Advertisement

สืบเนื่องจากกระแสดราม่าในช่วงนี้ เรื่องการเข้มงวดการโพสรูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ปัจจุบันนอกจากดาราและผู้มีชื่อเสียงแล้ว บุคคลทั่วไปก็มีสิทธิ์ถูกจับปรับได้ด้วยเช่นกัน

อันดับแรกเรามาดูตัว พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 ที่ถูกนำมาเป็นประเด็นกันก่อน ที่กล่าวว่า

Advertisement

มาตรา ๓๒ ห้ามมิใหผูใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอลหรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอลอันเปนการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจใหผูอื่นดื่มโดยตรงหรือโดยออม

การโฆษณาหรือประชาสัมพันธใด ๆ โดยผูผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอลทุกประเภทใหกระทําไดเฉพาะการใหข้อมูลขาวสาร และความรูเชิงสรางสรรคสังคม โดยไมมีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑของเครื่องดื่มแอลกอฮอลนั้น เว้นแตเปนการปรากฏของภาพสัญลักษณของเครื่องดื่มแอลกอฮอล หรือสัญลักษณของบริษัทผูผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอลนั้นเทานั้น ทั้งนี้ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง

บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิใหใชบังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกําเนิดนอกราชอาณาจักร

ดาวน์โหลด พรบ. ฉบับเต็ม >> Download

การโพสแบบไหนถึงมีความผิด?

ในมาตรา 32 เราจะเห็นว่ามีเพียงวรรคแรกเท่านนั้นที่เกี่ยวกับบุคคลทั่วไปอย่างเรา ที่ระบุว่า ห้ามมิใหผูใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอลหรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอลอันเปนการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจใหผูอื่นดื่มโดยตรงหรือโดยออม ซึ่งใช้บังคับกับทุกคนในราชอาณาจักรไทย ไม่จำกัดเฉพาะดาราและผู้มีชื่อเสียง ดังนั้นมาแยกประเด็นพูดคุยกันครับ เพราะเราอาจโดนได้หากไม่ระวัง

  1. แน่นอน!! หากเรารับค่าจ้าง หรือ ได้ฟรี หรือ ไปงานอีเวนต์ หรือ ได้รับการขอร้องโดยเสน่หา เพื่อทำการโฆษณาชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่ม ก็ถือว่ามีควาผิดแน่นอน ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม
  2. เราจะมองง่าย ๆ ว่าเราไม่ได้โฆษณาหรือได้เงินค่าจ้างอะไรหนิ ทำไมผิดกฎหมายข้อนี้ด้วย? แบบนี้ไม่ได้นะครับ ยังจำวิชาตรรกศาสตร์กันได้ไหม คำว่า “หรือ” ที่เป็นจริงเพียงอย่างเดียวก็เข้าข่ายแล้ว นั่นคือ แม้เราไม่ได้โฆษณา แต่เรา แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอลอันเปนการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจใหผูอื่นดื่มโดยตรงหรือโดยออม เราก็มีความผิดได้ด้วยเช่นกัน และโดยเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว คำว่าเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้หมายความเพียงตราสัญลักษณ์ ยี่ห้อ ฉลาก เท่านั้น แต่หมายถึงอะไรก็ตามที่สื่อให้เห็นได้ว่าเป็นเครื่องดื่มยี่ห้อนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสีขวด รูปร่างของขวด ก็ตาม ก็เข้าข่ายความผิดตามมาตรานี้เช่นกัน
  3. เราไม่ได้โฆษณา และไม่ได้อวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่ม แต่โพสแค่รูปเครื่องดื่ม(รู้ว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อ) กับแคปชั่นที่ไม่เป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่ม อันนี้มีประเด็นนิดหน่อย นั่นคือ โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายถือว่าผิด แต่จากการให้สัมภาษณ์ของทางตำรวจ ระบุในทำนองว่า “ไม่เอาผิด” พูดง่าย ๆ ว่า แม้จะผิดแต่เราไม่มีเจตนาชัดเจนทางตำรวจก็ปล่อยผ่าน
  4. หากเราโพสรูปภาพที่รู้ว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ไม่รู้ยี่ห้อ(ใส่เยือก) อันนี้ให้สบายใจได้ แม้ถูกตำรวจจับไป เราก็อ้างว่าเราดื่มน้ำชาก็ได้ เพราะไม่มีอะไรชัดเจนเลย
  5. หากเป็นกรณีที่คลุมเครือมาก ๆ หละ? หลายคนอาจกังวลกับคำว่า “ดุลยพินิจของตำรวจ” อันนี้ไม่ต้องกังวลไป เพราะกฎหมายให้มีคณะกรรมการพิจารณาครับ ไม่ใช่ดุลยนพินิจส่วนบุคคลของตำรวจแน่นอน

