Advertisement
รีวิวนี้สำหรับสมาร์ทโฟนที่มีจุดขายแตกต่างกับเครื่องอื่นๆ ในตลาดแบบชัดเจนครับ นั้นคือเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ฉะนั้นแนะนำว่าถ้าสนใจในตัวผลิตภัณฑ์คงต้องอ่านกันละเอียดสักหน่อยนะครับ เพราะเจ้า Blackphone 2 ตัวนี้มีความสามารถบางอย่างที่แตกต่างไปจากสมาร์ทโฟนตัวอื่นๆ ซึ่งผมจะไล่อธิบายไปทีละอย่างในรีวิวนี้นะครัย
Blackphone 2 เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่ทางบริษัทซีเคียวเอเซียนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย โดยวางราคาจำหน่ายไว้ที่ 22,990 บาท ซึ่งถ้ามองดูจากสเปคเครื่องตามความเคยชินเดิมๆ ของผมก็ต้องบอกว่าแพงครับ เพราะประสิทธิภาพเครื่องอยู่แค่ในระดับกลางๆ เท่านั้น
แต่เนื่องจาก Blackphone 2 นำเสนอความแตกต่างมาในเรื่องของระบบ ฉะนั้นผมในฐานะผู้รีวิวจะไม่ฟันธงว่าคุ้มค่าหรือไม่ในทุกอย่าง เพราะดูแล้วว่ามันเป็นสมาร์ทโฟนที่ค่อนข้างเฉพาะทาง ดังนั้นจะเน้นอธิบายการทำงานของมัน และตัดสินแค่บางอย่างจากมุมมองผู้ใช้ทั่วไปนะครับ
โดยเริ่มมาดูกันที่ตัวเครื่องและอุปกรณ์ที่เขาให้มากันในกล่องกันก่อนครับ
กล่อง Blackphone 2 ในประเทศไทย ดูเหมือนจะให้ผู้ซื้อมาสองกล่องด้วยกันนะครับ เป็นกล่องตัวเครื่องซีลแน่นหนาจากเมืองนอกตีตรา U.S.A และอีกหนึ่งกล่องเป็นกล่องของแถมซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมพิเศษ ภายในจะมีเคส กระจกกันรอย และตัวชาร์จไฟแถมมาให้

ตัวเครื่อง Blackphone 2 เป็นเครื่องสีดำล้วนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีความหนาและความใหญ่ของเครื่องอยู่พอประมาณ สำหรับผมหน้าตาของมันดูเป็นมือถือเพื่อการทำงานอย่างเต็มตัว มีเคสสวมใส่ด้านหลังที่ออกแบบมาเพื่อมันโดยเฉพาะแถมมาให้ในกล่องอุปกรณ์พิเศษ เคสสวยครับ

ตัวเครื่องหน้าหลังเป็นกระจกเช็ดให้เงาๆ ก็สวยดีครับ แต่เกิดรอยนิ้วมือได้ค่อนข้างง่ายมาก ซึ่งผมจะบอกว่าเจ้า Blackphone 2 น่าจะเป็นเครื่องเดียวในตลาดที่มีราคาเกินสองหมื่นบาทแต่ไม่มีที่สแกนลายนิ้วมือ ซึ่งน่าสนใจว่าเป็นความตั้งใจที่จะไม่ใส่เข้ามาหรือเปล่า? ลายนิ้วมืออาจจะไม่สะดวกกับรูปแบบการใช้ของระบบมันหรืออย่างไร? แต่ส่วนตัวจากที่ผมทดสอบใช้ผมว่ามันควรจะมีที่สแกนลายนิ้วมือมาให้ด้วยมากๆ ครับ

อุปกรณ์ในกล่องมีมาให้หมด ทั้งที่ชาร์จ ฟิล์มกระจกแบบเต็มหน้าจอ เคสด้านหลังที่ค่อนข้างสวยทีเดียว และที่ชาร์จไฟแบบ Quick charge 2.0 ซึ่งมีมาให้สำรองถึงสองตัวครับ แบบขากลมและขาแบน (หนึ่งตัวในกล่องโทรศัพท์และอีกหนึ่งตัวในกล่องอุปกรณ์พิเศษ)

