วันพุธ, พฤษภาคม 1
Advertisement

ปัจจุบันนี้คงต้องพูดว่าเทรนด์การนอนอยู่บ้านดูหนังนั้นกำลังได้รับความนิยมจริงๆ เพราะไม่ว่าจะเป็นจากบริการต่างๆ ที่มีให้เลือกใช้งานมากมาย ร่ายตั้งแต่ Netflix, Apple TV+, Disney Plus, Line TV หรือ HBO Go ไปจนถึงสถานการณ์การระบายของ COVID-19 ในปัจจุบันที่หลายๆ เลือกทางออกเป็นการเสพย์ความบันเทิงอยู่บ้านแทนดีกว่า แต่จะทำอย่างไรหากเราต้องการให้การชมภาพยนตร์อยู่บ้านนั้นสามารถมอบความบันเทิงให้กับเราได้อย่างเต็มที่ประหนึ่งนั่งชมในโรงภาพยนตร์ วันนี้อเล็กซ์และ APPDISQUS จะพาเพื่อนๆ มารู้จักกับระบบภาพและเสียงที่ควรลงทุนสำหรับการใช้งานบริการสตรีมมิ่งให้เต็มประสิทธิภาพอย่างในปัจจุบัน รวมไปจนถึงการเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ มาเนรมิตรความบันเทิงให้กับตัวเองได้ในราคาที่ไม่ไกลเกินเอื้อมกัน

ในบทความพิเศษนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักและทำความเข้าใจเรื่องยากกันแบบง่ายๆ ไปเป็นเรื่องๆ จนครอบคลุมทุกสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการจัดเซ็ตอุปกรณ์ให้รองรับบริการสตรีมมิ่งอย่าง Netflix, Apple TV+ และอื่นๆ ในปัจจุบันนี้ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ

Advertisement
  1. ระบบภาพ : มาดูเทคโนโลยีการแสดงผลภาพที่น่าสนใจที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในบริการสตรีมมิ่งในปัจจุบัน ทั้ง HDR, HDR10+ และ Dolby Vision และรู้จักกับจอโทรทัศน์ประเภทต่างๆ และความแตกต่างของมัน เพื่อการเลือกเซ็ตภาพได้ตามที่เพื่อนๆ ต้องการ (โดยจะโฟกัสที่จอทีวีเป็นสำคัญ ใครขาโปรเจคเตอร์อาจไม่ได้มีพูดถึงนะครับ)
  2. ระบบเสียง : อะไรคือ Dolby Atmos หรือ Dolby Digital 5.1 ที่เราเห็นอยู่บนปกหนังเวลาที่เลือกหนังบน Netflix หรือ Apple TV+ และจะทำอย่างไรให้ได้มาซึ่งระบบเหล่านั้นในราคาที่พอสู้ไหวกันนะ

ซึ่งในบทความตอนที่ 1 นี้เราจะเริ่มกันที่เรื่องของงานภาพกันก่อนเลยละกัน

How To Choose the Right Netflix TV

หากเป็นห้องโฮม ขนาดห้องไม่กว้าง กันแสงได้ดี ห้องมืดสนิท สนใจหน้าจอใหญ่ๆ 75 นิ้วขึ้นไป LED แบบ VA Panel Full Array ที่รองรับ Dolby Vision คือตอบโจทย์นี้มากที่สุดนั่นเองสำหรับคำแนะนำของผม ทั้งในแง่ของคุณภาพและงบประมาณ


ตอนที่ 1 : ระบบภาพ

สิ่งสำคัญที่สุดในห้องดูหนังสักห้องคือจอภาพแน่ๆ ครับ บางคนอาจจะเป็นสาย Projector บางคนอาจเป็นสายจอทีวี สำหรับตัวอเล็กซ์เองเป็นสายจอ เลยจะขออนุญาตแนะนำจากประสบการณ์โดยโฟกัสไปที่จอทีวีนะครับ

LED / LCD / QLED / OLED เรื่องมันเป็นยังไง ไหนลองเล่ามาสิ

TV In Hometheater Room

จอทีวีหลักๆ ปัจจุบันนี้แยกง่ายๆ ออกเป็น LED (ซึ่งเป็น LCD ชนิดหนึ่ง ซึ่ง QLED ของ Samsung นั้นก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้) และ OLED ที่เป็นเทคโนโลยีอีกประเภทไปเลย

