Advertisement

หนึ่งในโครงการรณรงค์ให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือคัดแยกขยะ ไม่ทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสื่อมสภาพปะปนกับขยะทั่วไป เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี แต่เราจะทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ที่ไหนดี? มือถือเก่า คอมพ์หมดสภาพ เพราะล้วนเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

เรามาฟังข้อมูลที่น่าเป็นห่วง ของปริมาณจำนวนขยะที่กรมควบคุมมลพิษและสำนักกรุงเทพมหานคร ต้องรับมือกันในไทยทุกๆ วัน

Advertisement

โดยข้อมูลนี้เปิดเผยโดย นายสุเมธา วิเชียรเพชร ผู้อำนวยการสำนักจัดการการของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษครับ

“ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นขยะอันตรายที่กำลังสร้างปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีปริมาณปีละ 600 ตันต่อปี แต่สามารถจัดการได้เพียงแค่ 40% และเพื่อให้การดำเนินงานแก้ปัญหาการจัดการของเสียอันตรายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมควบคุมมลพิษ และกรุงเทพมหานคร จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกับภาคเอกชน ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชน เช่นเดียวกับความร่วมมือของเทสโก้ โลตัส และดีแทคครั้งนี้  เพื่อช่วยกันหยุดอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และโลกของเรา”

ข้อมูลปริมาณขยะล้นเมิือง จาก นางสุธิศา พรเพิ่มพูน ผู้อำนวยการกองจัดการขยะของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล กรุงเทพมหานคร

“ปัจจุบัน กทม. ผลิตขยะปริมาณวันละ 10,000 ตันหรือเท่ากับปริมาณสนามฟุตบอล 10 สนาม ซึ่งมาจากจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์และประชากรแฝงรวม 10 ล้านบาท  ทั้งนี้ แบ่งออกเป็นขยะอินทรีย์ 50% ขยะรีไซเคิล 30% และขยะทั่วไป 17% และขยะอันตราย 3% ขณะที่ กทม. สามารถจัดเก็บ 10% ของขยะอันตรายทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งที่เหลืออนุมานได้ว่าอาจเก็บไว้เฉยๆ หรือมีการกำจัดไม่ถูกวิธีโดยการไถกลบหรือเผา ทำให้เกิดการความเสี่ยงต่อสุขภาพ ตลอดจนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่อากาศ”

 

ฟังดูน่าเป็นห่วง และเราเองจะทำอย่างไร? ในเมื่อไม่มีความเข้าใจในการแยกและกำจัดขยะมีพิษเหล่านี้ด้วยตัวเอง

แต่ในไทยเรามีทางออกแล้วครับ

เพราะตั้งแต่วันนี้ ทางเทสโก้ โลตัส กับกทม. พร้อมกรมควบคุมมลพิษ และค่ายดีแทค จับมือร่วมกันเปิดจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ เก็บรวบรวมโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้ว ก่อนนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธี เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในโครงการรณรงค์ประชาชนยุคไทย 4.0 โดยเริ่มเปิดจุดรับทิ้งในร้านค้าเทสโก้ โลตัส สาขากลางเมืองก่อนเป็นเฟสแรกครับ

ในความร่วมมือครั้งนี้ เทสโก้ โลตัส ในฐานะเป็นตัวแทนช่องทางของผู้จัดจำหน่ายและธุรกิจค้าปลีก ที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนในพื่้นที่หลายๆ สาขา ยินดีที่จะเข้ามาช่วยเรื่องจัดพื้นที่ตั้งกล่องรับขยะเหล่านี้ เพื่อความสะดวกให้ผู้บริโภค โดยมีพันธมิตรดีแทค เป็นผู้ร่วมจัดเก็บและนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี

ทั้งนี้ เทสโก้ โลตัส ได้นำร่องโครงการดังกล่าวด้วยสาขา6 สาขาในกรุงเทพฯ ประกอบด้วย สาขาบางแค ,พระราม 4 , บางนา ,ลาดพร้าว ,บางกะปิ ,สุขาภิบาล 1  ก่อนจะสขยายเพิ่มอีกหลายสาขาต่อๆ ไปในอนาคต

ในปี 2559 ที่ผ่านมา ดีแทคสามารถจัดเก็บโทรศัพท์มือถือได้จำนวนกว่า 380,000 เครื่อง เป็นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่สิ่งแวดล้อมได้ถึง 4.8 ตัน หรือเท่ากับสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน 1 สระ ซึ่งน่าชื่นชมครับ

โดยในปีนี้ ดีแทคตั้งเป้าหมายในการจัดเก็บเพิ่มเป็น 500,000 เครื่อง และหาพันธมิตรในการขยายจุดทิ้งโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสื่อมสภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนนำมือถือเก่า แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เสื่อมสภาพอื่นๆ มาทิ้งที่กล่องรับ ณ เทสโก้ โลตัส 6 สาขาทั่วกรุงในช่วงแรก รวมถึง ณ ดีแทคฮอลล์อีก 49 สาขาทั่วประเทศที่จะรองรับด้วยเช่นกัน

พวกเรารู้กันแล้วนะครับ ว่าหน้าที่ของผู้ใช้ ไม่ใช่แค่หมดสภาพเลิกใช้ แล้วก็โยนลงขยะไป มันสร้างมลภาวะเป็นพิษ สะสมทิ้งไว้ให้กับคนรุ่นหลัง หรือลูกหลานของเรานั้นเองนะครับ ฉะนั้นคนละมือคนละไม้ ช่วยกันหน่อยเพื่อเมืองไทยของเราเอง

 

 

 

 

แชร์
Avatar photo

ในสิ่งที่เรารู้และเข้าใจ มันก็ยังมีระดับความลึกของความเข้าใจที่แตกต่างกัน ลึกบ้าง บางบ้าง แต่ประโยชน์ในการส่งผ่านสิ่งที่รู้ออกไปให้กับผู้อื่นนั้นไม่ต่างกัน มีประถม มีมัธยม มีอุดมศึกษา ไม่มีใครเริ่มต้นเรียนรู้จากในระดับปริญญา ฉะนั้นจะมากจะน้อยเชื่อเถอะว่า ความรู้ของทุกคนมีประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ เท่าๆ กัน

Advertisement
Exit mobile version