วันอังคาร, เมษายน 30
Advertisement

หากจะถามถืงเครื่องเกมคอนโซลแห่งยุคกับเด็กรุ่นใหม่ เชื่อว่าชื่อของ Playstation เป็นชื่อแรกที่ต้องนึกถึงแน่นอน เพราะกว่า 23 ปีที่ผ่านมาค่าย โซนี่ ได้สร้างชื่อ PS1 ให้ติดอยู่ในใจผู้เล่นทั่วโลกกว่าร้อยล้านครัวเรือน ด้วยการเปลี่ยนวงการเกมที่แต่เดิมดูเหมือนของเล่นสำหรับเด็ก มาเป็นเกมที่เน้นความสมจริงมากขึ้น จนทำให้เจ้าตลาดเดิมอย่าง ปู่นินร่วงหล่นจากบัลลังก์ได้อย่างง่ายดาย แต่ใครจะเชื่อว่าจุดกำเนิดของเครื่องคอนโซลตัวแรกของ โซนี่ เริ่มจากการร่วมมือกับค่ายคู่แข่งในปัจจุบันอย่าง นินเทนโด

Advertisement

การร่วมือกับ Nintendo

โดยในช่วงต้นยุค 90 นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ค่ายเกมต่างๆเริ่มมองหาสื่อใหม่ๆมาเพื่อใส่เกมของตน เพราะด้วยสื่อแบบตลับ ความจุยิ่งสูงยิ่งมีราคาแพงขึ้น เกมในยุคนั้นก็ต้องการความสมจริงมากขึ้นทางให้ค่ายเกมต้องหาทางเอาสื่อใหม่ๆมาใช้แทนตลับโดยนินเท็นโด ได้ร่วมมือกับค่าย โซนี่เพื่อที่จะสร้างเครื่อง Super Famicom CD และมีข่าวลือมากมายถึงขนาดว่า ปู่นินจะสร้างเครื่องรุ่นใหม่ในชื่อ Playstation เลยด้วยซ้ำ แต่ด้วยความเห็นที่แตกต่างทางให้โครงการยกเลิกไป โดยนินเทนโดไปร่วมกับค่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง ฟิลลิป แทนแต่ก็ยังไม่สำเร็จ แต่เกิดเป็นเครื่องเกม CDi แทน ซึ่งมันก็แทบไม่ประสบความสำเร็จเลย แถมยังมีเกม มาริโอ และ เซลด้า เวอร์ชั่นที่ นินเท็นโดไม่ได้สร้าง ที่ได้ชื่อว่าเป็นเกมที่ห่วยที่สุดตลอดกาลอีกด้วย

ส่วนทางฝั่งโซนี่หลังจาก นินเท็นโด โบกมือลา ก็เดินหน้าสร้างเครื่องเกมเป็นของตัวเองต่อคนเดียว โดยใช้ชื่อว่า Playstation โดยในตอนแรกมีชื่อว่า PSX และเป็นผลงานของคุณ Ken Kutaragi หนึ่งในตำนานของค่าย Sony และด้วยความพยายามอย่างหนัก PS1 ก็ได้ออกมาวางขายใน ปี 1995 และแม้จะเป็นน้องใหม่ของวงการเกม แต่ด้วยพลังของยักษ์ใหญ่แห่งวงการเครื่องใช้ไฟฟ้าทำให้การมาของ Playstation ไม่ธรรมดา เพราะถูกจับตามองจากสื่อเกมทุกสำนักในทันที