 

สรุปว่า ห้ามใช้คำพูดหรือแคปชั่นเพื่ออวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจใหผูอื่นดื่มโดยตรงหรือโดยออม ไม่ว่าจะโฆษณาหรือมีผลประโยชน์หรือไม่ก็ตาม ก็อยู่ในข่ายที่ทางตำรวจจะ “เอาผิด” เราได้ ส่วนการโพสรูปภาพเครื่องดื่มแต่คำพูดไม่อวดอ้างหรือชักจูงโดยบุคคลทั่วไป ทางตำรวจ “ยังไม่คิดเอาผิด” ในตอนนี้ ยกเว้นโพสรูปภาพเพื่อการโฆษณา ให้คนจดจำสินค้าได้นะครับ ซึ่งกรณีนี้ก็จะเข้าสู่กรณีคลุมเครือตามข้อ 5 กล่าวไว้

 

ตัวอย่าง 1 : หากเราโพสภาพนี้ แม้คำพูดหรือแคปชั่นไม่ได้ชักจูงใด ๆ แต่ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นภาพโฆษณา กรณีนี้มีความผิด

 

ตัวอย่าง 2 : หากเราโพสเชิญชวนเพื่อนมาดื่ม แต่ไม่ระบุว่าดื่มอะไร พร้อมโพสรูปภาพที่ระบุไม่ได้ว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรณีนี้เราสามารถบอกว่าไม่ไช่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขั้นตอนสอบสวนได้ และที่สำคัญตำรวจจะไม่ตามกรณีที่คลุมเครือแบบนี้ครรับ (บอกว่าเป็นน้ำชาเขียวก็ได้นะ :)

 

ตัวอย่าง 3 : หากเราโพสชวนเพื่อนดื่ม พร้อมรูปภาพนี้ ถือว่ามีความผิด เพราะดูรูปแล้วก็รู้แน่นอนว่ายี่ห้ออะไร? และเราชักจูงผู้อื่นให้ดื่มด้วย ถือว่าครบองค์ประกอบความผิด

เงินรางวัลนำจับ?

สิ่งที่หลายคนกังวลและหลายคนตาลุกวาว ก็อยู่ตรงนี้หละครับ ที่ พล.ต.อ.ดร.วิระชัย ทรงเมตตา ที่ปรึกษาสบ.10 ระบุว่าถ้าประชาชนพบการกระทำผิดในลักษณะดังกล่าวสามารถแจ้งความดำเนินดคีได้ทุกสถานีตำรวจ ซึ่งผู้ที่แจ้งความดำเนินคดียังจะได้รับรางวัลนำจับเป็นเงิน 1 ใน 4 ของค่าปรับ สำหรับผู้กระทำความผิดครั้งแรกทางสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำการสั่งปรับไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท และถ้าถูกจับเป็นครั้งที่ 2 จะสั่งปรับไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท แสดงว่าเงินรางวัลสูงสุดที่เราจะได้ ก็คือ 50,000 บาท ต่อกรณีเลยครับ

 

ที่มา:

  1. รายการถามตรงๆกับจอมขวัญ ประจำวันที่ 24 กรกฎาคม 2560
  2. http://m.naewna.com/view/highlight/http:/282043
  3. http://old.ddc.moph.go.th/law/showimg5.php?id=77

 

แชร์
Avatar photo

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Exit mobile version