Advertisement

Features’ Story: ‘ใช้ให้ถูกวิธี ตั้งค่าให้ถูกใจ’ หน้าแสดงข้อมูลขณะปิดจอ Glance Screen ของ Nokia Lumia Windows Phone 8

20140316124006

 

Advertisement

หน้าจอสรุปข้อมูล หรือหน้าจอแสดงข้อมูลขณะปิดจอ ของเครื่อง Nokia Lumia ถือเป็นคุณสมบัติพิเศษประจำแบรนด์อีกอย่างหนึ่งที่เราหาไม่ได้จากมือถือของค่ายอื่นๆ ครับ ประโยชน์ของมันก็คือการแสดงผลในหน้าสลีปที่ปกติแล้วสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ หน้าจอจะต้องดับสนิทเท่านั้น แต่ของ Nokia Lumia จะสามารถแสดงการแจ้งเตือนและแสดงเวลาในขณะนั้นได้ โดยใช้เทคโนโลยีการแสดงผลที่ใช้พลังงานที่ต่ำมากๆ

และในการอัพเดทเวอร์ชั่นล่าสุด  หน้าแสดงข้อมูลขณะปิดจอ หรือ Glance Screen ก็สามารถให้เราเข้าไปตั้งค่าและเลือกรูปแบบการใช้งานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น แม้เพื่อนๆ หลายคนจะรู้แล้วเล่นแล้ว แต่อีกหลายๆ คน ยังไม่ค่อยเข้าใจในการใช้งานและการตั้งค่าของมันกันซักเท่าไหร่ วันนี้ผมเลยจะมาอธิบายรูปแบบการใช้งานให้เข้าใจกันได้ง่ายๆ และครบถ้วน เพื่อการใช้งานที่ถูกใจเพื่อนๆ มากขึ้นครับ ^^

อัพเดทหน้าแสดงข้อมูลขณะปิดจอ Glance Screen ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดกันก่อนครับ 

10e1b108-0a22-4dae-8c72-70785e601f51

การตั้งค่าต่างๆ ให้ตรงใจกับการใช้งาน

เริ่มการใช้งาน ให้เราเข้าไปที่การตั้งค่าตัวเครื่องครับ หัวข้อ ““แสดงข้อมูลขณะปิดหน้าจอ”

หัวข้อแรกที่เราควรสนใจ นันคือ “หน้าจอแสดงข้อมูลขณะปิดหน้าจอ” จะเลือกกันแบบไหนดี ซึ่งจะมีให้เราเลือกตั้งค่าอยู่ 4 แบบ ครับ มาดูกันว่า แต่ละแบบนั้นทำงานอย่างไร

  • ปิด : อันนี้น่าจะเข้าใจ ^^ หมายถึงไม่ต้องการใช้งาน Glance Screen นั้นเองครับ เพราะบางคนก็ไม่ชอบ
  • แอบดู : เป็นตัวเลือกที่ผมชอบมากที่สุด เพราะหน้า Glance Screen จะแสดงแค่ในช่วงหลังเวลาหลังการปิดจอชั่วขณะ แล้วมันจะดับไป ถ้าต้องการตรวจเช็คหน้า Glance Screen ใหม่ เพื่อดูการแจ้งเตือนหรือดูนาฬิกา แค่เอามือปาดผ่านหน้าจอ (เซ็นเซอร์แสงด้านบน) หน้า Glance Screen ก็จะติดขึ้นมาแสดงอีกครั้งทันทีครับ
  • ช่วงเวลา : หน้า Glance Screen จะแสดงอยู่บนหน้าจอเป็นเวลาประมาณ 15 นาที ก่อนจะปิดตัวเองไปครับ
  • ตลอดเวลา : หน้า Glance Screen จะแสดงอยู่บนหน้า Lumia ของเราตลอดเวลา

 wp_ss_20140316_0001

[divider]

การตั้งค่าในส่วนที่สอง  “ข้อมูลหน้าจอ”