ประสบความสำเร็จในการดึงค่ายเกม 3rd Party

และด้วยความเป็นค่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ ทา’ให้ค่ายโซนี่มีแรงดึงดูดค่ายเกมให้มาสร้างเกมให้แถมด้วยความที่ใช้สื่อ เป็น CD-rom ทำให้เกมมีทุนสร้างต่ำกว่าตลับ และมีความจุมากกว่า เพราะในตอนนั้นในญี่ปุ่นเกิดภาวะเกมราคาแพงมาก เพราะเนื่องจากในยุค 16 Bit สื่อตลับมีราคาแพง แถมปู่นินก็ไม่ยอมใช้ CD บนคอนโซลรุ่นใหม่อย่าง Nintendo 64 แม้จะมีเสียงท้วงติงจากค่ายเกมก็ตาม ทำให้ค่ายอื่นตัดสินใจไม่ยากที่จะย้ายค่ายมาทำเกมให้ Sony บวกทั้งการยอมลงทุนซื้อค่ายเกมมาทำเกมให้ และสร้างเกมที่ออกเฉพาะ PS1 กลายเป็นชื่อที่ติดตลาดได้ไม่ยาก

โดยราคาเกมในยุคก่อนที่ Playstation จะวางขายนั้นแพงมาก เพราะตลับของ Super Famicom มีราคาประมาณ 9,000-12,000 เยนต่อตลับ ตีเป็นค่าเงินไทยในยุคนั้นอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท (ค่าเงินยุค 90) ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกมในยุคนี้ที่ราคาประมาณ 5,000-7,000 เยน เท่านั้น ไม่แปลกใจที่ค่ายเกมหลายค่ายจะหันมาผลิตเกมให้ Sony เพราะง่าย และประหยัดงบประมาณกว่ามาก แถมไม่ต้องมานั่งกังวลว่าความจุจะไม่พอใช ้เพราะ CD 1 แผ่นมีวามจมุากมายเกินพอ ซึ่งมีข้อมูลว่าทางค่ายเกม ต้องจ่ายเงินซื้อตลับเกมเองทำให้การทำเกมลงคอนโซลที่ใช้ตลับผู้สร้างต้องแบกรับภาระเอง

เกมที่โดดเด่นคงหนีไม่พ้น Final Fantasy 7 เชื่อว่าถ้าพูดถึงเกมบน PlayStation คนส่วนมากจะคิดถึงเกม 3 rd Party หรือเกมจากค่ายอื่นที่ไม่ใช้ โซนี่ เพราะในช่วงแรกๆ ยังไม่มีเกมที่โดนเท่าไร ค่ายโซนี่ยังต้องพึ่งพาเกมจากค่ายอื่น ซึ่งหลายเกมก็มีจุดกำเนิดทั้ง Bio Hazard (Resident Evil) เกมสยองไล่ยิงซอมบี้ หรือเกมต่อสู้ 3 มิติ Tekken ที่มีจุดกำเนิดบน Play Station ส่วนโซนี่เองก็ไม่น้อยหน้า เพราะมีทั้งเกมแข่งรถ GT ซึ่งถือว่าเป็นตำนานที่ขึ้นชื่อเรื่องความสมจริง และ ico เกมแนวๆที่เน้นการแก้ปริศนาที่ได้รับเสียงชื่นชมอย่างมาก

แต่อย่างไรก็ตาม เกมที่ถือว่าเป็น ไฮไลท์ของเครื่อง คือ Final fantasy 7 เกมแนว RPG ที่ถือว่าเป็นหนึ่งในตำนานของวงการเกม แต่ที่ฮือฮากว่าคือการย้ายมาลงเครื่อง PlayStation เพราะถา้ใครก็รู้ว่าคา่ยเกม Squareกับนินเทนโด นั้นถือว่าแนบแน่นดั่งทองแผ่นเดียวกัน ถึงขนาดร่วมมือทำเกม Super Mario RPG แถมเมื่อนินเทนโด ประกาศสร้างเครื่อง Nintendo 64 ทาง Square ก็ไดสร้างภาพ CG การเล่นเกม Final Fantasy 6 แบบ 3 มิติบนเครื่อง Nintendo 64 ทำให้ไม่มีใครคาดคิดว่าทาง Square จะเปลี่ยนใจมาทำเกมให้ค่าย Sony

