วันเสาร์, พฤษภาคม 4
Advertisement

เรื่องราวของภาพชุดนี้มันเริ่มต้นที่กลุ่มทีมวิจัยพัฒนาของ Google อยู่ๆ ก็ทำการตั้งโจทย์เพื่อท้าทายตัวเองขึ้นมาครับ หลังหนึ่งในทีมวิจัยของ Gcam โชว์ภาพถ่ายตัวเมืองซานฟรานซิสโกที่ถูกบันทึกด้วยกล้องถ่ายภาพและเลนส์ระดับมืออาชีพในเวลากลางคืน ซึ่งมันให้ผลลัพท์ที่ออกมาในระดับสูงมากทั้งความคมชัดและรายละเอียดของภาพ ก็เลยมานั่งหารือกันว่าถ้าพวกเขาจะถ่ายภาพแบบนี้กันให้ได้ด้วยอุปกรณ์สมาร์ทโฟน พวกเขาจะต้องทำอย่างไร

Advertisement

ตัวอย่างภาพของสะพาน Golden Gate จาก Marin Headlands ถ่ายด้วยกล้อง DSLR (Canon 1DX, Zeiss Otus 28mm f / 1.4 ZE)

Florian Kainz หนึ่งในทีมวิศวกรของ Gcam ผู้ร่วมพัฒนาแอพพลิเคชั่นกล้องถ่ายภาพของสมาร์ทโฟนและระบบ HDR+ ที่อยู่ในเครื่อง Google Pixel และ Nexus เป็นผู้รับโจทย์ของความท้าทายในครั้งนี้ โดยเขาทดลองเริ่มหาทางออกจากพื้นฐานความรู้เดิมจากตัว HDR+ และแอพพลิเคชั่นถ่ายภาพตัวอื่นที่มีความสามารถในการถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดี และนำมาพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นถ่ายภาพที่ออกแบบง่ายๆ ตัวใหม่ของเขาเอง ซึ่งมันจะมีความสามารถในการเข้าไปกำหนดค่าต่างๆ ของกล้องได้ เช่นปรับสปีดชัตเตอร์เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการรับแสง การปรับค่า ISO ของกล้อง และกำหนดระยะโฟกัสได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะบันทึกภาพได้ติดต่อกันมากถึง 64 เฟรมต่อเนื่อง โดยจะได้ไฟล์ภาพมาเป็นไฟล์ RAW และสามารถนำไปใช้งานต่อได้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกันกับไฟล์ที่ได้มาจากกล้องถ่ายภาพนั้นเองครับ

จากนั้นก็เริ่มทำการทดสอบการถ่ายภาพจากกล้องสมาร์ทโฟนของเครื่อง Google Pixel และ Nexus 6P โดยการตั้งค่าตัวกล้องให้ทำการจัดเก็บภาพโดยเปิดม่านชัตเตอร์ไว้ประมาณ 2-4 วินาที และทำการเก็บภาพเป็นจำนวนหลายสิบเฟรม การทดสอบแบบนี้ก็คือการนำสมาร์ทโฟนมาเลียนแบบเทคนิคการทำงานที่กล้องโปรนิยมใช้กันนั้นแหละครับ เป็นการเก็บภาพด้วยการสะสมแสงและรายละเอียดของภาพไว้ทีละน้อย และนำภาพที่ได้เหล่านั้นไปรวมกันสร้างภาพที่สมบูรณ์ขึ้นมาหนึ่งภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์

ซึ่งผลลัพท์ที่ได้จากการทดสอบของ Kainz ก็ต้องบอกว่ามันน่าทึ่งมากสำหรับผลงานจากสมาร์ทโฟนครับ

ภาพเหล่านี้คือภาพจากเวลากลางคืนที่แสงน้อยในสถานที่จริง เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูข้อมูลของการทดสอบจริง และไฟล์ภาพขนาดเต็มได้จากหน้า Google Research Blog จะเห็นลิงก์สำหรับภาพซูมขนาดเต็ม

นี่เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่ากล้องถ่ายภาพของสมาร์ทโฟนยังคงพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้อีกมาก ซึ่งปัญหาในวันนี้คือความยุ่งยากในการประมวลผลภาพให้ออกมาได้ในระดับนี้ ยังคงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำในเครื่องสมาร์ทโฟนจนจบทุกขั้นตอนนั้นเองครับ

แชร์
Avatar photo

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Exit mobile version