วันจันทร์, เมษายน 29
Advertisement

 

 เชื่อแน่ว่าหลายๆ คนคงเคยตั้งคำถามกับตัวเองว่า “เรียนคณิตศาสตร์ไปเพื่ออะไร?” ในวันนี้เราจะมาให้อีกหนึ่งเหตุผลจากหลายร้อยหลายพันเหตุผลที่เราต้องเรียนและใช้งานคณิตศาสตร์ในการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีในปัจจุบัน

Advertisement

 

สำหรับผู้ใช้ SmartPhone และมีการติดตามข่าวสารและหาความรู้เพิ่มเติมที่เรา AppDisqus ได้แนะนำและแชร์ความรู้ดีๆ แก่เพื่อนๆ อยู่เสมอ ก็จะพบว่า หัวใจสำคัญที่จะทำให้ SmartPhone สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือหน่วยประมวลผลหรือ CPU นั่นเอง ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับ CPU จึงพัฒนาภายใต้เป้าหมาย หรือโจทย์ที่ต้องแก้ให้ได้ ก็คือ ทำอย่างไรให้ CPU มีขนาดเล็กลงและประมวลผลได้รวดเร็วมากขึ้น??

2013108_24372

 

โดยพื้นฐานของ CPU มันเป็นวงจรตรรกะที่สร้างจาก รีเลย์ หลอดสุญญากาศ และทรานซิสเตอร์ โดยประกอบกันเป็นวงจร Logic gate จาก Logic gate พื้นฐาน AND, OR, NOT, XOR และอื่นๆ ประกอบกันเป็นวงจรที่ซับซ้อนขึ้น เช่น วงจรบวกเลขฐาน 2  วงจร flip flop วงจร decoder วงจร encoder ในปัจจุบัน วงจรทั้งหมดสามารถบรรจุอยู่ในวงจรรวม (Integrated Circuit, IC) หนึ่งตัว ซึ่งภายในประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวนมาก เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์(Microprocessor)

microprocessor

 

อันว่าวงจรที่ซับซ้อนที่ว่ามานี่หละครับคือปัญหา!! วงจร Logic gate ในไมโครโปรเซสเซอร์ ที่มีความซับซ้อนเกินไปก็จะส่งผลทำให้การทำงานโดยรวมของ CPU ช้าลง และเปลืองพื้นที่ให้กับแผงวงจรที่ซับซ้อนเหล่านี้ แต่หากเราลดความซับซ้อนลงได้ ก็จะส่งผลทำให้การทำงานของ CPU เร็วขึ้น แผงวงจรก็จะเล็กลงด้วย ต่อไปเราก็จะได้ SmartPhone หรืออุปกรณ์อะไรสักอย่างที่เล็กลงแต่ยังคงประสิทธิภาพการทำงานเอาไว้ได้เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ!! ลองจินตนาการถึง Smart Watch หรือ Smart Glass ต่างๆ ที่ในอนาคตจะสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและหลากหลายมากขึ้น หากมีหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพและเจ๋งขึ้นทุกวัน

 

แล้ว ตรรกศาสตร์ และ ทฤษฎีเซต มันเกี่ยวอะไรด้วย??

 

อย่างที่ว่าไปก่อนหน้านี้ว่า CPU มันเป็นวงจรตรรกะ ที่เรียกว่า Logic gate ที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อรับคำสั่งและประมวลผล หากคำสั่งหรือฟังก์ชันที่เราใส่ไปมันซับซ้อนก็จะทำให้แผงวงจรซับซ้อนไปด้วย การทำงานก็จะช้าลงและเปลืองพื้นที่ในการวางแผงวงจรเหล่านี้ เราจึงจะมาลดขนาดคำสั่งหรือฟังก์ชันที่ซ้ำซ้อนเหล่านี้ให้เล็กลงกันครับ ด้วย “ตรรกศาสตร์และทฤษฎีเซต”??

fig_01

 

Logic gate ประกอบขึ้นจากหน่วยการทำงานเล็กๆ ทีเรียกว่า “Gates” ซึ่งสัมพันธ์กับการดำเนินการทางตรรกศาสตร์และทฤษฎีเซต ส่วนตัววงจรภายในก็ทำหน้าที่เป็น “ฟังก์ชันค่าความจริงของสัญญาณ” โดย Gates พื้นฐานมีดังต่อไปนี้

10557458_10205112363182297_8788541765550225372_n

 

กระบวนการลดขนาดแผงวงจร

ในการลดขนาดแผงวงจร อันดับแรกเราจะเปลี่ยนแผงวงจรที่ซับซ้อนให้เป็นข้อความทางตรรกศาสตร์และเซตเสียก่อน จากนั้นก็ใช้ความรู้ทางตรรกศาสตร์และเซตลดขนาดของข้อความลงโดยยังมีค่าความจริงหรือฟังก์ชันการทำงานไม่เปลี่ยนแปลง กลายเป็นข้อควมอย่างง่าย สุดท้ายก็แปลงข้อความอย่างง่ายนั้นกลับไปเป็นแผงวงจรอย่างง่ายและนำไปใช้สร้างแผงวงจรจริงๆ ได้เลย

