Advertisement

บ่อยครั้งเลยครับที่ Mark Zukerberg มักจะเปรียบเทียบ Facebook ว่าเป็นเหมือนกับหนังสือพิมพ์สำหรับผู้ใช้ทุกคน เป็นที่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นวันเกิดเพื่อน งานปาร์ตี้ หรือแม้กระทั่งเรื่องซุบซิบ เรื่องราวเหล่านี้จะถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาในทุกๆเช้าผ่าน Facebook อย่างไรก็ตามคำเปรียบเทียบพวกนี้จะกลายเป็นสิ่งที่ด้อยค่าไปเลยล่ะครับ เมื่อมีรายงานจาก Facebook ออกมาว่าทาง Facebook ได้พูดคุยกับเหล่าผู้เผยแพร่ข่าวชั้นนำอย่าง Buzzfeed, National Geographic และ The New York Times แล้วว่า ให้โพสต์เนื้อหาลงไปในหน้าของ Facebook แบบเต็มๆ แบบที่ว่าไม่ได้โพสแค่ลิ้งค์เท่านั้น แต่เป็นบทความและเนื้อหาทั้งหมดของข่าวลง Facebook โดยที่ไม่ต้องกดตามลิ้งค์เพื่อออกไปจาก Facebook เลยครับ

facebook-stock-1101.0.0

Advertisement

รายได้จากโฆษณาบน Facebook จะสามารถแบ่งให้ผู้กับเผยแพร่เนื้อหา

ตามที่ทางสำนักข่าว New York Times รายงาน : วิธีการใหม่นี้จะมีการแบ่งรายได้โฆษณาให้กับทางผู้เผยแพร่ด้วย ส่วนโฆษณาปกติที่เคยใส่ไว้นั้นจะต้องนำออกและเปลี่ยนมาใช้โฆษณาอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในแต่ละบทความได้ จากที่ได้มีการทดลองวิธีการนี้กับแบรนด์ชั้นนำแล้ว (ยกตัวอย่าง Verizon กับ NFL ที่ใส่โฆษณาของ Verizon ไว้หลังจากจบคลิปฟุตบอล) มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นระหว่างความสัมพันธ์ของ Social Network และผู้เผยแพร่ได้ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ

คงต้องยอมรับล่ะครับว่า สัดส่วนผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเหล่าผู้เผยแพร่นั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ Facebook โดยตรง และโลกทุกวันนี้ก็กำลังเข้าสู่ยุคที่สมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทอย่างมากกับการดำเนินชีวิตผู้คน โดยเฉพาะกับเด็กที่เพิ่งเกิดมาในยุคใหม่นี้ เด็กๆเหล่านี้ที่กำลังเติบโตขึ้นจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือการติดตามอ่านข่าวจากอินเทอร์เน็ตได้เลย

ฉะนั้นจะเห็นได้ชัดเลยครับว่า Facebook เป็นเหมือนกับสิ่งที่สำคัญมากๆในการเพิ่มจำนวนผู้เยี่ยมชม และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือมันส่งผลกับรายได้โฆษณาของ Facebook ด้วยนั่นเอง ซึ่ง Facebook เองก็ รู้ว่าตัวเองมีความสำคัญอย่างมากในการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ แต่ทาง Facebook ก็ยังรู้สึกว่ารูปแบบพวกนี้น่าจะสามารถพัฒนาได้อีก (ยกตัวอย่างเช่น สำนักข่าว New York Times โพสลิ้งค์ข่าวบน Facebook จากนั้นหากมีคนสนใจข่าวแล้วกดตามเข้าไปที่ลิ้งค์ที่ส่งตรงไปยังเว็บไซต์ของ New York Times มันอาจต้องใช้เวลาในการโหลดข้อมูลถึง 8 วินาที แต่ถ้าเกิดว่าโพสเนื้อหาทั้งหมดลง Facebook เลย แน่นอนว่ามันใช้เวลาน้อยกว่าในการเข้าถึงเนื้อหาและมันจะทำให้มีผู้เข้าชมเนื้อหานั้นๆได้มากขึ้นด้วย

Facebook ได้เริ่มสนับสนุนให้บริษัทต่างๆตีพิมพ์เนื้อหาโดยตรงผ่าน Facebook

อย่างไรก็ตามอุตสาหรกรรมสื่อก็ยังคงกังวลกับการที่ต้องพึ่งพา Facebook มากเกินไปอยู่ดี
เหมือนกับการเอาอำนาจที่ตัวเองเคยมีไปมอบให้ Facebook ยังไงอย่างงั้นเลยครับ

เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา Facebook ได้โพสบล็อกที่มีชื่อว่า “What the Shift to Video Means for Creators” โดยมีเนื้อหาในการนำเสนอข้อดีของการโพสท์วิดีโอบน Facebook ว่าการโพสท์วิดีโอบน Facebook นั้นจะทำให้มีผู้เข้าถึงวิดีโอมากกว่า ซึ่งนั่นก็ทำให้ Facebook เกิดรายได้อย่างมหาศาลในการขายโฆษณาเช่นกัน นอกจากนี้ในบล็อกนั้นยังมีการให้คำแนะนำสำหรับผู้สร้างวิดีโอด้วยเกี่ยวกับวิธีทำให้วิดีโอของพวกเขาทำงานได้ดีที่สุด เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สุดโดยระบุว่า “วิดิโอของคุณมันต้องดูดิบ สดใหม่ และน่าดึงดูด” แต่สำหรับผู้สร้างวิดีโอบางคนกลับมองว่าคำแนะนำพวกนี้กำลังบอกว่า

“วิดีโอของพวกคุณตอนนี้มันจะกลายเป็นของพวกเรา!!”

อย่างที่เว็บไซต์ The Awl ของนาย John Hermanng เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับบล็อกที่ Facebook เผยแพร่ออกมานั้น มันมีความหมายว่า Facebook กำลังสนใจในการเป็นผู้เผยแพร่เนื้อหามากกว่าการเป็นผู้กระจายเนื้อหาที่เหล่าบริษัททำขึ้น เหล่าบริษัทผู้เผยแพร่นั้นก็เป็นเพียง “คนกลาง” เท่านั้นในสายตาของ Facebook

เห็นได้ชัดเลยว่า Facebook นั้นได้หยุดมองตัวเองว่าเป็นเพียงผู้ให้บริการเชื่อมต่อผู้บนโลกออนไลน์มานานแล้วล่ะครับ อย่างที่เราเห็นได้ชัดเจนเลยในโปรเจคหนึ่งของ Facebook อย่าง Internet.org ที่ทาง Facebook ทำให้ประเทศที่ด้อยพัฒนาได้เข้าถึง Internet ได้ในราคาที่ถูกลง ซึ่งนั่นทำให้บริษัทนั้นก้าวไปอยู่ในตำแหน่งที่เป็นเพียงผู้ให้บริการ Internet เท่านั้นสำหรับผู้ใช้บางคน

ส่วนตัวแล้วผมมองว่าเป็นแนวคิดที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ กับการออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ของ Facebook แต่คาดว่าทาง Facebook ได้ประโยชน์ไปเต็มๆแน่นอนอย่างไม่มีข้อสงสัยเลย

เพราะหากมีการโพสเนื้อหาทั้งหมดลงบน Facebook ไม่ว่าจะรูปภาพ วิดีโอ รวมไปถึงบทความ มันจะทำให้ทางผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องออกจาก Facebook ไปที่เว็บไซต์อื่นเลย ซึ่งนั่นจะทำให้มูลค่าในการโฆษณาบน Facebook นั้นพุ่งสูงขึ้นแน่นอน

ส่วนสำหรับผู้ใช้นั้นการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นผลดีครับเพราะจะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วขึ้น

ส่วนในมุมมองของผู้ผลิตสื่ออาจจะมีทั้งได้และเสียครับ ข้อแรกเลยผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายขึ้นทำให้มีปริมาณการเยี่ยมชมเพิ่มขึ้น  อย่างที่สองคือเรื่องของการแบ่งรายได้จากโฆษณา Facebook ส่วนข้อเสียที่ทางผู้ผลิตสื่อต้องเสี่ยงคือ การฝากชีวิตไว้กับ Facebook ทั้งหมดครับซึ่งก็ไม่รู้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าผมยกตัวอย่างว่าหากเกิดเหตุไม่คาดฝันคนเลิกใช้ Facebook กันหมดแล้วผู้ผลิตสื่อเหล่านี้จะเป็นอย่างไรต่อไป ที่สำคัญยังมีเรื่องของลิขสิทธิ์ด้วยเพราะการโพสบน Facebook นั้นจะทำให้เนื้อหาทั้งหมดมี Facebook เป็นเจ้าของร่วมด้วย

 

 

 

CREDIT : THEVERK

แชร์
Avatar photo

คอมลัมนิสต์แอ๊คหลุมผู้หลงใหล IT และ Gadget พร้อมสาระความรู้ How To ดีๆ สำหรับการใช้งานมือถือและแท๊ปเบล็ตที่พร้อมจะมาแชร์กับเพื่อนๆ ที่สนใจในเนื้อหาเดียวกัน เพื่อให้พื้นที่ AppDisqus.com เป็นสเปซสำหรับการแบ่งบันโดยแท้จริง

Advertisement
Exit mobile version