และเหตุผลหลักในการทำเกมลงเครื่องเกม Play Station ก็แทบไม่ตา่งจากค่ายอื่น คือความจุมหาศาลของ CD ซึ่งด้วยรูปแบบของเกมที่มีภาพยนตร์คัทซีนที่มีมาให้ชมไปตลอดเกม ทำให้ไม่สามารถทำลงตลับเกมได ้และ Final Fantasy 7 ก็จัดหนักจัดเต็มใช้ CD ไปถึง 3 แผ่น แต่แค่นั้นเกมคงไม่ได้กลายเป็นตำนานจนถึงทุกวันนี้ และกำลังมีภาครีเมคลงบน PS4 ในอนาคต

PS1 สร้างวัฒนธรรม เล่นเกมเหมือนการชมภาพยนตร์

และด้วยความจุที่มหาศาล บวกกับ เกมที่มีกราฟิกสมจริง ยุคเริ่มต้นของบนแผ่น CD ที่ความจุมากมายเหลือใช้ และมี CPU ที่แรงมากพอที่จะสร้างคัทซีนภาพทั้งแบบ CG และเป็นภาพยนตร ์ ที่สมจริงจนเกิดเป็นวัฒนธรรมการเล่นเกมแบบใหม่ที่เด็กๆต่างรอคอยที่จะดูคัทซีนและบางเกมก็ไดพ้ฒนาต่อยอดจนเหมือนได้ดูหนังผสมกับการเล่นเกมได้อย่างลงตัวเช่นเกม Metal Gear Solid ที่ประสบความสำเร็จจนเป็นตำนาน ในยุคนั้นการที่เกมมีกราฟิกที่สมจริง มีคัทซีนเป็นภาพยนตร์ ถือเป็นของใหม่และจูงใจให้คนที่ไม่ใช่คอเกมหันมาเล่นเกมมากขึ้น เพราะกราฟิกไม่ได้ดูเด็กๆอีกต่อไป

สู่ความสำเร็จ ขายได้ 1 ร้อยล้านเครื่อง เป็นเครื่องแรกของโลก

และจากความสำเร็จนี้เองที่ครองใจผู้ผลิตเกม และครองใจผู้ใช้ด้วยความง่ายเป็นมิตรกับผู้เล่น ทางให้โซนี่ สามารถพา Play Station น้องใหม่ของวงการเกมสู่การเป็นเบอร์ 1 ของวงการเกมโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ และไม่หยุดเพียงแค่นั้น เครื่อง Play Station ยังกลายเป็นเครื่องเกมแรกของโลกที่สามารถขายได้มากกว่า 100 ล้านเครื่อง ทุบสถิติ แฟมิคอมได้อย่างง่ายดาย แซงคู่แข่งร่วมยุคอย่าง นินเทนโด และ เซก้าแบบหลายเท่าตัว และกลายเป็นสัญลักษณ์ของวงการเกมที่มีผู้รักศรัทธาในแนวทางการสร้างเกมที่สนุกและ ภาพในเกมก็สวยงาม มีความอลังการงานสร้างและสมจริงทั้งภาพและเสียงเล่นแล้วดูดี และผ่าน 23 ปีก็ยังคงรูปแบบเดิมที่ยังคงประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องจนถึงยุค PS4 ก็ยังคงเป็นเบอร์ 1 ของวงการเกมคอนโซล

แชร์
Avatar photo

คอมลัมนิสต์แอ๊คหลุมผู้หลงใหล IT และ Gadget พร้อมสาระความรู้ How To ดีๆ สำหรับการใช้งานมือถือและแท๊ปเบล็ตที่พร้อมจะมาแชร์กับเพื่อนๆ ที่สนใจในเนื้อหาเดียวกัน เพื่อให้พื้นที่ AppDisqus.com เป็นสเปซสำหรับการแบ่งบันโดยแท้จริง

Advertisement
Exit mobile version