Advertisement
คลิปแกะกล่อง Blackphone 2 

[section label=”การใช้งานภายใน” anchor=”performance”]
จริงๆ แล้วหน้า UI ในการใช้งานของ Blackphone 2 นั้นเรียบง่ายมากครับ มีความคงเดิมตามสไตล์ระบบ Android สูงมาก แต่ UI ตัวนี้มีชื่อครับ ว่า Silent OS ด้วยเพราะความสามารถบางอย่างที่ใส่ครอบเข้ามาแบบที่ไม่เหมือนใครนั้นเอง
โดยในการใช้งานครั้งแรก เราจำเป็นจะต้องมีการสร้างแอคเคาท์หรือล็อกอินแอคเคาท์เดิมเพื่อเข้าใช้งานเครื่องก่อน โดยจะสามารถเข้าใช้เครื่องด้วยแอคเคาท์ Gmail ของทาง Google เพื่อใช้กับระบบ Android ได้แบบทั่วๆ ไป และแอคเคาท์ของทาง Silent Circle สำหรับการใช้งานฟังก์ชั่นพิเศษของเครื่องในด้านความปลอดภัยครับ ซึ่งผู้ใช้ Blackphone ควรสมัครเอาไว้ครับ
โดยจุดเด่นแรกของระบบ Silent OS ใน Blackphone2 ก็คึอ “Space” ความสามารถในการแยกสิทธิใช้งานเครื่องได้ตามวรรณะ เราซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องจะสามารถเข้าไปกำหนดค่าได้ทุกอย่าง สามารถใช้งานสมาร์ทโฟนเครื่องนี้ได้ไม่ต่างกับสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ทั่วๆ ไปได้ทั้งหมด และสถานะเจ้าของเครื่องอย่างเราจะเป็นผู้เดียวที่สามารถอนุญาตผู้ใช้คนอื่นๆ ในสถานะรองลงมาได้ และกำหนดสิทธิในการใช้เครื่องของผู้ใช้เหล่านั้นได้ตามที่เราต้องการครับ ซึ่งผู้ใช้แต่ละบุคคลที่ผมว่ามานี่ ใน BlackPhone 2 จะเรียกมันว่า Space นั้นเองครับ
Space หลักคือตัวเราเองที่เป็นเจ้าของเครื่อง Space รองคือผู้ใช้ที่เราสร้างขึ้น โดยกำหนดสิทธิใช้งานตามที่เราต้องการ อาจจะเพื่อเป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในกรณีใช้งานเองระหว่างวัน หรืออาจจะสร้างเพื่อให้พนักงานในองค์กรคนอื่นๆ ไปใช้งาน
เช่น….
เราจะสร้าง Space หนึ่งขึ้นมาเพื่อให้เครื่อง Blackphone2 เครื่องนี้แก่ลูกน้องในบริษัทเราไปใช้งาน เรากำหนดไว้ก่อนได้เลยว่า ใน Space นี้ห้ามมีการติดตั้งแอพเพิ่มเติม ห้ามต่อ WiFi  หรือห้ามเปิดแอพ Youtube, facebook เป็นต้น โดยเรากำหนดได้ลึกมาก แม้กระทั่งจะให้มันกลายเป็นแค่มือถือธรรมดาก็ยังสามารถทำได้
และเขาก็จำเป็นต้องใช้เครื่องในลักษณะที่เรากำหนดไว้ให้เท่านั้น ออกไปใช้ Space อื่นๆในเครื่องไม่ได้ถ้าไม่รู้รหัสของ Space อื่นๆ ในเครื่องครับ
เมื่อเราต้องการเครื่องกลับมาใช้งาน หรือต้องการเปลี่ยนมือเป็นพนักงานคนอื่นใช้งาน ก็แค่สร้าง Space เพิ่ม ตั้งชื่อ Space กำหนดรหัสผ่านที่ไม่เหมือนกัน กำหนดสิทธิการใช้ให้ตรงตามต้องการ ก็เป็นการแยกแต่ละผู้ใช้ให้ออกจากกัน โดยมีสิทธิในการเรียกใช้ฐานข้อมูล ไฟล์ต่างๆในเครื่อง และสิทธิเรียกใช้ฟังก์ชั่นของเครื่องได้ต่างกันแล้วครับ
และเมื่อเราไม่ต้องการใช้งาน Space ใดอีกต่อไปแล้ว ก็สามารถลบทิ้งทั้ง Space นั้นได้ง่ายๆ แค่กดเพียงไม่กี่ครั้งบนหน้าจอครับ รวมถึงการโอนย้ายไฟล์ไปมาระหว่าง Space เราซึ่งเป็นเจ้าของก็สามารถทำได้ด้วยครับ
ซึ่ง Space ที่ผมว่ามานี้ มันต่อยอดออกไปกับแอพพลิเคชั่นภายนอกได้ด้วย เพราะตัว Blackphone 2 รองรับการสร้างรูปแบบ Space แบบอัตโนมัติได้เอง โดยผ่านการสแกน QR code ซึ่งจะได้มาจากแอพพลิเคชั่นบางตัวที่อาศัยความสามารถตรงนี้ของ Blackphone 2 ในการกระจายการทำงานแบบองค์กรได้ครับ
ซึ่งมาถึงตรงนี้ ผมมองว่าประโยชน์ของ Blackphone 2 ที่มันทำงานภายใต้ระบบ Silent OS นั้น ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานเครื่องแบบปกป้องหลายชั้นครับ หรือใช้งานกันหลายบุคคลครับ หรือเป็นการซื้อใช้ในบริษัทและองค์กรที่ผู้เป็นเจ้าของเครื่องไม่ได้เป็นผู้ใช้งานเองครับ
ความสามารถของ Blackphone 2 นอกจากตัวระบบที่สามารถแยก Space ของแต่ละผู้ใช้ได้แล้ว ก็จะมีส่วนเสริมที่เป็นแอพพลิเคชั่นพิเศษของทาง Blackphone เองอีกสองตัว นั้นก็คือ “Silent phone”
ตัว Silent phone นี่คือแอพสำหรับการติดต่อสื่อสารแบบพิเศษครับ มันเป็นบริการโทรศัพท์และส่งข้อความผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ตนั้นเองครับ (VOIP) แต่มันมีความพิเศษที่ไม่เหมือนใครก็คือ มันสามารถโทรหาหมายเลขโทรศัพท์ปลายทางใดๆ ในโลกก็ได้แม้เขาจะไม่ได้อยู่ในระบบ Silent Phone เช่นเรา โดยในการลงทะเบียนใช้งานครั้งแรก เราต้องผูกข้อมูลของเรา (เบอร์โทรศัพท์และอีเมล) เข้าไปในระบบซะก่อน เพื่อสร้างไอดีส่วนตัวในแอพ Silent phone ( เหมือนการสร้างไอดีเราในแอพพลิเคชั่น Line เป็นต้น)
