Advertisement

  การลงแอพพลิเคชั่นของแอนดรอยด์ผ่านทางหน้าเว็บไซด์ www.googleplay.com เป็นเรื่องที่ค่อนข้างสะดวกสบาย มีประวัติการดาวน์โหลดจัดเก็บไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในภายหลัง รวมทั้งยังแยกแสดงแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งในแต่ละเครื่องภายในแอคเคาท์ Gmail ของเราอย่างชัดเจน เราสามารถจัดการลบแอพพลิเคชั่นที่ไม่ใช้ อัพเดทแอพที่ได้รับการปล่อยเวอร์ชั่นใหม่ๆ ออกมา และสามารถเข้าดูข้อมูลของแอพพลิเคชั่นนั้นได้อย่างง่ายๆ

Google Play 001

Advertisement

 

แต่น่าเสียดายที่ระบบการคัดกรองของหน้า Google Play ยังขาดส่วนที่สำคัญไป และสำคัญมากด้วยสำหรับคนที่มีแอพพลิเคชั่นใช้งานสะสมไว้มากพอสมควร นั้นคือการแยกรายชื่อแอพชองเราออกเป็น แอพที่เราทำการซื้อไว้ และแอพที่เป็นตัวแจกฟรี ยิ่งมีจำนวนเยอะมากเข้า เราก็เริ่มจำไม่ได้ว่า เราเคยซื้อแอพอะไรไปแล้วมั่ง

Google Play 002

 

แต่ด้วย Greasemonkey script ที่ผมจะมาแนะนำวันนี้ แค่ให้เราทำการติดตั้งเพิ่มเติมลงในเบราว์เซอร์ Google Chrome หรือ Firefox ตัวใดตัวหนึ่งตามแต่ที่ท่านใช้ มันจะช่วยให้หน้าเว็บของ Google play ที่เราใช้อยู่ทุกๆ วัน สามารถแสดงแยกรายชื่อแอพเป็นแบบซื้อและแบบฟรีได้อย่างที่เราต้องการได้ครับ ^^

 

วิธีทำแสนง่ายในสองขั้นตอน 

ขั้นตอนแรกสำหรับ Firefox เราจำเป็นต้องติดตั้ง Add ons บางตัวลงในเบราว์เซอร์เราก่อนครับ โดยให้ใช้เบราว์เซอร์ FireFox เข้าไปยังหน้าเว็บไซด์

https://addons.mozilla.org/en-US/firefox/addon/greasemonkey/

แล้วทำการคลิ๊กดาวน์โหลด Greasemonkey script แล้วกดติดตั้งลง FireFox ให้เสร็จสมบูรณ์ เป็นตัว Plug in ตัวแรกที่เราต้องใช้สำหรับเตรียมพร้อม ^^

Google Play 003

 

 

ดาวน์โหลดแล้ว เลือกกดติดตั้งให้เรียบร้อย

Google Play 004

 

[divider]

ส่วนขั้นตอนแรกสำหรับเบราว์เซอร์ Google Chrome ต้องใช้ Plug in คนละตัวกับทาง FireFox ครับ ไม่ต้องไปสนใจด้านบน แต่ให้เราใช้ Google Chrome เข้าไปที่ https://chrome.google.com/webstore/category/home ซึ่งเป็น webstore ของทาง Google Chrome เมื่อเข้าไปแล้วให้เราค้นหาแอพตัวนึงที่ชื่อว่า Tampermonkey ใส่ลงไปตรงช่องค้นหาด้านซ้ายบนของหน้า webstore กด Enter แล้วแอพ Tampermonkey จะปรากฏออกมาให้เราติดตั้งในแท็บของ “ส่วนขยาย” ด้านขวามือครับ

Google Play 005

 

 

 

 

กดเข้าไปเพื่อติดตั้งมันลงไปใน Google Chrome ของเราครับ

Google Play 006

 

 

 

 

ขั้นตอนที่สอง ติดตั้ง Tweak ตัวสำคัญ ซึ่งทั้งสองเบราว์เซอร์ที่ติดตั้ง Plug in ตัวแรกตามที่บอกด้านบนแล้ว สามารถเข้าไปติดตั้ง Tweak ตัวนี้ร่วมกันได้เลยครับ โดยใช้เบราว์เซอร์ที่ท่านใช้เข้าไปที่หน้า

http://userscripts.org/scripts/show/149323

Google Play 007

 

 