สิ่งสำคัญที่สุดในห้องดูหนังสักห้องคือจอภาพแน่ๆ ครับ บางคนอาจจะเป็นสาย Projector บางคนอาจเป็นสายจอทีวี สำหรับตัวผมเองเป็นสายจอ เลยจะขออนุญาตแนะนำจากประสบการณ์โดยโฟกัสไปที่จอทีวีนะครับ

จอทีวีหลักๆ ปัจจุบันนี้แยกง่ายๆ ออกเป็น LED (ซึ่งเป็น LCD ชนิดหนึ่ง ซึ่ง QLED ของ Samsung นั้นก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้) และ OLED ที่เป็นเทคโนโลยีอีกประเภทไปเลย โดยลักษณะของการเปร่งแสงภาพของจอ 2 ประเภทนี้จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อธิบายง่ายๆ คือ LED เนี่ยจะประกอบด้วย LCD + Back Light (จำคำนี้ไว้นะครับ เดี๋ยวมีผลกับการเลือก) ส่วน OLED นั้นไม่จำเป็นต้องอาศัย LCD Panel แล้ว แต่หลอด Organic Light Emitting Diodes (OLED) นั้นมันมีความสามารถที่เก่งมากในตัวของมันเอง คือสามารถเปร่งแสงสว่างไปได้พร้อมๆ กับสี เลยทำให้ LCD Panel ไม่จำเป็นสำหรับมันอีกต่อไป

OLED and LED Different Placement

เพราะอย่างนี้ถ้าเราว่ากันตามเทคโนโลยีแล้ว OLED จะสามารถให้ค่าคอนทราสต์และสีสันที่สวยงามกว่า มีค่า Nit หรือค่าความสว่างที่ดีกว่า มืดก็มืดได้ดีกว่า (เพราะหลอดมันดับสนิทได้เป็นจุดๆ) แต่ข้อเสียของมันก็มีคือเรื่องภาพเบิร์นอินแบบที่เมื่อก่อน Plasma เป็น ในขณะที่ LED นั้นต้องอาศัย Back Light ในการช่วยเติมแสงและสี ทำให้ความคอนทราสต์และสีสันนั้นตามหลักการแล้วจะสู้ OLED ไม่ได้ และบ่อยครั้งจะมีแสงรอดสีเทาๆ ทั่วจอในฉากมืดๆ ดำๆ ที่ศัพท์ทีวีเรียกว่า Dirty Screen Effect และ Grey Uniformity โดยเฉพาะเวลารับชมในห้องมืดอย่างห้องดูหนัง แต่ทั้งนี้ก็ไม่จำเป็นต้องกลัวเรื่องจอเบิร์นอิน เพราะจอกลุ่ม LCD นั้นจะไม่เจอปัญหานี้

ภาพจาก Rtings.com

แล้วแบบนี้ OLED ก็ดีกว่าสิ? ก็ถ้าว่ากันตามหลักการก็ใช่ แต่อย่าลืมว่า OLED นั้นเป็นจอที่มีราคาสูงมาก ส่วนมากจะนิยมกันไม่เกิน 65 นิ้ว (แค่นี้ก็หลายหมื่นแล้ว) และหากใหญ่ไป 75 จะสิ้นเนื้อประดาตัวได้ ส่วนใหญ่กว่า 75 นั้นยังไม่เคยเห็นในคอนซูมเมอร์โปรดักส์เลย (ถ้ามีคงต้องขายบ้านซื้อ) นั่นเลยทำให้อาจจะยังไม่ตอบโจทย์ใครหลายๆ คนที่มีห้องโฮมสักเท่าไหร่นัก เพราะขึ้นชื่อว่าห้องดูหนัง จอใหญ่ๆ คงเป็นสิ่งที่หลายๆ คนฝันถึง