หลังจากนั้นระบบของ Silent phone จะนำข้อมูลเราไปผูกกับหมายเลขโทรศัพท์พิเศษที่สร้างขึ้นมาเป็นหมายเลขจากบริการในประเทศอเมริกา ซึ่งตรงนี้สำคัญครับ เพราะหลังจากลงทะเบียนแล้ว ผู้ใช้ Blackphone 2 ทุกคน จะได้รับบริการ Silent world ที่จะได้โทรฟรีไปทั่วโลกจำนวน 100 นาที ฟรีทุกเดือน ตลอดหนึ่งปีเต็มครับ ซึ่งถ้านาทีใช้งานเราหมดก็สามารถซื้อเพิ่มได้ในราคา 9.95$ ต่อ 100 นาที (ประมาณ 320บาท) ซึ่งใช้ในการโทรไปยังปลายทางต่างประเทศที่ราคาจะถูกกว่าการโทรแบบปกติครับ
 ในส่วนของระบบการส่งข้อความตรงนี้แตกต่างจากระบบการโทรอยู่ครับแต่ก็ใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตในการรับส่งเช่นกัน บริการตัวนี้จะคล้ายๆ ของแอพพลิเคชั่นแชตทั่วไป เช่น Line หรือ Whatsapp ซึ่งจะต้องใช้กับผู้ที่อยู่ในระบบด้วยกัน หมายถึงรับส่งข้อความหากันได้กับผู้ใช้ Blackphone อาจจะในองค์กรหรือบริษัทที่ใช้เครื่องเหมือนกันเป็นต้น
โดยจุดเด่นของระบบส่งข้อความใน Silent Phone ก็คือ มันสามารถตั้งเวลาในการลบข้อความที่อ่านแล้วทิ้งไปได้ครับ ซึ่งจะลบออกจากทั้งหน้าแชตฝั่งเครื่องของเราและลบออกทั้งฝั่งคู่สนทนาด้วยเช่นกัน เหมาะสำหรับการสนทนาที่อยากจะมั่นใจว่าไม่มีบุคคลที่สามมาอ่านเจอในภายหลังครับ
อีกหนึ่งแอพพลิเคชั่นในระบบเพื่อความปลอดภัยของตัวเครื่อง Security Center แอพสำหรับการจัดการความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของเครื่อง เป็นแอพหลักเลยครับ การจัดการ Space ต่างๆ ก็ต้องจัดการผ่านหน้าแอพตัวนี้นั่นเอง
 อีกทั้งยังใช้ในการสแกนความปลอดภัยของแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องอีกด้วย โดยตัวแอพจะตรวจสอบสิทธิส่วนบุคคลที่แอพพลิเคชั่นภายในเครื่องร้องขอ ว่ามีการร้องขอใดที่ไม่เหมาะสมหรือไม่
รวมทั้งเป็นหน้าการลงทะเบียนฟังก์ชั่นลบข้อมูลเครื่องผ่านระบบออนไลน์ (Wipe data) ในบางสถานะการณ์ที่เครื่องเราสูญหาย หรือไปอยู่กับบุคคลที่เราไม่ต้องการให้เข้าถึงข้อมูลเครื่องเรา สามารถกดสั่งลบข้อมูลเครื่องผ่านทางหน้าเว็บของ Blackphone ได้เลยครับ
 ตัวแอพพลิเคชั่นต่างๆ ของ Blackphone 2 และการอัพเดทระบบของตัวเครื่อง สามารถอัพเดทออนไลน์ได้ผ่านหน้า Security Center
ฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่น่าสนใจของเครื่อง Blackphone 2 ก็คือการรองรับ Gesture การขีดสัญลักษณ์บนหน้าจอเพื่อเรียกการใช้งานต่างๆ ได้ทันที ตามที่เราตั้งค่าเอาไว้ เช่นการวาดรูปหัวใจเพื่อเปิดแอพพลิเคชั่น Line เป็นต้น เราสามารถกำหนดได้หลากหลายสัญลักษณ์ครับ
แม้ตัวเครื่องจะไม่มีที่สแกนลายนิ้วมือ แต่ก็มีฟังก์ชั่นที่คนอื่น/ม่สามารถแอบดูรหัสเข้าใช้เครื่องของเราได้ง่ายๆ เพราะเครื่อง Blackphone 2 สามารถสลับตำแหน่งตัวเลขที่ใช้ในการปลดล็อกบนหน้าจอได้ ตัวเลขจะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิมเพื่อให้ยากต่อการคาดเดาเมื่อดูจากการขยับนิ้วของเราครับ และต้องใช้เลข PIN ถึง 5 ตัวไม่ใช่ 4 ตัวแบบที่เราคุ้นเคยด้วยนะครับ
จะเห็นว่าตัวระบบของ Silent OS ไม่ค่อยเน้นในเรื่องเล่น แต่เน้นไปในการทำงาน ติดต่อสื่อสาร และควบคุมสิทธิการเข้าถึงที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล รวมถึงความปลอดภัยในข้อมูลส่วนตัวภายในเครื่องเป็นหลัก จริงๆ แล้วตัวระบบยังรักษาความปลอดภัยในปลีกย่อยให้เราตลอดเวลาอีกด้วย เช่นการตรวจจับสัญญาณ WiFi ที่เครื่องเชื่อมต่อว่ามีความปลอดภัยแค่ไหน แจ้งเราทันทีที่มีการเชื่อมต่ออัติโนมัติเป็นต้น
ซึ่งตัวเครื่องจะคุ้มค่ากับราคาของมันหรือไม่ ก็อยู่ที่ใครจะต้องการใช้ฟังก์ชั่นเหล่านี้มากแค่ไหนนั่นเองครับ
เพราะในส่วนของประสิทธิภาพพื้นฐานของเครื่อง เจ้า Blackphone 2 จะเทียบเท่ากับสมาร์ทโฟนระดับกลางๆ เท่านั้น ดูหนังฟังเพลงได้ในระดับทั่วไป ความไหลลื่นปานกลาง ไม่แย่แต่ก็ไม่ได้เป็นเครื่องลื่นปรู๊ดปร๊าดระดับสูง เล่นเกมได้ในระดับหนึ่ง ใช้งานได้รอบตัวอยู่ครับ
 
