียภาษีของผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์และให้รายงานข้อสรุปภายในเดือนกันยายน 2559 หากพบว่าผู้ที่มีรายได้จากการใช้ช่องทางออนไลน์ไม่ยื่นแบบเสียภาษี จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และหากขึ้นทะเบียนแล้ว รายได้ถึงเกณฑ์แต่ไม่ไปเสียภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท จำคุกไม่เกิน 6 เดือน รวมทั้งต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน จนกว่าจะเสียภาษี ส่วนกรณีไม่ได้ยื่นแบบ หรือยื่นแบบแล้ว แต่ชำระภาษีขาดไป หากถูกตรวจสอบต้องเสียเงินเพิ่มและเสียเบี้ยปรับอีก 1-2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ หรือถ้าจงใจแจ้งหลักฐานเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท

Advertisement

 

สำหรับใครที่เสียภาษีถูกต้องก็เก็บหลักฐานเอาไว้ใครดี ส่วนใครที่ยังไม่เสียให้ถูกต้องก็ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายนะครับ แม้การตามเก็บภาษีจากธุรกิจออนไลน์แบบนี้อาจฟังดูทำได้ยาก แต่กระทรวงการคลังระบุว่ากำลังหาวิธีเก็บภาษีให้ได้ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ โดยจะทราบผลและแนวทางในการปฏิบัติเร็ววันนี้แน่นอน

 

ที่มา: ThaiPBS

 

แชร์
Avatar photo

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Exit mobile version