 

ตัวอย่างแผงวงจรต่อไปนี้

11149426_10205112405583357_5951940163318557926_n

 

แผนภาพนี้แสดงวงจร  xy’ + x’y ซึ่งสมนัยกับประพจน์ (p ∧ q ) ∨  (p ∧ q ) และสมนัยกับ   (A∩B’) ∪ (A’∩B)

11138567_10205112454224573_3828373354543773462_n

 

ตัวอย่างการลดหรือลัดวงจรที่มีความซับซ้อนให้เล็กลงโดยใช้ทฤษฎีด้านตรรกศาสตร์หรือทฤษฎีเซต

นี่เป็นตัวอย่างวงจรที่สร้างมาจากคำสั่งหรือฟังก์ชันพื้นฐานที่มีความซับซ้อน หากเรานำไปแปลงเป็นแผงวงจรก็จะทำให้ประมวลผลได้ช้าและเปลืองพื้นที่ในการวางวงจรอีกด้วย

logic gates cpu

 

เราก็จะใช้คุณสมบัติที่ว่า x’y’z + x’y’z’  สมนัยกับประพจน์ (p ∧ q ∧ r) ∨  (p ∧ q ∧ ~ r) และสมนัยกับ   (A’∩B’∩C) ∪ (A’∩B’∩C’) แล้วเราก็นำความรู้เรื่องตรรกศาสตร์และทฤษฎีเซตเรื่องการสมนัยหรือความเท่ากันมาช่วยในการลดวงจร ดังต่อไปนี้

 

ตามหลักการสมนัยทางตรรกศาสตร์ จะได้ว่า  (~ p ∧ ~ q ∧ r) ∨  (~ p ∧ ~ q ∧ ~ r)  ≡  ~  (p  ∨  q )

ตามหลักความเท่ากันของเซต จะได้ว่า   (A’∩B’∩C) ∪ (A’∩B’∩C’) =  (A ∪ B)’

 

เมื่อแปลงกลับไปเป็น Logic gate ก็จะได้ว่าผลลัพธ์สมนัยกับ (x + y)’ และแปลงเป็นรูปแผงวงจรได้ดังต่อไปนี้ ซึ่งจะเป็นว่าเราสามารถลดขนาดวงจรลงไปได้มหาศาลเลยครับ

logic gate cpu 002

 

เท่านี้ก็จะช่วยทำให้วงจรมีขนาดเล็กลงได้ครับ ทำให้ระบบมีการประมวลผลเร็วขึ้น และสิ้นเปลืองพื้นที่ในการต่อแผงวงจรน้อยลง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของหน่วยประมวลผลได้ ซึ่งนอกจากองค์ความรู้เรื่องตรรกศาสตร์และทฤษฎีเซตแล้ว ก็ยังมีอีกหลายๆ วิธีที่ใช้ลดขนาดวงจรได้ แต่ทุกวิธีล้วนมีพื้นฐานคล้ายกัน ใช้หลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มาช่วย แตกต่างกันเพียงวิธีการ ความเร็ว และประสิทธิภาพในการลดขนาดวงจร เพื่อนๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้เองนะครับ สำหรับบทความนี้ทำได้เพียงชี้ให้เห็นช่อง ส่องไฟให้รู้ทางก็เท่านั้น จะอ่านพอรู้พอเข้าใจเราก็ยินดี จะอ่านเพิ่มเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ผมก็ยิ่งยินดีใหญ่ และหากอ่านแล้วเจอข้อผิดพลาดหรือมีความรู้เพิ่มเติมก็เสริมได้ที่กล่องข้อความด้านล่างบทความนี้นะครับ เรายินดีรับคำติชมและแชร์ความรู้ร่วมกันเสมอครับ 

 

เอกสารอ้างอิง:

1. Microprocessor Design & Architecture

2. Logic Gates Added To LED Driver Create Camera Privacy Flash Warning

3. องค์ประกอบฮาร์ดแวร์

4. LOGIC GATES

 

 

 

 

 

แชร์
Avatar photo

อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่มีความสุขที่ได้ส่งต่อความรู้ให้คนอื่น ไม่อยากจำกัดเฉพาะนักศึกษาตัวเอง จึงได้ลงมือเขียนสิ่งที่ตนเองรู้ลงในเว็บไซต์ AppDisqus แห่งนี้ ด้วยความสุขและยินดีที่ได้เป็นส่งต่อและรับความรู้เพื่มจากผู้อ่าน มันช่างเป็นสถานที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจริง ๆ //ขอบคุณ AppDisqus นะครับ

Advertisement
Exit mobile version