ผลทดสอบต่างๆ
แบตเตอรี่สามารถใช้งานได้วันต่อวันระดับกลางๆ ครับ การจับสัญญาณ GPS ทำได้ดีสามารถใช้นำทางได้
กล้องถ่ายภาพ[section label=”กล้องถ่ายภาพ” anchor=”camera”]
blackphone 2 กล้องถ่ายภาพอยู่ในระดับพอใช้ครับ ไม่โดดเด่นมาก ใช้งานได้ดีในตอนกลางวันแสงเพียงพอหวังผลได้ครับ โหมดการถ่ายภาพมีไม่มาก แต่มีโฟกัสตรวจจับใบฟน้าและโหมดพาโนรามาให้ใช้งาน กับฟิลเตอร์ปรับสีต่างๆ ครับ
ตัวอย่างภาพถ่ายกล้องหลังและกล้องหน้า
สรุปท้ายรีวิว[section label=”สรุปท้ายรีวิว” anchor=”synopsis”]
ข้อดีคือระบบที่เป็นมือถือเฉพาะทาง เน้นการทำงานและการติดต่อสื่อสารเป็นหลักแบบชัดเจน เหมาะสำหรับการใช้งานร่วมกันหลายบุคคล เช่นใช้ในองค์กรหรือบริษัท สามารถกำหนดสิทธิให้ผู้ถือเครื่องใช้ได้แค่ภายใต้ขอบเขตที่เจ้าของเครื่องเป็นผู้กำหนดเท่านั้
ข้อเสียคือเครื่องมีราคาสูงมากเมื่อดูจากสเปคเครื่อง ไม่มีที่สแกนลายนิ้วมือซึ่งน่าจะง่ายกว่าในการจำแนกบุคคลโดยไม่ต้องจดจำรหัส
แชร์
Avatar photo

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Exit mobile version