ซึ่งเป็น Tweak ตัวสำคัญที่ชื่อว่า “Google Play Android Store Library Tweaker” กดคลิ๊กตรงคำสั่ง Install ด้านขวาบนของหน้าเพจ แล้วกดตกลง รอการติดตั้งซึ่งใช้เวลาแค่เพียวชั่วแวบเดียวเท่านั้นครับ หลังติดตั้งสำเร็จ เบราว์เซอร์ทั้งสองตัวที่ท่านเลือกใช้ ก็สามารถแยกแสดงรายชื่อแอพพลิเคชั่นที่ซื้อ และแอพพลิเคชั่นแจกฟรีที่เคยดาวน์โหลดมาได้แล้วครับ

 

โดยหน้าแสดงรายชื่อแอพพลิเคชั่นส่วนตัวของเรานั้นจะอยู่ตรงบริเวณด้านบนขวาของหน้า Google Play ที่เขียนว่า “แอปส์แอนดรอยด์ของฉัน” เมื่อเข้าไปแล้วถ้าเรายังไม่ได้ทำการติดตั้ง Greasemonkey script ก็จะเห็นหน้าตาของตัวเดิมๆ ในรูปแบบนี้ครับ

 

จะไม่มีการแยกแสดงว่าแอพไหนฟรี หรือเสียเงินซื้อมา

Google Play 008

 

 

แต่เมื่อเราทำการติดตั้ง Greasemonkey script เรียบร้อยแล้วตามวิธีการด้านบน ในส่วนด้านใต้รายชื่อแอพที่แสดงแยกตามแต่ละเครื่องที่เราติดตั้งแอพไว้ เราจะเห็นว่ามีแถบคำสั่งสองแถบเพิ่มขึ้นมา นั้นคือ FreeApp และ PaidApp หรือแอพพลิเคชั่นฟรี และแอพพลิเคชั่นที่ซื้อมานั้นเองครับ ^^

Google Play 009

 

 

เราสามารถกดเข้าไปดูได้ทีละส่วนเลยว่า มีแอพใดบ้างที่เราซื้อไว้แล้วหลงลืมมันไป โดยในหน้านี้ จะมีการแจ้งจำนวนแอพซื้อไว้ชัดเจนว่ามีจำนวนอยู่ทั้งสิ้นกี่แอพพลิเคชั่น

Google Play 010

 

 

การถอนการติดตั้ง Greasemonkey script

ในกรณีถ้าเราไม่ต้องการการแสดงในรูปแบบแยกรายชื่อแอพแบบนี้แล้ว ก็สามารถถอน Plug in กลับออกไปได้เช่นกันครับ จะพูดถึงการถอนออกของทางเบราว์เซอร์ FireFox ก่อน

เข้าไปที่ส่วนการตั้งค่าของ Firefox เพื่อเข้าหน้า “ส่วนเสริม” หลังจากเข้าหน้าส่วนเสริม ให้เราเข้าแท็บ “ส่วนขยาย” จะเห็น Plug in Greasemonkey script ปรากฏอยู่ สามารถกดเอาออกถ้าไม่ต้องการใช้งานมันอีกแล้ว หรือแค่กด ปิด เพื่อปิดการใช้งานไว้ก่อนชั่วคราว

Google Play 011

 

 

 

ถ้าต้องการเอาออกให้สิ้นซาก หลังจากเอา Greasemonkey script ออกไปล้ว ให้เลื่อนแท็บลงมาอีกบรรทัด เข้าหน้า User Scripts เข้าไปลบตัว Google Play Android Store Library View Fix ออกได้เลยครับ

Google Play 012

 

 

ส่วนการถอน Tampermonkey ใน Google Chrome ก็เข้าไปที่เมนูการตั้งค่าของ Chrome เช่นกันครับ เข้าไปที่หัวข้อเครื่องมือ แล้วเราจะเห็นคำว่า “ส่วนขยาย” หลังจากเข้าไปแล้วจะเห็นเจ้าตัว Tampermonkey อยู่ในหน้าส่วนขยายนี้แหละครับ ลบหรือกดปิด เมื่อต้องการไม่ใช้ ก็เป็นอันเสร็จแล้วครับ

Google Play 013

 

 

แน่นอนว่าสำหรับผมเอง การติดตั้งเจ้า Tampermonkey หรือ Greasemonkey มีส่วนช่วยให้ค้นหาแอพที่ต้องการได้ง่ายขึ้นมากๆ เพราะบางทีมันก็เริ่มหลงๆ ลืมๆ แล้วครับ ว่าเราเคยซื้อแอพไหนเอาไว้บ้าง ยิ่งช่วงแอพลดราคาเยอะ ถ้าพอจะเห็นประโยชน์ผมก็จะซื้อไว้ก่อนแล้วค่อยเอามาใช้ทีหลัง แต่ส่วนใหญ่ ลืมยาวครับ ^^

ก็หวังว่าจะพอมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ใช้งานแอนดรอยด์แล้วประสบปัญหาแบบเดียวกันนะครับ สวัสดีครับ

แชร์
Avatar photo

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Exit mobile version