พอเห็นโจทย์แบบนี้ ใครสนใจจอใหญ่กว่า 65 นิ้วคงต้องพิจารณา LED เป็นตัวเลือกแทน ดังนั้นปัจจัยในการเลือกจอ LED เลยตามมาด้วย จำก่อนหน้านี้ที่ผมพูดถึง Back Light ได้ไหมครับ ที่บอกให้จำไว้ นั่นล่ะคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เราจะนำมาเลือก LED ที่เหมาะกับเรา รวมถึงชนิดของจอ LED เองที่มีทั้ง IPS (In-Plane Switching) และ VA (Vertical Alignment) อีก ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญมากๆ

หากเรามีห้องโฮมเธียร์เตอร์ ไม่กว้างมาก เป็นห้องคุมแสงได้ และเราต้องการจอใหญ่ๆ ระยะการมองอาจจะครอบคลุมทั้งจอได้สบายๆ ไม่ว่าจะนั่งดูจากจุดไหน โดยส่วนตัวผมจะเชียร์ให้ไปทาง VA Panel แบบ Full Array ซึ่งจะตอบโจทย์การใช้งานด้านภาพเรามากที่สุดนั่นเอง

LED : IPS (In-Plane Switching) VS. VA (Vertical Alignment) ความ (เกือบจะ) เหมือนที่ (โคตรจะ) แตกต่าง

ก่อนไปไกล เรามาดูข้อดีขอเสียของ VA และ IPS กันก่อน

ภาพจาก Rtings.com

VA: Vertical Alignment

พวกนี้เป็นจอที่มีโครงสร้างพิกเซลแบบเป็นเส้นตรง ภาพที่ได้จะมีความสว่าง และดูใสมากทีเดียว นอกจากนี้ยังสามารถคุมความดำบนหน้าจอในฉากมืดได้ดีอีกด้วย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยมุมมองการรับชมที่แคบลง

IPS: In-Plane Switching

จอพวกนี้จะจัดวางพิกเซลเป็นแบบหัวลูกศร ภาพที่ได้จะมีสีสันที่สดใสกว่า มุมมองการรับชมก็กว้างกว่า แต่ก็ต้องแลกด้วยความดำที่ไม่สนิท และมีโอกาสเจอ Dirty Screen Effect มากกว่า

ทีนี้ทั้งจอ VA และ IPS ก็ยังมีรูปแบบการจัดวาง Back Light ย่อยลงไปอีก 2 ชนิด คือ

LG Full Array Local Dimming

Full Array : เป็นการจัดวาง Back Light แบบเต็มๆ ครอบคลุมทั้งจอ ซึ่งการจัดวางประเภทนี้จะมีข้อดีที่เห็นชัดมากๆ คือสามารถดับแสง Back Light ได้ทั่วทั้งจอ ทำให้ภาพนั้นดำสนิทกว่า และในหลายๆ รุ่นทำได้ดีถึงขั้นอาจไม่เจอปัญหา Dirty Screen Effect ที่เกิดกับ LCD เลย หรือเจอน้อยมาก และยังไม่เจอปัญหา Blooming Effect (สังเกตในฉากมืดๆ รอบๆ Subtitle จะสว่างเรืองแสง) หรือเจอน้อยมากในบางรุ่นอีกด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญทั้งสิ้นเมื่อต้องรับชมในห้องมืด แต่ข้อเสียสำคัญของมันคือราคาที่แพงกว่า Edge Lit พอควร และมักจะอยู่ใน Premium LED ทั้งหลาย พวกนี้มักจะมาพร้อมฟังก์ชั่น Local Dimming ด้วย

นอกจาก Full Array แล้วก็ยังมีอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีลักษณะการจัดวางแบบเดียวกัน แต่มีแถว LED ที่น้อยกว่า โดยจะเรียกว่า Direct Lit โดยจอประเภทนี้จะไม่มี Local Dimming และในปัจจุบันไม่ได้เป็นที่นิยมแล้วเนื่องจากคุณภาพของภาพที่ทำออกมาได้ด้อยกว่า Full Array มากนั่นเอง

Edge Lit : มีการจัดวาง Back Light ตามขอบหรือมุมจอ มำให้เวลาต้องดับจอมืดในฉากดำๆ จะดับได้เป็นจุดๆ เกิดปัญหาแสงรอดและอื่นๆ รวมถึงไม่สามารถแสดงผลสีดำได้ดี ไม่เหมาะกับการรับชมในห้องมืดเลย แต่ข้อดีคือราคาถูก และจะถูกใช้ใน LED ทั่วไปเป็นส่วนใหญ่

