Advertisement

22-3-56-03

 

Advertisement

บ่ายวันนี้ (21 กรกฎาคม) นักวิจัยกฎหมายและนโยบายสื่อโทรคมนาคมเปิดงานวิจัยล่าสุดระบุปัญหาหลายประการเกี่ยวกับธรรมาภิบาลในการบริหารและบริการของคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) แต่ชี้ว่าสามารถใช้กลไกทางกฎหมายช่วยได้

 

นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง นักวิจัยประจำโครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม รวมกับโครงการเฝ้าระวังกฏหมายไทยเปิดเผยถึงงานวิจัยล่าสุดที่ทำออกมาซึ่งชี้ให้เห็นว่า ปัญหาหลักในการดำเนินงานของ กสทช. ตลอดสามปีที่ผ่านมามีหลายประการ อาทิ ความล่าช้าในการเผยแพร่หรือไม่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การกำหนดนโยบายผ่านอนุกรรมการที่เลือกจากระบบโควตามากกว่าคุณสมบัติ การรับฟังความเห็นที่ทำเป็นพิธีมากกว่าจะทำให้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง กลไกการจัดการเรื่องร้องเรียนที่ล่าช้า และการใช้งบประมาณที่ขาดประสิทธิภาพและความโปร่งใส

 

สำหรับการแก้ปัญหาเหล่านี้ นายวรพจน์เสนอว่าควรปรับปรุงพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจาย เสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 เพื่อลดช่องโหว่จากการตีความการบังคับใช้ และการออกแบบเชิงโครงสร้าง ซึ่งส่งผลต่อระบบธรรมาภิบาลของ กสทช. “พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นฯ มีข้อกำหนดด้านธรรมาภิบาลที่ดีระดับหนึ่ง แต่ต้องพึ่งการตีความ การบังคับใช้ และกลไกที่รัดกุม ชัดเจน”

 

นายวรพจน์กล่าวว่า ในอนาคตอาจจะต้องบัญญัติให้ กสทช. และสำนักงานฯ เป็นหน่วยงานที่สาธารณะสามารถตรวจสอบได้ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ซึ่งจะสร้างความโปร่งใสในการเข้าถึงข้อมูล หรืออาจจะต้องพึ่งพาบทลงโทษในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามโดยให้ถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 ในประมวลกฎหมายอาญา นอกจากนี้กฎหมายควรกำหนดให้มีการตั้งหน่วยงานอิสระเพื่อประโยชน์ในการร่วมตรวจสอบ กสทช. เช่น สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการวิทยุโทรทัศน์ โทรคมนาคม คณะกรรมการด้านเนื้อหา รวมถึงการศึกษาวิจัย ศึกษาผลกระทบจากการกำกับดูแล เพื่อใช้อ้างอิงในการตัดสินใจสำหรับกระบวนการรับฟังความคิดเห็น

[quote]หลักธรรมาภิบาลเกี่ยวข้องกับความเป็นประชาธิปไตย เป็นเรื่องความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบจากภาคประชาชน เพื่อการทำงานของ กสทช. มีประสิทธิภาพดีขึ้น[/quote]

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. เห็นว่า ทีมวิจัยตั้งคำถามเกี่ยวกับกระบวนตรวจสอบถ่วงดุลภายในองค์กร และการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน แต่บางเรื่องก็ไม่สามารถใช้กลไกทางกฏหมายได้ทั้งหมด ต้องอาศัยกลไกอื่นๆเช่น การปรับโครงสร้างหรือข้อกำหนดการทำงานภายในองค์กร “การใช้กฏหมายเช่น มาตรา 157 ในประมวลกฎหมายอาญานั้นต้องเป็นการละเว้นการทำหน้าที่ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย … ผมคิดว่าเพียงแค่ปรับระเบียบให้เป็นพ้นจากตำแหน่งแทน ก็เกิดประสิทธิภาพได้ หากกรรมการไม่สามารถทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้”

 

 

ที่มา BBC Thai

แชร์
Avatar photo

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Exit mobile version