Advertisement

จากที่เมื่อวานนี้ Microsoft ปล่อย Build ล่าสุดสำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 10 Technical Preview ออกมาให้เราได้ใช้งานกัน ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่เด่นที่สุดที่ Microsoft ปล่อยออกมาใน Build นี้ก็หนีไม่พ้นเว็บบราวเซอร์ตัวใหม่อย่าง Project Spartan (ชื่อชั่วคราว) ที่เราได้ใช้งานกันเป็นครั้งแรกใน Build นี้ และแน่นอนว่าหลังจากที่ผมได้ทดสอบใช้งานมันมาหนึ่งวัน จึงขออาสาพาเพื่อนๆมาชมสิ่งที่มีอยู่ในเวอร์ชั่นพรีวิวแรกของเจ้า Project Spartan กันครับ

Spartan_1

Advertisement

Project Spartan เป็นบราวเซอร์รุ่นคิดใหม่ ทำใหม่ของ Microsoft ซึ่งความที่มันถูกพัฒนาบนพื้นฐาน Universal apps (หรือ Windows apps) เพราะฉะนั้นในยุค Windows 10 นี้ เราจะได้ใช้งานมันเป็นบราวเซอร์หลักในทุกอุปกรณ์ของ Microsoft และหน้าตาการใช้งานก็จะไม่หนีไปจากกันมากนัก

ต้องบอกก่อนว่า Microsoft เน้นย้ำเสมอครับว่านี่เป็นพรีวิวแรกของเจ้า Spartan เพราะฉะนั้นหน้าจอการใช้งาน (UI) หรือฟังก์ชั่นต่างๆจะยังมาแบบไม่สมบูรณ์แน่นอน ซึ่ง Microsoft เองสัญญาว่า จะขัดเกลาทั้งหน้าจอการใช้งานและเพิ่มฟังก์ชั่นใหม่ๆเข้ามาอีกเพียบ เมื่อถึงเวลาที่ Windows 10 ออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการ

 

หน้าจอการใช้งาน: เดินตามรอย Windows 10 และ Modern Design น้อย (จริงๆ) ไว้ก่อน

แนวทางการออกแบบหน้าจอสำหรับ Windows 10 ของ Microsoft ชัดเจนว่าเดินในแนวทาง Modern UI ที่เน้นความน้อยไว้ก่อน (Minimalist) กว่าตอนเป็น Windows 8 เสียอีก เพราะฉะนั้นใน Build แรกสุดของเจ้า Spartan หน้าตามันเลยออกมาแบบไม่ดุดันเหมือนเผ่า Spartan ที่เราคุ้นเคย ตรงข้ามหนักไปทางเรียบจนจืดเสียด้วยซ้ำ

Spartan_2
หน้าจอการใช้งานเริ่มต้น..จืดมั้ย

แต่ก็อีก Microsoft ยังมีเวลาขัดเกลาหน้าจอการใช้งานมากกว่านี้อีกนานครับ เพราฉะนั้นหน้าจอการใช้งานจึงยังไม่น่าใช่ประเด็นหลักในการพูดถึงครั้งนี้

ตัวอย่างหน้าจอการใช้งานของเจ้า Project Spartan ครับ

Spartan_4

 

หน้าจอเมนู context ต่างๆเมื่อคลิกขวา ได้รับอิทธิพลหน้าจอการใช้งานของ Windows 10 มาแบบชัดเจน คนชอบก็ชอบเลย คนไม่ชอบก็ไม่ชอบเลยเช่นกัน

Spartan_14

 

ส่วนการแสดงผลด้วยฟ้อนท์ภาษาไทยอาจจะมีขัดตาอยู่บ้าง (หรือเพราะส่วนตัวใช้ Google Chrome จนชิน) ซึ่งปัญหาอีกเรื่องคือตัวอักษรภาษาไทยค่อนข้างเล็ก อาจต้องมีการปรับขยายขนาดตัวอักษรจากส่วนการตั้งค่ากันบ้างครับ

 

ประสิทธิภาพ: เร็วขึ้นกว่า IE 11 อย่างเห็นได้ชัด แต่ผล Benchmark ยังไม่ต่าง

จุดขายของเอนจิ้นประมวลผลใหม่ใน Spartan นั้น Microsoft ชูจุดขายที่ความเร็วในการประมวลผลและเรียกใช้งาน

ซึ่งจากที่ทดสอบดูนั้นต้องบอกว่า เร็วขึ้นจริงๆครับ ความเร็วในการเรียก Spartan ขึ้นมาใช้งาน รวมถึงความเร็วในการเปิดหน้าเว็บไซต์เร็วขึ้นกว่า IE 11 อย่างเห็นได้ชัด เรียกว่าทำได้สูสีกับ Google Chrome บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผมใช้งานอยู่เลยทีเดียว

แต่แน่นอนว่าด้วยความที่เจ้า Spartan นั้นเป็นเวอร์ชั่นพรีวิวเวอร์ชั่นแรก เพราะฉะนั้นผมเองก็เจอปัญหาค้างและปิดตัวเองบ้าง 2-3 ครั้ง ซึ่งส่วนตัวยังอยู่ในระดับที่รับได้สำหรับการใช้งานเวอร์ชั่นพรีวิว

 

และสำหรับผลทดสอบด้วย Benchmark ต่างๆ ผลค่อนข้างแตก ส่วนหนึ่งน่าจะด้วยความที่เป็นเวอร์ชั่นพรีวิวครับ เพราะการทดสอบ HTML 5 ผลคะแนนของเจ้า Spartan ดันเท่ากับ IE11 และแพ้ Google Chrome เวอร์ชั่นล่าสุดขาดลอย