ทีนี้พอเห็นข้อแตกต่างก็จะทราบแล้วใช่ไหมว่า หากเรามีห้องโฮมเธียร์เตอร์ ไม่กว้างมาก เป็นห้องคุมแสงได้ และเราต้องการจอใหญ่ๆ ระยะการมองอาจจะครอบคลุมทั้งจอได้สบายๆ ไม่ว่าจะนั่งดูจากจุดไหน โดยส่วนตัวผมจะเชียร์ให้ไปทาง VA Panel แบบ Full Array ซึ่งจะตอบโจทย์การใช้งานด้านภาพเรามากที่สุดนั่นเอง

HDR10, HDR10+, Dolby Vision และ HLG ความแตกต่างของมาตรฐาน HDR ที่ควรรู้

Dolby Vision vs HDR 10

ทั้งนี้การพิจารณาด้วยข้อมูลเท่านี้ก็ยังไม่พออีก อย่าลืมว่า Streaming ในปัจจุบันนั้นรองรับระบบภาพความละเอียด 4k กันแล้วแทบทั้งนั้น แถมหลายๆ บริการยังเสริมทัพงานภาพด้วย HDR (High Dynamic Range) อีก ซึ่งก็มีให้เราปวดหัวมากมายหลายสแตนดาร์ด แต่หลักๆ ที่เห็นคงหนีไม่พ้น HDR10(+) กับ Dolby Vision (และบางคนอาจเคยเห็น HLG ด้วยซึ่งยังไม่จำเป็นในบ้านเรา) ดังนั้นหากเลือกได้ก็ให้โฟกัสไปที่ทีวีที่รองรับ Dolby Vision ไปเลย ซึ่งกลุ่มนี้จะรองรับ HDR พื้นฐานอยู่แล้ว ต่างกันตรงที่ Dolby Vision นั้นจะสามารถปรับ HDR ได้ในระดับจุดต่อจุด ในขณะที่ HDR ทั่วไป (ที่ไม่ +) นั้นจะปรับ HDR ได้เป็นฉากๆ เท่านั้น ทำให้การไกล่แสงและสีเทียบต่อฉากแล้ว Dolby Vision ทำได้ดีกว่านั่นเอง และ Netflix เองก็มีหลายเรื่องเลยที่รองรับ Dolby Vision ส่วน Apple TV+ นั้นต้องบอกว่าทุกเรื่องเลยด้วยซ้ำ

Dolby Vision: Single Layer VS. Dual Layer มันคืออะไรกัน?

Dolby Vision นั้นเป็นมาตรฐานด้าน HDR ที่เรียกได้ว่ามาแรงและน่าสนใจที่สุดแล้วในขณะนี้เมื่อว่ากันถึงจำนวนผู้เล่นในตลาดที่เอาด้วยกับเทคโนโลยีดังกล่าว แต่ทั้งนี้ Dolby Vision เองก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยที่คุ้นหูกันดี เอาล่ะ…เราลองมาดูความแตกต่างกัน

DV Single Layer: เจ้าตัวนี้คือ Dolby Vision ที่มีเพียงสัญญาณ HDR เท่านั้น โดยเป็น Dolby Vision แบบที่ใช้กันในบริการสตรีมมิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Apple TV+, Disney+ หรือ Amazon Prime (และอื่นๆ อีกมากมาย) รวมไปจนถึงแอพที่นิยมใช้บน Apple TV อย่าง Infuse 6 Pro ด้วย

DV Dual Layer: เจ้าตัวนี้คือ Dolby Vision ที่มีทั้งสัญญาณ HDR และ SDR (Standard Dynamic Range) ซึ่งจะทำให้ไฟล์ Dolby Vision นั้นใหญ่ขึ้นมากถึง 30% จึงทำให้ไม่ถูกนำมาใช้ในบริการสตรีมมิ่ง แต่จะเป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับสื่อประเภท UHD หรือพวกอัดลงแผ่น BluRay แทน