เมื่อเรากำหนดรูปแบบการโชว์แสดงของหน้า Glance Screen แล้ว ต่อมาเราก็จะมากำหนดว่า จะให้มันแสดงอะไรบ้าง แจ้งเตือนอะไร ตามที่เราต้องการครับ โดยรูปแบบการแจ้งแสดงของหน้า Glance Screen จะมีสามรูปแบบให้เลือกด้วยกัน นั้นก็คือ

ปิด : คือไม่ต้องมีอะไรพิเศษ มีแค่นาฬิกาและไอคอนการแจ้งเตือนจากแอพพลิเคชั่น ที่เราตั้งค่าไว้ใน “หน้าจอเมื่อล็อก” เท่านั้น

wp_ss_20140316_0006

ข้อความแจ้งหน้าจอล็อค : เป็นการเปิดให้หน้า Glance Screen แสดงข้อความแจ้งเตือนในส่วนบนสุดของหน้า Glance Screen ตามแอพพลิเคชั่นที่เราตั้งค่าไว้ในการตั้งค่า “หน้าจอเมื่อล็อก” ในส่วนของ “เลือกแอพเพิ้อแสดงสถานะอย่างละเอียด” เช่น ข้อความอีเมลไม่ได้อ่าน การแจ้งเตือนนัดหมายเป็นต้นครับ

wp_ss_20140316_0006

ข้อความของฉัน : เป็นการใส่ข้อความตัวอักษรลงไปบนหน้า Glance Screen ได้เองตามที่ต้องการครับ จะใส่เป็นคำว่าอะไรก็ได้ และสามารถกำหนดขนาดของตัวอักษรได้สามขนาด และเมื่อเรากรอกข้อความตามที่ต้องการแล้ว จะสามารถปักหมุดการกำหนดข้อความของเราไว้เป็น Tile อยู่บนหน้าโฮมได้อีกด้วย เพื่อให้ครั้งหน้า เราสามารถกดที่ Tile เพื่อเข้ามาเปลี่ยนข้อความได้โดยตรงในทันทีครับ

wp_ss_20140316_0007

[divider]

สุดท้ายกับการตั้งค่าสีสันใน โหมดกลางคืน

ตัวอักษร Glance Screen ของเราสามารถปรับแต่งสีได้สี่สีด้วยกันครับ นั้นคือสีปกติ (ขาว) และ แดง, เขียว, ฟ้า โดยจะกำหนดเป็นช่วงเวลาให้ตัวเครื่องสลับจากสีปกติ (ขาว) ไปเป็นสีอื่นๆ อีกสามสีถ้าเราต้องการ

wp_ss_20140316_0008

ในกรณีของผม ต้องการให้ Glance Screen เป็นสีแดงตลอดเวลาเพื่อให้เข้ากันกับสีเครื่อง ก็ตั้งให้เวลาเริ่มและเวลาจบทดครบหนึ่งวัน เท่านี้ Glance Screen ก็จะเป็นสีแดงตลอดทั้งวันตามที่ผมต้องการแล้วครับ

20140316124006

สุดท้าย สำหรับเครื่องบางรุ่น จะมีการรองรับการดับเบิ้ลทัชในหน้า Glance Screen เพื่อปลุกเครื่องเข้าสู่หน้าจอล็อกโดยไม่ต้องกดปุ่มได้ โดยการเข้าไปที่การตั้งค่า “สัมผัส” เพื่อเข้าไปเปิดฟังชั่นดังกล่าวครับ (ไม่รองรับทุกรุ่น)

wp_ss_20140316_0011

เหล่านี้คือสิ่งที่ผมหยิบมาแนะนำกันใน Features’ Story: ‘ใช้ให้ถูกวิธี ตั้งค่าให้ถูกใจ’ หน้าแสดงข้อมูลขณะปิดจอ Glance Screen ของ Nokia Lumia บทความนี้ครับ และพบกันใหม่ใน Features’ Story ของเรื่องราวต่อๆ ไป มีอะไรน่าสนใจในเครื่องสมาร์ทโฟนอื่นๆ อีก จะรีบหยิบนำมาฝากกันเลยครับ ^^ “เพื่อการใช้งานที่สนุกมากขึ้น” 

ขอบคุณครับ

[divider]

เรื่องราวก่อนหน้า ใน  Features’ Story <<<Click
แชร์
Avatar photo

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Exit mobile version