Spartan_18
ผลการทดสอบ HTML 5 Test ของ Spartan

Spartan_17
ผลการทดสอบ HTML 5 Test ของ IE 11

Spartan_19
ผลการทดสอบ HTML 5 Test ของ Google Chrome 41

 

แต่สำหรับผลการทดสอบ Sunspider สำหรับรัน Java Script เจ้า Spartan ทำคะแนนชนะ Google Chrome ได้สบายๆ

Spartan_20
ผลการทดสอบ Sunspider ของ Spartan
Spartan_21
ผลการทดสอบ Sunspider ของ Google Chrome 41

น่าจะต้องจับมาทดสอบกันอีกครั้งในเวอร์ชั่นเต็มต่อไป

 

 

Web Note: ฟังก์ชั่นขายที่ยังใช้งานได้ไม่มากนัก

Web Note หรือการใช้ฟังก์ชั่นการจดโน๊ตเข้ามาบันทึกหน้าเว็บไซต์ และแชร์ให้กับผู้อื่น หรือการเก็บเอาไว้ดูแบบออฟไลน์นั่นก็มีมาให้ใช้งานในเวอร์ชั่นนี้เช่นกัน การจดโน๊ตหรือการตัดหน้าจอด้วยฟังก์ชั่นเว็บโน๊ตทำงานร่วมกับเมาส์ได้ดี และน่าจะทำงานร่วมกับปากกา Stylus ใน Surface ได้ดีเช่นกัน

 คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่

แต่คุณสมบัติหลายๆอย่าง เช่นการแชร์ให้เพื่อนผ่านแอพอื่นๆยังทำได้ไม่สมูบรณ์นักในเวอร์ชั่นนี้ เช่นแอพ Twitter ไม่สามารถแชร์ผ่านฟังก์ชั่น Web Note ได้

Spartan_26

 

การทำงานร่วมกับ Cortana

แน่นอนว่านี่เป็นหนึ่งในจุดขายของ Project Spartan เช่นกัน และจากที่ผมทดสอบ การทำงานร่วมกันในตอนนี้ยังเป็นแค่การคลิกขวาที่ข้อความที่ต้องการค้นหา และระบบจะแสดงฟังก์ชั่นถาม Cortana หรือ “Ask Cortana” ขึ้นมา จากนั้น Cortana ก็จะหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคียเวิร์ดเหล่านั้นขึ้นมาให้ (คล้ายกับฟังก์ชั่นค้นหาด้วย Google บน Google Chrome เลย)

Spartan_22

Spartan_23

Reading View และ Reading list: มาตรฐานที่เว็บบราวเซอร์ควรมี และตอนนี้ก็มีแล้วใน Spartan

Reading list ก็เป็นฟังก์ชั่นขายหนึ่งของ Project Spartan ครับและฟังก์ชั่นนี้ก็ทำงานได้ดี การเรียกดู Reading view ที่เน้นการอ่านเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์อย่างเดียวก็ทำงานได้กับเว็บไซต์หลากหลาย รวมถึงฟังก์ชั่น Reading list สำหรับเก็บหน้าเว็บไซต์นั้นไว้อ่านทีหลัง ก็ทำงานได้ดีเช่นกัน เพียงแต่คุณสมบัติ Reading list นั้นยังไม่สามารถเก็บหน้าเว็บไว้ดูแบออฟไลน์ได้ในตอนนี้เท่านั้นเอง

หน้าจอ Reading view สำหรับเน้นการอ่านเนื้อหาอย่างเดียว แน่นอนว่าฟังก์ชั่นนี้ใช้งานได้บนเว็บ AppDisqus นะครับ

Spartan_6

 

หน้าจอ Reading list สำหรับการเก็บเนื้อหาไว้ดูภายหลัง

Spartan_28

Spartan_27

 

รองรับ extension แน่นอน

จากข่าวลือที่เคยระบุว่า Project Spartan นั้นจะรองรับส่วนขยาย หรือ Extension แบบเดียวกับ Google Chrome นั้น ในเวอร์ชั่นพรีวิวนี้ก็ยืนยันออกมาแล้วครับว่ามีแน่นอน และ extension แรกของ Project Spartan นั้นคือการปิด-เปิด flash player ที่เป็นส่วนขยายหนึ่งนั่นเอง

Spartan_11

 

จากที่ทดสอบมา Project Spartan ยังต้องการการพัฒนาอีกมาก เพื่อเป็นเว็บบราวเซอร์ที่ดีกว่า Internet Explorer รวมถึงดีเทียบเท่าหรือดีกว่าบราวเซอร์คู่แข่ง

แต่ด้วยเวอร์ชั่นพรีวิวแรกนี้ ส่วนตัวผมมองว่า Spartan มีอนาคตพอสมควรด้วยคุณสมบัติที่ยังสามารถเพิ่มได้อีก หน้าจอการใช้งานที่สามารถขัดเกลาได้ และประสิทธิภาพที่ในเวอร์ชั่นนี้ ก็เร็วกว่า IE11 พอสมควรแล้ว

 

Project Spartan น่าจะเป็นโครงการที่ Microsoft หวังผลได้ในระยะยาวครับ

 

 

 

แชร์
Avatar photo

Geek มือใหม่ อ่านข่าว IT เป็นกิจวัตร ใช้งานมือถือมาหลายระบบ แต่ตอนนี้ลงหลักปักฐานกับ windows phone…

Advertisement
Exit mobile version