สรุปสั้นๆ เกี่ยวกับการเลือกโทรทัศน์ที่เหมาะสมสำหรับห้องดูหนังส่วนตัวของเรา

Home Theater Room Built Alex

หากเป็นห้องโฮม ขนาดห้องไม่กว้าง กันแสงได้ดี ห้องมืดสนิท สนใจหน้าจอใหญ่ๆ 75 นิ้วขึ้นไป LED แบบ VA Panel Full Array ที่รองรับ Dolby Vision คือตอบโจทย์นี้มากที่สุดนั่นเองสำหรับคำแนะนำของผม ทั้งในแง่ของคุณภาพและงบประมาณ โดยส่วนตัวแล้วผมใช้ Sony 85X9000F ที่ซื้อมาได้ประมาณสองปีกว่าแล้ว และหากมองข้ามเรื่อง eARC ที่ตัวนี้ออกมาตอนช่วงที่ทีวียังนิยมรองรับกันแค่ ARC แล้ว เจ้า Sony Bravia 85X9000F ก็ถือว่ายังเป็นตัวเลือกที่ชอบมากจนถึงปัจจุบันและคงไม่คิดที่จะเปลี่ยนในเร็ววันนี้อย่างแน่นอน

ส่วนใครที่กำลังมองหาทีวีใหม่ ตอนนี้คงต้องแนะนำให้เลือกเผื่อสเป็กที่รองรับ eARC เอาไว้ด้วยเลย ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะมาแน่ๆ เมื่อ PS5 พร้อมจำหน่ายอย่างเป็นทางการ เพราะรองรับคุณสมบัติสำคัญอย่างการแสดงผลภาพ 4k ที่ค่าอัตราการกระพริบสูงถึง 120Hz เต็มประสิทธิภาพที่ PS5 จะทำได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาว่า PS5 เองก็อยู่ไม่ไกลแล้ว ก็คิดว่าควรจ่ายเพิ่มอีกนิดเพื่อซื้ออนาคตไปเลยทีเดียวดีกว่าครับ โดยตัวเลือกที่น่าสนใจนั้นคงหนีไม่พ้น Sony Bravia x9000h ซึ่งรองรับทั้ง Dolby Vision และมีพอร์ต eARC มาให้พร้อมในสนนราคาตัว 85 นิ้วที่เห็นหาได้ไม่ถึงแสน ยังไงในวินาทีนี้ก็ถือเป็นตัวเลือกที่คุ้มมากๆ ทีเดียว (ย้อนกลับไปเมื่อ 2 – 3 ปีก่อนนั้น 85X9000F ที่ผมใช้อยู่ราคาอยู่ที่ประมาณ 120,000 บาท)


ในบทความต่อไปเราจะมาว่ากันที่ระบบเสียงในปัจจุบันบ้าง อะไรคือ Dolby Atmos ที่เห็นบ่อยๆ  บนบริการสตรีมมิ่งอย่าง Netflix และ Apple TV+ อะไรคือ DTS-X ที่เค้าพูดว่าเป็นคู่แข่งของ Dolby Atmos หรืออะไรคือความหมายของสัญลักษณ์ 5.1 ที่แสดงบนหน้าปกหนังใน Netflix และ iTunes รวมไปจนถึงเราจะต้องจัดเครื่องเสียงอย่างไรให้ได้ตามมาตรฐานเหล่านี้ และต้องใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณเท่าไหร่ ในบทความตอนต่อไป เราจะพาเพื่อนๆ ไปไขคำตอบร่วมกัน

และหากชอบก็อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์บทความนี้ รวมถึงกดรับข่าวสารจาก APPDISQUS ไว้ เพื่อที่จะได้ไม่พลาดเมื่อตอนต่อไปพร้อมเสิร์ฟ หรือเวลาที่มีข่าวในแวดวงมือถือและ IT มาอัพเดตเพื่อนๆ กันนะครับ

แชร์
Avatar photo

อเล็กซ์ หรือ เอ ว่างเมื่อไหร่เป็นต้องหยิบเอามือถือหรือ iPad ข้างกายตนมาจับๆ จิ้มๆ ตามประสาคนมีงานแต่ชอบเล่นเกม คุณสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้กำลังใจเอได้เสมอผ่านทางการคอมเมนต์ในบทความนี้

Advertisement
Exit mobile version